2. Ensure consistency of practice

การสร้างความมั่นใจการปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการที่ออกแบบไว้

การสร้างความมั่นใจการปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการที่ ออกแบบไว้(ensureconsistencyofpractice) เพื่อส่งมอบคุณภาพบริการสุขภาพ ที่มีความปลอดภัย น่าไว้วางใจ ทันเวลา มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ไม่เลือก ปฏิบัติและมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีความสำคัญต่อความยั่งยืนในระบบ บริการสุขภาพ

หัวหน้าหน่วยงาน/ผู้จัดการ มีบทบาทสำคัญในการนำแนวทางปฏิบัติที่ มีการออกแบบสื่อสารสู่การปฏิบัติและกำกับควบคุมคุณภาพ เพื่อสร้างความ มั่นใจว่าการปฏิบัติมีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการที่ออกแบบไว้ส่งผลให้ สามารถธำรงระบบและมีผลลัพธ์การดำเนินการดีขึ้น

การควบคุมคุณภาพระบบการจัดการ(qualitycontrol) เป็นหนึ่งในปัจจัย ขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง (primary driver of highperformance management system at the frontline) ทำให้ระบบการจัดการ มีการจัดการเฝ้าระวังและการค้นหาข้อบกพร่อง, ธำรงเสถียรภาพการทำงาน, และตอบสนองต่อความผิดปกติได้อย่างทันท่วงทีควบคู่ไปกับการขับเคลื่อน การบริหารระบบพัฒนาคุณภาพ (manage quality improvement) และการ สร้างวัฒนธรรมการจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์การดำเนินการ(establishaculture ofhigh-performance management) โดยการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก และ ความเชื่อมั่น ส่งเสริมและธำรงความผูกพันของบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้างานใน การควบคุมและการพัฒนาคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพกระบวนการ มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1) Standardization มีกระบวนการกำหนดและเผยแพร่มาตรฐาน การทำงาน (ทำอะไร, ทำอย่างไร) โดยหัวหน้างานกำหนดมาตรฐานการ ทำงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ประจำเดือน ประจำปีให้ชัดเจน และสร้าง ความมั่นใจในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติที่หน้างาน มีการสื่อสารขั้นตอน และการกำกับ (เช่น check-list ประจำวัน, กระดานสื่อสาร, การฝึกอบรม, อินทราเนท)

2) Accountability มีกระบวนการในการทบทวนการนำมาตรฐาน การทำงานสู ่การปฏิบัติโดยการติดตามกำกับการทำงานตามมาตรฐาน มอบหมายและจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน การตามรอยเพื่อหา

โอกาสพัฒนามาปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการประเมินผลการดำเนินงาน ของบุคลากร

3) Visual management มีกระบวนการสื่อสารสารสนเทศผลการดำเนิน งานทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ระบุกระบวนการ/ขั้น ตอนสำคัญที่กระทบต่อผลลัพธ์สื่อสารอย่างเป็นรูปธรรมเป็นประจำ เช่น การ ทำ Huddle พร้อมสำหรับประสานความตั้งใจของพนักงานและมีการเสนอ แนะแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นปัจจุบัน

4) Problem solving มีวิธีการในการเผชิญหน้าและแก้ปัญหาที่สามารถ จัดการได้ที่หน้างาน และเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการที่มากขึ้น โดย การเรียนรู้และนำเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตมาประยุกต์ใช้ที่ หน้างาน เช่น Lean, RCA, PDSA, Cause-effect diagram เป็นต้น

5) Escalation ผู้ปฏิบัติหน้างานสามารถระบุประเด็นปัญหาและเพิ่ม แนวทางการจัดการกับปัญหาที่รัดกุมมากขึ้น เช่น แนวการตอบสนองเมื่อเกิด อุบัติการณ์รุนแรงที่หน้างาน เป็นต้น

6) Integration มีการบูรณาการ เป้าหมายขององค์กร มาตรฐานการ ทำงาน และ เป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพ ทุกระดับขององค์กร และ มีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน

ref.

https://drive.google.com/open?id=1yb74dtub0X5SX54n2AwHQfEjWc_LwoLv