II-2 การกำกับดูแลด้านวิชาชีพ (PFG)

II-2 การกำกับดูแลด้านวิชาชีพ (PFG)

II-2.1 การพยาบาล (PFG.1/NUR)

มีระบบบริหารการพยาบาลรับผิดชอบต่อการจัดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง เพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร

ก. การบริหารการพยาบาล

(1) ผู้นำทีมการพยาบาลทุกระดับเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอ

ทั้งในด้านปฏิบัติการพยาบาล และด้านบริหารการพยาบาล.

(2) ระบบบริหารการพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าจะมีบุคลากรทางการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถ63 และ

ปริมาณเพียงพอ64สำหรับบริการที่องค์กรจัดให้มี.

(3) ระบบบริหารการพยาบาลมีโครงสร้างและกลไกที่ทำหน้าที่สำคัญต่อไปนี้อย่างได้ผล:

l การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ

l การนิเทศ กำกับดูแล และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย

l การส่งเสริมการใช้กระบวนการพยาบาล

l การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

l การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม

l การจัดการความรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ.

(4) ระบบบริหารการพยาบาลประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับองค์กรที่เกี่ยวกับการใช้ยา การควบคุม

การติดเชื้อ การสร้างเสริมสุขภาพ คุณภาพและความปลอดภัย.

(5) การบริหารความเสี่ยง การบริหารความปลอดภัย และการบริหารคุณภาพของปฏิบัติการพยาบาลสอดคล้อง

และสนับสนุนเป้าหมาย / วัตถุประสงค์ขององค์กร และมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพ.

(6) มีการประเมินการบรรลุเป้าหมายของปฏิบัติการพยาบาลในองค์ประกอบด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย

การบรรเทาจากความทุกข์ทรมาน การได้รับข้อมูลและการเรียนรู้ของผู้รับบริการ ความสามารถในการดูแล

ตนเอง การเสริมพลัง ความพึงพอใจ และนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงปฏิบัติการพยาบาล.

Scoring guideline2011

35 ระบบบริหารการพยาบาล

1.มีโครงสร้างการบริหารการพยาบาลที่ชัดเจน, ผู้นาทีมการพยาบาลมีคุณสมบัติเหมาะสม, มีแนวทางหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่จาเป็น

2.มีการจัดอัตรากาลังทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและหน้าที่รับผิดชอบ, มีระบบประกันคุณภาพทางการพยาบาลในประเด็นที่สาคัญ

3.มีการบริหารการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วม, มีระบบกากับดูแลที่มีประสิทธิภาพ, ใช้หลักการเป็นโค้ชในการนิเทศงาน, มีการประสานความร่วมมือที่ดีกับกรรมการ/ระบบงานที่เกี่ยวข้อง

4.มีความโดดเด่น เช่น การใช้นวตกรรมทางการบริหาร, การประเมินการบรรลุเป้าหมายของระบบบริการพยาบาล

5.มีการประเมินและปรับปรุงการบริหารการพยาบาลอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ได้บริการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง

ข. ปฏิบัติการพยาบาล

(1) พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพสูง

เบ็ดเสร็จผสมผสาน และเป็นองค์รวม โดยมีการประสานความร่วมมือกับวิชาชีพอื่น.

(2) พยาบาลให้การพยาบาลด้วยความเคารพในสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมวิชาชีพ.

(3) พยาบาลให้การพยาบาลบนพื้นฐานของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล

ที่ทันสมัย มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง.

(4) พยาบาลให้การดูแลที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ วิถีชีวิต และบริบททางสังคม ของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง,

โดยมีการวางแผนการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจนหลังจำหน่ายร่วมกับทีมสุขภาพ และผู้รับบริการ /

ครอบครัว, เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการในการดูแลตนเอง ควบคุมปัจจัยเสี่ยง และสามารถใช้แหล่ง

ทรัพยากรในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม.

(5) บันทึกทางการพยาบาลแสดงถึงการพยาบาลผู้รับบริการแบบองค์รวม ต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ในการ

สื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพการพยาบาล และการวิจัย.

Scoring guideline2011

36 ปฏิบัติการทางการพยาบาล

1.ให้การดูแลทางการพยาบาลขั้นพื้นฐานที่ดี

2.ให้การดูแลตามแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับผลการประเมินผู้ป่วย และสนับสนุนแผนการรักษาของแพทย์

3.ใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่าง เหมาะสม, ปัญหาและความเสี่ยงของผู้ป่วยได้รับการตรวจพบทันการณ์และตอบสนองอย่างเหมาะสม, มีบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ

4.มีความโดดเด่น เช่น ใช้ความรู้วิชาการที่ทันสมัย, มีการเรียนรู้ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อปรับปรุงระบบงานและพัฒนาวิชาชีพ, การดูแลเป็นองค์รวม

5.มีการประเมินและปรับปรุงบริการพยาบาลอย่างเป็นระบบส่งผลให้ได้บริการพยาบาลที่ปลอดภัย มีคุณภาพสูง เป็นองค์รวม มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ สอดคล้องกับปัญหา วิถีชีวิต และบริบททางสังคม

II-2.2 แพทย์ (PFG.2/MED)

มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์ รับผิดชอบต่อการส่งเสริมและกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบ

วิชาชีพแพทย์ เพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร.

(1) มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์ในระดับโรงพยาบาลเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูง

และด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ.

(2) องค์กรแพทย์ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและร่วมวางแผนกับผู้บริหารเกี่ยวกับการจัดบริการทางการแพทย์

และสาธารณสุขที่มีคุณภาพสูง.

(3) องค์กรแพทย์สร้างความมั่นใจว่าการให้บริการทางการแพทย์อยู่บนพื้นฐานของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

และมาตรฐานวิชาชีพ มีการติดตามกำกับและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เคารพในสิทธิผู้ป่วยและเป็น

ไปตามจริยธรรมวิชาชีพ.

(4) มีโครงสร้างและกลไกเพื่อส่งเสริมการติดต่อสื่อสารและการแก้ปัญหาภายในวิชาชีพแพทย์ ระหว่างแพทย์กับ

ผู้ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานอื่น และระหว่างแพทย์กับผู้รับบริการ.

(5) องค์กรแพทย์ทำหน้าที่สำคัญต่อไปนี้อย่างได้ผล:

l การตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติของแพทย์

l การกำหนดสิทธิการดูแลรักษาผู้ป่วยของแพทย์แต่ละคน เพื่อเป็นหลักประกันว่าแพทย์ปฏิบัติงานที่ตนเอง

มีความชำนาญ

l การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

l การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ

l การกำกับดูแลการทบทวนและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

l การกำกับดูแลคุณภาพเวชระเบียน

l การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

l การกำหนดหรือรับรองนโยบายที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย

l การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม และแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ.

(6) องค์กรแพทย์ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับองค์กรที่เกี่ยวกับการใช้ยา การควบคุมการติดเชื้อ

การสร้างเสริมสุขภาพ คุณภาพและความปลอดภัย.

(7) มีข้อตกลงและแนวทางปฏิบัติในการทำงานของแพทย์ที่ทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติ ครอบคลุมเรื่องของ

การประกอบวิชาชีพเวชกรรม, ประเด็นทางจริยธรรม / กฎหมาย / สังคม, คุณภาพและความปลอดภัย,

การพัฒนาความรู้ความสามารถ, บันทึกและการจัดทำเอกสาร.

Scoring guideline2011

37 องค์กรแพทย์

1.มีการพบปะกันในกลุ่มแพทย์อย่างสม่าเสมอและมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพื่อแสดงจุดยืนและธารงไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพ

2.มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์ (เหมาะสมกับองค์กร) และกาหนดประเด็นสาคัญที่จาเป็นต้องมีการพัฒนาและประสานเพื่อนาไปปฏิบัติ

3.มีกลไกกากับดูแลและส่งเสริมให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐานและจริยธรรม, แพทย์แต่ละคนมีการศึกษาต่อเนื่องตามเกณฑ์

4.มีความโดดเด่น เช่น มีบทบาทเด่นชัดในการเป็นผู้นาและชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย, แพทย์ประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยของตนเองอย่างสม่าเสมอ

5.มีการประเมินและปรับปรุงการกากับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรแพทย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมให้ รพ.มีบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและน่าไว้วางใจ