Murphy Law vs FMEA

Murphy's Law กฎนี้มีความหมายคือ "สิ่งใดที่มีช่องให้พังได้ ไม่ต้องห่วงเลย มันจะพังแน่ๆ" (Anything that can go wrong will go wrong)

ความหมายที่แท้ของกฏเมอร์ฟี่

“ถ้ามันมีโอกาสผิดพลาด มันก็จะเกิด!”

กฎแห่งเมอร์ฟี่ โดยภาษาอังกฤษใช้คำว่า Murphy's Law

บางคนอาจจะรู้จักกฏนี้มาจากหนังเรื่อง Interstellar หรือ ได้ยินจากที่ทำงาน โดยเฉพาะสายยานยนต์ หรือ ชิ้นส่วนเครื่องบิน ประโยคค่อนข้างมีความเป็นแง่ลบเล็กๆ ซึ่งชวนให้สงสัยว่าประโยคแบบนี้ มันจริงเหรอ แล้วเราจะปล่อยทุกอย่างให้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลยเหรอ?

กฎนี้มีความหมายคือ "สิ่งใดที่มีช่องให้พังได้ ไม่ต้องห่วงเลย มันจะพังแน่ๆ" (Anything that can go wrong will go wrong)

ทำไมอะไรบางอย่างเหลือช่องทางซวยแค่นิดเดียว เราก็ยังจะซวยไปเจอมันจนได้ ที่ฝรั่งมีการตั้งชื่อเหตุการณ์แบบนี้ว่า กฎแห่งเมอร์ฟี่

ผมจึงไปทำการหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเล็กน้อย

หรือแปลได้อีกอย่างว่า อะไรก็ตามถ้าเราเปิดช่องให้อีกฝ่ายเล่นงานเราแล้วล่ะก็ รับรองได้เราจะโดนเล่นตรงนั้นแน่ๆ

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติก่อนการสอบ เราอ่านหนังสือมาแล้ว 9 หัวข้อจากทั้งหมด 10 หัวข้อ เดาใจอาจารย์ว่าคงไม่ออกอีกหัวข้อที่เราไม่ได้อ่านหรอก แล้วพอวันสอบ อาจารย์ก็จะออกสอบไอ้หัวข้อนั้นล่ะที่เราไม่ได้อ่านมา

หรือรถยนต์เราหมดประกันวันนี้ แล้วก็คิดว่าเดือนหน้ามีเวลาค่อยไปต่อละกัน ยังไงขับรถมาทั้งปีก็ไม่เคยชนเลยนี่ ซึ่งภายใน 1 เดือนนั้นแหละที่ไม่ได้ต่อประกัน รถก็ชนซะ แจ็คพ็อตแตกพอดี

ถ้าเราปล่อยให้มีเหลี่ยมที่จะผิดพลาดเกิดขึ้น เหมือนสวรรค์จะลงโทษเรา และเล่นงานเราด้วยจุดเล็กๆจุดนั้น ทั้งๆที่เราคิดว่า เฮ้ย ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลย

จุดเริ่มต้นของกฎของเมอร์ฟี่มาจากไหน มีคนอ้างอิงหลายแหล่ง แต่ที่น่าเชื่อถือที่สุด เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาในปี 1948 โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทำการทดลองในโปรเจ็กต์ชื่อ MX981 โดยมีจุดประสงค์คือ สิ่งมีชีวิตจะมีสภาพร่างกาย รับแรงกระแทก G-Forces ได้มากแค่ไหน

วิศวกรชื่อเอ็ดเวิร์ด เมอร์ฟี่ ออกแบบ Rocket Sled หรือเครื่องพุ่งจรวดแบบไถไปตามรางรถไฟ โดยเครื่องนี้ จะพุ่งไปในความเร็วจัด แล้วหยุดกะทันหันทันที เพื่อดูว่าสิ่งมีชีวิตเมื่อเจอสภาวะที่ความเร็วลดลงกะทันหัน จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่

ซึ่งตอนแรกจะมีการทดลองกับลิงชิมแปนซีก่อน และถ้าลิงชิมแปนซีปลอดภัยดี ก็จะมาทดลองกับมนุษย์ต่อไป

ในช่วงการทดลองกับลิงชิมแปนซี ปรากฏว่าผู้ช่วยของเอ็ดเวิร์ด เมอร์ฟี่ได้ทำอะไรผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ในการทดสอบครั้งแรก คือหน้าจออ่านค่ากลับไม่ขึ้นตัวเลข สาเหตุก็เพราะว่าเสียบสายไฟผิดเส้น จากนั้นผู้ช่วยก็ขอโทษ แล้วสลับสายไฟใหม่ ก่อนเริ่มการทดสอบครั้งที่ 2 ปรากฏว่าคราวนี้เซ็นเซอร์ไม่อ่านอีก ซึ่งก็ต้องมาเสียเวลาซ่อมเซ็นเซอร์ก่อนจะได้ทดสอบครั้งที่ 3

ซึ่งนั่นทำให้เอ็ดเวิร์ด เมอร์ฟี่โมโหผู้ช่วยมาก แล้วด่าไปว่า "ถ้าหมอนี่มีช่องทางจะทำมันพัง เขาจะทำมันแน่นอน"

หลังจากทดลองกับลิงชิมแปนซีเสร็จแล้ว จึงมาทดสอบกับมนุษย์ โดยคนที่อาสาเป็นตัวทดลองคือกัปตันจอห์น สแตรปป์ ตำแหน่งเป็นผู้พันของกองทัพอากาศ และเป็นคุณหมอผ่าตัดของกองทัพด้วย ปรากฏว่าการทดสอบคราวนี้ผ่านไปได้ด้วยดี โดยผู้ช่วยไม่ก่อข้อผิดพลาดอะไรเลย

หลังการทดสอบเสร็จสิ้น กัปตันสแตรปป์มาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ซึ่งนักข่าวถามว่าทำไมการทดสอบด้วย Rocket Sled ที่น่าจะดูอันตราย แต่กลับเทสต์ผ่านได้สบายๆ ตามจำนวนครั้งที่กำหนด โดยไม่มีข้อผิดพลาดอะไรเลยและไม่มีใครบาดเจ็บด้วย

ซึ่งกัปตันสแตรปป์จึงเล่าว่านั่นเพราะทีมงานทุกคน "ยึดมั่นกฎของเมอร์ฟี่เอาไว้ก่อนจะทำการทดสอบจริง"

กัปตันสแตรปป์กล่าวว่า ตอนทดลองกับลิงชิมแปนซีเมื่อเห็นข้อผิดพลาดเยอะ ดังนั้นก่อนการทดสอบจริง จึงมีการทำเช็กลิสต์ทุกอย่างโดยละเอียด เพื่อปิดโอกาสทั้งหมดที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้ และจำลองสถานการณ์ว่าถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะต้องแก้ปัญหากันแบบไหน

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว มั่นใจว่าไม่มีช่องว่างให้ความผิดพลาด จึงเริ่มการทดสอบ และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการผลการทดสอบที่ลุล่วงไปได้ด้วยดี

หลังจากนั้นเป็นต้นมา คำว่ากฎแห่งเมอร์ฟี่ก็เลยแพร่หลายขึ้น ในตอนแรกคนก็ใช้กันในแง่เป็นการเตือนให้ผู้คนรอบคอบ จะทำอะไรต้องเช็กลิสต์เสมอ และปิดข้อผิดพลาดไว้ทุกอย่าง เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แต่ในภายหลังกฎแห่งเมอร์ฟี่ ก็ทำให้เห็นว่าถ้าคนเรามันจะซวยมันก็ซวยได้ ต่อให้พยายามปิดช่องทางผิดพลาดมากแค่ไหน แต่กฎแห่งเมอร์ฟี่ก็จะเล่นงานเราได้อยู่ดี

ตัวอย่างเช่น เรานั่งอยู่บ้านเพื่อรอพัสดุทั้งวันยังไม่ได้กินอะไรเลย แล้วไปรษณีย์ไม่มาซะที ก็เลยตัดสินใจขอแว้บไปซื้อของที่เซเว่นแป้บนึง ปรากฎว่าไอ้ช่วง 10 นาทีที่เราแว้บไปนั่นแหละ พัสดุมาส่งพอดีแล้วดันไม่เจอเรา

หรือว่า เราตามล็อตเตอรี่เบอร์นึงมาตลอดปี แต่มีงวดนึงไม่ซื้อ เพราะคิดว่าตามมาทั้งปีแล้วไม่เห็นถูกเลย ซึ่งก็แน่นอนว่าไอ้งวดที่เราไม่ได้ซื้อ ดันออกซะอย่างนั้น

ปกติจะพบกระเป๋าตังค์ติดตัวไว้ตลอด แต่มีวันนึงรีบออกจากบ้าน ลืมเอากระเป๋าตังค์มา พอขับรถออกมาจากบ้านแล้ว สักระยะก็เลยคิดว่าเออช่างเถอะ เดี๋ยวใช้จ่ายผ่านแอพละกัน ปรากฎวันนั้นระบบล่มพอดี ร้อยวันพันปีไม่เคยเกิดขึ้น แต่มาล่มในวันนี้ไม่ได้พกเงินมาซะอย่างนั้น

ถ้าย้อนไปดูในหน้ง Interstellar จะสังเกตุว่าผู้เป็นพ่อกล่าวแย้งกับประโยคนี้นิดๆ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับบอกว่ามันไม่จริง

▪️ปกติแล้ว แล้วกฏของเมอร์ฟี่เอาไว้ใช้ตอนไหน?

ล้างรถใหม่ๆแล้วต้องเจอกับฝนตกทันที หรือใครก็ตามเขียน BD ดราฟเอาไว้แล้วลืมเซฟ ดันไปปิดก่อน (ใช่ครับ มันเคยเกิดขึ้นกับผม 😢) กรณีแบบนี้บางคนจะพูดขึ้นมาว่า "whatever can go wrong will go wrong" ผมว่าภาษาไทยสำหรับภาษิตนี้น่าจะรูปประโยคที่เราใช้กันบ่อยๆว่า "นั้นงัย...ว่าแล้ว" (ทั้งๆที่จริงอาจไม่เคย "ว่า" มาก่อนเลย)

ที่น่าสงสัยเล็กๆคือ เวลาไป search คำนี้ใน google จะพบว่ามีรูปประโยคจะแตกต่างกันไปเล็กๆน้อยๆ (ไม่เหมือนสุภาษิตทั่วไปที่มักจะเป๊ะๆ) ตามแต่ว่าเราไป search จากที่ไหน เช่น

"หากว่ามันมีวิธีการที่จะทำให้ผิดพลาด มันก็จะเกิดขึ้น"

"ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด จะผิดพลาด”

"ถ้ามีโอกาสที่จะผิด 1 ในล้าน ผู้ช่วยผมจะหามันเจอ"

หรือถ้าจากภาษาอังกฤษก็จะเช่น

"Whatever can go wrong will go wrong"

"if there is wrong way to do something, someone will do it"

▪️ภาษิตนี้มันมีที่มาที่ไปยังงัย

มีเวปไซด์ของ Murphy law เอาไว้เฉพาะเลย แต่สรุปคร่าวๆสำหรับที่มาที่ไปคือ

ปี คศ 1949 Edward A. Murphy Jr. ตอนนั้นเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่สังกัดหน่วยงานการบินของ กองทัพสหรัฐ หนึ่งในโครงการที่เขาต้องทำคือ การทดสอบหาค่า g* (ความเร่ง)

ที่มนุษย์สามารถทนได้

* ค่าg ในที่นี่คืออัตราเร่งความเร็วที่เปลี่ยนไปของเครื่องบิน ซึ่งมันจะเกิดการสั่นค่อนข้างรุนแรง ในตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่ามนุษย์ทนได้เท่าไหร่ แต่มันจำเป็นต้องใช้ในการออกแบบเครื่องบิน

ในการวัดค่า g สมัยนั้น เขาต้องทำหลายอย่างและหนึ่งในนั้นคือการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับค่า g นี่เอง ซึ่งในตอนนั้นจำเป็นต้องใช้ถึง 4 เส้น และคุณ Murphy ได้ทำการเขียนวิธีการติดตั้งเซนเซอร์เอาไว้อย่างละเอียด ก่อนจะให้ผู้ช่วยของเขาเป็นคนทำหน้าที่นี้

ทว่าระหว่างการทดสอบ Murphy ก็ต้องพบกับความแปลกใจ ค่าที่อ่านได้จากการทดสอบเพี้ยนไปและเขาคิดว่าเขาทำการทดลองผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะพยายามแก้ไขอย่างไรก็ยังไม่ได้ผลการทดลองอย่างที่เขาคิด เขาจึงเริ่มตรวจสอบการต่อสายวัดค่า g ที่ผู้ช่วยเขาเป็นคนติดตั้ง

ปรากฏว่าเซนเซอร์ 4 เส้นนั่น ถูกต่อเข้ากับตัวอ่านสัญญาณผิดวิธี! และไม่ใช่เส้นเดียว มันผิดสลับกันหมดทั้ง 4 เส้น และนั้นเป็นสาเหตุทำให้การอ่านค่าการทดลองที่ผ่านมาเพี้ยนทั้งหมด

เช้าวันรุ่งขึ้น เขาคงยังอารมณ์บูดอยู่ เมื่อเพื่อนร่วมงานสังเกตุและถามไถ่เขาได้ตอบเชิงจิกกัดผู้ช่วยของเขาไปว่า

"if there is a wrong way to do something, then someone will do it."

(ถ้ามันมีวิธีการที่ผิดในการทำสิ่งต่างๆ จะมีคนใช้วิธีนั้น)

ที่ละเล็กละน้อย ประโยคนี้ถูกใช้ต่อๆกันมา อาจถูกดัดแปลงไปบ้างตามแต่วาระของผู้นิยมใช้ แต่กลายมาเป็นภาษิตในวงการวิศวกรรมโดยเฉพาะการบิน รถยนต์ เป็นต้น

คนนอกวงการวิศวกรรมก็เริ่มนิยมใช้ประโยคภาษิตนี้บ้าง ส่วนใหญ่ใช้ไปในเชิงตัดพ้อต่อ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเช่น เวลาทำขนมปังหล่น มันมักจะเอาหน้าที่ทาเนยหล่นเสมอ

▪️แล้ว...ถ้าอะไรมันจะเกิด มันก็ต้องเกิด...อย่างนั้นเหรอ

เราจะเห็นได้ว่ากฎแห่งเมอร์ฟี่ มันคือความซวยสามารถเล่นงานเราได้เสมอ

เรื่องนี้ถูกปฏิเสธแบบมีการทดลองที่ชัดเจนจนได้รางวัลในปี 1996,

Robert A.J. Matthew นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์ในกรณีของเวลาที่ขนมปังหล่น มันจะเอาหน้าที่ทาเนยคว่ำใส่พื้นเสมอว่าไม่ใช่เรื่องของดวงชะตา อะไร เป็นเรื่องที่คำนวนได้ทางฟิสิกส์ล้วนๆ

ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือถ้าเราจะทำอะไรสักอย่าง ต้องพยายามปิดช่องทางที่จะเกิดข้อผิดพลาดเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ถ้าปิดช่องทางผิดพลาดได้หมด ก็จะเป็นการป้องกัน กฎแห่งเมอร์ฟี่ไม่ให้เกิดขึ้น

เราจึงเห็นว่าวงการธุรกิจ จึงมีการพัฒนาแนวคิดหนึ่งขึ้นมา ที่ชือ Worst case scenario หรือ "ลองจินตนาการดูว่าสถานการณ์แย่สุดที่เราจะเจอคือแบบไหน" คือให้คิดว่าเรื่องแย่ที่สุดถ้าเกิดขึ้นจริงๆเราจะรับมือมันอย่างไร คือหาวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิด แต่ถ้าสุดท้ายมันก็ยังเกิดอยู่ก็จะได้รู้ว่าต้องทำอะไร เดินเกมแบบไหนต่อ ไม่ใช่มึนงงจนทำอะไรไม่ถูก

แต่ก็นั่นล่ะ แม้จะวางแผนทุกอย่างรอบคอบแค่ไหน แต่มันก็ยังเป็นไปได้อยู่ดีที่คนเราอาจจะต้องซวยเพราะช่องว่างเล็กน้อยที่ผิดพลาดที่เรายังมองไม่เห็นอีก

ซึ่งถ้ามันซวยไปแล้วก็ถือว่าเป็นบทเรียนไป คราวหน้าเจอสถานการณ์คล้ายๆกัน ก็จะได้ระวังไว้ ปิดจุดอ่อนไปเรื่อยๆ

▪️วิธีกำราบกฏเมอร์ฟี่

เมื่อที่มาของกฏของเมอร์ฟี่ มาจากอุตสาหกรรม วิธีกำราบมันก็มาจากแหล่งเดียวกันเช่นกัน อุตสาหกรรมการบินและ ยานยนต์ ต่างก็มีวิธีการกำจัดความเสี่ยงของความผิดพลาดต่างๆ เรียกว่า "FMEA" (Failure Mode Effect Analysis) ซึ่งก็คือการวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดทั้งหมด และรวมไปถึงแนวทางการแก้ไขป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้

▪️โดยสรุป

กฏของเมอร์ฟี่ เป็นเพียง "ภาษิต" ที่ถูกใช้เวลาเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปอย่างที่คิด แม้ว่าจะคิดว่ามีวิธีป้องกันเอาไว้อย่างดีแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตามมันเป็นเพียงคำภาษิต และไม่ได้หมายความว่าอะไรที่มันจะเกิด มันต้องเกิดเสมอไป หากมนุษย์อย่างเรารู้ล่วงหน้า และตระหนัก การเตรียมพร้อมเอาไว้คือการป้องกันการเกิดนั้นๆอย่างดีที่สุด

▪️แถมท้าย

ค่า g ที่คุณ Murphy ต้องการหา ท้ายที่สุดแล้ว เราได้มาไม่กี่สิบปีก่อน และผมไปหามาแปะดังตารางข้างล่างนะครับ

วิธีการดูก็คือ

- ดูว่าเป็นความเร่งแนวไหน เช่น แนวดิ่งขึ้นไปบนฟ้าก็แกนสัน้ำเงิน

- แกน Y เป็นค่า g ส่วนแกน x เป็นค่าเวลาที่เราทนความเร่งนั้นได้

- ยกตัวอย่างเช่น คนทั่วๆไปสามารถทนแรง g ที่ประมาณ 9g ได้สัก 3 วินาทีครับ

สักวันเมื่อไร้จุดอ่อนแล้ว คราวนี้ล่ะ กฎแห่งเมอร์ฟี่ก็มาเล่นงานเราไม่ได้อีก!

ref

https://www.blockdit.com/posts/5e227a2422ddad1bfdc048a1

“ทุกครั้งที่ทำขนมปังหล่น ด้านที่ทาเนยเอาไว้จะคว่ำลงพื้นตลอด”

เมื่อเห็นสำนวนภาษิตฝรั่งกัดจิกเล็กๆนี้ ผมจะนึกถึงอีกภาษิตนึงเรียกกันว่า

กฏของเมอร์ฟี่

กฏของเมอร์ฟี่กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ปี 1946ว่า

if there is a wrong way to do something, then someone will do it. ถ้ามันมีวิธีผิดพลาดในการทำอะไรสักอย่าง จะต้องมีคนทำมันแน่นอน

แต่ที่ทำให้ผมอึ้งคือ ในปี 1996 มีนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษท่านหนึ่งได้รับรางวัล "อิก โนเบล"(Ignoble Nobel prizes เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้) เพราะดันมาทำการวิเคราะห์ภาษิตของเรื่องขนมปังนี้ด้วยหลักการฟิสิกส์

คุณ Matthew กล่าวเอาไว้ว่า เขาเองเดิมทีก็คิดว่ามันมีโอกาส 50:50 ที่ขนมปังมัน

จะหล่นแล้วหน้าเนยคว่ำพื้น แต่เมื่อมันเกิดขึ้นกับเขาบ่อยๆ เขาจึงทำการทดสอบแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ 100% มันจะเกิด "หน้าเนยคว่ำพื้น"

100% ทั้งหล่นจากโต๊ะ หรือ หล่นจากจานขณะเดินถือมาเสริฟ

คณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้คือ

ช่วงเวลาที่ขนมปังหล่นบนพื้นนั้นขนมปังจะสวิงตัว และมันสามารถพลิกเอาหน้าที่ทาเนยหงายขึ้นได้ แต่มันต้องการความสูงอยู่ในช่วง 2.5 - 3 เมตร!! คนปกติทั่วๆไปไม่มีใครใช้โต๊ะสูงขนาดนั้นในการทำกับข้าว

ด้วยความที่ความสูงของโต๊ะไม่พอให้มันกลับตัว หน้าเนยจึงคว่ำเสมอ

งั้นเราจะแก้ปีญหานี้เรื่อง หน้าเนยคว่ำอย่างไรดี

คุณแมททิวให้คำแนะนำน่ารักๆเอาไว้อย่างนี้

"ถ้าอยากให้ขนมปังสวิงตัวเร็วกว่านี้ก็ให้ชิ้นใหญ่ๆหน่อย

หรือถ้าคุณรู้ว่ามันจะหล่นจากจานก็ให้ดันจานเพื่อหยุดการรับแรงเคลื่อนที่

แต่คำแนะนำสูงสุดของผมคือ ผมว่าคุณแค่ระมัดระวังมันจะหล่นจะดีกว่านะ"

Robert A.J Matthew

ที่มา https://www.blockdit.com/posts/5f251051e20eee0c95e2b5d6