ภาพรวมความเสี่ยง

เรียนรู้ บทเรียนการบริหารจัดการความเสี่ยง

ในหลายๆครั้งที่ได้รับเกียรติจากอาจารย์โรงพยาบาลต่างๆให้ไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้น ถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับในชีวิต นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนกับคณะอาจารย์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ต้องขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการสถาบัน คณะอาจารย์ทุกๆท่านที่ให้เกียรติในครั้งนี้ครับ

ความเสี่ยงคืออะไร คำตอบคือความเสี่ยงคือโอกาสครับ โอกาสที่จะประสบกับอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ตั้งไว้ นั่นคือการบริหารจัดการความเสี่ยงมิใช่สิ่งที่รอให้เกิดเหตุการณ์ก่อน แล้วค่อยมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และกำหนดมาตรการป้องกันต่อไป

#### แต่ความจริงแล้วการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นคือการแสววงหาโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่นกระบวนการการทำงาน ความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ การเงิน สิ่งแวดล้อม กระบวนการการดูแล หรืออื่นๆให้ครอบคลุมกับความเป็นตัวตนขององค์กร โดยไม่รอให้เกิดแต่เป็นการประเมิน และคาดการณ์ว่าจะเกิดความเสี่ยงอะไรบ้างจากการทำงานประจำของเรา และช่วยกันทบทวน เรียนรู้ และกำหนดมาตรการป้องกัน สิ่งนี้จะมีความปลอดภัยมากกว่าซึ้งเราก็เห็นตัวอย่างทั้งจากธุรกิจต่างๆเช่น การบิน เป็นต้น

ความเสี่ยงคือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกับทุกๆคนในองค์กรว่าเราทำไปเพื่ออะไร การทำความเสี่ยงนั้นไม่ใช่การจับผิด หรือการกล่าวโทษกัน ลงทัณฑ์กัน หรือนำมาประเด็นมาทะเลาะกันว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการ

1. เป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในองค์กร : สร้างคุณภาพ และความปลอดภัย

2. ต้องผนวกเข้าไปในทุกส่วนของการดำเนินการในองค์กร

3. ใช้ในการจัดการกับสิ่งที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น

4. เป็นระบบ มีรูปแบบที่ชัดเจน และทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

5. อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้

6. ต้องทำให้เหมาะสมกับบริบท ขนาดขององค์กรที่ตนเองอยู่

7. คำนึงถึงปัจจัยในเรื่องบุคลากร และวัฒนธรรมขององค์กรในการบริหารจัดการความเสี่ยง

8. ต้องมีความโปร่งใส และมีส่วนร่วมในทุกฝ่ายในองค์กร

9. มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำซ้ำได้ และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

10. ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ ( DALI ) เพื่อช่วยให้องค์กรเกิดการปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ นั่นคือมีเป้าหมาย กระบวนการ ผลลัพธ์

เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกับทุกๆคนในองค์กร และที่สำคัญการบริหารจัดการความเสี่ยงต้องครอบคลุมทุกหน่วยงาน

การบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการชี้นำ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตาม ทบทวน ปรับปรุงโดยผู้นำในทุกระดับตั้งแต่ระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น ทุกๆหน่วย ทุกๆทีม เพื่อให้ความเสี่ยงได้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และได้รับการพัฒนา และปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งองค์กร และทุกๆคนไม่ว่าจะเป็น

1. การกำหนดนโยบาย แผนในการบริหารจัดการความเสี่ยง

2. การกำหนดบริบทที่สำคัญๆเช่น วัตถุประสงค์/ประเด็นสำคัญ , โปรแกรม,รายชื่อความเสี่ยง,ระดับความรุนแรง ,แนวทางการรายงาน ,แนวทางการจัดการ, การประเมินผล,ตัวชี้วัด เป็นต้น

3. กำหนดขั้นตอนกระบวนการในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ครอบคลุมไม่ว่าจะเป็น การค้นหา/การรายงาน การประเมินความรุนแรง/การจัดลำดับความสำคัญ การจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่นการทำ RCA เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง การใช้หลักคิด Human Factor Engineering , Visual management เพื่อนำมากำหนดมาตรการในการป้องกันที่เข้มแข็ง เป็นต้น สุดท้ายคือการวางระบบในการประเมินผลในระบบบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ลงมือ ลงแรงไปผลัพธ์เป็นอย่างไร โดยหัวใจสำคัญคือการใช้วงล้อ DALI นั่นคือ Design ( ออกแบบ ) Action หรือ Implement ( การนำไปปฏิบัติ ) Learning ( เรียนรู้ว่่าเป็นอย่างไร ) และสุดท้ายคือ Improvement ( การปรับปรุงเมื่อเห็นโอกาสในการพัฒนา )

4. กำหนดประเด็นสำคัญ ( Risk register เพื่อวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการก่อนที่จะดำเนินการจริงเพื่อพัฒนาต่อไป ซึงหากวางแผนไม่เหมาะสม ก็จะได้แผนการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ดี เท่ากับว่า หน่วยงานองค์กรไม่มีแผนสำหรับการบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเมื่อวางแผนแล้ว ก็นำไปสู่การปฏิบัติ ติดตาม และประเมินผล เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อุบัติการณ์ นั้่นคือมีการ Identify Risk : การระบุความเสี่ยงที่ต้องการ , Risk Assessment : การประเมินความเสี่ยงว่าสำคัญ/รุนแรงระดับใด , Plan Forward : การกำหนดมาตรการป้องกัน การวางแผนเพื่อลดความรุนแรงหรือกำจัดความเสี่ยง , Review : การทบทวนผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะระยะ

5. กำหนดเป้าหมายความปลอดภัยขององค์กร : 2P Safety Goals ทั้งด้าน Patient ( ผู้ป่วย ) และ Personel ( บุคลากร ) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างครอบคลุมทั้งองค์กร โดยนำ 2P Safety Goals มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร และสอดแทรกไปในมาตรฐานที่เรานำมาใช้ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องนำมาสู่การปฏิบัติให้ถ้วนทั่วทั้งองค์กร ทุกๆหน่วยงาน ทุกๆคนในองค์กร และมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เกิดคุณภาพและความปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย/ญาติ เจ้าหน้าที หน่วยงาน องค์กร และชุมชน และที่สำคัญ และทำให้องค์กรของเราเป็นที่น่าไว้วางใจในที่สุด

ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่าน ทุกๆโรงพยาบาลที่ให้เกียรติไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าฉางเป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาให้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ต่างๆครับ ขอบพระคุณมากครับ

ที่มา

FB: สุรเดช ศรีอังกูร #Suradetsri UPDATE610227