2.4 ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ

2.4 ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในกำรตัดสินใจ

(Ethical Dilemma)

ข้อกำหนด

I-1.2 ข.(3) องค์กรจัดให้มีกลไกเพื่อการรับรู้และจัดการกับประเด็นทาง

จริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ ด้วยวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสม.

คำอธิบายประกอบมาตรฐาน

ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ (ethical dilemma)

เช่น

-การตัดสินใจไม่ให้การรักษาหรือยุติการรักษา
-การให้การรักษาที่จำเป็นแต่ขัดกับความประสงค์ของผู้ป่วย
-การรับผู้ป่วยหนักรายใหม่เข้าไปในหอผู้ป่วยหนักซึ่งจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยหนักที่อยู่เดิมออกหนึ่งราย

อะไรคือประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ

จริยธรรมเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคม
..อย่างไรก็ตามอาจมีบางสถานการณ์ที่จริยธรรมข้อหนึ่งดูเหมือนจะแย้งกับอีกข้อหนึ่ง หรือ แม้แต่จริยธรรมข้อเดียวกันก็อาจได้รับการตีความที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
..ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจจึงอาจเกิดขึ้นได้โดยจะเกิดขึ้นในสถานการณ์
ที่บุคคลต้องตัดสินใจเมื่อมีทางให้เลือกตั้งแต่ สองทางขึ้นไป
..แต่เมื่อเลือกทางหนึ่งก็มักจะขัดกับจริยธรรมข้อหนึ่ง เลือกอีกทางหนึ่งก็ขัดกับจริยธรรมอีกข้อหนึ่ง

ตัวอย่างของประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจในงาน

บริการสุขภาพ
ในงานบริการสุขภาพ เราทุกคนน่าจะเคยมีความรู้สึกไม่สบายใจและลังเลใจต่อการตัดสินใจที่จะเลือกวิธีในการให้บริการผู้ป่วย เมื่อไรที่เรามีความรู้สึกไม่สบายใจและลังเลใจในการตัดสินใจให้บริการ สิ่งนี้มักเป็นข้อบ่งชี้ว่า เรากำลังเผชิญกับประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ

ดังตัวอย่างต่อไปนี

  • กรณีผู้ป่วยเจ็บป่วยถึงระยะสุดท้ายของชีวิตแล้ว และผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้ว่าขอจากไปอย่างสงบ ขอรับการรักษาเพียงแบบประคับประคอง แต่ญาติขอให้รักษาต่ออย่างเต็มที่

  • การได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยหนึ่งรายที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ในขณะที่หอผู้ป่วยหนักเตียงเต็มแล้ว ถ้าจะรับผู้ป่วยรายใหม่ ก็ต้องย้ายผู้ป่วยที่นอนอยู่เดิมออก

  • การที่มารดาที่ตั้งครรภ์แล้วทราบว่าบุตรในท้องเป็น Down Syndrome และมาขอทำแท้ง

  • การที่สามีมาเจาะเลือดตรวจเอดส์แล้วพบว่าผลเลือดเป็นบวก ซึ่งโรงพยาบาลมีหน้าที่ต้องรักษาความลับของผลการตรวจเลือด แต่เนื่องจากสามีอาจแพร่เชื้อให้ภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ได้โรงพยาบาล จึงขออนุญาตสามีในการบอกผลเลือดแก่ภรรยา แต่สามีปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ภรรยาหย่าขาด

  • ผู้ป่วยต้องได้รับการเจาะปอด แต่แพทย์ทำการเจาะปอดผิดข้าง จึงต้องกลับมาเจาะปอดข้างที่ถูกอีกครั้ง หลังการเจาะ แพทย์ควรบอกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์นี้แก่ผู้ป่วยหรือญาติอย่างไร

  • การเปิดเผยหรือปิดบังข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคซึ่งอยู่ในระยะท้ายที่ไม่สามารถรักษาได้

  • การปิดบังความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

  • การให้การรักษาด้วยยาหลอกแก่ผู้ป่วยซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ แต่ผู้ป่วยยืนยันที่จะขอยา

ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการ

ตัดสินใจ

ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากในการตัดสินใจ เกิดจากการมีฐานคิดทางจริยธรรมที่ขัดแย้งกัน
หากตัดสินใจบนฐานคิดหนึ่ง ก็อาจขัดแย้งกับอีก

ฐานคิดหนึ่งการมีแนวทางและกลไกช่วยเหลือที่ชัดเจน จะทำให้มีการตัดสินใจที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และทำให้ผู้ตัดสินใจไม่รู้สึกผิดหรือถูกตำหนิในภายหลัง

มาตรฐาน HA ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องมีคำตอบสำเร็จรูปและตายตัวในการจัดการกับประเด็นเหล่านี้

ข้อความสำคัญของมาตรฐานอยู่ที่

“กลไกเพื่อการรับรู้และจัดการ……ด้วยวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสม”

บนพื้นฐานแนวคิดว่า ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องของทีมงานของโรงพยาบาล น่าจะช่วยให้เกิดการสั่งสมความรู้และ ประสบการณ์ที่จะช่วยให้โรงพยาบาลสร้างกลไกเพื่อการจัดการประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากใน การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละครั้ง

แนวทางปฏิบัติ

ควรมีกลไกครอบคลุมกรณีต่อไปนี้

(1) เรื่องง่ายๆ

จัดทำข้อสรุปสำหรับการตัดสินใจ ให้ทุกคนปฏิบัติตาม

(2) เรื่องที่ต้องพิจารณาเฉพาะกรณี

จัดทำแนวทางการใช้ดุลยพินิจ

RBSD

  • Recognise รับรู้ว่าเกิดประเด็นจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ เนื่องจากมีความขัดแย้งในค่านิยม หลักการ หลักจริยธรรม

  • Break วิเคราะห์เพื่อจำแนกประเด็นหรือหลักการที่ขัดแย้งกันออกมาให้ชัดเจน เช่น การคุ้มครองสิทธิเด็กกับความต้องการของพ่อแม่

  • Seek หาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ทั้งคำแนะนำขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และมุมมองของผู้ป่วย

  • Decision ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและหลักการที่รับฟังได้(ถ้าทำได้) และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

(3) เรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องไม่มั่นใจ

จัดให้มีกลไกให้คำปรึกษาภายในองค์กร

เช่น คณะกรรมการจริยธรรมของโรงพยาบาล

(4) เรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้ในองค์กร

หาช่องทางปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภายนอก

เช่น องค์กรวิชาชีพ ศาล

ระบบที่จะสนับสนุนกลไกข้างต้น

อาจพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

(1) การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพในเรื่องประเด็น

ทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ และกลไกที่มีอยู่เพื่อให้ใช้กลไก

ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) สร้างการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการทำงานที่ต้องเผชิญกับประเด็น

จริยธรรมต่างๆ เช่น หลักจริยธรรมและองค์ความรู้ที่เป็นฐานในการตัดสินใจ

และผลกระทบของการตัดสินใจแต่ละครั้ง ความเหมาะสมของระดับการขอ

คำปรึกษา ผลกระทบของความก้าวหน้าทางความรู้และเทคโนโลยี ผลกระทบ

ของระบบประกันสุขภาพ บทเรียนสำหรับใช้เป็นแนวทางในอนาคต

(3) ติดตามประเมินผลการจัดการในภาพรวม เพื่อการปรับปรุงกลไก

และขั้นตอนการจัดการประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจเป็น

ระยะ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้และการประเมินผลงาน

(4) สร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาที่มาฝึกงานที่โรงพยาบาล ทั้งในรูป

แบบที่ไม่เป็นทางการ (เช่น ขณะดูผู้ป่วยแต่ละราย) และเป็นทางการ (เช่น การ

อภิปรายในห้องเรียน) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ในคนรุ่นใหม่

สรุป

เมื่อไรที่เรารู้สึกว่ากำลังเผชิญกับประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ ขอให้เราทบทวนความเข้าใจของตนเองและของสังคมโดยรวมในจริยธรรมเรื่องนั้น ทบทวนความรู้ทางวิชาการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง สิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยให้เราตัดสินใจในการจัดการกับจริยธรรมในเรื่องนั้นได้อย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์แต่ละครั้ง อันจะเป็นการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและธำรงศักดิ์ศรีที่ดีงามของวิชาชีพ


เพิ่มเติม ST001

Q: ประเด็นการแก้ปัญหาเชิงจริยธรรม

A:

ข(2) การรับมือกับปัญหาจริยธรรม

-สร้างความตระหนักด้วยกรณีศึกษา

-หากลไกรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงและดำเนินการป้องปราม

-แยกแยะการละเมิดหลักจริยธรรมที่ชัดเจน กับ ethical dilemma

ข(3) การรับมือกับ ethical dilemma

- ร่วมกันระบุโอกาสเกิด ethical dilemma ให้มากที่สุด

- ซักซ้อมว่าในแต่ละกรณีจะใช้หลักอะไรในการตัดสินใจ เมื่อใดควร

หาทางออกที่ก้าวข้าม dilemma

- วางกลไกให้ค าปรึกษากรณีที่ผู้เผชิญปัญหาตัดสินใจเองไม่ได้