6E 3.3: Birth Asphyxia

Definition

Birth Asphyxia ทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจน ตอนแรกเกิด เป็นภาวะเร่งด่วน

(emergency) ที่ทารกไม่สามารถเริ่มหายใจได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ หลังคลอดภายใน 1 นาที

และอาจเกิดความเสียหายกับสมองจนเสียชีวิตได้

Goal

เพื่อลดและป้องกัน การเสียชีวิต หรือภาวะแทรกซ้อนในทารก ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนตอนแรกเกิด

Why

ภาวะนี้สามารถลด หรือป้องกันได้ และหากเกิดขึ้น ถ้าได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที และ

ถูกต้องจะมีผลกระทบตามมาที่น้อยลงได้ โดยช่วง Antenatal care ดูแลความเสี่ยงของ prematurity

ของทารกในครรภ์ ดูความ risk factors During Delivery ติดตาม monitor prolonged labor และ

อาจตัดสินใจในการท า Caesarean Section After Delivery คือ การ Newborn Resuscitation

Process

1. มีการท างานร่วมกันระหว่างทีมสูติกรรมและกุมารเวชกรรมในการวางแผนการดูและหญิง

ตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด เพื่อลดและป้องกัน การเสียชีวิต หรือภาวะแทรกซ้อนในทารก ที่มี

ภาวะพร่องออกซิเจนตอนแรกเกิด

2. วางระบบการฝากครรภ์ให้ได้ตามมาตรฐาน และมีการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

ที่มีภาวะเสี่ยง* คลอดทารกและมีภาวะพร่องออกซิเจนตอนแรกเกิดเพื่อเตรียมความพร้อมของ

ทีมทั้งสูติกรรมและกุมารเวชกรรมในการวางแผนดูและระหว่างคลอดและหลังคลอด

High Risk Pregnancies ต่อการเกิด Birth Asphyxia ได้แก่

 อายุมารดาต ่ากว่า 16 ปี หรือ เกิน 40 ปี

 มีเศรษฐานะไม่ดี

 มารดามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซีด

 มารดาที่เคยแท้งบุตร หรือมีบุตร prematurity

 มารดาที่ไม่ได้รับการฝากครรภ์

 ทารกในครรภ์ อยู่ในท่าผิดปกติ (abnormal position or presentation)

 มารดาที่ติดยา สูบบุหรี่ หรือ alcohol

 ทารกในครรภ์ไม่สมบูรณ์ หรือ Growth retardation

3. ระหว่างคลอดให้เฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงทั้งมารดาและทารก (Intrapartum Risk factors)* เพื่อ

Early diagnosis for early treatment เช่น การท า NST และหากพบภาวะเสี่ยง ให้ท า

intrauterine resuscitation ที่มีประสิทธิภาพ

4. เตรียมที่มีความพร้อมส าหรับการท า Effective neonatal resuscitation หลังคลอดหากพบ

ทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจน

*Antepartum Risk Factors

Gestational age<36week, Oligohydramnios, Fetal hydrops,

Gestational age >=41weeks, macrosomia, Preeclampsia or eclampsia, intrauterine growth

restriction, Maternal hypertension, Significant fetal malformations or anomalies, No prenatal

care, Multiple gestation Fetal, anemia, Polyhydramnios

**Intrapartum Risk factors

Emergency cesarean delivery, Intrapartum bleeding, Forceps or vacuum-assisted delivery,

Chorioamnionitis, Breech or other abnormal presentation, Narcolics administered to mother

within 4 hours of delivery, Category II or III fetal heart rate pattern, Shoulder dystocia,

Maternal general anesthesia, Meconium-stained amniotic fluid, Maternal magnesium therapy,

Prolapsed umbilical cord, Placental abruption

Training

Education

แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแล หญิงตั้งครรภ์ และทารก ควรมึการสื่อสาร และทบทวนขั้นตอนระบบ

การดูแลเป็นระยะ

Practice

จัดให้มี Format การลงข้อมูล และการ ALERT ตราวจสอบอุปกรณ์ให้ใช้งานได้

Monitoring

 มีการรายงาน high risk pregnancies และ birth asphyxia ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ

 วิเคราะห์ข้อมูล และทบทวนกระบวนการในการปรับปรุง แก้ไขสาเหตุของ Birth Asphyxia หรือ

intervention เช่น การ Resuscitation ว่า success หรือ failure

Pitfall

การประสานงาร่วมกันในการประเมินและเตรียมความพร้อมร่วมกับทีมสูติกรรมและกุมารเวชกรรม

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่

4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2) ข้อย่อย

(1), (2), (3), (4), (5) และ (6)