II-3 สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย (ENV)

II-3 สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย (ENV)

II-3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย (ENV.1)

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพขององค์กรเอื้อต่อความปลอดภัยและความผาสุกของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และผู้มา

เยือน. องค์กรสร้างความมั่นใจว่าผู้อยู่ในพื้นที่อาคารสถานที่จะปลอดภัยจากอัคคีภัย วัสดุและของเสีย

อันตราย หรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ.

ก. ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ

(1) โครงสร้างอาคารสถานที่ขององค์กรเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดในการตรวจสอบอาคาร

สถานที่. การออกแบบและการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยของอาคารเอื้อต่อความปลอดภัย ความสะดวกสบาย

ความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ.

(2) มีผู้ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล66 ระบบงานบริหารอาคารสถานที่และการรักษาความปลอดภัย (อาจเป็น

บุคคลเดียวกันหรือหลายคน). มีการติดตามและปรับปรุงระบบงานดังกล่าวในทุกแง่มุม.

(3) องค์กรตรวจสอบอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาความเสี่ยงและการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยด้าน

สิ่งแวดล้อม อย่างน้อยทุกหกเดือนในพื้นที่ให้บริการผู้ป่วย / ผู้มาเยือน และทุกปีในพื้นที่อื่นๆ.

(4) องค์กรประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงรุก จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและนำไป

ปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงที่ระบุไว้ ป้องกันการเกิดอันตราย ตอบสนองต่ออุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ธำรงไว้ซึ่ง

สภาพอาคารสถานที่ที่สะอาดและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย / ผู้มาเยือน และบุคลากร.

(5) บุคลากรทุกคนได้รับความรู้และการฝึกอบรมเกี่ยวกับบทบาทในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อ

การทำงานอย่างมีประสิทธิผล.

Scoring guideline2011

38 โครงสร้างอาคารและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

1.อาคารสถานที่ได้รับการดูแลความสะอาดและเป็นระเบียบ, สถานที่อาจมีข้อจากัดซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น

2.มีการปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงทางโครงสร้างกายภาพที่เห็นชัดเจน

3.โครงสร้างอาคารสถานที่เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด, มีความปลอด ภัย สะดวก สบาย, พื้นที่ใช้สอยเพียงพอ, แสงสว่างและอุณหภูมิเหมาะสม, มีระบบระบายอากาศที่ดี, ได้รับการบารุงรักษาอย่างดี

4.มีความโดดเด่น เช่น เป็นสถานที่ที่ให้ความอบอุ่น เป็นมิตร, มีการออกแบบโครงสร้างสาหรับผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มโรค

5.เป็นแบบอย่างของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเยียวยาและความผาสุกของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และผู้มาเยือน

39 การกากับดูแลและบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

1.มีผู้ได้รับมอบหมายให้กากับดูแลระบบงานบริหารอาคารสถานที่และการรักษาความปลอดภัย

2.มีการตรวจสอบอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาความเสี่ยงและการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมตามกาหนดเวลา

3.มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงรุก, จัดทาแผนบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและนาไปปฏิบัติ, บุคลากรได้รับการฝึกอบรม

4.มีความโดดเด่น เช่น การทาให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการกากับดูแลและบริหารสิ่งแวดล้อมขององค์กร

5.มีการติดตามและปรับปรุงระบบงาน ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และผู้มาเยือน

ข. วัสดุและของเสียอันตราย

(1) องค์กรจัดการต่อวัสดุและของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย ด้วยการระบุรายการวัสดุและของเสียอันตรายที่

ใช้หรือที่เกิดขึ้น, ใช้กระบวนการที่ปลอดภัยในการเลือก สัมผัส68 จัดเก็บ69 เคลื่อนย้าย ใช้ และกำจัดวัสดุ

และของเสียอันตรายดังกล่าว.

Scoring guideline2011

40 การจัดการกับวัสดุและของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย

1.มีการระบุวัสดุและของเสียอันตรายที่มีในองค์กร และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการเลือก สัมผัส จัดเก็บ เคลื่อนย้าย ใช้ กาจัด

2.มีการฝึกอบรมและเตรียมอุปกรณ์ที่จาเป็น

3.มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กาหนดไว้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมอันตรายในทุกด้าน

4.มีความโดดเด่น เช่น การสร้างนวตกรรมในการกาจัดของเสียและวัสดุอันตรายที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างที่ดี มั่นใจว่าจะไม่เกิดอันตรายจากวัสดุและของเสียอันตราย

ค. การจัดการกับภาวะฉุกเฉิน

(1) องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ความล่อแหลมต่อการเกิดอันตราย เพื่อระบุภาวะฉุกเฉินที่เป็นไปได้และองค์กร

ต้องเข้าไปมีบทบาทในการให้บริการ.

(2) องค์กรจัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน ครอบคลุมการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยพิบัติ, การด􀂷ำเนินงาน

เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน73 และนำไปใช้ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์.

(3) องค์กรดำเนินการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทดสอบการจัดการเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน.

ง. ความปลอดภัยจากอัคคีภัย

(1) องค์กรจัดทำแผนความปลอดภัยจากอัคคีภัยและนำไปปฏิบัติ. แผนครอบคลุม การป้องกัน / การลดความ

เสี่ยงจากอัคคีภัย74, การตรวจจับแต่เริ่มแรก, การดับเพลิง, และการเคลื่อนย้าย / ขนย้ายออกจากอาคาร

อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอัคคีภัยหรือภาวะฉุกเฉิน.

(2) องค์กรให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักทั่วทั้งองค์กร และดำเนินการฝึกซ้อมแผนอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ75.

มีการค้นหาจุดอ่อนและโอกาสพัฒนา, ประเมินความพร้อมใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ, ประเมินประสิทธิผล

ของการฝึกอบรมเพื่อรองรับอัคคีภัย, และประเมินความรู้ของบุคลากร76 จากการฝึกซ้อม.

(3) องค์กรตรวจสอบ ทดสอบ บำรุงรักษาระบบและเครื่องมือต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย77 อย่าง

สม่ำเสมอ.

Scoring guideline2011.

41 การจัดทาแผน ฝึกซ้อม ตรวจสอบระบบ เพื่อป้องกันอัคคีภัย

1.โครงสร้างอาคารสถานที่ไม่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่ชัดเจน, มีการจัดทาแผนป้องกันและรองรับเมื่อเกิดอัคคีภัย หรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ

2.มีการอบรมและฝึกซ้อมแผน, มีการติดตั้งเครื่องมือและวางระบบเกี่ยวกับอัคคีภัยอย่างเหมาะสมกับประเภทวัสดุที่ติดไฟในแต่ละพื้นที่

3.การซ้อมแผนอัคคีภัยและภาวะฉุกเฉินครอบคลุมทุกสภาวการณ์และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอก รพ., มีการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงต่ออัคคีภัย และปรับปรุงเพื่อป้องกัน

4.มีการปรับปรุงแผนและการเตรียมความพร้อมจากการประเมินผลการฝึกซ้อม

5.การจัดการและการเตรียมความพร้อมเป็นแบบอย่างที่ดี

II-3.2 เครื่องมือและระบบสาธารณูปโภค (ENV.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีเครื่องมือที่จำเป็น พร้อมใช้งานทำหน้าที่ได้เป็นปกติ และมีระบบสาธารณูปโภค

ที่จำเป็นอยู่ตลอดเวลา.

ก. เครื่องมือ

(1) องค์กรจัดทำแผนบริหารเครื่องมือเพื่อการใช้งานที่ได้ผล ปลอดภัย และเชื่อถือได้ พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติ.

แผนประกอบด้วยกระบวนการคัดเลือกและจัดหาเครื่องมือ, การจัดทำบัญชีรายการเครื่องมือที่ครอบคลุมอยู่

ในแผน, การทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยของเครื่องมือก่อนใช้งานครั้งแรก, การตรวจสอบ ทดสอบ

และบำรุงรักษาเครื่องมือ อย่างเหมาะสมตามช่วงเวลาที่กำหนด, การให้ความรู้แก่ผู้ใช้, การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่

ในการใช้เครื่องมือได้อย่างปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับเครื่องมือ78.

(2) การจัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็น มีความพร้อมใช้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย เครื่องมือที่ซับซ้อน

ต้องใช้โดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ และองค์กรให้การอนุญาตในการใช้เครื่องมือชิ้นนั้น.

(3) องค์กรติดตามและรวบรวมข้อมูลของระบบบริหารเครื่องมือ และใช้เพื่อการวางแผนปรับปรุงหรือจัดหา

ทดแทนในระยะยาว.

Scoring guideline2011

42 เครื่องมือ

1.มีระบบการจัดการ การตรวจสอบความเพียงพอ ดูแลความพร้อมใช้ของเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละหน่วยงาน

2.มีการกาหนดระดับขั้นต่าของเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละหน่วยงาน สารวจและวางแผนจัดหาที่จาเป็นพร้อมใช้ ทาหน้าที่ได้เป็นปกติตลอดเวลา

3.มีเครื่องมือเพียงพอสาหรับการดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน, มีระบบบารุงรักษาเชิงป้องกัน ทดสอบ ตรวจสอบ และ calibrate ที่เหมาะสม

4.มีความโดดเด่น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดหาทดแทน, การจัดบริการเครื่องมือบางประเภทในลักษณะรวมศูนย์, การมีศักยภาพในการซ่อมบารุง

5.มีการประเมินและปรับปรุงการบริหารจัดการเครื่องมืออย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีเครื่องมือเพียงพอและพร้อมใช้ในทุกสถาน การณ์ อีกทั้งสามารถให้คาปรึกษาการบารุง รักษาแก่ รพ. ในเครือข่าย/หน่วยงานใกล้เคียงภายนอกได้

ข. ระบบสาธารณูปโภค79

(1) องค์กรจัดทำแผนบริหารระบบสาธารณูปโภคเพื่อการใช้งานที่ได้ผล ปลอดภัย และเชื่อถือได้ พร้อมทั้งน􀂷ำไป

ปฏิบัติ. แผนประกอบด้วยการจัดทำบัญชีรายการองค์กระกอบในการปฏิบัติงานของระบบ, แผนผังตำแหน่ง

ที่ตั้งต่างๆ ของระบบ, การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมตามเวลาที่กำหนด, แนวทาง

ปฏิบัติฉุกเฉินเมื่อระบบสาธารณูปโภคมีปัญหา80, การลดปริมาณเชื้อโรคใน cooling tower และระบบน้ำ,

ประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเพื่อควบคุมการปนเปื้อนในอากาศ81.

(2) องค์กรจัดให้มีระบบไฟฟ้าสำรองให้แก่จุดบริการที่จำเป็นทั้งหมด82 โดยมีการบำรุงรักษา ทดสอบ และตรวจ

สอบที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ.

(3) องค์กรติดตามและรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค และใช้วางแผนปรับปรุงหรือสร้างทดแทน.

Scoring guideline2011

43 ระบบสาธารณูปโภค

1.มีการจัดแผนผังตาแหน่งที่ตั้งต่างๆ ของระบบ, มีแนวทางปฏิบัติฉุกเฉินเมื่อระบบสาธารณูปโภคมีปัญหา

2.มีการจัดทาแผนบริหารระบบสาธารณูปโภคเพื่อการใช้งานที่ได้ผล ปลอดภัย และเชื่อถือได้, มีการตรวจสอบ ทดสอบ และบารุงรักษา อย่างเหมาะสมตามเวลาที่กาหนด, มีระบบไฟฟ้าสารองให้แก่จุดบริการที่จาเป็นทั้งหมด

3.มีการนาแผนบริหารระบบสาธารณูปโภคไปปฏิบัติอย่างครบถ้วน, มีความมั่นใจในการทางานของระบบไฟฟ้าสารอง การลดปริมาณเชื้อโรคหรือการปนเปื้อนในระบบปรับอากาศ ระบบน้า

4.มีการติดตามและรวบรวบข้อมูลเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค และใช้วางแผนปรับปรุงหรือสร้างทดแทน

5.มีระบบสาธารณูปโภคที่จาเป็นสาหรับให้การดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

II-3.3 สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (ENV.3)

องค์กรแสดงความมุ่งมั่นในการที่จะทำให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อสุขภาพ เอื้อต่อ

กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม.

ก. การสร้างเสริมสุขภาพ

(1) องค์กรจัดให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาพทางด้านสังคม จิตใจ83 ที่ดีสำหรับผู้ป่วย ครอบครัว และ

บุคลากร.

(2) องค์กรจัดให้มีสถานที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสำหรับบุคลากร ผู้ป่วย ผู้รับบริการอื่นๆ

และประชาชนทั่วไป.

(3) องค์กรส่งเสริมการเข้าถึง การบริโภคอาหาร / ผลิตภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับบุคคล.

(4) องค์กรส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ.

Scoring guideline2011

44 สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

1.มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบ สบายตา

2.มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางกายภาพและปราศจากการรบกวน

3.มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ความผ่อนคลาย การจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพสาหรับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่

4.มีความโดดเด่น เช่นมีสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของสาหรับบุคลากร ผู้ป่วย ผู้รับบริการอื่นๆ และประชาชนทั่วไปอย่างได้ผล

5.มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้แก่องค์กรอื่นๆ

ข. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

(1) มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ:

l มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล

l มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม

l มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดตามข้อกำหนดของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

l น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตามที่หน่วยราชการกำหนด.

(2) องค์กรจัดการเพื่อลดปริมาณของเสียโดยจัดให้มีระบบการนำมาใช้ใหม่ การลดปริมาณการใช้ การแปรรูป

และลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม.

(3) มีระบบและวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ:

l มีภาชนะรองรับขยะที่เหมาะสม และเพียงพอ

l มีระบบ / อุปกรณ์ในการแยกรับ / ขนย้าย / จัดที่พัก ขยะทั่วไป / ขยะติดเชื้อ / ขยะอันตราย ที่รัดกุม

l มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี

l มีกระบวนการในการกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายอย่างเหมาะสม

l มีการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อของผู้รับช่วง.

(4) องค์กรร่วมมือกับชุมชนและองค์กรอื่นๆ ดำเนินการพิทักษ์ปกป้องและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม, รวมทั้งมีการประเมิน

และฟังเสียงสะท้อนในการกำจัดของเสียของโรงพยาบาลที่มีผลกระทบต่อชุมชน.

Scoring guideline2011

45 การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

1.มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาในระบบบาบัดน้าเสียและกาจัดขยะซึ่งอาจจะมีโครงสร้างไม่เหมาะสมกับ รพ.

2.ระบบบาบัดน้าเสียมีขนาดเหมาะสมกับ รพ., มีกระบวนการที่ชัดเจนในการบาบัดน้าเสียและกาจัดขยะโดยผู้มีความรู้

3.มีระบบบาบัดน้าเสียและการกาจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ, ค่าน้าทิ้งที่ผ่านการบาบัดเป็นไปตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

4.มีความโดดเด่น เช่น การลดปริมาณของเสียและลดการใช้วัสดุที่ทาลายสิ่งแวดล้อม, การร่วมมือกับชุมชนในการพิทักษ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

5.มีการประเมินและปรับปรุงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างในด้านนี้ หรือได้รับการรับรอง ISO14000