SARIII-4 การดูแลผู้ป่วย

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ:

KPI

บริบท

-ตัวอย่างโรคที่คุณภาพการวางแผนดูแลมีความสาคัญ

-ตัวอย่างโรคที่คุณภาพการวางแผนจาหน่ายมีความสาคัญ

กระบวนการ

การดูแลทั่วไป

บทเรียนเกี่ยวกับการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะดวกสบาย เป็นส่วนตัว เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ

บทเรียนเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ให้แก่ผู้ป่วย

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน

บทเรียนเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์และจิตสังคม

บทเรียนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม

การดูแลและบริการที่มีความเสี่ยงสูง

บทเรียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง

บทเรียนเกี่ยวกับการทาหัตถการที่มีความเสี่ยง

บทเรียนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการผู้ป่วย เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษา

บทเรียนเกี่ยวกับ rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง

บทเรียนเกี่ยวกับการติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อนามาปรับปรุง

ผลการพัฒนาที่สาคัญ

SAR III-4 การดูแลผู้ป่วย

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ:

KPI

เพิ่มเติม ?

-จานวนผู้ป่วยที่ต้องทา CPR นอก ICU

-อัตราตายของผู้ป่วย STEMI

-อัตราการเกิด Rupture appendicitis

-อุบัติการณ์ผู้ป่วย Head injury เสียชีวิต

-อุบัติการณ์ผู้ป่วย Fracture of bone เกิดCompartment syndrome

-อัตรามารดาตาย (ต่อพันการเกิดมีชีพ)

-อุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์มีภาวะชักจาก PIH

บริบท

โรงพยาบาลให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ การดูแลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ป้องกันความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ป่วย มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรและการทำงานเป็นทีม

จัดให้มีแพทย์ทั่วไปแพทย์เฉพาะทางและแพทย์ที่ปรึกษา ดูแลผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลา มีพยาบาล เจ้าหน้าที่ผ่านการได้รับอนุญาติหรืออบรมตามสาขาดูแลหน่วยงานเฉพาะ มีการกำกับดูแลด้านการรักษาตามมาตรฐานโดยองค์กรแพทย์และองค์กรพยาบาล ร่วมกับการทำ Social round ของฝ่ายบริหาร ที่ดูความเหมาะสมในแผนการรักษาและประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของทีมการรักษาพยาบาล มีระบบการ Orientation จัดสอนวิชาการโดยแพทย์และพยาบาลรุ่นพี่ แบบแข้ม 3 เดือนแรก จัดพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีการทำ on the job training ส่งเสริมการเข้าร่วม Conference และ การนำเสนอทางวิชาการ การป้องกันความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยตามหลักของ Simple (Patient Safety Goals) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้จากผู้ชำนาญกว่า ปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสม

กระบวนการ

การดูแลทั่วไป

+บทเรียนเกี่ยวกับการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

โรงพยาบาลได้ปรับปรุงระบบดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการประเมินความเสี่ยง ทั้งจัดการอบรม qaulity round พี่สอนน้อง ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้รับการประเมินที่ดีขึ้น ทำให้ ไม่พบอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วย mild head injury ใน 2 ปีที่ผ่านมา

ได้ปรับปรุงระบบแพทย์เฉพาะทางและแพทย์เจ้าของไข้ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน โดยจัดแพทย์ประจำในหน่วยที่เกี่ยวข้องเป็นแพทย์เจ้าของไข้ร่วมด้วย กรณีแพทย์ที่ปรึกษาไม่ได้อยู่ประจำโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง การบันทึกเอกสารสมบูรณ์ ไม่ล่าช้า

งานพยาบาลคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานประเภทนั้นๆ เช่น ผู้ทำงานห้องคลอดต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและผดุงครรภ์ มีการกำหนด job description ในแต่ละแผนก โรงพยาบาลจัดอบรมความรู้ 3 เดือนแรกของการทำงาน มีระบบพี่เลี้ยงช่วยสอนงาน จัด 5 นาทีคุณภาพ พบว่าผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ

เภสัชกรรมได้จัดทำแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง HAD โดยภก.ณัฐพล สรรพประสิทธ์ มีระบบปรึกษาและดูแลเรื่องการแพ้ยา

คณะกรรมการดูแลผู้ป่วยร่วมกับ HRM จัดทำแผนฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติที่จำเป็นแก่พนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ CPR กำหนดให้มีการฝึกอบรม และ ปฏิบัติการ การเตรียมพร้อมรถฉุกเฉิน การซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่ อบรมอัคคีภัย เป็นต้น

การพัฒนาระบบ CPR โดยมีการจัดตั้งทีม มีการมอบหมายแต่ละแผนกรับผิดชอบในแต่ละส่วน กำหนดบุคลากรทั้งในเด็กและผู้ใหญ่จัดซ้อม CPR ในสถานที่ต่างๆ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่จัดให้มีการอบรม BLS&ACLS โดยแพทย์ของโรงพยาบาลเอง และ เชิญอายุรพทย์หัวใจ-อารุแพทย์ฉุกเฉินจากภายนอกมาสอนบรรยายและปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกคนเข้าร่วมฝึก BLS ด้วย ถึอเป็นคุณสมบัติหนึ่งของเจ้าหน้าที่ หากพบคนใกล้ตัวหรือพบเหตุนอกโรงพยาบาล จะสามารถช่วยเบื้องต้นได้ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการ CPR............KPI, อัตราการรอดชีวิตจาก CPR..............

+บทเรียนเกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะดวกสบาย เป็นส่วนตัว เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ

ร.พ.บางปะกอก 8 ได้ทำการปรับปรุงอาคาร โดยย้ายห้องฉุกเฉินจากอาคาร 2 มาที่อาคาร 1 ด้านหน้า ติดกับถนน ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นในการเข้ารับบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ และ ลดปัญหาในการเข็นเตียงผู้ป่วยผ่าน OPD พร้อมกันนั้นได้ทำการติดตั้งเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ให้อยู่ใกล้กับห้องฉุกเฉินเพื่อความรวดเร็วในการส่งผู้ป่วยทำ CT scan คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2560

การดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน Patient Safety Goals นำ SIMPLE มากำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ต่อผู้รับบริการและสังคม เช่น การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคกำหนดให้ผู้ป่วยต้องอยู่ห้องเดี่ยวแยก ผู้ป่วยทุกรายที่เป็นโรคติดต่อทั้งทาง Air born Droplet และ Contact จะได้รับการประเมินจะมีการอธิบายข้อมูลให้ผู้ป่วย/ญาติทราบวิธีปฏิบัติตัว กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อหรือผู้ป่วยที่ Low Immune ทุกรายจะถูกคัดกรองและให้เข้ารับการรักษาในห้องแยก (จัดทำเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วย)???????

กรณีผู้ป่วยนอกมีแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคสุกใส โรคอุบัติใหม่ ซึ่งจะมีห้องตรวจโรคเฉพาะ จัดให้พบแพทย์ มีดำเนินการตามแนวทางแบบ One Stop Service มีเจ้าหน้าที่บริการชำระเงินและจ่ายยาในที่เดียวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้

ความสะดวกในการหาซื้อของใช้ อาหาร สำหรับพนักงานและญาติผู้ป่วย จัดให้มีซุ้มอาหาร ซุ้มกาแฟ นอกจากนี้ได้จัดทำสัญญาเปิดร้านสะดวกซื้อในพื้นที่โรงพยาบาล ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว ทำให้ไม่ต้องเดินทางออกนอกโรงพยาบาลมีเวลาพักมากขึ้นและดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น

+บทเรียนเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ให้แก่ผู้ป่วย

การทบทวนระบบ Fall management โดยมีการประเมินความเสี่ยงและแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม ทำให้อัตราการตกเตียงลดลง....KPI

ทางทีมยังเห็นโอกาสพัฒนาในการลดความซ้ำซ้อน และ เพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยจะระบุสถานที่หรือกลุ่มผู้ป่วย ที่ต้องได้รับการดูแลแบบ strict fall อย่างอัติโนมัติเพื่อลดการประเมินซ้่ำซ้อน เช่น ผู้ป่วยห้องคลอด หรือ ทารกแรกเกิด เป็นต้น

จัดทำระบบป้องกันการแผลกดทับ ให้มีการประเมินโดยใช้ Barden Score มีแนวทางปฏิบัติในการป้องกันแผลกดทับ มีระบบการพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงกรณีที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและการดูแลรักษาที่ดีขึ้น ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่พบผู้ป่วยแผลกดทับระดับ 3-4.....?

การทบทวนผู้ป่วยเกิดแผล electric burn ขณะผ่าตัดผู้ป่วย มีการพัฒนาปรับหลายๆกระบวนการ แต่ก็ยังมีอุบัติการณ์ของการเกิดแผล electric burn ล่าสุดเปลี่ยนเป็นแผ่นรอง แบบ inductive wall จากในปี 2558 พย 9 ราย หลังจากปรับปรุงตั้งแต่ต้นปี 2559 ยังไม่พบอุบัติการณ์เกิดขึ้นอีกเลย

+บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน

การทบทวนผู้ป่วยเด็กเสียชีวิต วินิจฉัย Viral endocarditis ได้ให้การดูแลรักษาอย่างเต็มที่ โดยกุมารแพทย์ ทำการปรึกษากุมารแพทย์ที่บางปะกอก9 และเชิญแพทยผู้เชี่ยวชาญจากบางปะกอก 9 มาร่วมรักษา สุดท้ายผู้ป่วยเกิด arrthymia และ cardiac arrest แพทย์ร่วมกับผู้บริหารได้ลงมาสื่อสารกับญาติด้วยตนเอง แสดงความเสียใจ การส่งพนักงานไปช่วยงานศพ การติดตามผล orthopsy เพื่อตอบคำถาม แม้ทุกอย่างจัดการด้วยความรวดเร็ว แต่ญาติยังไม่สบายใจเนื่องจากอาการเด็กทรุดเร็วมาก และสิ่งหนึ่งที่ญาติติดใจคือ ถ้าส่งไปบางปะกอก 9 น่าจะได้รับการรักษาที่สุดกว่านี้ หลังจากประชุมกันในทีม มีการจัดการนโยบายทบทวนความรู้ให้แก่แพทย์และพยาบาลโดยเชิญอ.ไพไรจน์ กุมารแพทย์โรคหัวใจมาบรรยายให้แนวคิด และปรับนโบายการส่งตัวผู้ป่วยเพื่อรักษาต่อแม้ดูว่ายังไม่เกินความสามารถแต่หากมีความเสี่ยงสูงก็สามารถส่งตัวรักษาต่อได้ ทำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อจำนวนหลายราย......

จัดระบบบริหารความเสี่ยงโดยให้ผู้บริหารเข้าร่วมด้วย จัดทำ Trigger tool และ มีการรายงานความเสี่ยง ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสามารถแจ้ง supervior และผู้บริหารได้ทันทีทั้งด้านคลินิกและอื่นๆ

+บทเรียนเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์และจิตสังคม

การ CPR ผู้ป่วยเสียชีวิตการช่วยฟื้นคืนชีพไม่สำเร็จ กรณีฉุกเฉินญาติทำใจยอมรับลำบาก หรือ ปฎิเสธสิ่งที่เกิดขึ้น หลังสอบถามประวัติจากญาติแล้ว จัดให้. Supervisor ให้พูดคุยกับญาติเบื้องต้นเพื่อ ปลอบและเข้าใจความรู้สึกของคนไข้ รวมถึงการแจ้งผลให้ญาติรับทราบเป็นระยะ และการตัดสินใจสิ้นสุดการ CPR ทำให้การคุยหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

การลดความกังวลก่อนผ่าตัดหรือหัตถการ โดยจัดทีมแพทย์ พยาบาลเยี่ยมก่อน และ หลังผ่าตัด ในการพูดคุยให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อลดความวิตกกังวล รวมทั้งประเมินความพร้อมของร่างกาย ในผู้ป่วยทุกราย การทำหัตถการบางอย่างให้ทีมสหวิชาชีพร่วมให้ข้อมูลด้วย เช่น การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพิ่อประเมินความเสี่ยง อารมณ์ สังคม เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย

เด็กป่วยสามารถให้ญาตินอนเฝ้าบนเตียงกับผู้ป่วยได้ กรณีเด็กเล็กจัดclipให้ได้และมารดานอนโซฟาในห้องรวมได้มีการจัดเก้าอี้ให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าผู้ป่วยได้

พัฒนาด้านสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย โดยไม่ติดป้ายชื่อผู้ปวยที่หน้าแฟ้มและหน้าห้องพัก กำหนดไม่ให้มีการบอกห้องพักผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสามารถแจ้งแก่เจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดบุคคลเข้าเยี่ยมหรือติดต่อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับเป็นส่วนตัวรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

+บทเรียนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม

ระบบการปรึกษาผู้ป่วย ออกแบบให้มีการ Consultation note การตอบกลับ สามารถเขียนการติดตามเพิ่มเติมในใบ progress note และยัง สามารถประสานพูดคุยติดต่อกันได้โดยตรง ถือเป็นบรรยากาศการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เภสัชกร โภชนากร และ กายภาพ เป็นต้น ทำให้การสื่อสารข้อมูลสำคัญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การทบทวนการแพ้ยาได้มีการประชุมในคณะกรรมการยา(PTC) มีการพัฒนาระบบ โดยการสอบถามผู้ป่วยที่มาในแผนกผู้ป่วยนอกทุกครั้ง กรณีไม่มีบันทึกและผู้ป่วยแจ้งประวัติการแพ้ยา ทางแผนกผู้ป่วยนอกจะประสานเภสัชกร เพิื่อมาประเมินผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก เภสัชกรจะบันทึกข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาในระบบคอมพิวเตอร์และให้บัตรแพ้ยากับผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลที่คอยเตือนไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการแพ้ซ้ำ สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบ

พัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในโรงพยาบาล จัดทำแบบฟอร์มการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ทำให้หน่วยงานที่รับการส่งต่อได้รับข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วนมากขึ้น

การประสานส่งต่อข้อมูลโรงพยาบาลในเครือ เมื่อมารักษาต่อที่โรงพยาบาลจะมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งข้อมูลประวัติการรักษา ยาที่ได้รับ และผลการตรวจวินิจฉัย เป็นต้น โดยได้รับคำยินยอมจากผู้ป่วย ส่งผ่านทาง Fax หรือ ระบบสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละโรงพยาบาลในเครือ ทำให้ทางโรงพยาบาลสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

การดูแลและบริการที่มีความเสี่ยงสูง

+บทเรียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง

กลุ่มโรคหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ACS, Stroke, Sepsis, PPH และ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด เป็นต้น หลังจากมีการนำ CPG การรักษา หรือ การประเมิน ที่จัดทำมาใช้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนดส่งผลให้ผลลัพท์ออกมาดีขึ้นในหลายๆด้าน

การพัฒนาเพิ่มทักษะแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางช่องท้อง กรณีนอกเวลาราชการหรือไม่มีแพทย์เอกซเรย์

เมื่อมีอาการที่สงสัยการบาดเจ็บในช่องท้อง การตรวจ Focused assessment with sonography for trauma(FAST)

จะช่วยการวินิจฉัยเบื้องต้นได้เร็วขึ้น จึงได้ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แพทย์ในโรงพยาบาลถึงวิธีการทำและแปลผล โดยแพทย์เอ็กซเรย์ของเรา มีแพทย์หลายท่านสนใจเข้าร่วมอบรมและลงมือปฏิบัติทำอัลตร้าซาวด์ด้วยตนเอง ทำให้เข้าใจวิธีการและนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยได้ดีขึ้น

จากการทบทวนระบบ CPR ได้มีการปรับปรุงการ assess iv. ในเด็กอายุน้อยที่หาเส้นได้ยาก เบื้องต้นต้องให้ยาผ่านทาง ETT จึงมีการปรับปรุงระบบให้สารน้ำ การจัดหาเข็มแทงให้ iv ทาง tibial bone สอนวีดีโอเรียนการแทงส่งให้ทางไลน์ และได้ดำเนินการจัดตั้ง iv team สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการให้ IV

พัฒนาระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ใช้ ESI ในสถานการณ์ปกติ และ .........สำหรับ mass-casualty incident ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงสูงอาการหนักได้รับการรักษาที่ทันท่วงที................kpi

มีระบบการคัดแยกพื้นที่จัดให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสงสัยว่าจะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจติดเชื้อแพร่ระบาดและจัดช่องบริการทางด่วนมีการทำป้ายสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือโดยผู้ป่วยมีส่วนร่วม มีการจัดตั้งหน้ากากอนามัยไว้ในหลายจุดบริการ มีจุดแอลกอฮอล์เจลใช้ล้างมือทำความสะอาด ผู้ป่วยและญาติสามารถสามารถใช้ได้

+บทเรียนเกี่ยวกับการทาหัตถการที่มีความเสี่ยง

ทบทวนการใส่สายสวนปัสสาวะ เนื่องจากสถานการณ์ของเรามีผู้ป่วยผ่าตัดเข่าค่อนข้างสูง ผู้ป่วยชายสูงวัยมีต่อมลูกหมากโต มีความเสี่ยงในการใส่สายสวนปัสสาวะ ในปีนี้มีปัญหาอยู่ 2 รายที่ได้รับการใส่สายสวนแล้วมีเลือดออก โดยพยายามดันเข้าไปสุดแล้ว blow balloon โดยไม่คาดคิดว่าสายงอพับด้านใน ทำให้เกิด urethral injury จนต้องเลื่อนผ่าตัด และ อีกหนึ่งรายเป็นผู้ป่วยมาด้วย full bladder ใส่สายสวนปัสสาวะแล้ว วันถ้ดมายังมี full bladder โดยไม่แน่ใจว่าใส่เข้าหรือไม่ 2 ราย จึงนำไปสู่การปรับระบบ โดยการออก WI สอนวิธีการใส่อย่างถูกขั้นตอน ที่สำคัญคือความรู้สึกขณะใส่เป็นส่วนสำคัญสุด โดยเน้น หากต้องใช้แรงดันมากกว่าปกติ หรือ ใส่แล้วสายถอยไม่เข้าง่ายอย่างที่ควร ต้องให้ผู้ที่ชำนาญกว่าหรือแจ้งให้แพทย์ทราบและมาช่วยประเมิน/ช่วยใส่ต่อให้ รวมถึงสร้างกิจกรรมกระตุ้นสนใจเป็นระยะเพื่อความยั้งยืนกันต่อไป หลังจากนั้นยังไม่พบอุบัติการณ์

+บทเรียนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการผู้ป่วย เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษา

กรณีทบทวนผู้ป่วยย้ายกลับ ICU ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ CT scan พบ cerebellar hemorrhage ได้รับการสังเกตุอาการทางสมอง

ที่ไอซียูหลังยัายขึ้น ward ได้ 3 วัน พบว่า ผู้ป่วยมีเริ่มอาการสับสน GCS ลดลง ทำ CT brain ซ้ำพบว่ามี sign ของ cerebellar herniation

จึงได้ทำการผ่าตัดสมอง หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดีกลับบ้านได้ เป็นผลจากการเฝ้าระวังทาง neuro sign ต่อเนื่อง แม้ผู้ป่วยย้ายออกจาก ICU

แล้วการเฝ้าระวังที่ต่อเนื่องก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ

จากการทบทวน unplan ICU, เสียชีวิต ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการเฝ้าระวัง จึงได้จัดทำแบบประเมิน MEWS score ใช้ประเมินผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทุกราย แต่การใช้ช่วงแรกบันทึกไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที มีการประสานกับทีม NSO เพื่ออบรมติดตามวิธีการบันทึก จากการทำ quality round ประจำวัน พบว่าทำให้บันทึกได้ดีขึ้น

PCT มีการกำหนดการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงใน clinical tracer เช่นการเฝ้าระวังอาการ shock ในผู้ป่วยไข้เลือดออก, การเฝ้าระวัง shock ในผู้ป่วย SIRS , การประเมิน Glasgow Coma Score ในผู้ป่วย head injury, การประเมินในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นต้น พบมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างครบถ้วน

+บทเรียนเกี่ยวกับ rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง

โรงพยาบาลจัดตั้ง Blue Team ในระบบ Rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและ/หรือเมื่อบุคลากรต้องการความช่วยเหลือจะประกาศ Code Blue เพื่อเรียก Blue Team มาช่วยสนับสนุนดูแลผู้ป่วย มีการฝึกซ้อมปฏิบัติการ CPR เพื่อให้ทีมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพ มีการทบทวนคู่มือการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการทำงาน

นอกจากใช้ MEWS Score เพื่อประเมินผู้ป่วย ทางโรงพยาบาลได้ออกนโยบายย้ายผู้ป่วยไปยังแผนก ICU กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลง โดยพยาบาลสามารถแจ้งผู้ตรวจการพยาบาล ซึ่งเมื่อผู้ตรวจการพยาบาลมาดูแลผู้ป่วยแล้ว แม้ไม่ถึงเกณฑ์แต่หากมีความกังวลเรื่องอาการผู้ป่วย สามารถแจ้งแพทย์เพื่อย้ายผู้ป่วยลงไป ICU ได้

+บทเรียนเกี่ยวกับการติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อนามาปรับปรุง

การทบทวนร่วมของแต่ละทีม ในแต่ละวันการทบทวนการดูแลผู้ป่วยในการประชุมใน Morning Brief และ IR Feedback เบื้องต้น นำเข้าสู่ คณะกรรมการ PCT , Morbidity and mortality conference ขององค์กรแพทย์, Risk team เป็นต้น เพื่อติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางคลินิก ปรับปรุงการปฏิบัติงานและนำไปสู่การแก้ไขที่เป็นระบบ เช่น การป้องกัน birth asphyxiaผู้ป่วย PPH, PIH, ACS,Trauma ระบบการปรึกษาแพทย์นอกเวลา

ระบบการบริหารยามีการจ่ายยาจากแผนกเภสัชกรให้กับผู้ป่วยพบว่ามีความผิดพลาดมีแนวโน้มลดลงจากการแก้ไขปัญหามีการลาออกของบุคคลากรวิชาชีพ ทำให้การสอนกำกับดูแลพนักงานใหม่ขาดการทวนสอบหรือตรวจสอบประเมินผล อีกทั้งยังมีการปรับปรุงการจัดยาให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจนมากขึ้น

สายงานพยาบาลได้นำเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น เรื่องการพลัดตกล้มของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยทั่วไปมากำหนดแนวมาการปฏิบัติเฝ้าระวังและแก้ไขกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในการเฝ้าระวังในระบบการบริหารยาพบว่าเกิดความเสี่ยงในระดับ A-C มีแนวโน้มลดลง

ให้มีการบันทึกเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน นำมาทบทวนหาแนวทางป้องกันแก้ไข และบันทึกไว้เป็นแนวทางปฏิบัติในครั้งต่อๆ ไป และให้บันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

มีการติดตาม เรื่องการ Identified ผิดพลาดในหลายแผนก เช่น แผนกเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก/ใน แผนกปฏิบัติการ แผนกงานส่งเสริมสุขภาพ จากประเด็นปัญหาการเขียนชื่อผู้ป่วยผิด การเขียนใบยาผิด การชื่อใบorderแพทย์ผิด การระบุสิ่งส่งตรวจผิด การปิดจุกสิ่งส่งตรวจผิด การใช้ใบตรวจร่างกายผู้ป่วยผิดชื่อ เป็นต้น ได้มีการแก้ปัญหานำสู่การปริ้นสติ๊กเกอร์ชื่อผู้ป่วยเพื่อลดการคัดลอก มีการทวนสอบซ้ำกับผู้ป่วยทุกครั้ง มีถ่ายรูปและscanบัตรหรือตรวจ Passport ผู้ป่วยการขึ้นทะเบียนประวัติผู้ป่วยต่างด้าวทุกครั้ง ปัจจุบันยังพบอุบัติการณ์แต่มีแนวโน้มลดลง

การส่งมอบบุตรผิดคนจากการบ่งชี้ที่มีชื่อคล้ายกันได้มีการปรับระบบการคัดแยกเด็กติดป้ายสีที่คลิป Chart ผู้ป่วย มีการจัดแยกพื้นที่ให้ชัดเจนมีการตรวจสอบป้ายข้อมือข้อเท้าเด็กทุกวันทุกเวรมีการเพิ่มข้อมูลวัยเดือนปีเกิดแม่ในป้ายข้อมือลูก มีการให้มารดาหรือบิดามีส่วนร่วมในการบ่งชี้จะเก็บป้ายข้อมือ/ข้อเท้าไว้เมื่อมีการส่งมอบบุตรปัจจุบันยังไม่พบอุบัติการณ์ส่งมอบทารกผิดคน

ผลการพัฒนาที่สาคัญ

1.การพัฒนาทีม Code blue จัดโครงสร้าง ระบบการซ้อมและการอบรมอย่างต่อเนื่องทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

2.พัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการ MEWS score

3.การปรับปรุงรถฉุกเฉินสำหรับหอผู้ป่วยและกล่องยาฉุกเฉิน

4.มีแนวการการเฝ้าระวังและการปรับปรุงแบบฟอร์มการประเมินผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม

5.การปรับปรุงแบบบันทึกการรับทราบข้อมูลและยินยอมรับการรักษา

โอกาสพัฒนา

1.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นระบบ

2.