SAR:III-4.3ค. อาหารและโภชนาการ

III-4.3 ค อาหารและโภชนาการ

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: ให้บริการถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ มีความปลอดภัยและบริการด้วยความประทับใจ

บริบท : หน่วยโภชนาการมีระบบงาน/กระบวนการให้บริการอาหารผู้ป่วยตามหลักโภชนาการ โภชนาบำบัด ตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพโดยสอดคล้องตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองต่อที่บ้านได้อย่างถูกต้องตามสภาวะของโรคและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย

กลุ่มผู้ป่วยที่การดูแลทางโภชนาการมีความสำคัญต่อการฟื้นตัว:

· ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดทั่วไป

· ผู้ป่วยเบาหวาน

· ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

· ความดันโลหิตสูง

กระบวนการ:

บทเรียนเกี่ยวกับระบบบริการอาหารเพื่อความพึงพอใจของผู้ป่วย (เมนู เวลา การสั่ง การตรวจสอบ การติดตาม):

· ได้มีการจัดทำรายการอาหารกำหนดรายอาหารการหมุนเวียนจำนวน 4 สัปดาห์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละประเภทตามสภาพของผู้ป่วยโดยยึดหลักการจัดตามหลักโภชนาการและโภชนาบำบัด

· กำหนดเวลาการส่งอาหารแต่ละมื้อที่แน่นอน ลดการส่งมอบอาหารผู้ป่วยล้าช้าไม่เป็นตามข้อกำหนดของแผนกโภชนาการ

· มีการปรับปรุงระบบการสั่งอาหารผ่านระบบ I MED ควบคู่ไปกับระบบ Manual โดยหอผู้ป่วยจะเป็นผู้ทำการสั่งประเภทอาหารตามรายการที่แพทย์สั่ง /เปลี่ยนแปลงอาหารการสั่งเบิกอาหารสามารถเบิกได้ตามรอบการเบิกที่แผนกโภชนาการกำหนด หากทางแผนกโภชนาการพบข้อสงสัยจะมีการทวนสอบข้อมูลกับหอผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ถูกต้อง ประสานกับทีมหอผู้ป่วยเรื่องบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย/ จำนวนผู้ป่วยที่สั่งอาหารไม่ครบจำนวน/รายละเอียดของโรคไม่ได้ระบุหรือส่งข้อมูลไม่ถูกต้อง

· นักโภชนาการมีการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม/สิ่งปนเปื้อนของอาหารและภาชนะขั้นตอนการสั่งอาหาร/การผลิต/การจัด/ก่อนการส่งมอบระหว่างหน่วยงานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามคำสั่งแพทย์ ทุกขั้นตอนเจ้าหน้าที่หน่วยงานจะตรวจสอบอาหารก่อนส่งมอบให้แก่ผู้ป่วย

· การประเมินติดตามการบริโภคและแก้ไขปรับปรุง:หน่วยงานมีการขึ้นเยี่ยมผู้ป่วยรับใหม่ทุกรายเพื่อสอบถามความพึงพอใจในด่านอาหารและโภชนาการเพื่อนำข้อมูลมาแก้ไข้ปรับปรุงพัฒนา ประเด็นที่พบบ่อยอาทิเช่น เรื่องรสชาติของอาหาร กลิ่นปลาที่เหม็นคาว ได้ทำการแก้ไขปรับปรุงเรื่องรสชาติ และกลิ่นคาวปลาโดยพัฒนาทักษะการปรุงประกอบอาหาร ปรับเปลี่ยนชนิดปลาที่ใช้ในการประกอบอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคพึงพอใจ

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ:

· ทีมนักโภชนาการดำเนินการคำนวณพลังงานสารอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะโรคของผู้ป่วยแต่ละท่านมีการชั่งตวงปริมาณในการจัดตามโดยยึดหลักมาตรฐานวิชาชีพในการจัดอาหารให้กับผู้ป่วย ให้ถูกต้องหลักโภชนาบำบัดตามคำสั่งแพทย์

บทเรียนเกี่ยวกับการคัดกรองภาวะโภชนาการ การประเมินอย่างละเอียดเมื่อมีข้อบ่งชี้:

· ทีมโภชนากรคัดกรองการประเมินภาวะโภชนาการเบื้องต้นในกลุ่มผู้ป่วยในที่รับอาหารเฉพาะโรคทุกรายโดยใช้หลักเกณฑ์ในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่จะต้องประเมินโดยละเอียดเพื่อนำเข้าสู่กระบวนวางแผนโภชนาบำบัดด้วยการพิจารณาจากอาการสำคัญที่เข้ารับการรักษาที่จำเป็นต้องได้รับโภชนาบำบัดและสภาพแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงร่างกายของผู้ป่วยที่พร้อมจะรับโภชนาบำบัดหรือไม่ตามดุลยพินิจของแพทย์

บทเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการดูแลทางโภชนาการ/โภชนาบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยสำคัญ:

· นักโภชนาการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยเฉพาะโรค ทำการวิเคราะห์/คำนวณหาจำนวนพลังงานและสารอาหารที่จำเป็น กำหนดรายการอาหารและใบสั่งงานครัวอาหารเฉพาะโรค นักโภชนาการที่กำกับดูแลการประกอบอาหารจัดอาหารให้ถูกต้องตรงกับบัตรกำกับอาหารผู้ป่วย

· กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง : ทีมโภชนากรให้การดูแลเฉพาะตามกระบวนการโภชนาบำบัดเริ่มจากประเมินภาวะโภชนาการระบุปัญหาประมาณการจำนวนแคลอรีที่เหมาะสมกับสภาวะของโรคพร้อมกับให้คำปรึกษาหัวข้อการเลือกรับประทานอาหารงดเค็มลดโซเดียมรายการอาหารที่เหมาะกับภาวะความดันโลหิตสูงในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนเช่นผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไขมันสูงได้ปรึกษาทีมแพทย์พยาบาลเกี่ยวกับการลดปริมาณเกลือโซเดียม

บทเรียนเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านโภชนาการและโภชนาบำบัดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว:

· กลุ่มผู้ป่วยใน : ในหอผู้ป่วยในมีผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลด้วยระดับน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลต่ำทางหน่วยงานจะมีการโทรแจ้งประสานทีมโภชนากรขึ้นเยี่ยมให้โภชนาศึกษาด้วยการให้คำปรึกษา/การให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วย

· กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน :พัฒนาการทำงานเป็นทีมโดยนักโภชนากรคณะกรรมการ PCTอายุรกรรมและทีมงานส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ผู้มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโดยดำเนินการให้ความรู้เฉพาะกลุ่มเริ่มจากคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากผู้ป่วยเบาหวานในหอผู้ป่วยต่างๆที่มีความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมได้นำความรู้ในการนำไปดูแลตัวเองได้ที่บ้านและดูต่อเนื่องไม่เกิดภาวะรุนแรงแรงของโรค

บทเรียนเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารในการผลิต จัดเก็บ ส่งมอบ จัดการของภาชนะและเศษอาหาร :

· การเลือกซื้อและเก็บวัตถุดิบได้มีการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อและวางระบบในการโดยคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมีคณะกรรมการจัดซื้อ/ตรวจรับอาหารทุกวันโดยคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ จัดเก็บวัตถุดิบสดพวกเนื้อสัตว์/ผักในตู้แช่ที่มีอุณหภูมิตามเกณฑ์ที่กำหนดและตรวจสอบทุกวันการเก็บวัตถุดิบพวกของแห้งสำเร็จรูปแยกออกแต่ละประเภทใช้ระบบ first in first out ตรวจสอบวันหมดอายุทุกวันโดยมีการซื้อวัตถุดิบวันต่อวันเพื่อให้ได้ของสดใหม่และประเมินความเพียงพอในการจัดบริการในแต่ละวัน มีการจัดทำรายอาการอาหารเพื่อปรับให้มีการเลือกซื้อตรงความจำเป็น

· การจัดเตรียมและประกอบอาหาร : กำหนดให้มีใบสั่งงานครัวสำหรับจัดเตรียมอาหารและประกอบอาหารแต่ละประเภทแยกเป็นธรรมดาอ่อนเฉพาะโรคมีการประกอบอาหารในระดับอุณหภูมิที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักสุขาภิบาลอาหารโดยมีโภชนากรกำกับดูแลวิธีการปรุงยังมีประเด็นการแก้ไขเพื่อปรับให้มีโครงสร้างของห้องอาหารและทางทีมบริหารมีนโยบายในการเปลี่ยนระบบการประกอบอาหารเพื่อให้ได้มาตรฐานบริหารทรัพยากรให้ใช้เหมาะสมในปี พ.ศ.2559

· การจัดเตรียมและประกอบอาหารปั่นผสม : เนื่องจากโรงพยาบาลบางปะกอก 8 ยังมีผู้ป่วยที่ได้รับอาหารปั่นน้อย จึงมีการจัดทำที่โรงพยาบาลบางปะกอก 9 และมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการประสานงานเพื่อให้สามารถได้รับมอบอาหารแก่ผู้ป่วยตรงตามเวลา มีการอุ่นอาหารให้ผู้ป่วยได้ถูกต้องตามมาตรฐานกระบวนการ

· การกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปรุง: มีการตรวจร่างกายเจ้าหน้าที่ปีละ1 ครั้งผลการตรวจร่างกายเจ้าหน้าที่ทุกคนอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่พบโอกาสพัฒนาในการส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่มีการกวดขันสุ่มตรวจการแต่งกายและการปฏิบัติตัวตามหลักสุขาภิบาลของเจ้าหน้าที่เน้นย้ำเรื่องต่างๆอาทิการล้างมือให้ถูกวิธีทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานการใช้อุปกรณ์ป้องกันการสัมผัสอาหารโดยตรงฯซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลได้ถูกต้องแต่พบโอกาสพัฒนาเรื่องเจ้าหน้าที่ละเลยการล้างมือให้ถูกวิธีทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ทุกขั้นตอน

· การเฝ้าระวังความสะอาดของอาหารและภาชนะ: ในการบรรจุอาหารได้จัดหาภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดและเก็บรักษาอุณหภูมิสำหรับผู้ป่วยทุกคนจัดให้มีแนวทางปฏิบัติในการจัดการล้างภาชนะและอุปกรณ์ตามหลักสุขาภิบาลอาหารนำมาผ่านเครื่องล้างจานที่ความร้อนในอุณหภูมิที่กำหนดมีการเก็บภาชนะแต่ละประเภทเป็นสัดส่วน

· การจัดการกับอาหารและภาชนะผู้ป่วยติดเชื้อ: กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามหลัก IC มีการแยกภาชนะล้างทำความสะอาดต่างหากสำหรับผู้ป่วยไข้หวัด2009 ได้ใช้ภาชนะใช้แล้วทิ้งสำหรับเจ้าหน้าที่มีแนวทางจัดการกับเศษอาหารจากผู้ป่วยติดเชื้อโดยการใส่ถุงมือป้องกันและคัดแยกเศษอาหารทิ้งในถุงสีแดงส่วนการจัดการกับเศษอาหารได้จัดถังเศษอาหารที่มีฝาปิดมิดชิดรองรับมีผู้ประมูลมาเก็บทุกวันในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยเอดส์ได้มีการ ใช้ภาชนะสีแตกต่างและแยกเมื่อหลังการใช้และการจัดเก็บคัดแยกเศษอาหารทิ้งในถุงสีแดงอุปกรณ์มีการแยกการจัดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

· การรวบรวมขยะและจัดการน้ำเสีย : มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทอาทิขยะแห้งขยะเปียกและขยะรีไซเคิลแยกออกนำไปเก็บให้ถูกต้องลงในภาชนะเก็บขยะแต่ละประเภทที่มีฝาปิดที่มิดชิดและทำความสะอาดทุกวันการจัดการน้ำเสียมีแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ในการตักบ่อไขมันทุกเช้าพบโอกาสพัฒนาในความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในการทิ้งขยะให้ถูกต้อง

· การทำความสะอาดโรงเรือนและการควบคุมแมลงและพาหะนำโรค: ได้มีการปรุงพื้นที่มีห้องประกอบอาหารจัดทำพื้นที่ปรับปรุงเพื่อให้มีการระบายอากาศ การจัดเก็บของแห้ง อาหารเปียกให้ชัดเจน มีฝาและภาชนะจัดเก็บที่มีมาตรฐาน เพื่อป้องกันหนูแมลงสาบยังมีประเด็นการแก้ไขเพื่อปรับให้มีโครงสร้างของห้องอาหารและทางทีมบริหารมีนโยบายในการเปลี่ยนระบบการประกอบอาหารเพื่อให้ได้มาตรฐานบริหารทรัพยากรให้ใช้เหมาะสมในปี พ.ศ.2558

มาตรฐาน

83. อาหารและโภชนาบำบัด

Score

3

ประเด็นในแผนการพัฒนา 1-2 ปี ข้างหน้า

· การคัดกรองปัญหาโภชนาการในผู้ป่วยทุกรายและการบริการโภชนาบำบัดแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ให้ได้ 100%

- ในปี พ.ศ.2559การแก้ไขเพื่อปรับให้มีโครงสร้างห้องอาหารและพัฒนาบริหารเปลี่ยนระบบการประกอบอาหารเพื่อให้ได้มาตรฐานบริหารทรัพยากรให้ใช้เหมาะสม

- พัฒนาระบบการให้บริการด้านโภชนาเพื่อให้สอดคล้องกับผู้ป่วยกลุ่มรายโรคทุกกลุ่มคลอบคลุมมากขึ้น

- พัฒนาการนำข้อมูลใช้ในการดูแลผู้ป่วยให้เป็นระบบ จัดทำกลุ่มกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายติดตามดูแลผลสัมฤทธิ์

- พัฒนาสื่อที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาแก่กลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายทั้งที่มีภาวะเสี่ยง ภาวะคุกคามของโรค ภาวะทุโภชนา

- พัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้และทักษะในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติและนำปัญหาที่พบจากการให้บริการด้านโภชนามาปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ

- พัฒนาการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในวัตถุดิบทุกเดือน

- พัฒนาการสุ่มตรวจเพาะเชื้อในอาหารทุก 3 เดือนและสุ่มตรวจเพาะเชื้อภาชนะทุกประเภททุก 3 เดือน