2.5 การส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

2.5 การส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

ข้อกำหนด

I-4.2 ข.(3) ในกรณีที่มีการส่งข้อมูลของผู้ป่วยโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย องค์กรพึงกำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นการ

รักษาความลับของผู้ป่วยโดยยังคงการระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องไว้.

สื่อสังคมออนไลน์ (social media) คืออะไร

สื่อสังคมออนไลน์ ครอบคลุม กระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์

บล็อก เว็บไซต์ เกมส์ออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน สื่อ

อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์อื่นที่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่ม

บุคคล หรือสาธารณะ และสื่อสำหรับการเผยพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็น

ภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูลหรือเนื้อที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องการส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

ปัจจุบันมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อปรึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกัน

มากขึ้น และมีโอกาสที่ข้อมูลระบุตัวตนของผู้ป่วยจะรั่วไหลไปสู่สังคมวงกว้าง

ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยโดยผู้ส่งไม่รู้ตัว

แนวทางปฏิบัติ

(1) มีการวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนขององค์กรในการปรึกษาข้อมูล

ผู้ป่วย โดยเน้นคุณภาพของข้อมูลและการรักษาความลับของผู้ป่วย เช่น

สถานการณ์ที่ไม่ควรปรึกษาการดูแลผู้ป่วยทาง Line, การหลีกเลี่ยงปรึกษา

ผ่าน Line กลุ่ม

(2) ยึดแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนดเป็นหลัก

(3) ให้ความสำคัญกับการรักษาความลับของผู้ป่วย ขณะเดียวกันสร้าง

ความมั่นใจในการระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้อง

  • จะลบ ID ที่ติดอยู่กับผลการตรวจต่างๆ อย่างไรจึงจะมั่นใจว่า

  • ไม่หลุดรอดไป และจะใช้อะไรเป็นตัวบ่งชี้แทน

  • จะเลือกใช้ช่องทางปรึกษาอะไรที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

  • ถ้ามีการปรึกษาผู้ป่วยหลายรายในเวลาใกล้เคียงกันจะแยกแยะ

  • การบ่งชี้ผู้ป่วยแต่ละรายอย่างไร

  • ทำอย่างไรจะสร้างนิสัยการทำลายข้อมูลที่ได้รับมาทันทีเมื่อจบ

  • สิ้นการให้คำปรึกษาแล้ว

(4) ยึดหลักว่าข้อมูลทุกอย่างที่ผ่านช่องทาง social media ไม่เป็น

ความลับ