2I 2.1 Airborne Transmission

I 2.1: Airborne Transmission

Definition

การติดเชื้อทางอากาศ (airborne) ได้แก่ วัณโรค อีสุกอีใส หัด และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

Goal

 อัตราอุบัติการณ์วัณโรคในบุคลากรสุขภาพต ่ากว่าอัตราในประชากรทั่วไปในประเทศไทยเท่ากับ

259–102 รายต่อ 100,000 คน

 อุบัติการณ์อีสุกอีใส หัดและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในระหว่างปฏิบัติงานเท่ากับศูนย์

Why

บุคลากรสุขภาพที่ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยจากวัณโรค อีสุกอีใส หัด โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ในระหว่าง

ปฏิบัติงานส่งผลต่อสุขภาพและชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ระบบการบริการสุขภาพระดับชาติ

Process

กระบวนการ ดังต่อไปนี้

 การให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด อีสุกอีใส ก่อนการสัมผัส

 การให้การป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากรสุขภาพหลังสัมผัสโรค บุคลากรสุขภาพทุกรายจะได้รับ

การป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัสโรคหัด วัณโรค

 บุคลากรสุขภาพที่ติดเชื้อหรือสัมผัสวัณโรค อีสุกอีใส หัด โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จะต้องได้รับการ

ตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ได้รับการประเมินเพื่อพักการปฏิบัติหน้าที่หรือจ ากัดการ

ปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งการลาป่วย การชดเชยตามสิทธิ

แนวทางปฏิ บต ั ิ ได้แก่

 การให้การศึกษาฝึกอบรมแก่บุคลากรเมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงานและประจ าปีในระหว่างปฏิบัติงาน

 การจัดให้มีกระบวนการการคัดกรอง (screening and triage) คัดแยกผู้ป่วยและการระมัดระวังการ

สัมผัสโรค (isolation and precaution) ในผู้ป่วยที่มีหรือสงสัย วัณโรค โรคหัด อีสุกอีใส โรคติดเชื้อ

อุบัติใหม่ ในแผนกผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ สถานพยาบาลที่เป็นด่านหน้าของงานบริการ

สุขภาพทุกระดับ การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลในห้องแยกระดับ airborne isolation ที่มีอัตราการ

ไหลเวียนอากาศไม่ต ่ากว่า 15-12air change ต่อชั่วโมง ความดันเป็นลบแตกต่างจากห้องภายนอก

ไม่ต ่ากว่า 2.5pascal (Pa)

 การประเมินบุคลากรผู้สัมผัสโรคและการจัดหาการป้องกันด้วยยาต้านจุลชีพหรือการให้ภูมิคุ้มกัน

ภายหลังการสัมผัส (postexposure prophylaxis)

 การปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวัง การติดเชื้อขั้น airborne precaution ในระหว่างให้การดูแล

ผู้ป่วย

 การจัดให้มีและการใช้งานอย่างถูกต้องของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (protective personal

equipment) ได้แก่ หน้ากากไส้กรองละเอียด N95 หรือ powered air respirator (PAPR) อุปกรณ์

ป้องกันบริเวณดวงตา ใบหน้า ศีรษะ ถุงมือและเสื้อคลุม ตามประเภทกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัส

เชื้อก่อโรค

Training

การให้การศึกษาฝึกอบรมการปฏิบัติแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อ airborne การใช้งานอย่าง

ถูกต้อง ของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล แก่บุคลากร เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงาน และประจ าปีใน

ระหว่างปฏิบัติงาน

Monitoring

การประเมินผลอัตราการปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อ ตัวชี้วัด surrogate marker

eg., new annual cases of pulmonary tuberculosis ในบุคลากรสุขภาพ

Pitfall

ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติโดยความไม่เข้าใจที่อาจเกิดขึ้นที่ส าคัญ ได้แก่ การไม่ปฏิบัติหรือปฎิบัติ

ผิดพลาดตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อระหว่างให้การดูแลผู้ป่วย

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่

4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค. สุขภาพและความปลอดภัย

ของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการ

ติดเชื้อ (IC.1) ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4) และ (5), ข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อการ

ป้องกันการติดเชื้อ (IC.2) ข. การป้องกันการติดเชื้อกลุ่มเฉพาะ (3)