2 การเข้าถึงการดูแลและความต่อเนื่อง ของการดูแล (ACC)

การเข้าถึงการดูแลและความต่อเนื่อง ของการดูแล (ACC)

ภาพรวม

องค์กรด้านการดูแลสุขภาพต้องหาวิธีการที่ครอบคลุมและบูรณาการในการส่งมอบการดูแลสุขภาพ. มีกระบวนการ ในลักษณะของความร่วมมือกันและการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแล สุขภาพ.โรงพยาบาลต้อง พิจารณากระบวนการดูแลให้เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการระบบการให้บริการ, ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ, และระดับของการดูแล, เพื่อสร้างให้เกิดความต่อเนื่องของ การดูแล.เป้าหมายคือเพื่อให้บริการอย่างถูกต้องตรงกับ ความต้องการในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย, ด้วยการประสานงานการให้บริการผู้ป่วยในองค์กร, และการวางแผน จำหน่ายและการนัดติดตาม. ผลที่ได้คือการปรับปรุงผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่

ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้อง ประกอบด้วย

• ความต้องการของผู้ป่วยที่สามารถค้นพบโดยองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ;

• การจัดลำดับความสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือต้องการการดูแลทันที

• การไหลเวียนที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการกับผู้ป่วย;

• การเข้าถึงบริการวิกฤตและเฉพาะทาง;

• การประสานความร่วมมือและความต่อเนื่องของการดูแล;

• การส่งต่อ, โอนย้าย, หรือการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านหรือส่งต่อไปยังสถานการดูแลอื่น; และ

• การบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย

หมายเหตุ

ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

การตรวจคัดกรองเพื่อรับไว้ในโรงพยาบาล

ACC.1 ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาที่โรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มารับการบริการผู้ป่วยนอกได้รับการ คัดกรองเพื่อระบุความ ต้องการในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับพันธกิจและทรัพยากรของโรงพยาบาลè

ACC.1.1 ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน, เร่งด่วน, หรือมีความต้องการในการดูแลทันทีจะได้รับการจัดลำดับความ สำคัญในการประเมินและการรักษา.

ACC.1.2 โรงพยาบาลพิจารณาจากความต้องการทางคลินิกของผู้ป่วยและแจ้งให้ผู้ป่วยทราบเมื่อมีความ ล่าช้าสำหรับบริการตรวจวินิจฉัยและ/หรือการรักษาè

การรับไว้ในโรงพยาบาล

ACC.2 โรงพยาบาลมีกระบวนการในการรับผู้ป่วยในและลงทะเบียนผู้ป่วยนอกè

ACC.2.1 ผู้ป่วยได้รับการประเมินความต้องการสําหรับบริการป้องกัน, การบําบัดบรรเทาอาการ, การ รักษาให้หายขาด,และการฟื้นฟูสมรรถภาพได้รับการจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับสภาวะของ ผู้ป่วย ณ.เวลาแรกรับไว้เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล.

ACC.2.2 การเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศตั้งแต่แรกรับไว้เป็น ผู้ป่วยใน, สารสนเทศครอบคลุมการดูแลที่จะเกิดขึ้นและประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูแล, และ ผลลัพธ์ของการดูแลที่คาดหวัง.

ACC.2.2.1 โรงพยาบาลพัฒนากระบวนการในการจัดการกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วยทั่ว ทั้งโรงพยาบาล.è

ACC.2.3 มีการกำหนดเกณฑ์การรับเข้าสําหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทาง.è

ACC.2.3.1 มีการกำหนดเกณฑ์การจำหน่ายออกสําหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการ เฉพาะทาง.è

ความต่อเนื่องของการดูแล

ACC.3 โรงพยาบาลต้องออกแบบและนําไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการเพื่อความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลและการประสานความร่วมมือในการดูแลระหว่างผู้ให้การดูแลสุขภาพ.è

ACC.3.1 ในระหว่างทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วยใน,ต้องมีการระบุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย.è

ACC.3.2 สารสนเทศเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปพร้อมกับผู้ป่วย.

การจำหน่าย, ส่งต่อ, และการนัดตรวจติดตาม

ACC.4 มีกระบวนการในการส่งต่อ หรือจำหน่ายผู้ป่วยที่เป็นไปตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและความต้องการใน การดูแลต่อเนื่องหรือบริการที่จำเป็น.è

ACC.4.1 การให้ความรู้และการให้คําแนะนําแก่ผู้ป่วยและครอบครัวสัมพันธ์กับความต้องการดูแล ต่อเนื่องของผู้ป่วย.

ACC.4.2 โรงพยาบาลให้ความร่วมมือกับผู้ให้การดูแลสุขภาพและหน่วยงานภายนอกเพื่อให้มั่นใจว่าการ ส่งต่อทันเวลา

ACC.4.3 การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายจะถูกจัดเตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยในทั้งหมด.

ACC.4.3.1 ผู้ป่วยได้รับการให้ความรู้และคำแนะนำในการติดตามในรูปแบบและภาษาที่ผู้ป่วย สามารถเข้าใจได้.

ACC.4.3.2 สําเนาสรุปเมื่อจําหน่ายได้รับการเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยใน.è

ACC.4.4 บันทึกของผู้ป่วยนอกที่ต้องการการดูแลที่ซับซ้อนหรือวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อนประกอบไปด้วย ประวัติโดยย่อของการดูแลทางการแพทย์และพร้อมใช้สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพดูแลสุขภาพที่ ให้การดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น.è

ACC.4.5 โรงพยาบาลมีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่แจ้งให้บุคลากรของ โรงพยาบาลทราบว่าจะออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษา

ACC.4.5.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ออกจาก โรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษาและไม่แจ้งให้บุคลากรของโรงพยาบาลทราบ

การโอนย้ายผู้ป่วย

ACC.5 ผู้ป่วยที่ได้รับการการโอนย้ายไปยังองค์กรอื่นขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย,ความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง และศักยภาพขององค์กรที่รับย้ายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ถูกโอนย้ายได้.

ACC.5.1 โรงพยาบาลพัฒนากระบวนการโอนย้ายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการโอนย้ายอย่าง ปลอดภัย

ACC.5.2 องค์กรที่ได้รับผู้ป่วยไว้จะได้รับเอกสารสรุปทางคลินิกของผู้ป่วยและการรักษาที่ทำไปจาก โรงพยาบาลที่โอนย้าย.

ACC.5.3 กระบวนการโอนย้ายได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย.è

การเคลื่อนย้าย

ACC.6 โรงพยาบาลมีบริการการเคลื่อนย้ายสอดคล้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและ ตอบสนองต่อความต้องการในด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย.è

มาตรฐาน, เจตจำนง, และองค์ประกอบที่วัดได้

การตรวจคัดกรองเพื่อรับไว้ในโรงพยาบาล

มาตรฐาน ACC.1

ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาที่โรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มารับการบริการผู้ป่วยนอกได้รับการคัดกรองเพื่อระบุความต้องการ ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับพันธกิจและทรัพยากรของโรงพยาบาล. P

เจตจำนงของ ACC.1

ความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับกับพันธกิจและทรัพยากรของโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ ความต้องการและสภาวะของผู้ป่วยจากการคัดกรอง, โดยปกติจะทํา ณ.จุดที่พบผู้ปวย ครั้งแรก. การคัดกรองอาจ ทําโดยใช้เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วย (triage criteria), การประเมินด้วย สายตา, การตรวจร่างกาย, หรือ ผลการตรวจ ร่างกาย, จิตใจ, ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ, หรือ ผลการวินิจฉัยทางรังสีที่ได้ดำเนินการก่อนหน้านี้. การคัดกรอง สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิง, ในระหว่างการเคลื่อนย้ายกรณีฉุกเฉิน, หรือเมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล. มันเป็นสิ่ง สำคัญต่อการ ตัดสินใจในการรักษา, การโอนย้าย หรือการส่งต่อภายหลังจากที่มีการคัดกรองและประเมินแล้ว. เฉพาะผู้ป่วยที่โรงพยาบาลมีความสามารถในการให้บริการทางคลินิกที่จำเป็นและสอดคล้องกับพันธกิจของ โรงพยาบาลจะได้รับการพิจารณารับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือลงทะเบียนสำหรับการบริการผู้ป่วย นอก. การตรวจคัด กรองหรือตรวจทดสอบเพื่อวินิจฉัยบางอย่างอาจจะได้รับการกําหนดไว้สําหรับ ผู้ป่วยทุกรายที่รับไว้ในโรงพยาบาล, หรือ โรงพยาบาลอาจจะระบุการคัดกรองหรือการทดสอบเฉพาะ สําหรับประชากรผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม. ยกตัวอย่าง เช่น, ผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะท้องร่วงในระยะลุกลาม จะต้องได้รับการคัดกรองสําหรับ Clostridium difficile, หรือ ผู้ป่วยบางประเภทกําหนดให้มีการ คัดกรองสําหรับ methicillin-resistant Staphylococcus aureus, เช่น ผู้ป่วย ที่มาจากสถานดูแล ระยะยาว (long term care). โรงพยาบาลจะมีการระบุการตรวจคัดกรองหรือการประเมินที่ เฉพาะ เจาะจงก่อนที่จะรับไว้ในโรงพยาบาลหรือลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอก. เมื่อโรงพยาบาลไม่มีความสามารถใน การให้บริการทางคลินิกที่จำเป็นต่อสภาวะของผู้ป่วย, ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อ, โอนย้าย, หรือ ให้การช่วยเหลือในการ จัดหาแหล่งบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในการดูแล. (ดูAOP.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.1

❏ 1.ความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับกับพันธกิจและทรัพยากรของโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับผลจากการคัด กรอง. (ดูGLD.3.1, ME 1)

❏ 2.ผู้ป่วยจะได้รับการรับไว้ดูแลหากโรงพยาบาลสามารถให้บริการที่จำเป็นและเหมาะสมในการบริการผู้ป่วย นอกหรือการดูแลผู้ป่วยใน

❏ 3.หากความต้องการของผู้ป่วยที่ไม่ตรงกับพันธกิจและทรัพยากรของโรงพยาบาล, ทางโรงพยาบาลจะส่ง ต่อ, โอนย้าย, หรือให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดหาแหล่งบริการที่เหมาะสม ในการดูแล. (ดูACC.5, ME 1)

❏ 4.มีกระบวนการในการตรวจทดสอบวินิจฉัยเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาว่าผู้ป่วยจะได้รับการรับไว้ เป็นผู้ป่วยใน, ส่งต่อ หรือ โอนย้าย.

❏ 5.โรงพยาบาลจะมีการระบุการตรวจคัดกรองและการประเมินที่เฉพาะเจาะจงที่ต้องการก่อนที่จะรับไว้เป็น ผู้ป่วยในหรือการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอก

❏ 6.ผู้ป่วยจะยังไม่ได้รับเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน, ส่งต่อ, หรือ โอนย้าย ก่อนที่ผลการทดสอบที่จำเป็น สำหรับ การตัดสินใจจะแล้วเสร็จ

มาตรฐาน ACC.1.1

ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน, เร่งด่วน, หรือ มีความต้องการในการดูแลทันทีจะได้รับการจัดลำดับความ สำคัญในการ ประเมินและการรักษา.

เจตจำนงของ ACC.1.1

ทั้งในแผนกฉุกเฉิน หรือ ผู้ป่วยนอกที่มีความเร่งด่วน/มีความต้องการในการดูแล ทางคลินิกทันที, ผู้ป่วยที่มีภาวะ ฉุกเฉิน, เร่งด่วน, หรือ มีความต้องการในการดูแลทันทีจะถูกระบุโดย กระบวนการ คัดกรอง, กระบวนการคัดกรอง รวมถึงการรับรู้อาการและอาการแสดงของโรคติดต่อ. เมื่อระบุว่า มีภาวะฉุกเฉิน, เร่งด่วน, หรือมีความต้องการใน การดูแลทันที, ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการประเมิน และได้รับการดูแลที่จำเป็นอย่างรวดเร็ว. ผู้ป่วยที่ถูกระบุว่ามาด้วย โรคติดต่อต้องได้รับ การแยกออก และ/หรือคัดแยกตามความจำเป็น. (ดูPCI.8, ME 2) ผู้ป่วยต้องได้รับการ ประเมิน โดยแพทย์หรือ บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนผู้ป่วยอื่น ๆ, เพื่อที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่าง รวดเร็วที่สุด เท่าที่เป็นไปได้, และเริ่มต้นการรักษาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย. กระบวนการคัดกร องอาจรวมถึงเกณฑ์ตามทางสรีรวิทยา, ที่เป็นไปได้และเหมาะสม. โรงพยาบาลจัดการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบประเภทผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลทันทีและกระบวนการจัดลำดับ ความสำคัญ. เมื่อโรงพยาบาลไม่ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่มีสภาวะฉุกเฉิน และต้องส่งต่อผู้ป่วย ไปยังแหล่งบริการที่มีระดับของ การดูแลที่สูงขึ้น, โรงพยาบาลที่ทําการโอนย้ายจะต้องให้การรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการคงที่ภายใต้ระดับ ความสามารถที่มีอยู่ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและทําการบันทึก.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.1.1

❏ 1.โรงพยาบาลใช้กระบวนการคัดกรอง (triage) ที่ครอบคลุมการคัดกรองโรคติดต่อ, เพื่อที่จะจัดลำดับ ความสำคัญของผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลในทันที(ดูPCI.8.2, ME 2)

❏ 2.บุคลากรได้รับการอบรมการใช้เกณฑ์.

❏ 3.ผู้ป่วยที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของความต้องการของตน.

❏ 4.ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการประเมินและรักษาเพื่อให้มีอาการคงที่ภายใต้ระดับความสามารถที่มีอยู่ก่อนที่จะ เคลื่อนย้าย. (ดูCOP.1)

❏ 5.การรักษาเพื่อให้มีอาการคงที่ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายได้รับการบันทึกไว้โดยโรงพยาบาลที่โอนย้าย. (ดู MOI.10)

มาตรฐาน ACC.1.2

โรงพยาบาลพิจารณาจากความต้องการทางคลินิกของผู้ป่วยและแจ้งให้ผู้ป่วยทราบเมื่อมีความล่าช้าสำหรับบริการ ตรวจวินิจฉัยและ/หรือการรักษา. P

เจตจำนงของ ACC.1.2

ผู้้ป่วยจะได้รับแจ้งเมื่อมีความล่าช้าหรือรอคอยสำหรับบริการตรวจวินิจฉัยและ/หรือการรักษา หรือเมื่อแผนการ ดูแลตามอาจจำเป็นต้องอยู่ในรายการรอคิว. ผู้ป่วยจะได้รับแจ้งให้ทราบถึงเหตุผลที่ เกี่ยวข้องสำหรับความล่าช้า และจะได้รับแจ้งทางเลือกอื่นที่มี.ข้อกำหนดนี้นำไปใช้กับการดูแลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และ/หรือบริการตรวจ วินิจฉัย; มันไม่ได้นำไปใช้กับการรอคอยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ ระยะเวลารอคอยปกติสำหรับการดูแลผู้ป่วยนอกหรือ ผู้ป่วยใน, เช่น เมื่อแพทย์มาช้ากว่ากำหนด หรือเมื่อแผนกฉุกเฉินแออัด และห้องพักคอยเต็ม. (ดูACC.2.2.1) สำหรับบริการบางอย่าง, เช่น การวินิจฉัยมะเร็ง หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ, การล่าช้านั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับ บรรทัดฐาน แห่งชาติสำหรับบริการเหล่านั้นและความล่าช้าจะทำให้เกิดความแตกต่างในการให้บริการ เช่น การ วินิจฉัย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.1.2

❏ 1.ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกจะได้รับแจ้งเมื่อจะมีความล่าช้าในการดูแล และ/หรือการรักษา.

❏ 2.ผู้ป่วยจะได้รับแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุของการล่าช้าและให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกอื่นที่มีความสอดคล้อง กับความต้องการทางคลินิก.

❏ 3.ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียน

การรับไว้ในโรงพยาบาล

มาตรฐาน ACC.2

โรงพยาบาลมีกระบวนการในการรับผู้ป่วยในและลงทะเบียนผู้ป่วยนอก. P

เจตจำนงของ ACC.2

กระบวนการรับไว้เป็นผู้ป่วยในและการลงทะเบียนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเป็นมาตรฐานเดียวกัน. (ดูACC.2.2) บุคลากรมีความคุ้นเคยและปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน. กระบวนการประกอบด้วย • การลงทะเบียนสำหรับการให้บริการผู้ป่วยนอกหรือรับไว้รักษาแบบผู้ป่วยใน; • การรับไว้โดยตรงจากแผนกฉุกเฉินไปยังผู้ป่วยใน; และ • กระบวนการสำหรับผู้ป่วยที่รอการรับไว้สำหรับสังเกตอาการ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2

❏ 1.กระบวนการลงทะเบียนผู้ป่วยนอกที่เป็นมาตรฐาน

❏ 2.กระบวนการรับไว้เป็นผู้ป่วยในที่เป็นมาตรฐาน

❏ 3.มีกระบวนการในการรับผู้ป่วยจากแผนกฉุกเฉินไปยังแผนกผู้ป่วยใน

❏ 4.มีกระบวนการสำหรับการผู้ป่วย ที่รอการรับไว้สำหรับสังเกตอาการ.

❏ 5.บุคลากรมีความคุ้นเคยและปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของการรับไว้เป็นผู้ป่วยในและการ ลงทะเบียน ผู้ป่วยนอก.

มาตรฐาน ACC.2.1 ผู้ป่วยได้รับการประเมินความต้องการสําหรับบริการป้องกัน, การบําบัดบรรเทาอาการ, การรักษา ให้หายขาด, และ การฟื้นฟูสมรรถภาพได้รับการจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย ณ.เวลาแรกรับไว้เป็นผู้ป่วยในของ โรงพยาบาล.

เจตจำนงของ ACC.2.1

เมื่อผู้ป่วยจะได้รับการพิจารณาให้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล, การประเมินคัดกรองจะช่วยให้ผู้ ปฏิบัติการดูแลสุขภาพสามารถระบุและจัดลำดับความสำคัญสําหรับบริการป้องกัน, การบําบัดบรรเทาอาการ, การ รักษาให้หายขาด, และการฟื้นฟูสมรรถภาพตามความต้องการของผู้ป่วยและเลือกบริการหรือหน่วยงานที่เหมาะสม ในการตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่สำคัญมากที่สุดของผู้ป่วย .

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2.1

❏ 1.การประเมินคัดกรองจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติการดูแลสุขภาพระบุความต้องการของผู้ป่วย.

❏ 2.การเลือกบริการหรือหน่วยงานที่จะตอบสนองความต้องการขึ้นอยู่กับผลการประเมินคัดกรอง.

❏ 3.ความต้องการ ของผู้ป่วยสําหรับบริการป้องกัน, การบําบัดบรรเทาอาการ, การรักษาให้หาย ขาด, และ การฟื้นฟูสมรรถภาพได้รับการจัดลำดับความสำคัญ.

มาตรฐาน ACC.2.2 การเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศตั้งแต่แรกรับไว้เป็นผู้ป่วยใน, สารสนเทศ ครอบคลุมการดูแลที่จะเกิดขึ้นและประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูแล, และผลลัพธ์ของ การดูแลที่คาดหวัง.

เจตจำนงของ ACC.2.2

ในระหว่างการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการ ตัดสินใจ. (ดูACC.2) สารสนเทศครอบคลุมการดูแลที่จะเกิดขึ้น, ผลลัพธ์ของ การดูแลที่คาดหวัง, และประมาณ การค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือครอบครัวสำหรับ การดูแลเมื่อไม่ได้จ่ายโดยรัฐบาลหรือเอกชนอื่น. เมื่อมีข้อจำกัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย ของการดูแล, โรงพยาบาลแสวงหาวิธีการที่จะเอาชนะข้อจำกัด เหล่านั้น. ข้อมูลดังกล่าวสามารถ เป็นได้ทั้งในรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือวาจา,บันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย. ความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญของการดูแลผู้ป่วย.การให้ข้อมูลผู้ป่วยเมื่อแรกรับไว้เป็นผู้ป่วยใน เกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมผู้ป่วยและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้บริการเป็นองค์ประกอบสำคัญของความ ปลอดภัยผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2.2

❏ 1.เมื่อรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศตั้งแต่แรกรับเป็นผู้ป่วยใน (ดู COP.3.1, ME 4)

❏ 2.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศครอบคลุมการดูแลที่จะเกิดขึ้น (ดูPFR.2, ME 2)

❏ 3.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศครอบคลุมผลลัพธ์ของการดูแลที่คาดหวัง (ดูPFR.2, ME 3)

❏ 4.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับ สารสนเทศครอบคลุมการประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูแล

มาตรฐาน ACC.2.2.1

โรงพยาบาลพัฒนากระบวนการในการจัดการกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วยทั่วทั้งโรงพยาบาล.

เจตจำนงของ ACC.2.2.1

การจัดการกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วยทั่วทั้งโรงพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันความหนาแน่นและ การรอ คอยเตียงในแผนกฉุกเฉิน (ED) และการรอเตียงผู้ป่วยใน ณ.สถานที่อื่นชั่วคราวใน โรงพยาบาล. ผู้ป่วยที่ต้องรอ เตียงและความหนาแน่นในแผนกฉุกเฉิน (ED) มีผลต่อความทันเวลา ในการดูแลและส่งผลต่อความปลอดภัยของ ผู้ป่วยในที่สุด. การบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพ ของกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วย (เช่น การรับไว้เป็น ผู้ป่วยใน, การประเมินและการรักษา, การโอนย้ายผู้ป่วย, การเปลี่ยนเวร, และการจำหน่าย) สามารถลดความล่าช้า ในการส่งมอบการดูแล.

องค์ประกอบของกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วยระบุตามหัวข้อดังต่อไปนี้:

a) การจัดให้มีเตียงผู้ป่วยในที่พร้อมใช้

b) แผนด้านสถานที่สําหรับจัดสรรพื้นท,ี่สาธารณูปโภค,อุปกรณ,์เทคโนโลยีทางการแพทย์และวัสดุภัณฑ์ที่ สนับสนุนสถานที่ดูแลผู้ป่วยชั่วคราว

c) แผนอัตรากําลังเพื่อสนับสนุนสถานที่ดูแลผู้ป่วยชั่วคราวและ/หรือการกินนอนในแผนกฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้น

d) การไหลเวียนของผู้ป่วยในพื้นที่ที่ผู้ป่วยได้รับการดูแล, รักษาและบริการ (เช่น หน่วยงานผู้ป่วยใน, ห้องปฏิบัติการ, ห้องผ่าตัด, แผนกดูแลทางไกล, รังสีวิทยา และหน่วยดูแลหลังให้การระงับความรู้สึก)

e) ประสิทธิภาพของบริการที่มิใช่ทางคลินิกซึ่งสนับสนุนการดูแลและการรักษาผู้ป่วย (เช่น แผนกแม่บ้านและ แผนกเคลื่อนย้าย)

f) การจัดให้มีการดูแลในระดับเดียวกันเมื่อจัดให้ผู้ป่วยรับไว้รักษาในแผนกผู้ป่วยใน (ดูCOP.1ME 1)

g) การเข้าถึงบริการสนับสนุน (เช่นสังคมสงเคราะห์,การสนับสนุนด้านศาสนาและจิตวิญญาณ,และ อื่น ๆ)

การติดตามและการปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์ในการลดปัญหาการไหล เวียนผู้ป่วย. บุคลากรจากหน่วยงานและสาขาที่แตกต่างกันทั่วทั้งโรงพยาบาล - แผนกผู้ป่วยใน, แผนกฉุกเฉิน, บุคลากรทาง การแพทย์, พยาบาล, บริหาร, การบริการด้านสิ่งแวดล้อม, การบริหาร ความเสี่ยง - สามารถเห็นความสำคัญใน การทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในการไหลเวียนผู้ป่วย. มาตรการและเป้าหมายช่วยในการระบุผลกระทบระหว่าง หน่วยงาน, มีการจัดการวงรอบและ แนวโน้มช่วงเวลา, และมีความรับผิดชอบสนับสนุนจากทุกระดับขององค์กร. การรอคอยใน ED จะต้องถูกนำมาใช้เพียงชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล. แผนของโรงพยาบาล จะต้องระบุกรอบเวลาที่ผู้ป่วยซึ่งกินนอนอยู่ในแผนกฉุกเฉินจะได้รับการ โอนย้ายไปยังพื้นที่ผู้ป่วยในมาตรฐานหรือ สถานที่ชั่วคราว. ความคาดหวังนี้เจตนาที่จะให้แนวทาง โรงพยาบาลในการจัดให้มีสถานที่ที่ปลอดภัย, การ ปฐมนิเทศและการฝึกอบรมบุคลากร, และการ ประเมิน, การประเมินซ้ำ, รวมถึงการดูแลผู้ป่วย (ภายใต้ศักยภาพ) ที่จะต้องรอเตียงผู้ป่วยใน. (ดูACC.1.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2.2.1

❏ 1.โรงพยาบาลพัฒนาและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการที่สนับสนุนการไหลเวียนผู้ป่วยทั่วทั้ง โรงพยาบาล ครอบคลุมอย่างน้อย a) ถึง g) ในเจตจำนง. (ดูGLD.3.1, ME 1)

❏ 2.โรงพยาบาลมีแผนในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ต้องรอเตียงผู้ป่วยใน ED และพื้นชั่วคราวอื่น ๆ ใน โรงพยาบาล

❏ 3.โรงพยาบาลดำเนินการระบุการจำกัดกรอบเวลาของผู้ป่วยที่รอเตียงผู้ป่วยใน.

❏ 4.บุคคลที่รับผิดชอบในจัดการกระบวนการไหลเวียนผู้ป่วยทบทวนประสิทธิภาพของกระบวนการ และ ดำเนินการปรับปรุง

มาตรฐาน ACC.2.3 มีการกำหนดเกณฑ์การรับเข้าสําหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทาง. P

มาตรฐาน ACC.2.3.1 มีการกำหนดเกณฑ์การจำหน่ายออกสําหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทาง. P

เจตจำนงของ ACC.2.3 และ ACC.2.3.1

แผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทาง. (เช่น, หน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัด, หน่วย ดูแลผู้ป่วยแผลไฟ ไหม้น้ำร้อนลวก, หรือ หน่วยดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ) มักมีค่าใช้จ่าย และมีข้อจำกัดในพื้นที่และ บุคลากร, โรงพยาบาลจึงอาจมีการจำกัดการรับเข้าไว้ในแผนกหรือ หอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางเหล่านี้ (ตัวอย่างเช่น, การเข้าไว้ในแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤต จะถูกจำกัดให้เฉพาะผู้ป่วยที่มีการประเมินว่าสภาวะทาง คลินิกดีขึ้นได้และไม่ได้รับอนุญาตสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการระบุว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย).

ในกรณีดังกล่าว,โรงพยาบาลจะต้องกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับไว้ ดูแลในแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางเหล่านี้โดยใช้พารามิเตอร์และ การวินิจฉัย รวมทั้งเกณฑ์ ทางสรีรวิทยาเมื่อเป็นไปได้. สำหรับโรงพยาบาลที่มีบริการจิตเวช, การรับไว้ในแผนก/หอผู้ป่วยจิตเวชอาจรวมถึง เกณฑ์ความรุนแรงของการเจ็บป่วยหรืออาจไม่รวมเกณฑ์ทางสรีรวิทยา. บุคลากรจากแผนกฉุกเฉิน, หอผู้ป่วยวิกฤต, หรือบริการเฉพาะทางมีส่วนร่วม ในการจัดทำเกณฑ์. มีการระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการรับเข้าโดยตรงไปยังแผนก/หอ ผู้ป่วย; ตัวอย่างเช่น, รับจากแผนกฉุกเฉินโดยตรง. เกณฑ์ที่ใช้ในการรับเข้าแผนก/หอผู้ป่วยสามารถใช้ได้ทั้งการรับ ย้ายจากหน่วยงานภายใน โรงพยาบาลหรือรับจากนอกโรงพยาบาล (เช่น เมื่อผู้ป่วยถูกโอนย้ายมาจากโรงพยาบาล อื่น).

ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางต้องมีการประเมินซ้ำและ ประเมินอีกครั้ง เมื่อผู้ป่วยมีสภาวะเปลี่ยนแปลง, กรณีดังกล่าวในการดูแลที่เฉพาะอาจไม่จำเป็น. ตัวอย่างเช่น, เมื่อสภาวะทาง สรีรวิทยาของผู้ป่วยคงที่และมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และการรักษา ต่อเนื่องจะไม่จำเป็นอีกต่อไป, หรือเมื่อ สภาวะของผู้ป่วยได้เปลี่ยนแปลงไปจากจุดที่ต้องการการดูแล เป็นพิเศษและต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง, ผู้ป่วย อาจจะถูกจำหน่ายออกจากแผนกหรือหอผู้ป่วย วิกฤตและบริการเฉพาะ หรือย้ายไปยังพื้นที่ที่มีระดับการดูแลต่ำ กว่า (เช่น อายุรกรรม/ศัลยกรรม บ้านพัก, หรือ แผนก/หอผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคอง). เกณฑ์ที่ใช้สำหรับ การโอนย้ายจากแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางไปยังพื้นที่ที่มีระดับการดูแลต่ำกว่าควรจะเป็น เกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการรับเข้าไว้รักษาของการดูแลระดับถัดไป. ตัวอย่าง เช่น, เมื่อสภาวะของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง ไปโดยการรักษาษที่เข้มข้นถือว่าไม่เป็นประโยชน์, ผู้ป่วยจะถูก รับไว้ที่บ้านพัก หรือ ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคอง ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการ รับไว้ของบริการเหล่านั้น.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2.3

❏ 1.โรงพยาบาลมีการกำหนดเกณฑ์การรับเข้า และ/หรือ โอนย้ายสําหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤต และ บริการเฉพาะทางเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย(ดูACC.3, ME ที่ 4 และ GLD.10, ME 2)

❏ 2.เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยโดยใช้พารามิเตอร์และ การวินิจฉัย รวมทั้ง เกณฑ์ทางสรีรวิทยาเมื่อเป็นไปได้.

❏ 3.บุคลากรจากแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤต และบริการเฉพาะทางมีส่วนร่วมในการจัดทำเกณฑ์.

❏ 4.บุคลากรได้รับการอบรมในการใช้เกณฑ์.

❏ 5.เวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลในแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางนั้น มีหลักฐาน ว่าตรงตามเกณฑ์สำหรับการให้บริการ. (ดูACC.3, ME 5)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.2.3.1

❏ 1.โรงพยาบาลมีการกำหนดเกณฑ์จำหน่าย และ/หรือโอนย้ายสำหรับแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤต และ บริการเฉพาะทาง ไปยังระดับการดูแลที่แตกต่างกัน (ดูACC.3, ME ที่ 4 และ GLD.10, ME 2)

❏ 2.เกณฑ์ที่ใช้ในการจำหน่าย หรือ โอนย้ายควรรวมถึงเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการรับเข้าไว้รักษาของการดูแล ระดับถัดไป.

❏ 3.บุคลากรจากแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทางมีส่วนร่วมในการจัดทำเกณฑ์.

❏ 4.บุคลากรได้รับการอบรมในการใช้เกณฑ์.

❏ 5.เวชระเบียนของผู้ป่วยที่จำหน่าย หรือ โอนย้ายออกจากแผนกหรือหอผู้ป่วยวิกฤตและบริการเฉพาะทาง นั้น มีหลักฐานว่าตรงตามเกณฑ์สำหรับการให้บริการ. (ดูACC.3, ME 5)

ความต่อเนื่องของการดูแล

มาตรฐาน ACC.3

โรงพยาบาลต้องออกแบบและนําไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการเพื่อความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและ การประสานความร่วมมือในการดูแลระหว่างผู้ให้การดูแลสุขภาพ. P

เจตจำนงของ ACC.3

ผู้ป่วยนั้นมีการเคลื่อนย้ายทั่วทั้งโรงพยาบาลตั้งแต่รับไว้เป็นผู้ป่วยในจนกระทั่งจำหน่าย หรือ โอนย้าย, แผนกและ บริการที่หลากหลายและผู้ให้การดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันอาจจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล. ตลอดทุกขั้นตอน ของการดูแล, ความต้องการของผู้ป่วยต้องตรงกับทรัพยากรที่มีและ, ที่จำเป็นทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล. การ ดูแลที่ต่อเนื่องจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ให้การดูแลสุขภาพมีข้อมูลความ ต้องการที่จำเป็นของผู้ป่วยในปัจจุบันและที่ผ่านมา เพื่อช่วยในการตัดสินใจ, และ, เมื่อมีการตัดสินใจ ที่หลากหลายในการดูแล, การตัดสินใจเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการ ดูแลและบริการที่จัดให้.

เวชระเบียนผู้ป่วยเป็นแหล่งสารสนเทศหลักที่เกี่ยวกับกระบวนการดูแลและความก้าวหน้าของผู้ป่วย และจึงเป็น เครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ. สำหรับสารสนเทศนี้จะเป็นประโยชน์และสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย, ต้องมีพร้อมใช้ในระหว่างการดูแลผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยนอก, และในเวลาอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเก็บไว้เป็นปัจจุบัน. แพทย์, พยาบาลและผู้ให้การดูแลอื่น ๆ บันทึกการดูแล ผู้ป่วยที่มีต้องการทั้งหมดสำหรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย (ดู IPSG.6; IPSG.6.1; AOP.2; COP.2 และ MOI.11.1.1)

การดูแลผู้ป่วยที่ไร้รอยต่อ,โรงพยาบาลต้องออกแบบและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการในการดูแลอย่างต่อเนื่องและ การประสานความร่วมมือในการดูแลระหว่างแพทย์, พยาบาล, และผู้ประกอบวิชาชีพดูแลสุขภาพอื่น ๆ ใน

a) การบริการฉุกเฉินและการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน;

b) การบริการตรวจวินิจฉัยและการบริการให้การรักษา

c) การบริการศัลยกรรมและการบริการให้การรักษาที่ไม่ใช่ศัลยกรรม;

d) แผนงานการดูแลผู้ป่วยนอก; และ

e) องค์กรอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมในการดูแลรูแบบอื่น ๆ

ผู้นำของหน่วยงานและบริการร่วมกันออกแบบและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการของการประสานงาน และความ ต่อเนื่องในการดูแล.กระบวนการเหล่านี้อาจได้รับการสนับสนุนโดยการใช้เครื่องมือ เช่น แนวทาง, แผนการดูแล, แบบฟอร์มการส่งต่อ, รายการตรวจสอบ, หรือ เครื่องมืออื่น ๆ. โรงพยาบาลระบุบุคคลที่รับผิดชอบในการ ประสานงานการให้บริการ.บุคคลเหล่านี้อาจประสานงาน การดูแลผู้ป่วยทั้งหมด (ตัวอย่างเช่น, ระหว่างหน่วยงาน) หรืออาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในการ ประสานงานการดูแลของผู้ป่วยแต่ละราย (ตัวอย่างเช่น, case manager). การ ประสานงาน ความต่อเนืองในการดูแลนี้คือ ความสำเร็จที่ดีที่สุดโดยใช้เกณฑ์หรือนโยบายที่กำหนด ความ เหมาะสมของการโอนย้ายภายในโรงพยาบาล (ดูIPSG.2.2; COP.8.3; COP.9.3, ME 2; ASC.7.2 และ MOI.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.3

❏ 1.ผู้นำของหน่วยงานและบริการออกแบบและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการที่สนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่อง ของการดูแลและการประสานความร่วมมือ ครอบคลุมอย่างน้อย a) ถึง e) ที่ระบุไว้ในเจตจำนง (ดู ACC.4.4; GLD.9 และ GLD.10, ME 2)

❏ 2.เวชระเบียนผู้ป่วยสามารถมีข้อมูลพร้อมใช้แก่ผู้ให้การดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงและ จำเป็นต้องใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วย (ดูAOP.1.1; ASC.7.2, ME 3; MMU.4, ME 4 และ MMU.5.1, ME 5)

❏ 3.เวชระเบียนผู้ป่วยมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการสื่อสารข้อมูลล่าสุด (ดูCOP.2.3, ME 3; ASC.7.2, ME 3; MMU.4, ME 4; MMU.5.1, ME 5)

❏ 4.ความต่อเนื่องในการดูแลและการประสานความร่วมมือได้รับการสนับสนุนโดยการใช้เครื่องมือ, เช่น แผนการดูแล, แนวทาง, หรือเครื่องมืออื่น ๆ (ดูACC.2.3, ME 1; ACC.2.3.1, ME 1 ACC.3 และ ASC.7.2, ME 1)

❏ 5.ความต่อเนื่องในการดูแลและการประสานความร่วมมือมีความชัดเจนตลอดทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วย (ดูACC.2.3, ME 5 และ ACC.2.3.1, ME 5)

มาตรฐาน ACC.3.1 ในระหว่างทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วยใน, ต้องมีการระบุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล ผู้ป่วย. P

เจตจำนงของ ACC.3.1 เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดูแลของผู้ป่วยตลอดการอยู่ในโรงพยาบาล, ต้องมีการระบุบุคคลที่หน้าที่รับผิดชอบ โดยรวมในการประสานความร่วมมือและความต่อเนื่องของการดูแลผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน.บุคคลนี้อาจจะเป็นแพทย์ หรือบุคคลอื่น ๆที่มีคุณสมบัติเหมาะสม. บุคคลที่รับผิดชอบดังกล่าวต้องถูกระบุไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย.

ต้องมีบุคคลหนึ่งทำหน้าที่ในการกำกับการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ในช่วงพักรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมดจนอาการดีขึ้น, ประสานความร่วมมือ, ความพึงพอใจ, คุณภาพ, และแนวโน้มของผลการรักษาและเป็นที่ไว้วางใจสำหรับผู้ป่วยที่ ซับซ้อนและผู้ป่วยอื่น ๆ ตามที่โรงพยาบาลกำหนด. บุคคลนี้จะต้องมีการประสานความร่วมมือและการสื่อสารกับ ผู้ให้การ ดูแลสุขภาพอื่น ๆ. นอกจากนี้นโยบายของโรงพยาบาลต้องระบุกระบวนการสำหรับการถ่ายโอนความ รับผิดชอบจากบุคคลที่รับผิดชอบไปยังบุคคลอื่นในช่วงวันหยุดพักผ่อน, วันหยุด, และช่วง เวลาอื่น. นโยบาย กำหนดให้บุคคลที่มีความรับผิดชอบ ได้แก่แพทย์ที่ปรึกษา, แพทย์เวร, แพทย์ที่ ทำแทนชั่วคราว, หรือ อื่น ๆ ซึ่งทํา หน้าที่แทน และ วิธีการที่บุคคลดังกล่าวจะรับมอบหน้าที่ และบันทึกการ มีส่วนร่วม/ความครอบคลุมของตน.

เมื่อมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากขั้นตอนหนึ่งไปยังการดูแลอื่น (เช่น, จากการผ่าตัดไปฟื้นฟูสมรรถภาพ) บุคคลที่ รับผิดชอบในการดูแลของผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลง, หรือบุคคลคนเดียวกันอาจจะยังคงดูแลผู้ป่วยการตลอดทั้ง กระบวนการ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.3.1

❏ 1.บุคคลที่รับผิดชอบในการประสานความร่วมมือของการดูแลผู้ป่วยได้รับการระบุไว้ในเวชระเบียนของ ผู้ป่วยและสามารถให้การดูแลในระหว่างทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วยใน

❏ 2.บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย.

❏ 3.มีกระบวนการสำหรับการถ่ายโอนความรับผิดชอบในการประสานความร่วมมือของการดูแลจากบุคคลที่ รับผิดชอบไปยังบุคคลอื่น.

❏ 4.กระบวนการในการระบุวิธีการที่บุคคลดังกล่าวจะรับมอบหน้าที่และบันทึกการมีส่วนร่วม/ความ ครอบคลุมของตน.

มาตรฐาน ACC.3.2

สารสนเทศเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปพร้อมกับผู้ป่วย.

เจตจำนงของ ACC.3.2

ผู้ป่วยอาจมีการโอนภายในโรงพยาบาลจากการให้บริการหนึ่งหรือหอผู้ป่วยในไปยังการบริการหรือหอผู้ป่วยอื่นที่ แตกต่างกันในช่วงระหว่างการดูแลและการรักษา. เมื่อทีมดูแลมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลมาจากการโอนย้าย,ความ ต่อเนื่องของการดูแลผู้ป่วยต้องมีสารสนเทศที่จำเป็นซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายผู้ป่วย. เพื่อให้ยาและการรักษาอื่น ๆ สามารถดำเนินการต่อได้อย่างต่อเนื่อง, และสามารถติดตามสภาวะของผู้ป่วยได้. เพื่อให้มั่นใจว่าทีมจะได้รับ สารสนเทศที่ต้องการเพื่อให้การดูแลผู้ป่วย, เวชระเบียนหรือสารสนเทศที่มีการสรุปจากเวชระเบียนผู้ป่วยจะถูก โอนย้ายไปให้กับทีมที่รับดูแล ผู้ป่วยต่อ. สรุปสารสนเทศดังกล่าวครอบคลุม เหตุผลในการรับไว้ในโรงพยาบาล, การตรวจพบที่มีนัยสําคัญ, การวินิจฉัยทุกชนิดที่กระทําไป, หัตถการทุกชนิดที่ได้กระทําไป, ยาและการรักษาอื่น ๆ ทุก ชนิด, และสภาวะของผู้ป่วย ณ ขณะโอนย้าย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.3.2

❏ 1.เวชระเบียนของผู้ป่วยหรือสรุปสารสนเทศในการดูแลผู้ป่วยต้องถูกโอนย้ายไปพร้อมกับผู้ป่วยไปยัง บริการอื่นหรือหน่วยงานในโรงพยาบาล.

❏ 2.สรุปสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมเหตุผลในการรับไว้ในโรงพยาบาล.

❏ 3.สรุปสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมการตรวจพบที่มีนัยสําคัญ

❏ 4.สรุปสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมการวินิจฉัยทุกชนิดที่กระทําไป.

❏ 5.สรุปสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยครอบคลุม หัตถการทุกชนิดที่ได้กระทําไป, ยาและการรักษาอื่น ๆทุกชนิด.

❏ 6.สรุปสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมสภาวะของผู้ป่วย ณ ขณะโอนย้าย.

การจำหน่าย, ส่งต่อ, และการนัดตรวจติดตาม

มาตรฐาน ACC.4

มีกระบวนการในการส่งต่อ หรือ จำหน่ายผู้ป่วยที่เป็นไปตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและความต้องการในการดูแล ต่อเนื่องหรือบริการที่จำเป็น. P

เจตจำนงของ ACC.4

การส่งต่อหรือจำหน่ายผู้ป่วยไปยังผู้ให้การดูแลสุขภาพนอกโรงพยาบาล, สถานการดูแลอื่น, บ้าน, หรือครอบครัวจะ ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและความจำเป็นในการดูแลต่อเนื่องหรือบริการ. แพทย์หรือบุคคลที่รับผิดชอบใน การดูแลของผู้ป่วยจะต้องประเมินความพร้อมในการจำหน่ายผู้ป่วย

ขึ้นอยู่กับนโยบายและหลักเกณฑ์หรือข้อบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อและจำหน่ายที่จัดทำขึ้นโดยโรงพยาบาล. เกณฑ์นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อระบุว่าเมื่อผู้ป่วยมีความพร้อมสำหรับการจำหน่าย. ความต้องการในการดูแลต่อเนื่องอาจ หมายถึงการส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ, นักฟื้นฟูสมรรถภาพ, หรือแม้กระทั่งการประสานงานความต้องการด้าน การป้องกันสุขภาพที่บ้านโดยครอบครัว. องค์กรต้องมีกระ บวนการที่มั่นใจได้ว่าความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมโดยผู้ให้การดูแลสุขภาพหรือองค์กรภายนอก. กระบวนการรวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยไป ยังแหล่งการดูแลนอกตามภูมิภาคเมื่อมีความต้องการ. โรงพยาบาลต้องวางแผนสำหรับความต้องการในการดูแล ต่อเนื่องตั้งแต่ แรกรับเท่าที่เป็นไปได้.ครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนจำหน่ายตามความเหมาะสมและ ความต้องการของผู้ป่วย. มีกระบวนการเมื่อผู้ป่วยขออนุญาตออกจากโรงพยาบาลเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง (เช่น ในช่วงสุดสัปดาห์"ผ่าน").

กระบวนการส่งต่อ และ/หรือ จำหน่ายผู้ป่วย รวมถึง การทำความเข้าใจความต้องการในการเคลื่อนย้าย เพื่อให้ มั่นใจว่ามีการเคลื่อนย้ายไปยังบ้านหรือสถานการดูแลอื่นอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินความ ต้องการในการเคลื่อนย้ายที่จำเป็นของผู้ป่วย. ตัวอย่างเช่น, ผู้ป่วยที่มาจากสถานดูแลระยะยาว หรือ ศูนย์ฟื้นฟู สมรรถภาพ ที่ต้องมารับการบริการผู้ป่วยนอก หรือ การประเมินมาถึงแผนกฉุกเฉินโดยรถพยาบาล หรือ ยานพาหนะทางการแพทย์อื่น ๆ. เมื่อเสร็จสิ้น การรับบริการผู้ป่วยอาจต้องการความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้าย กลับบ้านหรือสถานดูแลอื่น. ในสถานการณ์อื่น ๆ, ผู้ป่วยอาจขับรถมายังโรงพยาบาลด้วยตนเองและได้รับการทำ หัตถการที่อาจทำ ให้สูญเสียความสามารถในการขับรถกลับบ้านด้วยตนเอง (เช่น การผ่าตัดตา, การทำหัตถการที่ ได้รับ การระงับประสาท,และหัตถการอื่น ๆ). การประเมินความต้องการในการเคลื่อนย้ายและสร้างความมั่นใจ ใน การเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของโรงพยาบาล. ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย อาจใช่หรือไม่ใช่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับนโยบายของ โรงพยาบาลและกฎหมายและข้อบังคับของภูมิภาค. ประเภทของการ เคลื่อนย้ายจะแตกต่างกันอาจเป็นโดย รถพยาบาลหรือยานพาหนะอื่น ๆที่เป็นเจ้าของโดยโรงพยาบาล หรือบริษัทคู่สัญญาของโรงพยาบาล; หรือการเคลื่อนย้ายอาจจะถูกจัดหาโดยครอบครัวจากแหล่งภาย นอก หรือ โดยครอบครัวและ/หรือเพื่อนโดยตรง. (ดู ACC.6) โรงพยาบาลต้องมั่นใจว่าการเคลื่อนย้าย เหล่านั้นมีความเหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4

❏ 1.ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อและ/หรือจำหน่ายขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพและความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง

❏ 2.การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการจำหน่ายจะถูกกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์หรือข้อบ่งชี้เพื่อให้ มั่นใจในความปลอดภัยของผู้ป่วย

❏ 3.มีการวางแผนสำหรับการส่งต่อ และ/หรือจำหน่ายตั้งแต่แรกรับ. (ดูAOP.1.8, ME 1)

❏ 4.มีกระบวนการเมื่อผู้ป่วยขออนุญาตออกจากโรงพยาบาลเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง

❏ 5.กระบวนการส่งต่อ และ/หรือ จำหน่ายผู้ป่วย รวมถึงการประเมินความต้องการในการเคลื่อนย้ายสำหรับ ผู้ป่วยที่อาจต้องการความช่วยเหลือ

❏ 6.การเคลื่อนย้ายที่จัดให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วย. (ดูACC.5.1, ME 1)

มาตรฐาน ACC.4.1

การให้ความรู้และการให้คําแนะนําแก่ผู้ป่วยและครอบครัวสัมพันธ์กับความต้องการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย.

เจตจำนงของ ACC.4.1

โรงพยาบาลมีการให้ความรู้ในประเด็นที่มีความเสี่ยงสูงแก่ผู้ป่วย.การให้ความรู้สนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถมีการ ปฏิบัติกิจวัตรได้ตามเดิมที่เคยทำก่อนหน้านี้และดูแลสุขภาพได้. (ดูIPSG.2.2; ACC.4.5, ME 3 และ PFE.1, ME 1)

โรงพยาบาลมีกระบวนการและทรัพยากรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย โดยมีหัวข้ออย่างน้อย ต่อไปนี้:

• การใช้ยาทุกตัวที่ผู้ป่วยได้รับอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล (ไม่เฉพาะยาที่ได้รับเมื่อจําหน่าย) ครอบคลุมโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา

• การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล

• โอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่สั่งให้ผู้ป่วยกับยาอื่น ๆ (ครอบคลุมยาปรุงสําเร็จที่สามารถซื้อได้เองจาก ร้านขายยา) และ อาหาร

• อาหารและโภชนาการ

• การจัดการความเจ็บปวด

• เทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.1

❏ 1.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาทุกตัวที่ผู้ป่วยได้รับอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล ครอบคลุมโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา, โอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่สั่งให้ผู้ป่วยกับยาอื่น ๆ และ อาหาร

❏ 2.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างปลอดภัยและมี ประสิทธิผล

❏ 3.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ

❏ 4.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวด

❏ 5.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพ

มาตรฐาน ACC.4.2

โรงพยาบาลให้ความร่วมมือกับผู้ให้การดูแลสุขภาพและหน่วยงานภายนอกเพื่อให้มั่นใจว่าการส่งต่อทันเวลา

เจตจำนงของ ACC.4.2

การส่งต่อที่ทันเวลาไปยังผู้ดูแลสุขภาพ, องค์กร, หรือ หน่วยงานที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องได้รับ การวางแผน. โรงพยาบาลต้องสร้างความคุ้นเคยกับผู้ให้การดูแลสุขภาพในชุมชนเพื่อที่จะเข้าใจประเภทของผู้ป่วยที่ ได้รับการรักษาและการบริการที่จัดให้และมีการสร้างความสัมพันธ์ทั้งที่เป็นทางการ หรือ ไม่เป็นทางการกับผู้ให้ การดูแลสุขภาพเหล่านั้น. เมื่อผู้ป่วยมาจากชุมชนที่แตกต่างกัน,โรงพยาบาลต้องพยายามส่งต่อผู้ป่วยไปยังบุคคลที่มี คุณสมบัติเหมาะสมหรือหน่วยงานในชุมชนที่บ้านของผู้ป่วย นอกจากนี้, ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้บริการสนับสนุนและบริการทางการแพทย์เมื่อจำหน่าย. ตัวอย่างเช่น, ผู้ป่วยอาจ มีความต้องการทางสังคม, ทางโภชนาการ, ทางการเงิน, ทางจิตใจ, หรือ การสนับสนุนอื่น ๆ เมื่อจำหน่าย. ความ พร้อมและบริการที่จัดให้จริงของบริการสนับสนุนเหล่านี้อาจจะ, มีระดับใหญ่, ขึ้นอยู่กับความต้องการความ ต่อเนื่องสำหรับบริการทางการแพทย์. กระบวนการวางแผนจำหน่าย รวมถึงประเภทของความต้องการในการ บริการสนับสนุนที่จำเป็น และความพร้อมในการให้บริการดังกล่าว

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.2

❏ 1.กระบวนการวางแผนจำหน่าย รวมถึงประเภทของความต้องการในการบริการสนับสนุนที่จำเป็นและ ความต่อเนื่องสำหรับบริการทางการแพทย์.

❏ 2.การส่งต่อผู้ป่วยไปยังภายนอก โรงพยาบาลควรระบุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือหน่วยงานในชุมชน ที่บ้านของผู้ป่วยเท่าที่เป็นไปได้

❏ 3.การส่งต่อจะมีกระบวนการสำหรับการบริการสนับสนุน.

มาตรฐาน ACC.4.3

การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายจะถูกจัดเตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยในทั้งหมด.

เจตจำนงของ ACC.4.3

การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายเป็นการสรุปภาพรวมของผู้ป่วยระหว่างที่เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล. (ดู MOI.4, ME 5) ข้อมูลสรุปสามารถนำมาใช้โดยผู้ดูแลสุขภาพที่รับผิดชอบในการนัดติดตามเพื่อดูแล.

การสรุป ข้อมูลเมื่อจำหน่ายรวมถึงต่อไปนี้:

• เหตุผลในการรับไว้ในโรงพยาบาล, การวินิจฉัยโรค และความผิดปกติที่พบร่วม

• การตรวจร่างกายและการตรวจพบอื่น ๆ ที่มีนัยสําคัญ

• หัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคและเพื่อการรักษาที่ได้กระทําไป

• ยาที่ให้ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลกับโอกาสเกิดผลตกค้างภายหลังจากหยุดให้ยาและยาทั้งหมดที่ต้องได้รับ เมื่ออยู่บ้าน

• สภาวะ/สถานภาพของผู้ป่วย ณ เวลาจําหน่าย (ตัวอย่าง ครอบคลุม “สภาวะดีขึ้น,” “สภาวะไม่ เปลี่ยนแปลง,” และอื่น ๆ) • คําแนะนําในการนัดติดตาม

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.3

❏ 1. การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยเหตุผลในการรับไว้ในโรงพยาบาล, การวินิจฉัยโรค และความ ผิดปกติที่พบร่วม

❏ 2.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยการตรวจร่างกายและการตรวจพบอื่น ๆ ที่มีนัยสําคัญ

❏ 3.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคและเพื่อการรักษาที่ได้กระทําไป

❏ 4.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยยาที่ให้ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลและยาทั้งหมดที่ต้อง ได้รับเมื่อ อยู่บ้าน

❏ 5.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยสภาวะ/สถานภาพของผู้ป่วย ณ เวลาจําหน่าย

❏ 6.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายประกอบด้วยคำแนะนำในการติดตาม

มาตรฐาน ACC.4.3.1

ผู้ป่วยได้รับการให้ความรู้และคำแนะนำในการติดตามในรูปแบบและภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้.

เจตจำนงของ ACC.4.3.1

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่งต่อหรือโอนย้ายไปยังผู้ให้การดูแลสุขภาพอื่น,คำแนะนำที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานที่และ วิธีการในการดูแลอย่างต่อเนื่องมีความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีผลลัพธ์ของการดูแลที่ดี.คำแนะนำประกอบด้วยชื่อ และสถานที่ตั้งสำหรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง, การกลับมารับการตรวจ ติดตามอาการที่โรงพยาบาลและอาการที่ควร ต้องได้รับการดูแลเร่งด่วน. ครอบครัวต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเมื่อสภาวะหรือความสามารถของผู้ป่วย มีข้อจำกัดในความเข้าใจต่อคำแนะนำ ในการนัดติดตาม. ครอบครัวต้องมีบทบาทในกระบวนการดูแลอย่างต่อเนื่อง. โรงพยาบาลให้คำแนะนำในการนัดติดตามตามความเหมาะสมแก่ผู้ป่วย,ในลักษณะที่เรียบง่าย, เข้าใจง่าย. คำแนะนำในการนัดตรวจติดตามเป็นภาษาของผู้ป่วยเข้าใจได้. คำแนะนำควรระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรืออยู่ใน รูปแบบที่เข้าใจได้มากที่สุดเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถที่จะเข้าใจคำแนะนำที่เขียนไว้ได้.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.3.1

❏ 1.คำแนะนำในการนัดติดตามอยู่ในภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้(ดูMOI.4, ME 5)

❏ 2.คำแนะนำในการนัดติดตามอาจเป็นลายลักษณ์อักษร, โดยวาจา, และ/หรือในรูปแบบที่ผู้ป่วยเข้าใจได้

❏ 3.คําแนะนําครอบคลุมการกลับไปทุกครั้งเพื่อรับการติดตามการดูแล.

❏ 4.คำแนะนำครอบคลุมถึงเมื่อจะได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

มาตรฐาน ACC.4.3.2 สําเนาสรุปเมื่อจําหน่ายได้รับการเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยใน. P

เจตจำนงของ ACC.4.3.2

การสรุปข้อมูลของการดูแลของผู้ป่วยจะถูกจัดเตรียมเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. บุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเป็นผู้สรุปข้อมูลเมื่อจำหน่าย, เช่น แพทย์เจ้าของไข้, แพทย์ประจำบ้าน, หรือเสมียน. สําเนาของสรุปเมื่อจําหน่ายฉบับหนึ่งถูกมอบให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องหรือ นัดติดตามการดูแล.สําเนาฉบับหนึ่งถูกมอบให้แก่ผู้ป่วยเมื่อมีข้อบ่งชี้โดยโรงพยาบาลหรือธรรมเนียมปฏิบัติตาม กฎหมายและวัฒนธรรม.ในกรณีที่ไม่ทราบรายละเอียดของการนัดติดตามการดูแลของผู้ป่วย, เช่น กับผู้ป่วยที่มา จากต่างภูมิภาคหรือต่างประเทศ, มีการให้สําเนาสรุป เมื่อจําหน่ายแก่ผู้ป่วย. สําเนาสรุปเมื่อจําหน่ายดังกล่าวได้รับ การเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.3.2

❏ 1.การสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายสรุปถูกจัดเตรียมโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม.(ดูMOI.4, ME 5)

❏ 2.สําเนาของสรุปเมื่อจําหน่ายฉบับหนึ่งถูกมอบให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยอย่าง ต่อเนื่องหรือนัดติดตามการดูแล.

❏ 3.สําเนาฉบับหนึ่งถูกมอบให้แก่ผู้ป่วยในกรณีที่ไม่ทราบรายละเอียดของการนัดติดตามการดูแลของผู้ป่วย

❏ 4.สําเนาสรุปเมื่อจําหน่ายดังกล่าวได้รับการเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยภายในกรอบเวลาที่ระบุโดย โรงพยาบาล

มาตรฐาน ACC.4.4

บันทึกของผู้ป่วยนอกที่ต้องการการดูแลที่ซับซ้อนหรือวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อนประกอบไปด้วยประวัติโดยย่อของการ ดูแลทางการแพทย์และพร้อมใช้สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพดูแลสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น. P

เจตจำนงของ ACC.4.4

เมื่อโรงพยาบาลให้การดูแลการรักษาผู้ป่วยนอกที่มีการวินิจฉัยที่ซับซ้อน และ/หรือต้องการการดูแล ที่ซับซ้อน (เช่น ผู้ป่วยที่มารับการักษาหลายๆครั้งสำหรับหลายปัญหา, หลายการรักษา, หลายคลินิก, และ/หรือ ที่คล้ายกัน) อาจจะมีการวินิจฉัย และ ยา และ ประวัติทางคลินิก และ ผลการตรวจร่างกายที่พบมีนัยสำคัญจำนวนมาก. ซึ่งมี ความสำคัญต่อผู้ให้การดูแลสุขภาพทั้งหมดที่จะมีการเข้าถึงข้อมูล สารสนเทศเกี่ยวกับการดูแลเพื่อสามารถให้การ ดูแลอย่างต่อเนื่อง (ดูACC.3, ME 1) สารสนเทศนั้นที่อาจเป็นประวัติผู้ป่วยโดยย่อหรือภาพรวมคร่าวๆ. วัตถุประสงค์เพื่อสรุปสารสนเทศ ที่สำคัญได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งานของผู้ให้การดูแลสุขภาพ,โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อมีผู้ให้บริการผู้ป่วยนอกหลายสาขา. การสรุปข้อมูลผู้ป่วยนอกที่ใช้อาจอยู่ในรูปแบบกระดาษหรือเวช ระเบียนอิเล็กทรอนิกส์.

กระบวนการสําหรับจัดให้มีสารสนเทศเหล่านี้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้การดูแลสุขภาพครอบคลุม

• การระบุประเภทของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่ซับซ้อนและ/หรือการวินิจฉัยที่ซับซ้อน (เช่น ผู้ป่วยที่มาพบใน คลินิกโรคหัวใจด้วยโรคร่วมหลายอย่าง, หรือผู้ป่วยด้วยโรคไตวายระยะสุดท้าย);

• การระบุสารสนเทศที่จําเป็นโดยแพทย์หรือผู้ที่รักษาผู้ป่วยเหล่านั้น;

• การกําหนดกระบวนการที่จะใช้สร้างความมั่นใจว่าสารสนเทศทางการแพทย์ที่ต้องการโดย แพทย์พร้อมใช้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการสืบค้น (easy-to-retrieve) และง่ายต่อการทบทวน (easy-toreview) ; และ

• การประเมินผลการนําสู่ปฏิบัติเพื่อสอบทานว่าสารสนเทศและกระบวนการตอบสนองความต้องการของ แพทย์และพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของบริการทางคลินิกผู้ป่วยนอก.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.4

❏ 1.โรงพยาบาลระบุประเภทของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่ซับซ้อนและ/หรือการวินิจฉัยที่ซับซ้อนที่ต้องสรุป ข้อมูลผู้ป่วยนอก

❏ 2.การระบุสารสนเทศที่จําเป็นโดยแพทย์หรือผู้ที่รักษาผู้ป่วยเหล่านั้น

❏ 3.โรงพยาบาลใช้กระบวนการที่จะใช้สร้างความมั่นใจว่าการสรุปข้อมูลผู้ป่วยนอกง่ายต่อการสืบค้นและง่าย ต่อการทบทวน

❏ 4.มีกระบวนการประเมินผลว่าสารสนเทศ ตอบสนองความต้องการของแพทย์และพัฒนาคุณภาพ และ ความปลอดภัยของบริการทางคลินิกผู้ป่วยนอก.

มาตรฐาน ACC.4.5

โรงพยาบาลมีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่แจ้งให้บุคลากรของโรงพยาบาลทราบว่าจะ ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษา

มาตรฐาน ACC.4.5.1

โรงพยาบาลมีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษา และไม่แจ้งให้บุคลากรของโรงพยาบาลทราบ

เจตจำนงของ ACC.4.5 และ ACC.4.5.1

เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจที่จะออกจากโรงพยาบาลหลังจากได้รับการตรวจร่างกายและคำแนะนำในการวาง แผนการรักษา เรียบร้อยแล้ว, ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน และ/หรือผู้ป่วยนอก, เหล่านี้ถูกระบุว่าเป็น "การปฏิเสธคำแนะนำทางการ แพทย์." ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (รวมถึงผู้ป่วยจากแผนกฉุกเฉิน) มีสิทธิที่จะปฏิเสธคำแนะนำทางการแพทย์และ/ หรือ ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธคำแนะนำ ทางการแพทย์. อย่างไรก็ตาม, ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะมีความเสี่ยงจาก การการรักษาจากการรักษา ที่ไม่เพียงพอ, ซึ่งอาจส่งผล ให้เกิดอันตรายอย่างถาวรหรือเสียชีวิต. เมื่อผู้ป่วยในหรือ ผู้ป่วยนอก ร้องขอที่จะออกจากโรงพยาบาลโดยไม่ได้รับการอนุมัติทางการแพทย์, ผู้ป่วยต้องได้รับการอธิบาย ความเสี่ยงทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้ดูแลการก่อนจำหน่าย.นอกจากนี้ถ้ารู้จักแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของ ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษาและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ, มีการแจ้งให้แพทย์ ทราบ.

โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อพยายามระบุเหตุผลสําหรับผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลโดย ปฏิเสธการรักษา. โรงพยาบาลต้องเข้าใจเหตุผลเหล่านี้เพื่อที่จะสามารถที่จะให้การสื่อสารกับผู้ป่วย และ/หรือครอบครัวในการระบุ และปรับปรุงกระบวนการ.

เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลโดยไม่ต้องแจ้งให้บุคลากรในโรงพยาบาลทราบ, หรือ ผู้ป่วยนอกที่กําลังได้รับการ รักษาที่ซับซ้อน เช่น, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, เคมีบำบัด, หรือ รังสีรักษา, และไม่กลับมารักษาอีก, โรงพยาบาลจะต้องมีความพยายามที่จะติดต่อผู้ป่วยเพื่อแจ้งให้ทราบถึง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น. ถ้ารู้จักแพทย์เวช ศาสตร์ครอบครัวและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ, มีการแจ้งให้แพทย์ทราบ. โรงพยาบาลมีกระบวนการ สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง, ครอบคลุมข้อกําหนดในการรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อและ กรณีที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.5

❏ 1.มีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกท่ีแจ้งให้บุคลากรของโรงพยาบาลทราบว่าจะ ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษา.

❏ 2.กระบวนการครอบคลุมการให้ข้อมูลผู้ป่วยถึงความเสี่ยงทางการแพทย์จากการรักษาที่ไม่เพียงพอ.

❏ 3.ผู้ป่วยควรจะได้รับการจําหน่ายตามกระบวนการจําหน่ายของโรงพยาบาล. (ดูACC.4.1)

❏ 4.ถ้ารู้จักแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษาและไม่ ได้เข้ามา มีส่วนร่วมในกระบวนการ, มีการแจ้งให้แพทย์ทราบ.

❏ 5.โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อพยายามระบุเหตุผลสําหรับผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการ รักษา.

❏ 6.กระบวนการสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง, ครอบคลุมข้อกําหนดในการรายงาน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อและกรณีที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น. (ดูPCI.3, ME 3 and GLD.2, ME 5)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.4.5.1

❏ 1.มีกระบวนการสําหรับการจัดการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ออกจากโรงพยาบาลโดยปฏิเสธการรักษาและ ไม่แจ้งให้บุคลากรของโรงพยาบาลทราบ.

❏ 2.มีกระบวนการในการจัดการผู้ป่วยนอกที่กําลังได้รับการรักษาที่ซับซ้อนและไม่กลับมารักษาอีก.

❏ 3.ถ้ารู้จักแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ, มีการแจ้งให้แพทย์ทราบ.

❏ 4.กระบวนการสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง, ครอบคลุมข้อกําหนดในการรายงาน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อและกรณีที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น. (ดูPCI.3, ME 3 and GLD.2, ME 5)

การโอนย้ายผู้ป่วย

มาตรฐาน ACC.5

ผู้ป่วยที่ได้รับการการโอนย้ายไปยังองค์กรอื่นขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย,ความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง, และ ศักยภาพขององค์กรที่รับย้ายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ถูกโอนย้ายได้.

เจตจำนงของ ACC.5

การโอนย้ายผู้ป่วยไปยังองค์กรภายนอกขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยและความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง. การ โอนย้ายต้องการตอบสนองต่อความต้องการในการดูแลเป็นพิเศษและการรักษา, การบริการเร่งด่วน, หรือการดูแล กึ่งวิกฤติ, เช่น การดูแลกึ่งเฉียบพลัน หรือ ฟื้นฟูสมรรถภาพในระยะยาว. การกำหนดเกณฑ์จะช่วยระบุความจำเป็น ในการโอนย้ายเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย.

เมื่อมีการโอนย้ายผู้ป่วยไปยังองค์กรอื่น, โรงพยาบาลที่ส่งต่อกำหนดว่าองค์กรที่จะรับผู้ป่วยไว้ดูแลมีความสามารถ ในการให้บริการและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย.มีการจัดทําข้อตกลงที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการพร้อม กับองค์กรที่รับย้ายเมื่อมีการโอนย้ายผู้ป่วยไปยังองค์กรดังกล่าวบ่อยๆ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.5

❏ 1.การโอนย้ายผู้ป่วยเป็นไปตามเกณฑ์ที่จัดทําโดยโรงพยาบาลเพื่อระบุความต้องการในการดูแลต่อเนื่อง ของผู้ป่วย. (ดูACC.1, ME 3)

❏ 2.โรงพยาบาลที่ส่งต่อกําหนดว่าองค์กรที่รับย้ายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ถูกโอนย้าย ได้.

❏ 3.มีการจัดทําข้อตกลงที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการพร้อมกับองค์กรที่รับย้ายเมื่อมีการโอนย้ายผู้ป่วย ไปยังองค์กรดังกล่าวบ่อยๆ.

มาตรฐาน ACC.5.1

โรงพยาบาลพัฒนากระบวนการโอนย้ายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการโอนย้ายอย่างปลอดภัย

เจตจำนงของ ACC.5.1

การโอนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นภายนอกอาจเป็นกระบวนสั้นๆ โดยผู้ป่วยรู้สึกตัวและมีการ พูดคุยได้, หรืออาจรวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์และการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง. ใน ทั้งสองกรณี, ต้องมีการติดตามอาการผู้ป่วย และอาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษทางการแพทย์, แต่คุณสมบัติของ บุคลากรที่ทำการติดตามอาการและประเภทของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ. ดังนั้น, เงื่อนไขและสภาวะของผู้ป่วยจึงมีผล ต่อคุณสมบัติของบุคลากรที่ทำการติดตามอาการแลประเภทของ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นใน ระหว่างการโอนย้าย. กระบวนการโอนย้ายผู้ป่วยจากองค์กรหนึ่งไปยังองค์กรอื่น ๆจะต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยจะถูกโอนย้ายอย่างปลอดภัย.

กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย

• วิธีการและการถ่ายโอนความรับผิดชอบระหว่างผู้ให้การดูแลสุขภาพและสถานพยาบาล;

• เกณฑ์สำหรับการโอนย้ายเมื่อมีความจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย;

• ผู้ที่รับผิดชอบในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยระหว่างการโอนย้าย;

• ยา,วัสดุภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จําเป็นต้องใช้ในระหว่างการโอนย้าย;

• กลไกในการติดตามซึ่งให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยเมื่อมาถึงองค์กรที่รับย้าย; และ

• สถานการณ์ที่การโอนย้ายเป็นไปไม่ได้ โรงพยาบาลประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของกระบวนการโอนย้ายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับโอนย้ายโดย บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ถูกต้องสำหรับสภาวะของ ผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.5.1

❏ 1.โรงพยาบาลพัฒนากระบวนการโอนย้ายโดยระบุวิธีการและการถ่ายโอนความรับผิดชอบระหว่างผู้ให้การ ดูแลสุขภาพและสถานพยาบาล; (ดูACC.4, ME 6)

❏ 2.กระบวนการโอนย้ายระบุผู้ที่รับผิดชอบในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยระหว่างการโอนย้ายและคุณสมบัติของ บุคลากรที่จําเป็นสําหรับประเภทของผู้ป่วยที่ได้รับการโอนย้าย. (ดูACC.6, ME 3)

❏ 3.กระบวนการโอนย้ายระบุยา,วัสดุภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จําเป็นต้องใช้ในระหว่างการ โอนย้าย

❏ 4.กระบวนการโอนย้ายระบุกลไกในการติดตามซึ่งให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยเมื่อมาถึงองค์กร ที่รับย้าย.

❏ 5.กระบวนการโอนย้ายระบุสถานการณ์ที่การโอนย้ายเป็นไปไม่ได้

❏ 6.มีกระบวนการประเมินผลคุณภาพและความปลอดภัยของกระบวนการโอนย้าย

มาตรฐาน ACC.5.2

องค์กรที่ได้รับผู้ป่วยไว้จะได้รับเอกสารสรุปทางคลินิกของผู้ป่วยและการรักษาที่ทำไปจากโรงพยาบาลที่โอนย้าย.

เจตจำนงของ ACC.5.2

เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลรักษา, เอกสารสรุปทางคลินิกของผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไป พร้อมกับผู้ป่วย.สำเนา ของการสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายจะถูกมอบให้องค์กรที่รับผู้แลผู้ป่วยต่อเนื่อง. ข้อมูลสรุปทางคลินิกครอบคลุมสภาวะ ของผู้ป่วย, หัตถการและปฏิบัติการดูแลรักษาอื่น ๆ ที่ทำไป, และความต้องการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.5.2

❏ 1.เอกสารสรุปทางคลินิกของผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปพร้อมกับผู้ป่วย (ดูMOI.4, ME 5)

❏ 2.ข้อมูลสรุปทางคลินิกครอบคลุมสภาวะของผู้ป่วย

❏ 3.ข้อมูลสรุปทางคลินิกครอบคลุมหัตถการและปฏิบัติการดูแลรักษาอื่น ๆ ที่ทำไป,

❏ 4.ข้อมูลสรุปทางคลินิกครอบคลุมความต้องการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย.

มาตรฐาน ACC.5.3

กระบวนการโอนย้ายได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย. P

เจตจำนงของ ACC.5.3

เวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละคนที่ได้รับการโอนย้ายไปยังองค์กรอื่นมีบันทึกเอกสารการโอนย้าย. เอกสารรวมถึงชื่อ ขององค์กรและชื่อของบุคคลที่ตกลงจะรับผู้ป่วยไว้, เหตุผลในการโอนย้าย, และ เงื่อนไขพิเศษสําหรับการโอนย้าย (เช่น เมื่อองค์กรที่รับย้ายมีเตียงว่าง, หรือ สถานภาพของผู้ป่วย). นอกจากนี้, ต้องมีการบันทึกสภาวะหรือสถานภาพของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างโอนย้ายด้วย (ยกตัวอย่างเช่น , ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือจําเป็นต้องช่วยฟื้นคืนชีพ). เอกสารอื่น ๆ เป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาล (ตัวอย่างเช่น, ลายมือชื่อของแพทย์หรือพยาบาลที่ได้รับผู้ป่วย, ชื่อของผู้รับผิดชอบใน การติดตามอาการผู้ป่วยในระหว่างการ เคลื่อนย้าย) เก็บอยู่ในเวชระเบียน. (ดูMOI.9.1, ME 4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.5.3

❏ 1.เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการโอนย้ายมีบันทึกชื่อขององค์กรและชื่อของบุคคลที่ตกลงจะรับผู้ป่วยไว้

❏ 2.เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการโอนย้ายมีบันทึก และเอกสารอื่น ๆ เป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาล

❏ 3.เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการโอนย้ายมีบันทึกเหตุผลในการโอนย้าย

❏ 4. เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการโอนย้ายมีบันทึกเงื่อนไขพิเศษสําหรับการโอนย้าย

การเคลื่อนย้าย

มาตรฐาน ACC.6

โรงพยาบาลมีบริการการเคลื่อนย้ายสอดคล้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและตอบสนอง ต่อความต้องการในด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย. P

เจตจำนงของ ACC.6

กระบวนการสำหรับส่งต่อ, โอนย้าย, หรือจำหน่ายผู้ป่วยครอบคลุมถึงการประเมินความต้องการ ในการเคลื่อนย้าย ของผู้ป่วย. ประเภทของการเคลื่อนย้ายจะแตกต่างกันอาจเป็นโดยรถพยาบาลหรือ ยานพาหนะอื่น ๆที่เป็นเจ้าของ โดยโรงพยาบาล หรือบริษัทคู่สัญญาของโรงพยาบาล; หรือการเคลื่อน ย้ายอาจจะถูกจัดหาโดยครอบครัวจากแหล่ง ภายนอก หรือ โดยครอบครัวและ/หรือเพื่อนโดยตรง (ดูACC.4) การเคลื่อนย้ายจะขึ้นอยู่กับสภาพและสภาวะ ของผู้ป่วย. โรงพยาบาลต้องมั่นใจว่าบุคลากร ที่รับผิดชอบในการติดตามอาการของผู้ป่วยในระหว่างการเคลื่อนย้าย มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละประเภทที่ได้รับการโอนย้าย.

ยานพาหนะที่ใช้เคลื่อนย้ายที่เป็นของโรงพยาบาลเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติการ, สภาพ, และการบํารุงรักษา. โรงพยาบาลระบุสถานการณ์การเคลื่อนย้ายที่มีความ เสี่ยงของการติดเชื้อและจัดทำกล ยุทธ์ในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ. (ดูPCI.5, PCI.7, ME 5 และ ME 6; PCI.7.1; PCI.7.2; PCI.7.3; PCI.8, ME 1 และ PCI.9) มียาที่จำเป็น, เทคโนโลยีทางการแพทย์, และ วัสดุภัณฑ์อื่น ๆที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้ป่วยจะที่ได้รับการเคลื่อนย้าย. ยกตัวอย่างเช่น, การรับผู้ป่วยสูงอายุที่บ้านมารับบริการผู้ป่วยนอกก็ แตกต่างอย่างมากจากการ โอนย้ายผู้ป่วยโรคติดเชื้อหรือมีแผลไฟไหม้ไปยังโรงพยาบาลอื่น.

หากบริการเคลื่อนย้ายของโรงพยาาล, ครอบคลุมบริการสัญญาจ้างเหมา, ต้องมั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกําหนดของ โรงพยาบาลสําหรับคุณภาพและความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย. เมื่อการบริการเคลื่อนย้ายที่ให้บริการโดย กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานประกันอื่น ๆ,ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลโดยโรงพยาบาล, การรายงาน ประเด็นด้านคุณภาพและความปลอดภัยไปยังองค์กรผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าในการปรับปรุงที่ เกี่ยวข้องกับคุณภาพในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย.

ในทุกกรณี, โรงพยาบาลต้องมีกระบวนการพร้อมปฏิบัติเพื่อเฝ้าติดตามคุณภาพและความปลอดภัยของการ เคลื่อนย้ายที่ให้หรือจัดหาให้โดยโรงพยาบาล, ครอบคลุมกระบวนการร้องเรียน.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ACC.6

❏ 1.ยานพาหนะที่ใช้เคลื่อนย้ายที่เป็นของโรงพยาบาลเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ปฏิบัติการ, สภาพ, และการบํารุงรักษา.

❏ 2.บริการเคลื่อนย้าย, ครอบคลุมบริการสัญญาจ้างเหมา, เป็นไปตามข้อกําหนดของโรงพยาบาลสําหรับ คุณภาพและความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย.

❏ 3.บุคลากรที่รับผิดชอบในการติดตามอาการของผู้ป่วยในระหว่างการเคลื่อนย้ายมีคุณสมบัติที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละประเภทที่ได้รับการโอนย้าย. (ดูACC.5.1, ME 2)

❏ 4.ยานพาหนะทั้งหมดที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย, ทั้งของสัญญาจ้างเหมาหรือเป็นของโรงพยาบาล, ปฏิบัติตาม แผนงานการควบคุมการติดเชื้อ และ มีเทคโนโลยีทางการแพทย์, วัสดุภัณฑ์, และยาที่เหมาะสมเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจะที่ได้รับการเคลื่อนย้าย (ดูMMU.3 และ GLD.6, ME 1)

❏ 5.มีกระบวนการพร้อมปฏิบัติเพื่อเฝ้าติดตามคุณภาพและความปลอดภัยของการเคลื่อนย้ายที่ให้หรือจัดหา ให้โดยโรงพยาบาล, ครอบคลุมกระบวนการร้องเรียน.