4P 4.1: Preventing Pressure Ulcers

Definition

การป้องกันแผลกดทับหมายถึงการวางมาตรการต่างๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี ในการ

ป้องกันผิวหนังไม่ให้เกิดแผลกดทับ

Goal

ผู้ป่วยได้รับการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับตามแนวทางที่ก าหนด

Why

แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วยแล้วจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้ความทุกข์ทรมาน

จากความเจ็บปวด ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และอาจได้รับอันตรายร้ายแรงจนถึงกับเสียชีวิต

ได้ นอกจากนี้การรักษาแผลกดทับมีค่าใช้จ่ายสูง การป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับจึงเป็นมาตรการ

ที่ดีที่สุดส าหรับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

Process

การประเมิน

1) ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับเร็วที่สุด หรือภายใน 8 ชั่วโมง หลังรับเข้ารักษาโดยใช้

เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินเช่น Braden Scale หรือ Norton Scale ประเมินซ ้าตามความ

เหมาะสมขึ้นกับการความต้องการของผู้ป่วยแต่ละบุคคลและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพที่

ส าคัญ

2) ประเมินผิวหนังอย่างครอบคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าพร้อมๆ กับการประเมินความเสี่ยง เพื่อดูว่า

มีผิวหนังบริเวณใดมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติโดยใช้นิ้วมือกดบริเวณรอยแดงว่ารอยแดงจาง

หายไปหรือไม่ ส าหรับผิวหนังบริเวณที่ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ประเมินอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

3) การประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลต่อการคงทนของเนื้อเยื่อต่อแรงกด (tissue tolerance to

pressure) ได้แก่ อายุ การท างานของเส้นเลือด การควบคุมน ้าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน น ้าหนักตัว

ภาวะทุพโภชนาการ

4) บันทึกผลการประเมินที่ได้ทุกครั้งในเวชระเบียนผู้ป่วย

การป้องกันแผลกดทับ

5) การดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

1. ถ้าเป็นไปได้หลีกเลี่ยงท่านอนทับบริเวณปุ่มกระดูกที่ผิวหนังมีรอยแดง

2. ดูแลให้ผิวหนังสะอาดและแห้ง หลีกเลี่ยงการนวด ขัดถูผิวหนังเพราะเสี่ยงต่อการเกิด

แผลกดทับ

3. ป่วยที่มีภาวะควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ท าความสะอาดผิวหนังทันทีเมื่อมีสิ่งขับถ่าย

ปนเปื้อนผิวหนัง

4. ดูแลสภาพผิวหนังให้ชุ่มชื้น ไม่แห้ง โดยการทาโลชั่น ครีมบ ารุงผิว กรณีผู้ป่วยควบคุม

การขับถ่ายไม่ได้ ผิวหนังเปียกชื้นจากการสัมผัสสิ่งขับถ่าย ป้องกันผิวหนังสัมผัสกับความชื้นมาก

เกินไปโดยใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวหนังเช่นครีมป้องกันความชื้น แผ่นปิดแผลที่ควบคุมความชื้น

และอุณหภูมิรองผิวหนัง

6) การเปลี่ยนท่าและการเคลื่อนไหว ควรจัดท่าและพลิกตะแคงตัวอย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง

การเปลี่ยนท่าหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณปุ่มกระดูก บริเวณที่มีอุปกรณ์ต่างๆ ในการรักษา เช่น

ท่อช่วยหายใจ สายยางให้อาหาร ท่อระบายทรวงอก สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การจัดท่านอน

1. ท่านอนหงาย ควรจัดให้ศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา กรณีที่ไม่มีข้อจ ากัดให้จัดท่าศีรษะสูง

ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง ควรมีการประเมินและตรวจสภาพผิวหนังบริเวณก้น

กบ ใช้หมอนนุ่มรองบริเวณขาด้านล่าง หรือใต้น่องลงมา เพื่อให้ส้นเท้าไม่กดกับที่นอน

2. ท่านอนตะแคงควรจัดให้สะโพกเอียงท ามุม 30 องศากับพื้นเตียง ศีรษะสูงไม่เกิน 30

องศา ซึ่งผู้ป่วยจะอยู่ในท่าตะแคงกึ่งคว ่า หรือกึ่งหงาย และ ใช้หมอนรองขา ไม่ให้ผู้ป่วยนอนทับ

ไหล่ หรือแขน และขาของตนเอง

การจัดท่านั่ง

ควรนั่งพิงพนักเก้าอี้ หรือพนักรถเข็นนั่ง และเท้าวางบนที่พักเท้า โดยไม่ให้ส้นเท้าถูกกด ลด

แรงกดโดยการเปลี่ยนถ่ายน ้าหนักทุก 30 นาที เช่น นั่งนาน 30 นาที ยกก้น 30 วินาที

7) ออกก าลังกายเป็นประจ ากระตุ้นการไหลเวียนโลหิตโดยการท า Active exercise ในรายที่

ปฏิบัติเองได้ หรือช่วยท า Passive exercise ในรายที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ การลดแรงกด

เฉพาะที่

8) เลือกอุปกรณ์ลดแรงกดทับขณะนั่งและนอน ชนิด Static หรือ Dynamic ที่มีประสิทธิภาพ

เพียงพอในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ

9) ห้ามใช้ ห่วงยางรองนั่ง หมอนรูปโดนัทหรือวงแหวน เป็นสาเหตุให้หลอดเลือดคั่งและบวม และ

รวมทั้งถุงมือน ้าเพราะอาจเคลื่อนออกจากต าแหน่งได้ (Dislocate

10) ผิวหนังบริเวณที่ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับควรปลดออกเมื่อ

หมดข้อบ่งชี้ และถ้าประเมินผิวหนังใต้อุปกรณ์พบว่ามีความเสี่ยงให้ป้องกันโดยใช้แผ่นรองตาม

ความเหมาะสม

11) การจัดการกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่นภาวะโภชนาการ โดยการประเมินภาวะโภชนาการ ปรึกษา

โภชนากรเมื่อมีความเสี่ยง และดูแลให้ได้รับสารอาหารตามแผนการรักษา

Training

1. โรงพยาบาลก าหนดนโยบายการให้ความรู้บุคลากรด้านการป้องกันแผลกดทับ และสร้างความ

มั่นใจว่ามีทรัพยากรพร้อมใช้ส าหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ moisturizers skin barriers

equipment (therapeutic surfaces) และผู้ที่จะให้ค าปรึกษา เช่น พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการ

ดูแลแผล โภชนากร นักกายภาพบ าบัด

2. จัดโครงการให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง

2.1 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยทุกวิชาชีพตามโดยปรับให้เข้ากับบทบาทในการดูแล

ผู้ป่วย โดยครอบคลุมหัวข้อ ทัศนะคติและบทบาทการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผล การใช้

เครื่องมือประเมินความเสี่ยง การประเมินผิวหนัง Evidence-based pressure Prevention

กระบวนการและป้องกันการเกิดแผลกดทับ

2.2 ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลกดทับ

Monitoring

 มีการบันทึกการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับภายใน 8 ชั่วโมง หลังรับเข้ารักษา

 มีการบันทึกการประเมินผิวหนังอย่างครอบคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าภายใน 8 ชั่วโมง หลัง

รับเข้ารักษา

 อัตราความชุกแผลกดทับที่เกิดในโรงพยาบาล

 อัตราผู้ป่วยที่ไม่มีแผลกดทับตอนแรกรับไว้ในโรงพยาบาลและเกิดแผลกดทับขณะรับการ

รักษาในโรงพยาบาล

Pitfall

 มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงให้ครบถ้วน ขาดการระบุของความต้องการเฉพาะ

ของผู้ป่วยแต่ละราย ท าให้การจัดการไม่สอดคล้องจึงเกิดอุบัติการณ์

 ใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสมหรือขาดอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันแผลกดทับ การ

วางแผนการดูแลไม่เฉพาะผู้ป่วยเป็นรายๆ การไม่ใช้ศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการ

ร่วมกันป้องกัน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 3 ข้อ 3.1 การวางแผนการดูแลผู้ป่วย (PLN.1) (2), (3) และ (7)