4P 5.2: Acute Pain Management

Definition

ความปวดเฉียบพลัน เป็นความปวดที่มีระยะปวดไม่เกิน 3 เดือน มักเป็นความปวดที่มีกลไกการ

เกิดชนิดที่มีการกระตุ้นตัวรับความปวด (nociceptive pain) ร่วมกับมีการอักเสบ มีส่วนน้อยที่

เป็นความปวดเหตุพยาธิสภาพประสาทอย่างเฉียบพลัน (acute neuropathic pain)

Goal

เช่นเดียวกับ Goal ใน P 5.1 โดยให้ความส าคัญกับการที่ผู้ป่วยสามารถกลับมาท ากิจกรรมได้

ตามสภาพของผู้ป่วย

Why

ความปวดเฉียบพลันมีประโยชน์ช่วยเตือนภัยและป้องกันอันตราย แต่มีผลเป็นความเครียดต่อ

ร่างกายและจิตใจ และก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ การจัดการความปวดอย่างปลอดภัยและมี

ประสิทธิภาพช่วยลดความทุกข์ทรมาน ช่วยให้มีการฟื้นฟูสภาพร่างกายกลับมาปกติโดยเร็ว และ

อาจป้องกันการเกิดเป็นความปวดเรื้อรัง

Process

1. บุคลากรทางการแพทย์จัดการความปวดเฉียบพลันตามแนวปฏิบัติทั่วไปของการจัดการความปวด

(P 5.1)

2. การจัดการความปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัดหรือหัตถการทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความปวด

ความปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัดหรือหัตถการทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความปวดเป็น

เหตุที่ทราบล่วงหน้า การจัดการความปวดจึงครอบคลุมตั้งแต่การดูแลก่อน ในระหว่างการให้การ

ระงับความรู้สึกและผ่าตัดหรือท าหัตถการ ระยะหลังจากเสร็จการผ่าตัดหรือท าหัตถการ และ

ต่อเนื่องถึงเมื่อผู้ป่วยถูกจ าหน่ายออกจากสถานพยาบาล ท าให้ผู้ป่วยได้รับการควบคุมความปวด

ที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมปลอดภัย และเน้นการกลับมาสามารถท ากิจกรรมได้ตามสภาพ

ของผู้ป่วยแต่ละราย โดยใช้หลักของ multimodal analgesia และ preventive analgesia ที่

เหมาะสมตามชนิดของหัตถการหรือการผ่าตัด (procedure-specific pain management) ได้แก่

การรักษาความปวดโดยใช้ยา การรักษาความปวดโดยไม่ใช้ยา และการใช้ยาชาระงับความรู้สึก

หรือการท าหัตถการระงับปวด จัดเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของแผนการดูแลผู้ป่วยที่มารับการ

ผ่าตัดให้มีการฟื้นตัวเร็ว (Enhanced Recovery After Surgery) ทั้งนี้ต้องน ามาพิจารณาประยุกต์

ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานนั้น

3. การจัดการความปวดเฉียบพลันหลังการบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุ

ระยะแรกของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุใหัความส าคัญกับการ

ช่วยชีวิตหรือการท าให้ร่างกายรอดพ้นจากอันตราย หลังจากนั้นการรักษาความปวดอาจเริ่ม

ควบคู่กับการรักษาภาวะฉุกเฉินจากการบาดเจ็บ หรือเริ่มภายหลังเมื่อปัญหาการบาดเจ็บในส่วน

ต่างๆของร่างกายได้รับการดูแลให้คงที่แล้ว โดยใช้หลักการของ multimodal analgesia ทั้งนี้ต้อง

น ามาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานนั้น

4. การเลือกใช้ยาเพื่อระงับปวดเฉียบพลัน

ต้องค านึงถึงปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย โรคร่วม และความเสี่ยงจากโรคที่เป็นสาเหตุของความ

ปวด การบาดเจ็บ หรือชนิดของการผ่าตัด บนรากฐานของการแบ่งชนิดความปวดตามพยาธิ

สรีรวิทยา เช่น ความปวดจากการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อที่มีการกระตุ้นตัวรับความปวด จะตอบสนอง

ต่อกลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในขณะที่ความปวดเหตุพยาธิสภาพประสาทตอบสนองต่อยา

กันชัก และยาต้านเศร้า เป็นต้น

Training

เช่นเดียวกับ Training ใน P 5.1

กรณีที่มีแผนการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดให้มีการฟื้นตัวเร็วต้องมีการท างานเป็นทีมของ

บุคลากรทางการแพทย์หลายสาขา และมีการอบรมเพิ่มพูนความรู้และแนวปฏิบัติงานร่วมกันตาม

ชนิดของการผ่าตัด

Monitoring

เช่นเดียวกับ Monitoring ใน P 5.1

Pitfall

1. เช่นเดียวกับ Pitfall ใน P 5.1

2. ผู้ป่วยปวดเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีความซับซ้อนควรหยุดยาแก้ปวดที่เป็นสาร

เสพติดได้

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ จ.การจัดการความปวด (1), (2) และ (3)