I-1 การนำ LED

I-1 การนำ LED

I-1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (LED.1)

ผู้นำระดับสูงชี้นำองค์กร สื่อสารและส่งเสริมผลการดำเนินงานที่ดี ให้ความมั่นใจในคุณภาพและความ

ปลอดภัยในการดูแลผู้รับบริการ.

ก. วิสัยทัศน์และค่านิยม

(1) ผู้นำระดับสูงกำหนดและจัดทำเอกสารที่แสดงพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม. ผู้นำระดับสูงถ่ายทอดพันธกิจ

วิสัยทัศน์ ค่านิยม ผ่านระบบการนำ ไปยังบุคลากรทุกคนและคู่พันธมิตรสำคัญ เพื่อนำไปปฏิบัติ. การปฏิบัติ

ตนของผู้นำระดับสูงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมขององค์กร.

(2) ผู้นำระดับสูงจัดทำเอกสารที่แสดงจริยธรรมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของบุคลากรในองค์กร และสร้าง

สิ่งแวดล้อมขององค์กรที่ส่งเสริม กำหนด และส่งผลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมที่ดี.

(3) ผู้นำระดับสูงสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการปรับปรุงผลงาน, การบรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์

ขององค์กร, การสร้างนวัตกรรม, ความคล่องตัวขององค์กร, การเรียนรู้ในระดับองค์กรและบุคลากร,

สัมพันธภาพในการทำงานที่ดี, ความร่วมมือและการประสานบริการ.

(4) ผู้นำระดับสูงสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย.

Scoring guideline2011

01 ผู้นาระดับสูงชี้นาองค์กร (พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม)

1.มีการกาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม

2.มีการสื่อสาร ถ่ายทอดไปยังบุคลากร

3.บุคลากรมีความเข้าใจ,การปฏิบัติของผู้นาสะท้อนค่านิยม

4.มีความโดดเด่น เช่น ผู้นาใช้นวตกรรมทาง การบริหาร, การเรียนรู้ค่านิยมขององค์กรผ่านผลงานของทีม

5.การชี้นาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนตามวิสัยทัศน์และค่านิยม

Scoring guideline2011

02 การส่งเสริมผลการดาเนินงานที่ดี (สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา วัฒนธรรมความปลอดภัย)

1.กาหนดนโยบาย, มอบหมายผู้รับผิดชอบ, มีแผนหรือแนวทางการทางาน

2.มีกิจกรรมส่งเสริมต่างๆ ที่เหมาะสมกับองค์กร (ดูแนวทางใน SPA)

3.ผู้นาใช้ผลการสารวจบรรยากาศการพัฒนาและวัฒนธรรมความปลอดภัยเพื่อปรับปรุง, นาผลการพัฒนามาสร้างการเรียนรู้

4.ผู้นา proactive ในการติดตามและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา การสร้างนวตกรรม และวัฒนธรรมความปลอดภัย

5.ความตื่นตัวในการพัฒนา การสร้างนวต กรรม การเรียนรู้ อยู่ในระดับสูงมาก

ข. การสื่อสารและจุดเน้นขององค์กร

(1) ผู้นำระดับสูงสื่อสารกับบุคลากร, ให้อำนาจการตัดสินใจ, และจูงใจบุคลากรทุกคนทั่วทั้งองค์กร. ผู้นำระดับ

สูงกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารสองทางที่ตรงไปตรงมาทั่วทั้งองค์กร. ผู้นำระดับสูงมีบทบาทเชิงรุกในการให้รางวัล

และการยกยอ่งชมเชย เพื่อหนุนเสริมการม่งุ เน้นผ้ปู่วย / ผ้รู ับผลงาน, การม่งุเน้นคุณภาพและความปลอดภัย

ในการดูแลผู้รับบริการ, และการมุ่งเน้นผลงานที่ดี.

(2) ผู้นำระดับสูงกำหนดจุดเน้นที่การปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงผลงาน การบรรลุวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์ขององค์กร

รวมทัง ระดับความคาดหวังในจุดเน้นดัง กล่าวผู้นำระดับสูง ทบทวนตัวชี้วัดผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อระบุการดำเนินการที่จำเป็น.

Scoring guideline2011

03 การสื่อสาร เสริมพลัง จูงใจ เน้นที่การปฏิบัติ

1.มีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน (ช่องทาง เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย ความถี่), มีการกาหนดขอบเขตการให้อานาจตัดสินใจที่ชัดเจน

2.มีการสื่อสารและเสริมพลังตามแนวทางที่กาหนดไว้, มีกลไกการสื่อสารสองทาง

3.มีการกาหนดจุดเน้นของการพัฒนาที่ชัดเจน, มีการสื่อสาร เสริมพลัง สร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการนาจุดเน้นไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

4.มีความโดดเด่น เช่น ผู้นาติดตามการปฏิบัติตามจุดเน้น, ผู้นาจุดประกายให้เกิดพลังในการทางาน (Zapp)

5.มีการประเมินความเข้าใจ ความมั่นใจ แรง จูงใจต่อทิศทางและจุดเน้นขององค์กร และนามาปรับปรุง ส่งผลให้บุคลากรโดยรวมสร้างผลงานที่ดี สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

I-1.2 การกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม (LED.2)

องค์กรแสดงถึงระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ สร้างความมั่นใจว่ามีการ

ดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม และมีส่วนสนับสนุนต่อสุขภาพของชุมชน.

ก. การกำกับดูแลกิจการ

(1) องค์กรทบทวนและแสดงให้เห็นระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในด้านความรับผิดชอบต่อการกระทำของ

ผู้บริหาร, ความรับผิดชอบด้านการเงิน, ความโปร่งใสในการดำเนินงาน, การตรวจสอบที่เป็นอิสระทั้งภายใน

และภายนอก, และการพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.

(2) องค์กรประเมินผลงานของผู้นำทุกระดับ . ผู้นำระดัสูงใช้ผลการทบทวนเหล่านี้ไปปรับปรุงประสิทธิผลของ

ผู้นำแต่ละคน และประสิทธิผลของระบบการนำ

Scoring guideline2011

04 ระบบกากับดูแลกิจการ การประเมินผู้นา/ระบบการนำ

1.มีระบบการควบคุมภายใน, มีโครงสร้างการกากับดูแล (governance)

2.มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก, มีระบบรายงานต่อผู้กากับดูแลกิจการ

3.มีระบบการกากับดูแลกิจการที่ดี, มีระบบประเมินผู้นาและระบบการนำ

4.มีการพัฒนาผู้นาและปรับปรุงระบบการนาตามผลการประเมิน

5.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความไว้วางใจต่อการทางานของผู้บริหาร

ข. พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม

(1) องค์กรระบุและคาดการณ์ถึงความเสี่ยง / ผลกระทบด้านลบต่อสังคม และความกังวลของสาธารณะ6

เนื่องมาจากบริการ / การดำเนินงานขององค์กร. องค์กรมีการเตรียมการเชิงรุกในประเด็นดังกล่าว รวมถึง

การใช้กระบวนการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม. มีการกำหนดกระบวนการ ตัวชี้วัด และ

เป้าหมายสำคัญ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมาย รวมทั้งลดความเสี่ยงหรือผลกระทบด้านลบ

เหล่านั้น.

(2) องค์กรส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าจะมีพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในปฏิสัมพันธ์ทุกกรณี มีการติดตามกำกับ

และดำเนินการต่อพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหลักจริยธรรม.

Scoring guideline2011

05 ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและการดาเนินงานอย่างมีจริยธรรม

1.มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผลกระทบด้านลบ ความกังวลของสาธารณะ การใช้ ทรัพยากร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปัญหาจริยธรรมที่สาคัญ

2.มีแนวทาง กระบวนการหรือมาตรการรองรับในประเด็นที่สาคัญ, มีระบบติตดามกากับและดาเนินการเมื่อมีการฝ่าผืนหลักจริยธรรม

3.มีการเตรียมการเชิงรุกหรือกาหนดกระบวน/มาตรการที่เหมาะสมกับประเด็นที่วิเคราะห์ไว้อย่างครบถ้วน

4.มีการกาหนดและติดตามตัวชี้วัดสาคัญ และตอบสนองอย่างเหมาะสม, มีการนาประเด็นจริยธรรมที่ยาก ลาบากในการตัดสินใจมาเรียนรู้ร่วมกัน

5.ปฏิบัติสูงกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกาหนด, เป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการป้องกันผลกระทบด้านลบ

ค. การสนับสนุนชุมชนและสุขภาพของชุมชน

องค์กรกำหนดชุมชนสำคัญและสิ่งที่จะให้การสนับสนุนแก่ชุมชน. องค์กรสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่

ชุมชน. องค์กรสนับสนุนสุขภาพของชุมชน10, ประสานงานและสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เพื่อจัดให้มี

บริการที่ประสานกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน.

Scoring guideline2011 ให้ประเมินใน II-9