7. Engagement the Digital Workforce

Engagement the Digital Workforce

โดย ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา 13/3/2019

Engagement the digital workforce

ความผูกพันในองค์กรในยุคดิจิตัล

เมื่อความแตกต่างระหว่างวัยในที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น เกิดความแตกต่างของความคิดและค่านิยม ในขณะที่เราไม่สามารถอ่านใจของใครได้ แล้วอะไรคือความท้าทายของการทำให้คนผูกพันกับองค์กรในยุคดิจิตอล? ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย และอาจารย์นงลักษณ์ ไชยเสโน ได้พาพวกเราไปร่วมหาคำตอบเพื่อความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

ยุคของ digital workforce เป็นยุค employee centric คือ “การเอาใจคนทำงานเป็นหลัก” เนื่องจากเจ้านายไม่สามารถเลือกลูกน้องที่มีความรับผิดชอบ เชื่อฟัง สร้างสรรค์ และซื่อสัตย์ ได้อย่างที่ต้องการ อีกทั้งการเกิดภาวะขาดคนทำงานจากสัดส่วนคนสูงวัยที่เพิ่มขึ้น การทำงานร่วมกันเจ้านายจึงต้องอดทนและเข้าใจลูกน้อง

องค์กรที่เป็น high performance organization มีหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีเป้าหมายสำคัญในการบริหารคน ถึงแม้คนจะมาจากต่าง generation กันแต่ทุกคนต้องมีการพัฒนา โดยการสร้างคนที่มีคุณค่าให้องค์กร เริ่มจากการคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถเข้าทำงาน พัฒนาให้เก่งขึ้น โดยเน้นเป็นแบบ inside out มุ่งให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพตัวเองอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูงใจในการทำงาน สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของงาน ทำให้อยากพัฒนางานที่ตัวเองทำ รักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กร และสามารถสร้างงานที่มีศักยภาพสูงสุดให้แก่องค์กร โดยใช้จุดแข็งของคนทำงาน

คนแต่ละวัยอาจมีสิ่งที่ทำให้อยากอยู่กับองค์กรแตกต่างกัน แต่พบว่าการที่มีหัวหน้างานที่ดี (good boss) คือสิ่งที่คนทุก generation ต้องการ ต่อให้ digital transform ไปขนาดไหน หัวใจสำคัญยังอยู่ที่ “นาย” หรือ “ผู้บริหาร” แก่นของความสำเร็จในการบริหารคนมี 2 อย่าง คือ leadership คนเป็นนายต้องไม่มองตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่ต้องรับฟัง และ empowering people เชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ ให้ที่ทำงานเป็นแหล่งในการปลดปล่อยศักยภาพ

หลักสำคัญในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ร่วมงานต่างวัย คือการเปิดใจรับฟังความเห็น และยอมรับซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย เปิดโอกาสให้ลูกน้องรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถ คอยให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ และสร้างกำลังใจในการทำงาน เปิดใจรับฟังจึงจะเกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนา

Engagement the digital workforce

โดย อาจารย์บวรนันท์ ทองกัลยาและอาจารย์นงลักษณ์ ไชยเสโน

บรรยายวันที่ 13 มีนาคม 2562

เวลา 15.00-16.30

ในงาน HA Forum ครั้งที่ 20

ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

~~~~~~~~

เราดูแลคนต่างกัน ด้วยวิธีการที่ต่างกัน ด้วยบริบทที่ต่างกัน

แต่สิ่งที่เหมือนกันในการดูแลคนคือการดูแลให้คนเหล่านั้นได้รับความรักจากกันและกัน ดูแลให้คนรักกัน ให้มีพื้นที่ส่วนรวมของความรักกัน

เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การ”เอาใจ”คนก็จะเปลี่ยนตาม

เมื่อก่อนเน้นการเอาใจลูกค้า แต่พอมีคน Gen Y/Z มาเป็นพนักงาน เราก็ต้องเปลี่ยนมา “เอาใจ” พนักงานก่อน

แล้วทำไมถึงต้องไป “เอาใจ”

Start with Why

1.เพราะคนแต่ละ gen ถูกสร้างมาต่างกัน

2.เพราะคนทุกคนอยากเรียนรู้และเติบโตในเส้นทางของตน

3.เพราะทุกคนอยากเก่ง อยากเป็นคนที่เจ๋งเป้ง

4.เพราะคนทุกคนพัฒนาได้

(มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยากก้าวไปให้ไกลกว่าจุดที่ยืนอยู่ - คหสต ^_____^)

และหน้าที่เราคือการพัฒนาตามจริตของเขาให้เติบโตและก้าวไป

แน่นอนว่าเมื่อคนรุ่นใหม่ ไม่ได้รู้จักคำว่า จงรักภักดี

การ “ก้าวไป” ของคนรุ่นใหม่จึงอาจไม่มีเราหรือองค์กรอันเป็นที่รักอยู่ในนั้น-คหสต (อย่าน้อยใจนะ นี่เป็นยุคสมัยที่เปลี่ยนไป)

และถ้าเป็นเข่นนั้นแล้ว มีเหตุผลใดบ้างที่เป็นเหตุให้คนอยู่หรือลาออก

(10 เหตุผลจากงานวิจัย)

1.นาย

2.เพื่อนร่วมงาน

3.ความก้าวหน้าในอาชีพ

4.พัฒนาการและการเรียนรู้

5.งานท้าทาย

6.อำนาจอิสระ

7.งานมีคุณค่า

8.การยกย่อง

9.เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น

10.ผลตอบแทน

โดยเหตุผลเรื่อง “นาย” เป็นเหตุร่วมของคนทุก gen ที่จะทำให้คงอยู่หรือลาออกค่ะ ^^ (เป็นกำลังใจให้นายทุกคนนะคะ)

ดังนั้นหน้าที่นายมี 2 ประการ

1.Understanding people

2.Empowering people

และเมื่อต้องเป็นนายที่ดูแล digital workforce หรือคนรุ่นใหม่แล้ว เราจึงควรดูแลเขาในแบบที่เขาเป็น

แล้วเขาเป็นแบบไหน

Style Gen Y/Z

1.ไม่กลัวงานยาก ชอบความก้าวหน้า เติบโตเร็ว

2.ชอบทำงานกับ IT

3.อยากเป็นเจ้านายตัวเอง

4.มีแนวโน้มจะเป็น freelance

5.work hard play hard

6.ชอบทำ project มีผลงานของตัวเอง

7.ชอบอยู่หน้าจอ มีโลกส่วนตัวสูง

8.ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนแวดล้อม

จุดแข็ง gen Y/Z

1.ความคิดสร้างสรรค์

2.นอกกรอบ

3.เก่งเทคโนโลยี

4.ชอบเรียนรู้

“นายในดวงใจ” คน gen Y/Z

1.เปิดโอกาสให้คิดให้พูด

2.ให้ feedback ให้คำแนะนำ

3.พูดภาษาเดียวกัน

4.ไม่ขัด ไม่ดักทาง

ดังนั้น เมื่อรู้จักเขาแล้ว ก็ดูแลเขาอย่างที่เขาเป็น ด้ ว ย ค ว า ม รั ก

จะเป็นนายที่เก่งหรือเป็นนายที่ทำให้ลูกน้องเก่ง (เลือกได้นะคะ ^^)

~~~~~~~~~

คำคมจากวิทยากร “คนเราเติบโตตามโจทย์ที่เจอในชีวิต” ^________^

~~~~~~~~~

สรุปแบบเปิดช่องให้ถกกันต่อไป โดย ป้อมวารีค่ะ

^_______^

หลักสำคัญของการทำงานร่วมกัน

ทุกคนในองค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือร่วมใจ ความรักความสามัคคีและความผูกพันระหว่างบุคคลากรกับองค์กร ในการสร้างสรรค์ผลักดันให้สิ่งดี ๆ เกิดขึ้น

“เมื่อไหร่ใช้คนตรงจุดแข็ง งานก็รุ่ง องค์กรก็รุ่ง”

“หัวหน้าที่ดี คือ หัวหน้าที่ทำให้ลูกน้องเห็นคุณค่าในตัวเอง”