เรื่อง Lean

Lean คืออะไร

Lean แปลว่า ผอม เพรียว บาง

-คน ก็หมายถึง คนที่สมส่วน ปราศจากชั้นไขมัน แข็งแรง ว่องไว กระฉับกระเฉง

-องค์กร ก็หมายถึง องค์กรที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเปล่า

ทุกๆกระบวนการ สามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการ

ของตลาดและผู้รับผลงาน ได้ทันท่วงที มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง

Lean :- เป็นกระบวนการบริหารจัดการ

-เพื่อลดความสูญเปล่าในทุกกระบวนการทำงาน

-เพื่อให้ทำงานน้อยลงแต่ได้ผลงานมากกว่า

-และเป็นผลงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือ ผู้รับบริการ

เป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันเพื่อผลประกอบการที่ดีขึ้น

*Lean Processes in two words: Flow > , Waste cost reduction <

*Lean Processes in One Word: Flow >

Lean เป็น ระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างน้อยลง แต่ได้ผลงานมากกว่าตรงกับความต้องการของลูกค้า

แนวคิด Lean

คือ การเปลี่ยนจาก ความสูญเปล่า (waste) ไปสู่ คุณค่า (value)

ในมุมมองของผู้รับผลงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จบ

Lean ไม่ใช่การทำงานให้หนักขึ้นหรือเร็วขึ้น

แต่ทำงานให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

โดยค้นหาความสูญเปล่า และเปลี่ยนให้เป็นคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ

Lean เป็นการปรับกระบวนการที่ทำในปัจจุบัน

ทุกคนสามารถเรียนรู้และ

นำไปปฏิบัติได้ไม่ยาก โดยใช้สมองมากกว่างบประมาณ

Lean เป็นการสร้างความพึงพอใจ ลดความไม่พึงพอใจ

เพิ่มความภักดีและกล่าวถึงในทางที่ดี

ทำให้สามารถแข่งขัน เพื่อผลประกอบการที่ ดีขึ้น

Lean ไม่ใช่กระบวนการที่ทำให้ตำแหน่งงานลดลง

Lean เป็นกระบวนการลดความเครียดของบุคลากร

กระบวนการที่ไม่ใช่ LEAN

v การปรับกระบวนการเพียงขั้นตอนเดียว หรือการปรับเพียงส่วนน้อย

v การเพิ่มคน เพื่อให้งานรวดเร็วขึ้น

v การลดขั้นตอนหรืองานของหน่วยงานตนเอง โอน เปลี่ยน ให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบหรือทำแทน

v การลดหรือตัดขั้นตอนทิ้ง แต่ทำให้งานเสี่ยงหรือเกิดความผิดพลาดได้มากขึ้น

v การลดขั้นตอนที่ขัดต่อระเบียบ กฎหมาย ข้อตกลง

v Lean ต้องใช้ทรัพยากรลดลง ไม่ใช่เพิ่มขึ้น ถ้าเพิ่มขึ้นต้องได้ประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากว่าเดิมชัดเจน

LEAN

Less ลดลง DOWN TIME = WASTE

  • Defect

  • Overproduction

  • Waiting

  • Non Use Staff Talented Use

  • Transportation

  • Inventory over stock

  • Movement

  • Excessive Process

Enhance ทำให้ดีขึ้น

  • Quality

  • Safety

  • Performance

  • Service

  • Flexibility

  • Productivity/Improvement

Analysis ผลการวิเคราะห์

  • Proficiency

  • Process

  • 5S

  • Standardized Work

  • Delivery

  • Waste

Numerical control การควบคุมกำกับ

  • Trends

  • Status

  • Performance

  • Process

  • KPI

  • Visual Management

ความพิเศษของ Lean ทำไม Lean จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในองค์กรต่างๆ

v Lean is proven หลักการและเทคนิคของ Lean ได้รับการนำไปใช้

และประสบความสำเร็จ ในองค์กรทุกภาคส่วน ทุกประเภท ทุกขนาด

v Lean makes sense Lean ใช้ความเรียบง่าย ในการตอบสนอง

ความท้าทายทุกประเภท ทุกสถานการณ์

v Lean is accessible ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หากมีความมุ่งมั่น ไม่ยาก

ไม่แยกส่วน ไม่แพง

v Lean is inclusive แนวคิด Lean เปิดรับการใช้เครื่องมือทาง การบริหาร

และเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่จำกัด เป็นสิ่งที่เสริมกันกับ TQM, Six

Sigma, BPM ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

v Lean is for everyone ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ไม่ยาก

Lean Thinking หลักคิด 5 ประการของ LEAN

1.กำหนดหรือเพิ่มคุณค่า (Value)

ในมุมมองของผู้รับบริการ

2.ค้นหาความสูญเปล่า (Waste)

ลดหรือขจัดให้หมดไป

3.ปรับปรุงกระบวนการทำงาน

อย่างต่อเนื่อง ทำให้ กระบวนการทำงานไหล

(Flow) อย่างราบรื่น

ไม่สะดุด (Seamless)

4.เริ่มกระบวนการทำงานจากความต้องการของลูกค้า หรือความพร้อมของขั้นตอนต่อไป (Pull)

ไม่ทำก่อนหน้านั้น (Push)

5.สามารถปรับใช้ได้

(Flexible) ในทุกบริบทขององค์กรทั้งด้านการผลิตและบริการ

ที่มาของ Lean

Taiichi Ohno 1988 จาก The Toyata Production System

-Eliminate waste : Just in time

-Expose problems : Stop the line culture

Shigeo Shingo จาก Study of Toyata Production System 1981

-Non stock production : single minute setup

-Zero inspection : mistake proof every step

เป้าหมาย TPS คือ ลด 3 m : Muri, Mura, Muda

Muri การฝืนทำ ลดภาระงานที่มากเกินความจำเป็ฯ (overburden-muri)

Mura ความไม่สม่ำเสมอ ลดความไม่คงเส้นคงวา (inconsistency-mura)

Muda ความสูญเปล่า ขจัดความสูญเสียหรือสูญเปล่าต่างๆ (waste-muda)

ความสูญเปล่า (Waste)

ความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน

อาจจะเกิดจากระบบที่วางไว้ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องทำเพื่อแก้ไขความผิดพลาด

ความสูญเปล่า เป็นสิ่งที่เมื่อขจัดออกไปแล้ว จะไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าที่ผู้รับผลงานได้รับ

ดังนั้นเป้าหมายของ Lean ขจัดความสูญเปล่า เพื่อที่จะได้มี เวลางาน ที่มีคุณค่าได้ มากขึ้น

คุณค่า (Value) = Quality ที่เพิ่มขึ้น/ Low Cost ที่ลดลง

ความสูญเปล่า MUDA

v ความสูญเปล่าในชีวิตประจำวันของเรา มี 8 ประเภทเรียกย่อว่า DOWNTIME เพื่อง่ายในการจดจำ

การสูญเสีย: Defect (ข้อบกพร่อง)

v ผลงานที่ผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการ ทำให้ต้องแก้ไข

ตัวอย่าง: - ข้อบกพร่องใน healthcare

v - ระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด

v - ผ่าตัดผิดข้าง

v - Medication Error

v - ไม่แน่ใจผลปฏิบัติการ

v - การสื่อสารไม่ชัดเจน

v - ความผิดพลาดจากการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย

ความสูญเสีย Over Production

v การผลิตหรือการให้บริการที่มากเกินความจำเป็น

- การสั่งซื้อครุภัณฑ์ราคาแพงเพื่อสำรอง

- การสำรองวัสดุและยาเกินความจำเป็น

- การสั่งตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาที่ไม่สมเหตุสมผล

- การรักษาที่ไม่จำเป็น

- การสั่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยซ้ำซ้อน

- การทำงานโดยไม่ตรงกับความต้องการของผู้รับ

ความสูญเสีย : Waiting (การรอคอย)

v ช่วงเวลาแห่งการรอคอย คือ ช่วงเวลาที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

- รอทำบัตร รอพบแพทย์ รอรับยา

- รอคิวเพื่อตรวจหรือผ่าตัด

- การรอคอยแพทย์ ของผู้ป่วยและญาติในภาวะฉุกเฉิน หรือ

รอปรึกษาของแพทย์ข้ามแผนก

- ความล่าช้าในการตัดสินใจหรือส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องได้รับการ

รักษาอย่างรีบด่วน เช่น ผู้ป่วย STROK, STEMI

- ความล่าช้าในการรับรู้ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่

สำคัญ เช่นผลการตรวจโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

- เครื่องมือไม่พร้อม ทำให้ต้องรอ

- แฟ้มเวชระเบียนหาย ทำให้ต้องรอการตรวจ

- การรอทุกชนิดเป็นโอกาสในการพัฒนา

ความสูญเสีย: Not use staff talent

ความรู้และความสามารถไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่

การตรวจรักษาโรคง่ายๆ โดยแพทย์เฉพาะทาง

- การใช้พยาบาลมาทำหน้าที่ด้านธุรการ

- การที่ผู้บริหารไม่สนใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่หน้างาน

ที่รู้ปัญหาดี

- การใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงมาทำหน้าที่ในการบริหาร

ความสูญเสีย: Transportation(การเดินทางและการเคลื่อนย้าย)

  • การเดินทางของผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายของผู้ป่วยไปตามจุดต่างๆ

  • การเคลื่อนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งส่งตรวจ

  • การจัดบริการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางหลายๆ จุดใน ร.พ.

  • การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น

การสูญเสีย : Inventory (วัสดุคงคลัง)

  • การสำรองวัสดุทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์เกินความเพียงพอกับการใช้งาน

  • มีการกระจายยา,วัสดุ,เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ในห้องผ่าตัด,ICU

  • การสำรวจ set ต่างๆ ในหอผู้ป่วย

  • ความหลากหลายของเครื่องมือแพทย์

การสูญเสีย: Motion(การเคลื่อนที่หรือเดินทางของบุคลากร)

  • สูญเสียเวลาที่ให้คุณค่าแก่ผู้ใช้บริการ

  • สูญเสียการทำงานที่เกินความจำเป็น

  • การเดินทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

  • ระบบบริการที่ทำให้ผู้ให้บริการต้องใช้เวลาในการเคลื่อนไหวมาก

การสูญเสีย: Excessive Processing (ขั้นตอนที่มากเกินความจำเป็น)

  • การซักประวัติผู้ป่วยซ้ำๆ

  • การตรวจซ้ำซ้อน

  • การกำหนดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น

  • การคัดลอกและถ่ายทอดคำสั่งใช้ยา

  • การบันทึกที่ไม่ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์

ทำไมต้องนำ Lean มาใช้ในบริการสุขภาพ

การให้บริการสุขภาพ มีลักษณะที่เป็นข้อด้อยสำคัญบางประการ ได้แก่

v เป็นการจัดบริการเพื่อตอบสนองแต่ละครั้ง (episode) ของการเจ็บป่วย,

v เป็นบริการแบบตั้งรับที่ผู้ป่วยต้องช่วยตนเองในการเข้าหาบริการ,

v ผู้ป่วยต้องรอคอยเป็นเวลานาน,

v มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ, การสื่อสารระหว่างทีมผู้ให้บริการเป็นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ,

v กระบวนการดูแลมีความไม่แน่นอน,

v มีการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจำนวนมากและแตกต่างหลากหลาย,

v มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในกระบวนการดูแลจำนวนมาก

v มีราคาแพง

วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไข คือ การแก้ไขที่ระบบและระเบียบปฏิบัติ

Value and Waste

Value:-

คุณค่าบริการ คือ กิจกรรมหรือบริการที่ ตรงตามความประสงค์หรือต้องการของลูกค้า

Waste:-

ความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดคุณค่ากับผู้รับบริการในสายตาของผู้รับผลงาน

ความสูญเปล่า เมื่อขจัดออกไปแล้วไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าของผู้รับผลงาน

แนวคิด Lean ช่วยให้เราพิจารณาว่า “งานคือสิ่งที่เราควรทำ” มิใช่ “งานคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่”

กระบวนการทำงานในชีวิตประจำวัน

หากวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงานประจำวันจะเห็นว่างานที่เราทำ

เป็นความสูญเปล่าที่สามารถลดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของขั้นตอนทั้งหมด

ดังนี้

Customer are willing to pay

1.Non Value-Added มีประมาณ 35%

Customer not willing to pay and Should eliminated

2.Business Value-Added 60%

Customer not willing to pay but necessary for business

3.Value-Added 5%

-Product or service

-Correctly at the first time

Customer are willing to pay

2 ข้อแรกเป็น WASTE

เป้าหมายของ Lean

Productivity วัดผลการดำเนินงานเช่นจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น อัตราการครองเตียงสูงขึ้น

Quality คุณภาพในการให้บริการและคุณภาพในการรักษาดีขึ้น ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง

Low Cost ต้นทุนในการดำเนินการลดลง ค่าใช้จ่ายคนไข้ลดลง

Delivery การรอคอยให้บริการทุกจุดลดลง

Safety ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการลดลง

Moral ความพึงพอใจของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น อัตราการลาออกลดลง

Environmentจำนวนหน่วยงานที่ผ่าน 5S เพิ่มขึ้น

Ethic อัตราการร้องเรียนลดลง,อัตราการชมเชยเพิ่มขึ้น

เป้าหมายของ Lean House ดูสไลด์

Lean House adapt for Hospital Lean ดูสไสด์