6 การจัดการสารสนเทศ (MOI)

ภาพรวม การให้การดูแลผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามและซับซ้อน ซึ่งต้องพึ่งการสื่อสารของสารสนเทศอย่างมาก การ สื่อสารนี้ถูกส่งต่อไปยังผู้ป่วยและครอบครัวของเขา ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพและชุมชน ความล้มเหลวใน การสื่อสารคือหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ความล้มเหลวในการ สื่อสารเกิดจาก การอ่านลายมือไม่ออก และไม่เป็นรูปแบบเดียวกันหรือไม่มีมาตรฐานในการใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์ และรหัส ภายในองค์กร เพื่อให้การประสานงานและการบริการอย่างบูรณาการ องค์กรด้านการดูแลสุขภาพต้อง พึ่งพาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยด้วยวิทยาศาสตร์, ข้อมูลผู้ป่วยแต่ละราย, การดูแลรักษา, ผลของการดูแลรักษา, และสมรรถนะของพวกเขาเหล่านั้น เช่นเดียวกับมนุษย์วัตถุและทรัพยากรทางการเงิน สารสนเทศคือทรัพยกรต้อง ถูกบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้นำองค์กร ทุกองค์กรพยายามที่จะซึมซับ จัดการและใช้สารสนเทศใน การปรับปรุงการรักษาผู้ป่วยเช่นเดียวกันกับผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลและองค์กรโดยรวม เมื่อเวลาผ่านไป องค์กรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเรื่อง • การระบุสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการ • การออกแบบ / การปรับใช้ระบบการจัดการสารสนเทศ • การกำหนดและเก็บข้อมูลและสารสนเทศ • การวิเคราะห์ข้อมูลและเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ • การส่งและการายงานข้อมูลและสารสนเทศ • การบูรณาการและการใช้สารสนเทศในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

แม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้แต่หลักการของการ จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีนั้นจะถูกนำไปใช้กับวิธีการจัดการเอกสารทั้งหมด มาตรฐานเหล่านี้ถูกออกแบบ เพื่อให้สามารถเข้ากันได้อย่างเท่าเทียมระหว่างการไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการใช้เทคโนโลยีปัจจุบันหรือ อนาคต

หมายเหตุ

ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

การจัดการสารสนเทศ (Information Management)

MOI.1 โรงพยาบาลวางแผนและออกแบบกระบวนการจัดการสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

MOI.2 มีการรักษาภาวะความเป็นส่วนตัว ความลับและความปลอดภัย รวมทั้งการคงสภาพความสมบูรณ์ของ สารสนเทศè P

MOI.3 โรงพยาบาลมีการกำหนดระยะเวลาเก็บรักษาเวชระเบียน ข้อมูล และสารสนเทศè P

MOI.4 โรงพยาบาลใช้รหัสการวินิจฉัยและหัตถการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสร้างความมั่นใจในการใช้ สัญลักษณ์และตัวย่อที่ได้รับการอนุมัติที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล

MOI.5 มีการตอบสนองความต้องการข้อมูลและสารสนเทศ ของบุคลากรภายในและภายโรงพยาบาล ตาม กำหนดเวลา ในรูปแบบและความถี่ที่ผู้ใช้บริการคาดหวัง

MOI.6 บันทึกและสารสนเทศได้รับการปกป้องจากการสูญหาย ถูกทำลาย แก้ไขดัดแปลง และเข้าถึงหรือนำไปใช้ โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตè P

MOI.7 มีการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจและบุคลากรอื่นที่เหมาะสม เกี่ยวกับการใช้และจัดการ สารสนเทศ

การจัดการเอกสารและการนำไปใช้ (Management and Implementation of Documents)

MOI.8 มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการจัดการอย่างสม่ำเสมอและเป็นไปในรูปแบบ เดียวกันè P

MOI.8.1มีการนำ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติแผนงาน และเอกสารอื่น ๆ ไปใช้เป็นแนวทางอย่างสม่ำเสมอ และเป็นรูปแบบเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติด้านคลินิกและไม่ใช่คลินิก อย่างเต็มรูปแบบè P

วชระเบียน (Medical Record)

MOI.9 โรงพยาบาลจัดทำและเก็บรักษาเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการตรวจประเมินหรือรักษาอย่างเป็น มาตรฐาน และกำหนดเนื้อหาในเวชระเบียน รูปแบบ และสถานที่ของการบันทึกรายการè P

MOI.10เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน ระบุเวลาที่มาถึงและเวลาที่ออก สรุปผลเมื่อสิ้นสุดการรักษา อาการ ของผู้ป่วยเมื่อจำหน่าย และคำแนะนำในการมาตรวจติดตามอาการ

MOI.11โรงพยาบาลมีการระบุตัวบุคคลที่มีสิทธิในการทำรายการในเวชระเบียนผู้ป่วยè P

MOI.11.1 เวชระเบียนผู้ป่วยทุกฉบับระบุผู้บันทึก และวันเวลาที่บันทึก

MOI.11.1.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อกำหนดการใช้ฟังก์ชั่นในการคัดลอกและวางที่ เหมาะสมเมื่อมีการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์è P

MOI.12 การที่โรงพยาบาลมีการประเมินเนื้อหาและความสมบูรณ์ของเวชระเบียนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอนั้น ถือเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเฝ้าติดตามและพัฒนาสมรรถนะ

เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการดูแลสุขภาพ (Information Technology in Health Care)

MOI.13มีการประเมินและทดสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ ก่อนที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล และ จะต้องมีการประเมินถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อมีการนำไปใช้

MOI.14โรงพยาบาลจัดทำ ธำรงรักษาและการทดสอบแผนงานเพื่อการตอบสนองต่อการหยุดการทํางานของระบบ ข้อมูล ที่เป็นไปตามแผนและการหยุดทํางานโดยทันทีè

มาตรฐาน, เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

การจัดการสารสนเทศ (Information Management)

มาตรฐาน MOI.1 โรงพยาบาลวางแผนและออกแบบกระบวนการจัดการสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร

เจตจำนงของ MOI.1 มีการสร้างและใช้สารสนเทศในระหว่างการดูแลผู้ป่วย รวมถึงการใช้เพื่อบริหารจัดการโรงพยาบาลที่ปลอดภัยและ มีประสิทธิผล ความสามารถในการจัดเก็บและจัดให้มีสารสนเทศต้องอาศัยการวางแผนที่มีประสิทธิผล ในการ วางแผนต้องอาศัยข้อมูลนำเข้าจากแหล่งที่หลากหลาย รวมถึงแหล่งต่อไปนี้

• ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ

• ผู้บริหารของโรงพยาบาลและผู้นำของแผนก/ฝ่ายบริการ

• ผู้ที่อยู่นอกโรงพยาบาลซึ่งต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลและ กระบวนการดูแล

การวางแผนการจัดการสารสนเทศครอบคลุมวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล บริการที่โรงพยาบาลมีทรัพยากร การ เข้าถึงเทคโนโลยีที่สามารถหาได้และการสนับสนุนของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ให้บริการด้าน สุขภาพ ความต้องการสารสนเทศที่มีความสำคัญสูงของแหล่งเหล่านี้มีผลต่อกลยุทธ์การจัดการสารสนเทศของ โรงพยาบาล และความสามารถในการนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติกลยุทธ์ต้องมีความเหมาะสมกับขนาดของ โรงพยาล ความซับซ้อนของการบริการ ความพร้อมของบุคลากรที่ได้รับการอบรม ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากร ทางเทคนิค อื่น ๆ แผนมีความครอบคลุมกว้างขวาง รวมทุกหน่วยงานและงานบริการทั้งหมดของโรงพยาบาล การ วางแผนการจัดการสารสนเทศไม่จำเป็นต้องเป็นแผนสารสนเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องมีหลักฐานการ ปฏิบัติตามแผนซึ่งระบุความต้องการสารสนเทศของโรงพยาบาล (ดูที่ ACC.3; COP.8, ME 3; และ PCI.4, ME3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.1

❏ 1. มีการพิจารณาความต้องการสารสนเทศของผู้ที่ให้บริการด้านคลินิกในกระบวนการวางแผน (ดูที่ GLD.3.2, ME 2)

❏ 2. มีการพิจารณาความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารโรงพยาบาลในกระบวนการวางแผน (ดูที่ GLD.3.2, ME 1)

❏ 3. มีการพิจารณาความต้องการสารสนเทศของบุคคลและหน่วยงานนอกโรงพยาบาลในกระบวนการ วางแผน (ดูที่ GLD.3.1, ME 2)

❏ 4. การวางแผนมีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของโรงพยาบาล

มาตรฐาน MOI.2 มีการรักษาภาวะความเป็นส่วนตัว ความลับ และความปลอดภัย รวมทั้ง การคงสภาพความสมบูรณ์ของ สารสนเทศè P

เจตจำนงของ MOI.2 โรงพยาบาลได้รักษาความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศ และให้ความระมัดระวังเป็น พิเศษในการรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศที่มีความอ่อนไหว มีการกำหนดให้เกิดความสมดุลระหว่างการ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับการรักษาความลับของข้อมูล โรงพยาบาลกำหนดระดับของความเป็นส่วนตัวและการรักษา ความลับสำหรับสารสนเทศประเภทต่าง ๆ (เช่น เวชระเบียนผู้ป่วย ข้อมูลการวิจัย และ ข้อมูลคุณภาพอื่น ๆ (ดูที่ PFR.1.3, ME3; QPS.4, ME 5; และ GLD.17, ME3)

การรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลให้คงสภาพไว้เป็นเรื่องที่สำคัญของการจัดการสารสนเทศ สารสนเทศที่อยู่ใน ฐานข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการตีความของผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นถูกต้อง รวมถึงความสมบูรณ์ของข้อมูลนั้นจะต้องถูกคงสภาพไว้ในระหว่างการวางแผนและไม่ได้วางแผนศูนย์กลางระบบ ข้อมูล โดยครอบคลุมถึงการปฏิบัติกรณีการกู้ข้อมูลและกระบวนการสำรองข้อมูล (ดูที่ MOI.14) นโยบายและระเบียบปฏิบัติระบุวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งอนุญาตให้บุคลากรที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะ เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ขึ้นกับความต้องการที่ถูกกำหนดโดยตำแหน่ง หน้าที่การงาน รวมถึงนักศึกษาในองค์กรที่จัดการศึกษา กระบวนการที่มีประสิทธิผลกำหนดสิ่งต่อไปนี้

• ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศ

• สารสนเทศที่บุคลากรแต่ละคนสามารถเข้าถึงได้

• ข้อผูกพันของผู้ใช้ในการรักษาความลับของสารสนเทศ (ดูที่ MOI.11)

• กระบวนการรักษาการความสมบูรณ์ของข้อมูลให้คงสภาพ

• กระบวนการที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการละเมิดการรักษาความลับ ความปลอดภัย และการคงสภาพความ สมบูรณ์ของข้อมูล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.2

❏ 1. โรงพยาบาลมีการบันทึกกระบวนการปกป้องความเป็นส่วนตัว ความลับ ความปลอดภัย และการคง สภาพไว้ของข้อมูลและสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร (ดูที่ COP.2.2, ME 6; SQE.5, ME 1; และ MOI.3, MEs 2,3)

❏ 2. ในกระบวนการได้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (ดูที่ GLD.2, ME 5)

❏ 3. ในกระบวนการได้ระบุระดับของความลับสำหรับข้อมูลและสารสนเทศประเภทต่าง ๆ

❏ 4. มีการระบุผู้ที่จำเป็นหรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่ได้รับสิทธิในเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศแต่ละประเภท

❏ 5. มีการตรวจติดตามการปฏิบัติตามกระบวนการ และมีมาตรการหากความเป็นส่วนตัว ความลับ ความ ปลอดภัย และการคงสภาพไว้ของข้อมูล ถูกละเมิด

มาตรฐาน MOI.3 โรงพยาบาลมีการกำหนดระยะเวลาเก็บรักษาเวชระเบียน ข้อมูล และสารสนเทศè P

เจตจำนงของ MOI.3

โรงพยาบาลมีการกำหนดระยะเวลาเก็บรักษาเวชระเบียนคลีนิคผู้ป่วย รวมทั้งข้อมูลและสารสนเทศอื่น ๆ เวช ระเบียนผู้ป่วยรวมถึงข้อมูลและสารสนเทศอื่น ๆ มีระยะเวลาการเก็บรักษาตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการ การเป็นหลักฐานทางกฎหมาย การวิจัยและการศึกษา การเก็บ รักษาเวชระเบียน ข้อมูล และสารสนเทศนี้สอดคล้องกับความลับและความปลอดภัยของสารสนเทศดังกล่าว เมื่อครบกำหนดการเก็บรักษา เวชระเบียนรวมถึงบันทึก ข้อมูล และสารสนเทศอื่น ๆ จะต้องได้รับการทำลายอย่าง เหมาะสมและต้องไม่ได้รับการประนีประนอมสำหรับความลับและความปลอดภัยของสารสนเทศ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.3

❏ 1. โรงพยาบาลมีการกำหนดเรื่องระยะเวลาเก็บรักษาเวชระเบียนผู้ป่วย ข้อมูลและสารสนเทศอื่น ๆ (ดูที่ MOI.8)

❏ 2. กระบวนการเก็บรักษามีการรักษาความลับและความปลอดภัยตามที่คาดหวังไว้

❏ 3. เวชระเบียน ข้อมูล และสารสนเทศ ถูกทำลายอย่างเหมาะสมและต้องไม่ได้รับการประนีประนอมสำหรับ ความลับและความปลอดภัยของสารสนเทศ (ดูที่ MOI.2, ME 1)

มาตรฐาน MOI.4 โรงพยาบาลใช้รหัสการวินิจฉัยและหัตถการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสร้างความมั่นใจในการใช้สัญลักษณ์และ ตัวย่อที่ได้รับการอนุมัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล

เจตจำนงของ MOI.4 รหัสที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและการใช้สัญลักษณ์และตัวย่อที่เป็นรูปแบบเดียวกันป้องกันไม่ให้เกิดการสื่อสารผิด พลาดและความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นในการดูแลผู้ป่วย การใช้รหัสการวินิจฉัยและหัตถการที่เป็นมาตรฐาน เดียว กัน (ตัวอย่างเช่น ICD-10) สนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์

ตัวย่อสามารถเป็นปัญหาได้และในบางครั้งเกิดอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการสั่งจ่ายยา1,2 ด้วยเหตุนี้ บางโรงพยาบาลจึงไม่อนุญาตให้ใช้ตัวย่อในองค์กรทั้งหมด เมื่อตัวย่อได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในโรงพยาบาล มี การ ดำเนินกระบวนการเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ไม่มีการใช้ตัวย่อในเอกสารการ ขอ ความยินยอมและสิทธิผู้ป่วย คำแนะนำเมื่อจำหน่าย สรุปเมื่อจำหน่ายและเอกสารอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยและ/ครอบครัว อาจจะ อ่านหรือได้รับเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยและครอบครัวอาจจะไม่คุ้นเคยกับหรือเข้าใจตัวย่อที่ได้รับการ อนุมัติของ โรงพยาบาลและอาจจะไม่สะดวกที่จะขอความกระจ่าง นอกจากนี้หากสรุปเมื่อจำหน่ายมีตัวย่อและถูก ส่งไปยังองค์กร อื่นที่ผู้ป่วยถูกโอนย้ายไปมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหากองค์กรที่ได้รับใช้บางส่วนของ ตัวย่อเดียวกันแต่มีความหมายที่แตกต่างกัน หรือไม่ก็ไม่ทราบความหมายของตัวย่อในการสรุปเมื่อจำหน่าย

เมื่อโรงพยาบาลใช้ตัวย่อ โรงพยาบาลจัดทำและดำเนินกระบวนการสำหรับการใช้งานตัวย่อที่ได้รับการอนุมัติที่เป็น แบบเดียวกันเช่นผ่านการใช้รายการคำย่อ รายการที่เป็นแบบเดียวกันนี้ครอบคลุมแต่ละตัวย่อที่มีเพียงหนึ่ง ความหมาย เมื่อตัวย่อที่มีมากกว่าหนึ่งความหมาย สับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนหมายถึงอาจส่งผลให้เกิดความ คลาดเคลื่อนทาง การแพทย์ยกตัวอย่างเช่นตัวย่อ MS อาจหมายถึง mitral stenosis ในโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ในระบบ ประสาทวิทยา คำย่ออาจจะใช้สำหรับ multiple sclerosis มันเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ตัวย่อเป็นแบบเดียวกันและสอดคล้องกัน ทั่วทั้งโรงพยาบาลโดยไม่มีความหมายที่แตกต่างกันระหว่างหน่วยงานหรือบริการ บุคลากรได้รับ การศึกษาและการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการของการใช้งานของ รหัส สัญลักษณ์และตัวย่อของโรงพยาบาลที่เป็น มาตรฐานและเป็นแบบเดียวกัน (ถ้าเกี่ยวข้อง)

นอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลใช้ตัวย่อโรงพยาบาลจัดทำและ/หรือน้อมรับรายการตัวย่อและสัญลักษณ์ที่ห้ามใช้ยก ตัวอย่างเช่น สถาบันความปลอดภัยในการใช้ยา (ISMP) ยืนยันรายการคำย่อสัญลักษณ์และการกำหนดขนาดยาที่ว่า “ไม่ควรใช้เมื่อการติดต่อสื่อสารสารสนเทศเกี่ยวกับยา” 3 หัวข้อในรายการ ISMP ได้รับรายงานว่าตีความผิดบ่อย ครั้งและมีส่วนร่วมในความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่เป็นอันตราย

การใช้งานรหัสที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสัญลักษณ์และตัวย่อที่ได้รับการอนุมัติที่เป็นแบบเดียวกันของ โรงพยาบาลสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพและสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับท้องถิ่นที่มีผลบังคับ ใช้

หลักการของการใช้รหัสที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสัญลักษณ์และตัวย่อที่ได้รับการอนุมัติที่เป็นแบบเดียวกันถูก นำไปใช้กับระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.4

❏ 1. โรงพยาบาลใช้รหัสการวินิจฉัยและหัตถการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

❏ 2. โรงพยาบาลดำเนินการสำหรับการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปแบบเดียวกันที่ได้รับการอนุมัติและจะมีการระบุ สัญลักษณ์ที่ห้ามใช้

❏ 3. หากโรงพยาบาลอนุญาตให้ใช้ตัวย่อ โรงพยาบาลดำเนินการสำหรับการใช้ตัวย่อที่เป็นรูปแบบเดียวกันที่ ได้ รับการอนุมัติและแต่ละคำย่อมีเพียงหนึ่งความหมาย

❏ 4. หากโรงพยาบาลอนุญาตให้ใช้ตัวย่อ โรงพยาบาลจัดทำและ/หรือน้อมรับรายการตัวย่อห้ามใช้.

❏ 5. ไม่มีการใช้คำย่อในเอกสารการขอยินยอมและสิทธิผู้ป่วย คำแนะนำเมื่อจำหน่าย สรุปเมื่อจำหน่ายและ เอกสารอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับจากโรงพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย (ดูACC.4.3 ACC.4.3.1, ME 1 ACC.4.3.2, ME 1 ACC.5.2, ME 1 PFR.4, ME 1 และ PFR.5.1, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 6. การใช้รหัส สัญลักษณ์และ/หรือตัวย่อทั่วทั้งโรงพยาบาลได้รับการเฝ้าติด ตามและดำเนินการปรับปรุง กระบวนการตามความจำเป็น (ดูMOI.12 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน MOI.5 มีการตอบสนองความต้องการข้อมูลและสารสนเทศ ของบุคลากรภายในและภายโรงพยาบาล ตามกำหนดเวลา ใน รูปแบบและความถี่ที่ผู้ใช้บริการคาดหวัง

เจตจำนงของ MOI.5 มีการปรับรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศให้เหมาะสมและตอบสนองความคาดหวังของผู้ที่จะใช้ งาน กลยุทธ์การเผยแพร่ข้อมูลประกอบด้วย

• การจัดหาข้อมูลและสารสนเทศให้เฉพาะผู้ที่ใช้ต้องการหรือร้องขอเท่านั้น

• การจัดรูปแบบรายงานเพื่อช่วยในกระบวนการตัดสินใจ

• การจัดทำรายงานมีความถี่ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

• มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลและสารสนเทศ

• มีการแปลผลหรือให้ความกระจ่างเรื่องข้อมูล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.5

❏ 1. การเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ (ดูที่ QPS.4, ME2)

❏ 2. ผู้ใช้ได้รับข้อมูลและสารสนเทศภายในเวลาที่เหมาะสม

❏ 3. ผู้ใช้ได้รับข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบที่ตรงความต้องการใช้

❏ 4. บุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนได้(ดูที่ QPS.4, ME2)

มาตรฐาน MOI.6 บันทึกและสารสนเทศได้รับการปกป้องจากการสูญหาย ถูกทำลาย แก้ไขดัดแปลง และเข้าถึงหรือนำไปใช้โดยผู้ที่ ไม่ได้รับอนุญาตè P

เจตจำนงของ MOI.6 เวชระเบียนผู้ป่วย ข้อมูลและสารสนเทศอื่น ๆ มีความปลอดภัยและได้รับการปกป้องตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น เวช ระเบียนผู้ป่วยที่ยังใช้งานอยู่ได้รับการจัดเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและได้รับอนุญาตเท่านั้นที่ สามารถเข้าถึงได้และถูกจัดเก็บในที่ไม่เกิดความเสียหายจากความร้อน นํ้า ไฟ หรือสาเหตุอื่น ๆ โรงพยาบาล ปฏิบัติตามกระบวนการที่จะป้องกันการเข้าถึงสารสนเทศที่จัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ไม่มีสิทธิเข้าถึงมา ปฏิบัติ (ดูที่ PFR.1.3, ME 3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.6

❏ 1. มีการปกป้องข้อมูลและสารสนเทศจากการสูญหาย

❏ 2. มีการปกป้องข้อมูลและสารสนเทศจากการถูกทำลาย

❏ 3. มีการปกป้องข้อมูลและสารสนเทศไม่ให้ถูกแก้ไขดัดแปลง และเข้าถึงหรือนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่มีสิทธ

มาตรฐาน MOI.7 มีการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจและบุคลากรอื่นที่เหมาะสม เกี่ยวกับการใช้และจัดการ สารสนเทศ

เจตจำนงของ MOI.7 มีการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรในโรงพยาบาลซึ่งสร้าง รวบรวม วิเคราะห์ใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อให้มี ส่วนร่วมในการจัดการสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล การศึกษาและฝึกอบรมนี้ทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถ

• เข้าใจเรื่องความปลอดภัยและการรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศ

• ใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือทางสถิติและ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

• ช่วยในการแปลความหมายข้อมูล

• ใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

• ให้ความรู้และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัวในกระบวนการดูแล และ

• ใช้เครื่องมือวัดเพื่อประเมินและปรับปรุงการดูแลและกระบวนการทำงาน

มีการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรตามหน้าที่รับผิดชอบ คำบรรยายลักษณะงาน และความต้องการใช้ข้อมูลและ สารสนเทศ

กระบวนการจัดการระบบสารสนเทศทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และการสร้างรายงานเพื่อ สนับสนุนการตัดสินใจ โดยเฉพาะการรวบรวมข้อมูลด้านคลินิกและการบริหารจัดการด้านข้อมูลจะช่วยหัวหน้างาน ในการวางแผนร่วมกัน โดยกระบวนการจัดการสารสนเทศสนับสนุนหัวหน้างานด้วยข้อมูลระยะยาวและข้อมูล เปรียบเทียบ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.7

❏ 1. มีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการของการจัดการสารสนเทศแก่ผู้ทำหน้าที่ผู้ตัดสินใจและบุคคลอื่น ๆ

❏ 2. การให้ความรู้นั้นเหมาะสมกับความต้องการข้อมูลและสารสนเทศและความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน

❏ 3. มีการรวมความต้องการข้อมูลและสารสนเทศด้านคลินิกและการบริหารจัดการตามที่ต้องการได้เพื่อ สนับสนุนการตัดสินใจ

การจัดการเอกสารและการนำไปใช้ (Management and Implementation of Documents)

มาตรฐาน MOI.8 มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการจัดการอย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน è P

เจตจำนงของ MOI.8 นโยบายและระเบียบปฏิบัติมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ที่เสมอเหมือนกันเกี่ยวกับการทำหน้าที่ขององค์กรด้านคลินิก และไม่ใช่คลินิกในองค์กร มีการเขียนแนวทางการปฏิบัติว่าจะพัฒนาและควบคุมนโยบายหรือระเบียบวิธีใน โรงพยาบาลอย่างไร ซึ่งเอกสารแนวทางปฏิบัติประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้

a) การทบทวนและอนุมัตินโยบายและระเบียบปฏิบัติทั้งหมดโดยผู้มีอำนาจก่อนประกาศใช้

b) กระบวนการและความถี่ของการทบทวนและต่ออายุนโยบายและระเบียบปฏิบัติ

c) การควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่ามีนโยบายและระเบียบปฏิบัติฉบับที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบันเท่านั้นพร้อมใช้ในทุกที่ ที่มีการใช้

d) การระบุการเปลี่ยนแปลงในนโยบายและระเบียบปฏิบัติ

e) การรักษาเอกสารอย่างมีเอกลักษณ์และเอกสารชัดเจนเข้าใจได้ง่าย

f) กระบวนการสำหรับการจัดการกับนโยบายและระเบียบปฏิบัติซึ่งมีกำเนิดจากภายนอกโรงพยาบาล

g) การเก็บรักษานโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ล้าสมัยเป็นระยะเวลาอย่างน้อยตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กำหนด โดยสร้างความมั่นใจว่าจะไม่นำเอกสารเหล่านั้นไปใช้โดยไม่ตั้งใจ (ดูที่ MOI.3)

ระบบการติดตามจะต้องมีเอกสารที่ระบุถึง หัวข้อ วันที่ออกเอกสาร ครั้งที่จัดทำ/และหรือวันที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นปัจจุบัน จำนวนหน้า ผู้ออกและ/หรือผู้ทบทวนเอกสาร และการระบุถึงฐานข้อมูล (ถ้ามี) ระบบการติดตาม

ช่วยเหลือบุคลากรที่จะใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายงานหรือสถานการณ์โดยเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น บุคลากรในแผนกฉุกเฉินสามารถเข้าไปใช้นโยบายเกี่ยวกับความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว เมื่อ ผู้ป่วยต้องการหัตถการการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว

มีการนำกระบวนการในการจัดทำและรักษาไว้ซึ่งนโยบายและระเบียบปฏิบัติเหล่านั้นไปใช้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.8

❏ 1. มีนโยบายหรือระเบียบวิธีที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งระบุข้อกำหนดสำหรับการจัดทำและรักษาไว้ซึ่ง นโยบายและระเบียบปฏิบัติประกอบด้วยข้อ a) ถึง g) ในเจตจำนงข้างต้น

❏ 2. มีรูปแบบสำหรับเอกสารที่มีความเหมือนกันอย่างเป็นมาตรฐาน เช่น นโยบายทั้งหมด

❏ 3. มีนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นแนวทางเพื่อติดตามนโยบายและระเบียบ ปฏิบัติทั้งหมดที่ใช้อยู่

❏ 4. ความต้องการของเอกสารที่เป็นแนวทางได้ถูกนำไปใช้และมีหลักฐานใน นโยบาย ระเบียบปฏิบัติและ แผนงานที่ถูกค้นพบภายในโรงพยาบาล

มาตรฐาน MOI.8.1 มีการนำ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติแผนงาน และเอกสารอื่น ๆ ไปใช้เป็นแนวทางอย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปแบบ เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติด้านคลินิกและไม่ใช่คลินิก อย่างเต็มรูปแบบè P

เจตจำนงของ MOI.8.1 คู่มือ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติแผนงาน และเอกสารอื่น ๆ จะต้องตรวจพบตลอดระยะเวลาการรับรอง (โปรด สังเกตจะมีสัญลักษณ์è ระบุไว้ด้านบน) เอกสารนี้ต้องการเพื่อที่จะลดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการและลด ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการด้านคลินิกเพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพและ ความปลอดภัยของผู้ป่วย

มีขั้นตอนที่ทำให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรได้อ่านและคุ้นเคยกับ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติและแผนที่เกี่ยวข้องกับงาน กระบวนการนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการแนะนำงานให้กับบุคลากรในแผนกและหน้าที่ของบุคลากร หรือ อาจจะเป็น ส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมพิเศษเป็นกลุ่มหรือทั้งสถานพยาบาล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มีกำหนดแนวทางการทำงานได้ ระบุไว้ในเอกสารเป็นหลักฐานถึงการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล เพื่อติดตามการปฏิบัติตาม นโยบาย ระเบียบ ปฏิบัติหรือ แผน ที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายงานของบุคลากร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.8.1

❏ 1. นโยบาย ระเบียบปฏิบัติและแผนงานที่ต้องการ ต้องมีไว้พร้อมใช้งานและบุคลากรมีความเข้าใจในการ เข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของตน

❏ 2. มีการฝึกอบรมและทำความเข้าใจถึงเอกสารเหล่านี้ให้กับบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

❏ 3. มีการนำ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติและแผนงาน ไปใช้อย่างเต็มรูปแบบ และมีหลักฐานในการปฏิบัติงาน ของแต่ละบุคลากร (ดูที่ COP.3, ME 2)

❏ 4. มีการตรวจติดตาม การนำนโยบาย ระเบียบปฏิบัติและแผนงาน ว่าได้นำไปปฏิบัติและสารสนเทศได้ สนับสนุนการนำไปปฏิบัติอย่างเต็มที่

เวชระเบียน (Medical Record)

มาตรฐาน MOI.9 โรงพยาบาลจัดทำและเก็บรักษาเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการตรวจประเมินหรือรักษาอย่างเป็นมาตรฐาน และกำหนดเนื้อหาในเวชระเบียน รูปแบบ และสถานที่ของการบันทึกรายการè P

มาตรฐาน MOI.9.1 เวชระเบียนผู้ป่วยมีสารสนเทศเพียงพอที่จะระบุตัวผู้ป่วย สนับสนุนการวินิจฉัยโรค อธิบายเหตุผลของการรักษา บันทึกความเป็นไปและผลการรักษา

เจตจำนงของ MOI.9 และ MOI.9.1

มีเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการประเมินหรือรักษาในสถานพยาบาล ในฐานะผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก หรือการดูแลเร่งด่วน มีการกำหนดตัวบ่งชี้เวชระเบียนที่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย หรือมีกลไกอื่นที่ใช้เพื่อ เชื่อมโยงผู้ป่วยกับเวชระเบียนของเขา ในการบันทึกหนึ่งครั้งและมีหมายเลขบ่งชี้เฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ช่วย ให้องค์กรสามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยได้ง่าย รวมถึงบันทึกการดูแลที่ให้กับผู้ป่วยตามช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื้อหา รูปแบบ และสถานที่ของการบันทึกรายการสำหรับเวชระเบียนผู้ป่วยได้กำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อที่จะช่วย สนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วย ในหลายสาขาให้สามารถทำการรวบรวมและทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่าง ต่อเนื่อง โรงพยาบาลกำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละรายที่ได้รับการ ประเมินและรักษาสำหรับกรณีผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก หรือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน เวชระเบียนต้องมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการ วินิจฉัย การรักษา และระบุหลักสูตรและผลการรักษา และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่ทำการ ดูแลผู้ป่วยต่อไป (ดูที่ MMU.4.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.9

❏ 1. มีการจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการประเมินและรักษาโดยโรงพยาบาล

❏ 2. เวชระเบียนผู้ป่วยได้รับการเก็บรักษาไว้โดยการใช้ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำหรับผู้ป่วยหรือวิธีการอื่นที่ ได้ผล (ดูที่ IPSG.1, ME 1)

❏ 3. เนื้อหาเฉพาะ รูปแบบ และสถานที่ของการบันทึกรายการในเวชระเบียนผู้ป่วย ถูกกำหนดโดย โรงพยาบาลอย่างเป็นมาตรฐาน (ดูที่ ASC.7.2, ME 2; COP.2.2, MEs 1,5; และ PFE.2, ME 3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.9.1

❏ 1. เวชระเบียนผู้ป่วยประกอบด้วยสารสนเทศที่เพียงพอต่อการระบุตัวผู้ป่วย (ดูที่ IPSG.1)

❏ 2. เวชระเบียนผู้ป่วยประกอบด้วยสารสนเทศที่เพียงพอต่อการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค (ดูที่ AOP.1.1 และ ASC.7, ME 3)

❏ 3. เวชระเบียนผู้ป่วยประกอบด้วยสารสนเทศที่เพียงพอต่อการแสดงเหตุผลของการดูแลรักษา (ดูที่ AOP.1.2; AOP.1.7; COP.2.2, ME 3; และ ASC.7, ME 3)

❏ 4. เวชระเบียนผู้ป่วยประกอบด้วยสารสนเทศที่เพียงพอต่อการบันทึกหลักสูตรการรักษาและผลของการ รักษา (ดูที่ ACC.5.3; COP.2.1, ME 6; COP.2.3, ME 2; และ ASC.5)

มาตรฐาน MOI.10 เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน ระบุเวลาที่มาถึงและเวลาที่ออก สรุปผลเมื่อสิ้นสุดการรักษา อาการของผู้ป่วย เมื่อจำหน่าย และคำแนะนำในการมาตรวจติดตามอาการ

เจตจำนงของ MOI.10 เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินแต่ละราย มีการระบุเวลาที่มาถึงและเวลาที่ออก ข้อมูลนี้ใช้กับผู้ป่วยแผนกฉุกเฉินทุก คน รวมถึงผู้ป่วยที่ถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การโอนย้ายผู้ป่วยไปหน่วยบริการอื่น หรือผู้ป่วยในที่รับการ รักษาที่โรงพยาบาล เวลาออกอาจจะเป็นเวลาที่ผู้ป่วยออกจากแผนกฉุกเฉินโดยกลับบ้านหรือไปยังสถานพยาบาล อื่น หรือ เป็นเวลาที่ผู้ป่วยย้ายไปหน่วยอื่นที่เป็นผู้ป่วยใน สำหรับผู้ป่วยที่ออกจากแผนกฉุกเฉิน เวชระเบียนจะรวม การสรุปผลเมื่อสิ้นสุดการรักษา อาการของผู้ป่วยเมื่อจำหน่าย และคำแนะนำในการมาตรวจติดตามอาการ (ดูที่ ACC.1.1, ME 5)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.10

❏ 1. เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายมีการระบุเวลาที่มาถึงและเวลาที่ออก

❏ 2. เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำหน่ายออกไป มีการสรุปผลเมื่อสิ้นสุดการรักษา

❏ 3. เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำหน่ายออกไป มีการระบุอาการของผู้ป่วยเมื่อจำหน่าย

❏ 4. เวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำหน่ายออกไป มีการระบุคำแนะนำในการมาตรวจติดตามอาการ

มาตรฐาน MOI.11 โรงพยาบาลมีการระบุตัวบุคคลที่มีสิทธิในการทำรายการในเวชระเบียนผู้ป่วยè P

มาตรฐาน MOI.11.1 เวชระเบียนผู้ป่วยทุกฉบับระบุผู้บันทึก และวันเวลาที่บันทึก

เจตจำนงของ MOI.11 และ 11.1 การเข้าถึงของข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการและการกำหนดโดยตำแหน่งและหน้าที่ การทำงาน รวมถึงนักศึกษาในสถาบันการศึกษา กระบวนการที่มีประสิทธิผล กำหนดสิ่งต่อไปนี้

• ผู้ที่สามารถเข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วยได้

• ข้อมูลชนิดใดบ้าง ในเวชระเบียนผู้ป่วย ที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าถึงได้

• ข้อผูกพันที่ผู้ใช้จะรักษาความลับของสารสนเทศ (ดูที่ MOI.2)

• กระบวนการที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการละเมิดการรักษาความลับและความปลอดภัย

ลักษณะอย่างหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศผู้ป่วยคือการกำหนดผู้มีสิทธิในการได้รับและบันทึก ข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วย โรงพยาบาลจัดทำนโยบายที่จะให้สิทธิแก่บุคลากรแต่ละคน ระบุเนื้อหาและรูปแบบ สำหรับบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วย มีกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าบุคคลที่ได้รับสิทธิเท่านั้นที่ลงบันทึกข้อมูล ในเวชระเบียนผู้ป่วย และการบันทึกแต่ละครั้งระบุชื่อของผู้บันทึกและวันที่บันทึก นโยบายจะต้องระบุกระบวนการ ในการแก้ไขหรือเขียนทับบนบันทึกเวชระเบียนที่ได้เขียนไว้แล้ว มีการบันทึกเวลาตามที่องค์กรกำหนด เช่น เวลาใน การรักษา หรือเวลาในการสั่งยา (ดูที่ IPSG.2.2; IPSG.4.1, ME 1; COP.2.2, ME 6; MMU.4.2; และ MOI.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.11

❏ 1. ในนโยบายของโรงพยาบาลมีการระบุบุคคลที่มีสิทธิในการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วย

❏ 2. มีกระบวนที่ทำให้มั่นใจว่าเฉพาะผู้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้นที่สามารถบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้ (ดู ที่ COP.2.2, ME 4; และ MMU.4.2, ME 1)

❏ 3. มีกระบวนการระบุวิธีการแก้ไขหรือเขียนทับบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วย

❏ 4. ในนโยบายของโรงพยาบาลมีการระบุถึงบุคคลที่มีสิทธิในการเข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วย

❏ 5. มีกระบวนการเพื่อทำให้มั่นใจว่าผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วยได้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.11.1

❏ 1. สามารถระบุตัวบุคคลผู้บันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยแต่ละครั้งได้

❏ 2. สามารถระบุวันที่มีการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยแต่ละครั้งได้

❏ 3. สามารถระบุเวลาที่มีการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยแต่ละครั้งได้

มาตรฐาน MOI.11.1.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการที่ตอบสนองการใช้ฟังก์ชั่นการคัดลอกและวางที่เหมาะสมเมื่อมีการใช้เวชระเบียน อิเล็กทรอนิกส์è P

เจตจำนงของ MOI.11.1.1 การใช้ฟังก์ชั่นการคัดลอกและวางในเอกสารทางคลินิกที่ทำโดยผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพได้กลายเป็นหลักปฏิบัติ ทั่วไปมากขึ้นเมื่อโรงพยาบาลมีการนำระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้มากขึ้น การปฏิบัติของการทำข้อมูลซ้ำ ภายในเวชระเบียนผู้ป่วยรายเดียวกันหรือการเคลื่อนย้ายไปสู่บันทึกหลายแห่งนี้จะมีข้อดีหลายประการรวมทั้งการ เสริมสร้างประสิทธิภาพของการบันทึกและเพิ่มประสิทธิภาพสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ เหล่านี้ต้องชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อบูรณภาพของเวชระเบียนผู้ป่วย4

มีหลายตัวอย่างของสารสนเทศที่ไม่ถูกต้องที่บันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยบางคนก่อให้เกิดความรุนแรงของ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือเหตุการณ์พึงสังวรเนื่องจากสารสนเทศที่วางไม่ได้รับการทบทวนและปรับปรุงให้เป็น ปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของผู้ป่วยหรือการเปลี่ยนแปลงในสารสนเทศส่วนบุคคลของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ข้อมูล น้ำหนักที่ล้าสมัยที่ใช้ในการคำนวณปริมาณของยาเคมีบำบัด ความเสี่ยงเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้งานของการ คัดลอกและวางครอบคลุมดังต่อไปนี้

• สารสนเทศซ้ำซึ่งจะทำให้ยากที่จะระบุสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน

• ไม่สามารถที่จะระบุผู้เขียนหรือเจตนาของการบันทึกได้(ดูMOI.11.1, ME 1 ร่วมด้วย) • ไม่สามารถที่จะระบุเวลาที่เอกสารถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก

• การทำสำเนาของสารสนเทศส่งผลให้เกิดข้อมูลที่เป็นเท็จ

• บันทึกความคืบหน้าภายในที่ไม่สอดคล้องกัน

บูรณภาพของเวชระเบียนผู้ป่วยมีความสำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยของการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากเป็น เครื่องมือหลักในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพและอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจทาง การแพทย์ติดตาม ทางคลินิก การเปลี่ยนถ่ายของการดูแลรักษาและ การสั่งยาและการระบุขนาดยา (ดูACC.3 ร่วมด้วย)

โรงพยาบาลใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์จะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้การคัดลอกและวางและดำเนินการ มาตรการในการทำงานร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการนี้ไม่ได้นำไปสู่ผลที่ไม่ได้ ตั้ง ใจที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย5,6

มีจำนวนของการดำเนินการที่โรงพยาบาลสามารถใช้เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคัดลอกและวางใน เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมคำแนะนำดังต่อไปนี้7

• จัดทำกระบวนการที่ตอบสนองการใช้งานที่เหมาะสมของการคัดลอกและวางเพื่อให้สอดคล้องกับ ภาครัฐ กฎระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานในอุตสาหกรรม

• จัดให้มีการฝึกอบรมและการศึกษาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้การคัดลอกและวางที่เหมาะสมให้กับ บุคลากรทุกคนที่บันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

• เฝ้าติดตามระดับการปฏิบัติตามแนวทางการใช้การคัดลอกและวางและการดำเนินการแก้ไขตามความ จำเป็น

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.11.1.1

❏ 1. โรงพยาบาลจัดทำกระบวนการเพื่อตอบสนองกับการใช้การคัดลอกและวางที่เหมาะสมเมื่อมีการใช้ เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

❏ 2. โรงพยาบาลให้การศึกษาและการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้การคัดลอกและวางที่เหมาะสมให้กับบุคลากร ทุกคนที่บันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

❏ 3. โรงพยาบาลเฝ้าติดตามระดับการปฏิบัติตามแนวทางการใช้การคัดลอกและวางและการดำเนินการแก้ไข ตามความจำเป็น ❏ 4. โรงพยาบาลจัดทำกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าการบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องจะได้รับการ เฝ้าติดตาม (ดูMOI.12 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน MOI.12 การที่โรงพยาบาลมีการประเมินเนื้อหาและความสมบูรณ์ของเวชระเบียนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรมการเฝ้าติดตามและพัฒนาสมรรถนะ

เจตจำนงของ MOI.12 แต่ละโรงพยาบาลกำหนดเนื้อหาและรูปแบบของเวชระเบียนผู้ป่วย และมีกระบวนการประเมินเนื้อหาและความ สมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน (ดูที่ MOI.11.1.1, ME 4) กระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนา สมรรถนะของโรงพยาบาลและทำอย่างสม่ำเสมอ การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยใช้การสุ่มตัวอย่างตามผู้ประกอบ วิชาชีพที่ให้การดูแล และประเภทของการดูแลที่ให้กระบวนการทบทวนนี้ทำโดยแพทย์พยาบาล และวิชาชีพอื่นที่ เกี่ยวข้อง ที่ได้รับสิทธิในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย การทบทวนดังกล่าวเน้นที่การบันทึกในเวลาที่กำหนด ความ สมบูรณ์การอ่านออกได้ของเวชระเบียนและสารสนเทศทางคลินิก และประเด็นอื่น ๆ (ดูที่ MOI.4, ME 6) กระบวนการทบทวนรวมถึงการประเมินเนื้อหาที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้กระบวนการทบทวนเวช ระเบียนขององค์กรใช้กับเวชระเบียนของผู้ป่วยที่กำลังรับการดูแลและของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายออกไปแล้ว ทั้งนี้เวชระเบียน ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบริการอื่น ๆที่จัดทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการทบทวน การสุ่มตัวอย่าง

ตัวแทนเวชระเบียนหมายถึงการสุ่มจากการบริการทุกด้าน ไม่เฉพาะเจาะจงจำนวน แต่อย่างไรก็ตามควรจะต้อง สมเหตุสมผลต่อโรงพยาบาล ตัวอย่างเช่น สุ่มตัวอย่างและเลือกเวชระเบียนมาจำนวน 5% จากเวชระเบียนทั้งหมด ถือว่าเป็นการสุ่มตัวอย่างตัวแทนได้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.12

❏ 1. มีการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่กำลังรับการดูแลและของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายออกไปแล้ว ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกแบบสุ่ม อย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าขึ้นอยู่กับกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ

❏ 2. การทบทวนทำโดยแพทย์พยาบาล และบุคคลที่ได้รับสิทธิให้บันทึกหรือจัดการเวชระเบียนผู้ป่วย

❏ 3. การทบทวนเน้นถึงการบันทึกในเวลาที่กำหนด การอ่านออกได้และความสมบูรณ์ของเวชระเบียน (ดูที่ MMU.4, ME 2)

❏ 4. กระบวนการทบทวนครอบคลุมเนื้อหาในเวชระเบียนตามที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้

❏ 5. ผลลัพธ์จากกระบวนการทบทวน จะถูกรวบรวมและนำเข้าสู่กลไกกำกับดูแลของศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาล

เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการดูแลสุขภาพ (Information Technology in Health Care)

มาตรฐาน MOI.13 มีการประเมินและทดสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ ก่อนที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล และจะต้องมี การประเมินถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อมีการนำไปใช้

เจตจำนงของ MOI.13 เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญได้โดยการทำงาน อย่างราบรื่นและเป็นไปอย่างอัตโนมัติส่งผ่านสารสนเทศผู้ป่วยโดยไม่มีการติดขัด และเสนอเครื่องมือที่ปลอดภัยที่ จะช่วยลดความเสี่ยงของความผิดพลาด ตัวอย่างเช่น การลดจำนวนการสั่งยาที่ผิดโดยมีกลไกสั่งจ่ายยาด้วยอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์และการใช้บาร์โค้ดสำหรับการบริหารงานที่เกี่ยวกับยา อย่างไรก็ตามถ้าไม่ได้มีการประเมินและทดสอบ ก่อนการนำไปใช้จริง เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยได้เช่นกัน

เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพแสดงถึงการลงทุนทรัพยากรที่สำคัญของโรงพยาบาล ด้วยเหตุนี้ต้องมีการเลือก เทคโนโลยีอย่างระมัดระวังเพื่อให้ตรงกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคตและทรัพยากรของโรงพยาบาล (ดูที่ GLD.7) อย่างไรก็ตามเทคโลยีใหม่ๆ อาจจะไม่สามารถใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีและกระบวนการที่มีอยู่เดิมได้เป็น อย่างดีระบบเทคโนโลยีใหม่อาจจะไม่ครอบคลุมถึงการให้บริการทั้งหมด (ตัวอย่างเช่น ห้องผ่าตัดหรือหน่วย ฉุกเฉิน) หรืออาจจะไม่เชื่อมโยงกับระบบปัจจุบัน ดังนั้นระหว่างการประเมินและทดสอบจะช่วยให้โรงพยาบาล สามารถประเมินได้ว่ากระบวนการและขั้นตอนในปัจจุบันและเทคโนโลยีสามารถทำให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลง และทำให้ เกิดขึ้นได้โดยการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้น เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับกระบวนการและขั้นตอน ในโรงพยาบาล, หน่วยงานอื่นนอกโรงพยาบาล, และผู้ให้บริการด้านสุขภาพทั้งภายในและภายนอก รวมถึง ผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องจากระดับของความซับซ้อนในการรวมกันนี้ทำให้ต้องการความร่วมมือของคณะกรรมการที่ เป็นหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ เช่น บุคลากรด้านคลีนิค บุคลากรที่ไม่ใช่ด้านคลีนิค และฝ่ายบริหาร ใน การเลือกขั้นตอน การนำไปใช้และการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

การรวมกันทุกส่วนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพอันใหม่และระบบปัจจุบัน อาจจะทำ โดยการทำสัญญาการให้บริการ ระดับของการประเมินและทดสอบก่อนที่จะนำไปใช้และการประเมินเมื่อมีการ นำไปใช้ต้องอยู่ในระดับเดียวกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาการให้บริการ นอกจากนี้การควบคุมสัญญาการให้บริการ จะต้องทำโดยบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ (ดูที่ GLD.6 และ GLD.6.1)

การติดตามการนำไปใช้ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญต่อโรงพยาบาลในแง่ของขั้นตอนที่จะประเมิน การใช้งานและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการประเมิน ไม่จำกัดเพียงแค่เทคโนโลยีได้ถูกออกแบบและนำไปใช้งาน ได้หรือไม่ แต่รวมถึงการที่เทคโนโลยีใหม่สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีปัจจุบันได้ดีมากแค่ไหน, และผลกระทบจาก เทคโนโลยีได้ปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดความผิดพลาด และทำให้ประสิทธิภาพโรงพยาบาลเพิ่มมาก ขึ้นอย่างไรบ้าง

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.13

❏ 1. คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพมีส่วนร่วมในการเลือก การนำไปใช้และการประเมิน เทคโนโลยีสารสนเทศ

❏ 2. มีการประเมินและทดสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพก่อนนำไปใช้

❏ 3. มีการประเมินผลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ ซึ่งรวมไปถึง การใช้งาน ความมีประสิทธิผล และความปลอดภัยของผู้ป่วย

มาตรฐาน MOI.14 โรงพยาบาลจัดทำ ธำรงรักษาและการทดสอบแผนงานสำหรับการตอบสนองต่อการหยุดทำงานของระบบข้อมูล ตามแผนและการหยุดทำงานโดยทันทีè P

เจตจำนงของ MOI.14 ไม่ว่าโรงพยาบาลได้ดำเนินการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์(EMR) หรือไม่ก็ตามรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อยู่ในส่วนใหญ่ของโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถพบได้ในการถ่ายภาพดิจิตอล การตรวจทดสอบและ การรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ ระบบการสื่อสาร ระบบสนับสนุนเภสัชกรรม และอื่น ๆในลักษณะเดียวกันนี้ ระบบ ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการให้ความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพสูง

การหยุดชะงักและความล้มเหลวของระบบข้อมูลเป็นเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้การหยุดชะงักเหล่านี้มักจะเรียกว่า การหยุดทำงาน อาจจะเป็นไปตามแผนหรือหยุดทำงานโดยทันทีการหยุดทำงานตามแผนกำหนดไว้สำหรับวัตถุ ประสงค์ของการดำเนินการบำรุงรักษา การซ่อมแซม อัพเกรด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในระบบ การหยุดทำงาน โดยทันทีเกิดขึ้นเป็นผลมาจากไฟดับหรืออุปกรณ์ล้มเหลวความล้มเหลวความร้อน/ระบบระบายความร้อน ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติความผิดพลาดของมนุษย์และการหยุดชะงักของบริการอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต การหยุดชะงักอื่น ๆ การหยุดทำงานโดยทันทีสามารถทำให้เกิดการล้มเหลวของระบบข้อมูล เช่น การสูญหายของข้อมูล ความ ล้มเหลวของฮาร์ดแวร์และการเสียหายของข้อมูล โรงพยาบาลอาจจะตกอยู่ในอันตรายของการสูญเสียข้อมูลถาวร หาก ระบบไม่ได้อยู่ในภาวะที่จะคัดลอกและเก็บข้อมูลได้10

เมื่อโรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับที่แตกต่างกันมากขึ้นและมากขึ้น ผล กระทบของการหยุดทำงานจะกลายเป็นความท้าทายมากขึ้นและมีโอกาสที่จะมีนัยสำคัญถ้าหยุดทำงานรุนแรง การ หยุดทำงานเป็นไปตามแผนหรือหยุดทำงานโดยทันทีกำหนดให้โรงพยาบาลที่พัฒนาวิธีการสองง่ามเพื่อความ ต่อเนื่องทางธุรกิจ วิธีการนี้ ครอบคลุมการระบุและการดำเนินการ

• กลยุทธ์ความต่อเนื่องเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยยังคงปลอดภัยในระหว่างการหยุดชะงักที่วางแผนและ เกิดขึ้น ทันทีและ

• กลยุทธ์การกู้คืนการหยุดทำงานและการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและรักษาบูรณ ภาพ ของข้อมูล

คุณภาพและความปลอดภัยของการดูแลผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความสามารถของโรงพยาบาลในธำรงการรักษาบริการดูแล ผู้ป่วยในช่วงระยะเวลาของการหยุดทำงานไม่ว่าจะวางแผนหรือไม่ได้วางแผน การกลับไปใช้กระดาษในช่วง ระยะเวลา การหยุดทำงานอาจจะไม่ได้เป็นตัวเลือกหรืออาจจะซับซ้อนเกินไปที่จะสนับสนุน ดังนั้นโรงพยาบาล จะต้องพัฒนา กลยุทธ์และมาตรการในการดำเนินการ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในระหว่างการหยุดชะงัก ของระบบข้อมูล คอมพิวเตอร์หยุดทำงานอนุญาตให้ “เข้าถึงการอ่าน" ข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญเท่านั้น อาจจะเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ ของการวางแผนการหยุดทำงาน การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการในช่วงเวลาหยุดทำงาน อาจจะต้องป้อนด้วยตนเอง หรือผ่านระบบการจัดการเอกสาร/สแกน

กลยุทธ์การกู้คืนการหยุดทำงานครอบคลุม “การกู้คืนในภาวะภัยพิบัติ” และ “การสลับการทำงาน” ของระบบการ สำรอง การกู้คืนและการบำรุงรักษาระบบข้อมูล ระบบกู้คืนในภาวะภัยพิบัติปกติแล้วมักจะตั้งอยู่ที่สถานที่ห่างไกล การกู้คืนข้อมูลที่อาจได้รับความเสียหายหรือถูกลบโดยไม่ได้ตั้งใจ ระบบเหล่านี้จะได้รับการสำรองเป็นระยะๆ โดย ปกติทุกคืน ระบบสลับการทำงานจะลดการหยุดชะงักในการดูแลผู้ป่วยและการสูญหายของข้อมูล ระบบสลับการ ทำงานมักจะอยู่ในอาคารและสลับไปภายในไม่กี่วินาทีหรือนาทีเมื่อระบบหลักใช้งานไม่ได้เนื่องจากการหยุดทำงาน ตามแผนหรือเกิดขึ้นโดยทันทีเครื่องมือมากมายที่มีใช้สำหรับการสำรองข้อมูล ในโรงพยาบาลที่ใช้ระบบคลาวด์ที่ ใช้สำหรับการสำรองข้อมูล ผู้ขายของระบบคลาวด์ที่ใช้จะต้องมีระบบสำรองข้อมูลที่เพียงพอในการที่จะลดการ หยุด ชะงักในการดูแลป้องกันการสูญหายของข้อมูลและรักษาบูรณภาพของข้อมูล โซลูชั่นการสำรองข้อมูลที่ดีที่สุด สำหรับ แต่ละโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมทั้งปริมาณของข้อมูลที่กำหนดให้การสำรองข้อมูล ความเร็วที่ ข้อมูล สามารถสำรองและกู้คืน สถานที่ตั้งของระบบการกู้คืน ค่าใช้จ่ายและปัจจัยอื่น ๆ

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ทดสอบแผนกู้คืนข้อมูลของตนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตามการสำรองข้อมูลง่ายๆ ควร จะทดสอบอย่างน้อยไตรมาสละครั้งและเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่สำคัญ เป็น สิ่ง สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำการทดสอบหลังจากการอัพเกรดเพื่อให้แน่ใจว่าการอัพเกรดทำงานอย่างเหมาะสมกับ ส่วนอื่น ของระบบ แผนของโรงพยาบาลสำหรับการหยุดชะงักโดยการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับขั้นตอนทางเลือก การทดสอบ แผนงานการจัดการในภาวะฉุกเฉินของโรงพยาบาล (ดูFMS.6 ร่วมด้วย) มีการดำเนินการที่กำหนด อย่างสม่ำเสมอ ในการสำรองข้อมูล และการทดสอบขั้นตอนการฟื้นฟูข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ใช้ระบบกระดาษ ที่ใช้หรือระบบ อิเล็กทรอนิกส์แผนควรจะมีเรื่องที่ตอบสนองกระบวนการความต่อเนื่องของสารสนเทศรวมทั้ง สารสนเทศด้านความรู้โรงพยาบาลที่วางแผนสำหรับการบำรุงรักษาการเข้าถึงระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์โดย ใช้กระบวนการสำรอง

ข้อมูลและการกู้คืนที่แตกต่างหลากหลายมีแนวโน้มที่จะได้สัมผัสกับความต่อเนื่องราบรื่นของการดูแลผู้ป่วยและการ สูญเสียข้อมูลน้อยที่สุด12,13 (ดูMOI.2 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MOI.14

❏ 1. โรงพยาบาลจัดทำและบำรุงรักษารวมทั้งการทดสอบแผนงานสำหรับการตอบสนองต่อการหยุดทำงาน ของระบบข้อมูลตามแผนและที่เกิดขึ้นทันทีอย่างน้อยปีละครั้ง

❏ 2. โรงพยาบาลระบุผลกระทบที่น่าจะเป็นในทุกแง่มุมของการดูแลและบริการจากการหยุดทำงานของระบบ ข้อมูลตามแผนและที่เกิดขึ้นทันที(ดูFMS.6, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 3. แผนงานครอบคลุมกลยุทธ์ความต่อเนื่องในการให้ความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง คุณภาพการดูแลผู้ป่วย และการให้บริการในช่วงเวลาที่มีการหยุดทำงานของระบบข้อมูลตามแผนและที่เกิดขึ้นทันที(ดูFMS.6, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. โรงพยาบาลระบุและการดำเนินยุทธวิธีการกู้คืนการหยุดทำงานและ กระบวนการสำรองข้อมูลอย่างต่อ เนื่องในการกู้คืนและรักษาข้อมูลและสร้างความมั่นใจในบูรณภาพของข้อมูล

❏ 5. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกลยุทธ์และยุทธวิธีที่ใช้สำหรับการหยุดทำงานของระบบข้อมูลตาม แผนและที่เกิดขึ้นทันที