6E 1: Response to the Deteriorating Patient

Definition

การระบุตัวผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงหรือมีอาการแย่ลงอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับมีแนว

ทางการดูแลผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสมและเป็นระบบที่ชัดเจน ก่อนที่อาการ

เจ็บป่วยจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น (Recognition of deteriorating patients and intervention with

appropriate treatment before their condition worsens)

Goal

ลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลให้มี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Why

การล้มเหลวในการระบุตัวผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงหรือมีอาการแย่ลงสามารถท าให้อาการ

เจ็บป่วยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า 51 -86% ของผู้ป่วยที่รับปฏิบัติการ

เพื่อช่วยชีวิตขณะที่หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจกระทันหัน (cardiopulmonary resuscitation;

CPR) จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นและหยุด

หายใจกระทันหัน (cardiopulmonary arrest) นอกจากนี้ยังพบว่าในประเทศไทย จ านวนเตียงและ

อัตราก าลังในไอซียู ยังไม่เพียงพอต่อจ านวนผู้ป่วยวิกฤตที่จ าเป็นต้องได้รับการการดูแล ท าให้

ผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลอาจได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม

การพัฒนาจัดตั้ง Rapid Response Team หรือ ทีมดูแลผู้ป่วยก่อนวิกฤต จะสามารถเพิ่ม

ประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ โดยจากข้อมูลทั้งในและ

ต่างประเทศที่มีการจัดตั้งทีมนี้เกิดขึ้นพบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาลลด

น้อยลง อัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นลดน้อยลง จ านวนวันที่ต้องนอนโรงพยาบาลหรือ

นอนในไอซียูลดน้อยลง และอัตราการตายของผู้ป่วยในลดน้อยลง อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

นอกจากนี้การใช้ Early Warning Score ร่วมกับ Rapid Response System จะช่วยให้การจัดกลุ่ม

และจัดการผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการจัดกลุ่มและการจัดการที่

เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการตามล าดับความเร่งด่วน ได้รับการจัดให้อยู่ในบริเวณที่

เหมาะสมในการดูแล และได้รับการประเมินดูแลติดตามอย่างเหมาะสม ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากร

ในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสมและที่ส าคัญท าให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยเมื่อเข้ารับการดูแลใน

โรงพยาบาล

Process

1. ทีมผู้บริหารในโรงพยาบาล ประกาศร่วมในการด าเนินนโยบายการดูแลผู้ป่วยทรุดลงใน

โรงพยาบาล

2. ก าหนดให้มีการสร้างและพัฒนา Rapid Response System ในโรงพยาบาลทุกระดับ

3. มีการก าหนดใช้เครื่องมือ ได้แก่ Early Warning Score, SOS score เป็นต้น เพื่อช่วยให้การจัด

กลุ่มและจัดการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

4. พัฒนาจัดตั้ง Rapid Response Team หรือ ทีมดูแลผู้ป่วยก่อนวิกฤต ซึ่งเป็นทีมที่มีความ

ช านาญในการประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤต

5. ก าหนดให้มีการเชื่อมโยง Rapid Response System เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยใน

โรงพยาบาลให้เหมาะสมกับศักยภาพของโรงพยาบาล และมีการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยใน

เครือข่ายเพื่อให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Training

1. บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลต้องได้รับการอบรมการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลและ

การใช้เครื่องมือ ได้แก่ Early Warning Score, SOS score เป็นต้น

2. แพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องใน Rapid Response Team ของโรงพยาบาล ต้องผ่านการ

ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ

Monitoring

1. มีการจัดตั้ง Rapid Response System, Rapid Response Team และ Early Warning Score

ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล

2. ก าหนดตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาล อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) อัตรา

ผู้ป่วยทรุดลงระหว่างการส่งต่อ จ านวนข้อร้องเรียนจากผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาล

Pitfall

1. นโยบายการสร้างระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาลไม่ชัดเจน

2. ยังไม่มีโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นต้นแบบในการสร้างระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย

ทรุดลงในโรงพยาบาล

3. เครื่องมือ ทรัพยากรและระบบสารสนเทศ ที่สนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงใน

โรงพยาบาลยังไม่เพียงพอ

4. บุคลากรในโรงพยาบาลขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงใน

โรงพยาบาล

5. การสื่อสารในทีมการดูแลรักษาผู้ป่วยทรุดลงในโรงพยาบาล ยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

(PCD.2) ข้อย่อย (5)