4P 2.4 Biomechanical Hazard

P 2.4: Biomechanical Hazard (สิ่ งคุกคามจากชีวกลศาสตร์)

Definition

ชีวกลศาสตร์ได้แก่ ท่าทางในการท างาน การยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ ท าให้เกิดการบาดเจ็บ

ของโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ

Goal

ควบคุมสิ่งคุกคามด้านชีวกลศาสตร์ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงต ่า ถึงปานกลาง และลดอัตรา

การบาดเจ็บและเจ็บป่วย ตลอดจนการลาป่วยจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยของโครงร่าง

กระดูกและกล้ามเนื้อ

Why

บุคลากรในสถานพยาบาลมีกระบวนการท างาน ที่มีท่าทางในการท างานที่ฝืนธรรมชาติ

และมีการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของบ่อยครั้งและมักจะไม่ถูกแบบแผน ทั้งนี้เนื่องจากต้อง

ท างานหลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน และต้องมีสิ่งของให้เคลื่อนย้าย ท าให้เกิดการ

บาดเจ็บของโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง

Process

แนวทางการป้องกันผลกระทบแก่บุคลากร

1. มีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท างานของสถานพยาบาล

2. มีการประเมินการยศาสตร์ของบุคลากรที่ต้องท างานการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ และมี

ท่าทางในการท างานหลากหลายด้วย ergonomic tools เช่น RULA ROSA เป็นต้น

3. บุคลากรควรได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพด้านโครงร่างของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยการ

ส ารวจผลกระทบด้วยแบบประเมินอาการทางโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อด้วย Nordics

questionnaire

4. จัดกิจกรรมยืด เหยียดให้บุคลากร และมีระบบเตือนหากบุคลากรนั่งปฏิบัติงานในท่า

เดิมนานๆ หรือท างานซ ้าซ ้า (repetition)

5. การใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นการออกแบบสถานีงานที่เหมาะสมแก่บุคลากรใน

สถานพยาบาล

Training

1. จัดให้มีการอบรมแก่บุคลากรใหม่ทุกคน และบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานได้มีทักษะ

ในการท างานที่มีการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ ผู้ป่วย และมีท่าทางในการท างานที่ถูกหลัก

ความปลอดภัยทั้งด้านการยศาสตร์ และ การยกเคลื่อนย้าย (manual handling)

2. ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงในการ ยก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ปลอดภัยกับตัวเองและ

ผู้ป่วย

3. อบรมความรู้ทางด้านการยศาสตร์ แก่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคน

Monitoring

1. มีการประเมินทางการยศาสตร์ทุกปีหรือเมื่อต้องเปลี่ยนสถานีงานหรือกระบวนการ

ท างาน

2. ประเมินผลการตรวจสุขภาพประจ าปี หรือผลส ารวจภาวการณ์บาดเจ็บของโครงร่าง

กระดูกและกล้ามเนื้อ

Pitfall

1. การบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยจากท่าทางในการท างานและการยกเคลื่อนย้าย อาจมี

ปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่นการเล่นกีฬา อายุ งานอดิเรก หรือการท างานบ้าน

2. การป้องกันการบาดเจ็บมีความส าคัญที่สุด การคัดกรองอาการบาดเจ็บของโครงร่าง

กระดูกและกล้ามเนื้ออาจไม่ช่วยลดผู้ป่วยรายใหม่

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค.

สุขภาพและความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4)