2I 2.2: Ventilator-Associated Pneumonia (VAP) Prevention

Definition

ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีการใช้เครื่องช่วยหายใจมาแล้วไม่น้อยกว่า

สองวัน โดยในวันที่เริ่มมีอาการหรือการตรวจพบที่น าไปสู่การวินิจฉัยภาวะนี้ ผู้ป่วยยังคงใช้

เครื่องช่วยหายใจอยู่หรือยุติการใช้ไปแล้วไม่เกิน 1 วัน

Goal

ป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

Why

ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล ที่พบ

มากเป็นล าดับต้น ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วย ท าให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ต้องเสีย

ค่าใช้จ่ายในการรักษาการติดเชื้อจ านวนมาก เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนานท า

ให้ผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจมีโอกาสเสียชีวิตสูง

Process

กิจกรรมที่โรงพยาบาลควรด าเนินการเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้

เครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วย

1. การจัดท าแนวปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

โดยอ้างอิงจากแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน

2. ให้ข้อมูลแก่บุคลากรเกี่ยวข้อง เรื่องระบาดวิทยา ผลกระทบและการปฏิบัติ ในการ

ป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยแนวทางปฏิบัติที่ส าคัญคือ

การจัดท่านอนผู้ป่วย การดูดเสมหะ การท าความสะอาดปากและฟัน การให้อาหารทาง

สายยาง การท าลายเชื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ การให้ยาคลายกล้ามเนื้อและยานอนหลับ

เท่าที่จ าเป็น

3. มีแนวทางการเฝ้าระวังปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

4. มีการพัฒนากระบวนการในการส่งเสริมและระบบในการติดตามการปฏิบัติตาม

มาตรการส าคัญในการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่าง

เคร่งครัดและต่อเนื่อง ประกอบด้วย

o พิจารณาใช้ non-invasive positive pressure ventilation ในผู้ป่วยก่อนใช้เครื่องช่วย

หายใจ และหากใช้เครื่องช่วยหายใจ ควรก าหนดแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจและ

การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยทุกวัน

o ก าหนดแนวทางการให้ sedative ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

o สนับสนุนอุปกรณ์ที่จ าเป็น เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ อาทิ

เช่น เครื่องวัด cuff pressure ถุงส าหรับบรรจุอาหารที่ให้ทางสายยาง อุปกรณ์ในการท า

ความสะอาดปากและฟันที่มีคุณภาพ

o จัดท่านอนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้นอนศีรษะสูง 30-45 องศา ในกรณีไม่มีข้อ

ห้ามทางการแพทย์

o ป้องกันท่อช่วยหายใจเคลื่อน เลื่อนหลุดและการใส่ท่อช่วยหายใจซ ้า

o ท าลายเชื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

o ท าความสะอาดช่องปากของผู้ป่วยอย่างน้อยวันละสามครั้ง และพิจารณาใช้ 0.12-2%

chlorhexidine เช็ดในช่องปาก หากผู้ป่วยไม่มีอาการระคายเคืองจาก chlorhexidine

Training

 ให้ความรู้บุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งแพทย์และพยาบาล

เกี่ยวกับระบาดวิทยาของการติดเชื้อ ผลกระทบและการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับ

การใช้เครื่องช่วยหายใจ

 นิเทศและให้ค าแนะน าแก่บุคลากรขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะบุคลากรใหม่และบุคลากร

ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Monitoring

 ประเมินการปฏิบัติของบุคลากรตามมาตรการส าคัญในการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์

กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะ ประกอบด้วย การจัดท่านอนผู้ป่วย การดูดเสมหะ

การท าความสะอาดปากและฟัน การให้อาหารทางสายยาง การท าลายเชื้ออุปกรณ์

เครื่องช่วยหายใจขณะใช้งาน

 ประเมินประสิทธิภาพการเฝ้าระวังปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

 อุบัติการณ์การเกิด VAP

Pitfall

 บุคลากรขาดความรู้ที่ทันสมัยในการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วย

หายใจตามหลักฐานเชิงประจักษ์

 บุคลากรขาดความช านาญในการดูผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

 ขาดอุปกรณ์ที่จ าเป็นเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ เช่น

เครื่องวัด cuff pressure

 เครื่องช่วยหายใจจ านวนมากที่ใช้ในโรงพยาบาลเป็นชนิด pressure-control ventilator

ซึ่งระบบท่อทางเดินหายใจไม่ได้เป็นระบบปิด และมักมีหยดน ้า (condensate) คาอยู่ใน

สายมากกว่าเครื่องช่วยหายใจแบบ volume control อาจจะมีผลต่ออัตราการติดเชื้อที่

สูงกว่า เป็นประเด็นที่ควรท าการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (4)