II-4 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC)

II-4 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC)

II-4.1 ระบบการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IC.1)

ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อขององค์กร ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม ได้รับการสนับสนุน

ทรัพยากรเพียงพอ และมีการประสานงานที่ดี.

ก. การออกแบบระบบ

(1) มีการกำหนดเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และมาตรการในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่

เหมาะสมกับขนาดขององค์กร บริการที่จัด และผู้ป่วยที่ให้บริการ.

(2) มีการกำหนดการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา รวมทั้งตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ และอุปกรณ์ที่

เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นจุดเน้นของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล.

(3) ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย การปฏิบัติซึ่ง

เป็นที่ยอมรับ เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมาย และจัดทำแนวทางปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.

(4) ระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย บุคลากร และผู้มาเยือน.

(5) กระบวนการควบคุมการติดเชื้อเชื่อมประสานเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย

ขององค์กรโดยรวม.

(6) มีการประสานกระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งได้รับการนำไปปฏิบัติโดยบุคลากรทุกคนทั่วทั้ง

องค์กรอย่างสม่ำเสมอ และอาจรวมถึงบ้านของผู้ป่วย

Scoring guideline2011

46 การออกแบบระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

1.มีการกาหนดเป้า ประสงค์ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ที่เหมาะสมกับ รพ.

2.มีมาตรการป้องกันครอบคลุมการติดเชื้อที่พบบ่อยและมีสิ่งอานวยความสะดวกเพียงพอ

3.การป้องกันและควบคุมครอบคลุมการติดเชื้อที่มีความสาคัญทางระบาดวิทยาตามบริบทของ รพ., ครอบคลุมทุกพื้นที่, มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่ทันสมัย

4.มีความโดดเด่น เช่น บูรณาการระหว่างงาน IC กับ CQI และระบบงานที่เกี่ยวข้อง, มีการประสานการป้องกันไปถึงบ้านของผู้ป่วย และการส่งต่อระหว่าง รพ.,

5.มีการประเมินและปรับปรุงงาน IC อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นตัวอย่างที่ดี อัตราการติดเชื้อสาคัญอยู่ในระดับต่า

ข. การจัดการและทรัพยากร

(1) มีบุคคลหรือคณะกรรมการได้รับมอบให้ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบงาน กำหนดนโยบายและมาตรการ

การวางแผน ประสานงาน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย.

(2) มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ (ICN85) ในจำนวนที่เหมาะสมกับจำนวนเตียงของโรงพยาบาล ทำหน้าที่

รับผิดชอบการดำเนินงานระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ. ผู้ทำหน้าที่นี้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ผ่านการ

ศึกษา ฝึกอบรม ประสบการณ์ และมีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน โดยมีอำนาจที่จะใช้มาตรการควบคุมการ

ติดเชื้อหรือดำเนินการศึกษาเมื่อรับรู้ว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคลากรของโรงพยาบาล.

(3) มีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ.

(4) ระบบสารสนเทศขององค์กรสนับสนุนระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ.

(5) บุคลากรได้รับการอบรมความรู้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดเชื้อ นโยบายขององค์กร และ

บทบาทของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อ.

(6) มีการให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ครอบครัว / ชุมชน ถึงวิธีการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและป้องกัน

การแพร่กระจายเชื้อในครัวเรือน / ชุมชน.

Scoring guideline2011

47 การจัดการและทรัพยากร 

1.มีผู้รับผิดชอบงาน IC ชัดเจน (ทั้งคณะผู้กากับดูแลและ ICN)

2.ผู้รับผิดชอบมีความรู้และคุณสมบัติเหมาะสม

3.มีทรัพยากรที่เพียงพอ, ระบบสารสนเทศสนับสนุน, บุคลากรได้รับการอบรมความรู้อย่างต่อเนื่อง

4.มีความโดดเด่น เช่นการให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ครอบครัว/ชุมชน

5.มีการประเมินและปรับปรุงการจัดการทรัพยากรด้าน IC อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีทรัพยากร ระบบ และความรู้เพียงพอ

II-4.2 การป้องกันการติดเชื้อ (IC.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล.

ก. การป้องกันการติดเชื้อ

(1) มีการระบุความเสี่ยงจากการติดเชื้อในหัตถการและกระบวนการต่างๆ และมีการดำเนินการตามกลยุทธ์

เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้:

l การใช้ standard precautions และ isolation precautions

l การทำความสะอาด การทำลายเชื้อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ

l การจัดการ (สัมผัส จัดเก็บ กำจัด) กับสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

l การส่งเสริมการล้างมือและสุขอนามัยของบุคคล.

(2) มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายและการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม86

l การจัดโครงสร้าง การระบายอากาศ และบำรุงรักษาอาคารสถานที่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสิ่งปนเปื้อน

และเชื้อโรค

l การจัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือ การทำความสะอาด และการแยกบริเวณ

ใช้งานที่สะอาดจากบริเวณปนเปื้อน.

(3) มีการระบุพื้นที่ทำงานที่ต้องใส่ใจในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อ

การติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ต่อไปนี้:

l ห้องผ่าตัด

l ห้องคลอด

l หอผู้ป่วยวิกฤติ

l หน่วยซักฟอก87

l หน่วยจ่ายกลาง88

l โรงครัว89

l หน่วยกายภาพบำบัด90

l ห้องเก็บศพ.

(4) มีการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่สำคัญขององค์กร เช่น การติดเชื้อแผลผ่าตัด การติดเชื้อ

ระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อจากการให้สารน้ำและการติดเชื้อใน

กระแสเลือด.

(5) มีนโยบายและวิธีปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อซึ่งติดต่อได้ทางโลหิตและผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ

การจัดการกับการติดเชื้อที่ดื้อยาและการติดเชื้อที่อุบัติขึ้นใหม่.

Scoring guideline2011

48 การป้องกันการติดเชื้อ

1.มีการกาหนดมาตรการป้องกันที่จาเป็น, มีโครงสร้างและสถานที่เอื้อต่อการป้องกัน

2.มีมาตรการป้องกันที่ครอบคลุม, บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ

3.มีการปฏิบัติตามมาตร การป้องกันครบ ถ้วน, มีการควบคุมสิ่งแวด ล้อม, ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในพื้นที่สาคัญ, ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สาคัญ

4.มีความโดดเด่น เช่นนา HFE มาปรับปรุงเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการได้อย่างสมบูรณ์, มีการประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติตามมาตรการที่กาหนด

5.มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ส่งผลให้อัตราการติดเชื้ออยู่ในระดับที่ต่ามาก

II-4.3 การเฝ้าระวัง ติดตามกำกับ และควบคุมการระบาด (IC.3)

องค์กรใช้วิธีการที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังและติดตามกำกับ เพื่อค้นหาและควบคุมการติดเชื้อ และจัดการ

กับสถานการณ์ที่มีการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล.

ก. การเฝ้าระวังและติดตามกำกับ

(1) มีการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับองค์กรอย่างต่อเนื่อง. องค์กรติดตามความเสี่ยง

อัตรา และแนวโน้มของการติดเชื้อในเชิงรุก.

(2) มีการติดตามเฝ้าดูการเกิดปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่รุนแรง ในการดูแลผู้ป่วยซึ่งไม่ได้มีระบบ

การเฝ้าระวังไปข้างหน้าในข้อ (1).

(3) มีการติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพ และความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ (ถ้าเป็นไปได้) และสื่อสารให้บุคคล

และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง.

(4) มีการนำสารสนเทศจากการติดตามเฝ้าระวังมาใช้ในการวางแผน ค้นหาการระบาด ให้ความรู้ ประเมินผล

และปรับปรุงระบบงาน รวมทั้งตอบสนองต่อปัญหาของผู้ป่วยเฉพาะราย.

(5) องค์กรทำงานร่วมกับส่วนราชการ องค์กรอื่น และชุมชน เพื่อค้นหาและตอบสนองต่อการอุบัติของ

เชื้อโรคใหม่และเชื้อโรคที่ดื้อยา.

Scoring guideline2011

49 การเฝ้าระวังการติดเชื้อและติดตามกากับ

1.มีการออกแบบระบบเฝ้าระวังที่เหมาะสมกับองค์กร (รพ.ขนาดเล็กเน้นที่กระบวนการและ OPD)

2.มีการดาเนินการเฝ้าระวังโดยผู้มีความรู้เหมาะสม ง่ายต่อการปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีการวิเคราะห์และให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันการณ์

3.มีการนาข้อมูลจากการเฝ้าระวังมาใช้ในการวางแผน ค้นหาการระบาด ให้ความรู้ ประเมินผลและปรับปรุงระบบงาน

4.มีความโดดเด่น เช่น ความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการเฝ้าระวัง, การวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนจุดที่เป็นปัญหา

5.มีการประเมินและปรับ ปรุงประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างในด้านนี้ การเฝ้าระวังมีประสิทธิ ภาพ อัตราการติดเชื้อที่สาคัญมีแนวโน้มลดลง

ข. การควบคุมการระบาด

(1) มีการบ่งชี้การเพิ่มที่ผิดปกติหรือการระบาดของการติดเชื้อด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเฝ้าระวัง, รับทราบ

ข้อมูลจากบุคลากรทางคลินิกอย่างสม่ำเสมอ, ทบทวนรายงานผลการตรวจทางจุลชีววิทยาเพื่อตรวจหา

การเพิ่มขึ้นผิดปกติของเชื้อบางชนิดอย่างสม่ำเสมอ (ถ้าเป็นไปได้).

(2) เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น ทีมผู้รับผิดชอบในการควบคุมการติดเชื้อมีทรัพยากรและอำนาจในการสืบค้นและใช้

มาตรการควบคุมที่เหมาะสม อย่างรอบด้านและทันกาล.

Scoring guideline2011

50 การควบคุมการระบาดของการติดเชื้อ

1.มีศักยภาพในการบ่งชี้การเพิ่มที่ผิดปกติหรือการระบาดของการติดเชื้อ

2.การบ่งชี้การเพิ่มหรือการระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ, มีการสนับสนุนทรัพยากรและให้อานาจทีมผู้รับผิด ชอบในการควบคุม

3.ทีมผู้รับผิดชอบดาเนินการใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมอย่างรอบด้านและทันการณ์

4.มีการเรียนรู้จากการระบาดที่เกิดขี้นเพื่อนามาปรับปรุงระบบและสร้างความตระหนัก

5.มีการควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ, บทเรียนที่เกิดขึ้นนามาสู่ระบบที่รัดกุมและความตระหนักในบุคลากร