III-4.3ค. อาหารและโภชนาการ

83 อาหารและโภชนบำบัด

ค. อาหารและโภชนบำบัด

มาตรฐาน

(1) ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย โดยมีระบบบริการอาหารที่ดี.

(2) ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านโภชนาการได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ วางแผนโภชนบำบัด, ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ.

(3) มีการให้ความรู้ทางด้านวิชาการอาหาร โภชนาการและโภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเตรียมและบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่.

(4) การผลิตอาหาร การจัดเก็บ การส่งมอบ และการจัดการกับภาชนะ / อุปกรณ์ / ของเสีย / เศษอาหารเป็นไปอย่างปลอดภัยตามหลักปฏิบัติที่ยอมรับทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อน การเน่าเสีย การเกิดแหล่งพาหะนำโรค และการแพร่กระจายของเชื้อโรค.

HA scoring

-ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบเรื่องอาหารด้วยตนเอง

-ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการพื้นฐาน, การผลิตอาหารเป็นไป ตามหลักสุขาภิบาล อาหาร ป้องกันความ เสี่ยงจากการปนเปื้อน การเน่าเสีย และการ แพร่กระจายของเชื้อโรค

-มีบริการอาหารเฉพาะ โรค, มีการประเมิน ภาวะโภชนาการและ ให้บริการโภชนบำบัดที่เพียงพอและปลอดภัย เมื่อมีข้อบ่งชี้

-มีความโดดเด่น เช่น มีการคัดกรองปัญหาโภชนาการในผู้ป่วยทุกราย, ให้ความรู้ทางด้านวิชาการอาหารโภชนาการและโภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มีการประเมินและปรับปรุงบริการอาหารและโภชนบำบัดอย่างเป็นระบบผลลัพธ์การใช้โภชนบำบัดในการดูแลอยู่ในระดับดีมาก

การดำเนินการ

ระบบบริการอาหารที่ดี

ได้แก่ การจัดทำเมนูอาหาร การกำหนดเวลาให้บริการ ระบบการสั่งอาหาร ระบบการตรวจสอบ การประเมินติดตามการบริโภคและแก้ไขปรับปรุง

กระบวนการผลิตอาหาร ครอบคลุม การเลือกซื้อและการเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมและการประกอบอาหาร การบรรจุภาชนะ

-การคัดกรองปัญหาโภชนาการใหนผุ้ป่วยทุกรายและการบริการโภชนาบำบัดแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ให้ได้ 100%

-ในปีพ.ศ. 2559 การแก้ไขเพื่อปรับให้มีโครงสร้างห้องอาหาร และพัฒนาบริหารเปลี่ยนระบบการประกอบอาหารเพื่อให้ได้มาตรฐาน

บริหารทรัพยากรให้ใช้เหมาะสม

-พัฒนาระบบการให้บริการด้านโภชนาการเพิ่อให้สอดคล้องกับผู้ป่วยกลุ่มรายโรคทุกกลุ่มคลอบคลุมมากขึ้น

-พัฒนาการนำข้อมูลใช้ในการดูแลผู้่ป่วยให้เป็นระบบจัดทำกลุ่มกิจกรรมและประมเินผลกิจกรรรมผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายติดตามดูแลผลสัมฤทธิ์

-พัฒนาสิ่อที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาแก่กลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายทังที่มีาภวะเสี่ยง ภาวะคุกคามของโรค และภาวะทุโภชนา

-พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษาในการให้ควมรู้แก่ผู้ป่วยและญาติและนำปัญหาที่พบจาการกให้บริการด้านโภชนามาปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ

-พัฒนาการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในวัตถุดิบทุกเดือน

--พัฒนาการสุ่มตรวจเพาะเชื้อในอาหารทุก 3 เดือนและสุ่มตรวจเพาะเชื้อภาชนะทุกประเภททุก 3 เดือน