1 การพัฒนาคุณภาพและความปลอด ภัยของผู้ป่วย (QPS)

ภาพรวม เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องมีกรอบการทำงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและความปลอดภัยของ ผู้ป่วย ในบทนี้จะอธิบายวิธีการที่ครอบคลุมในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบใน ทุกแง่มุมของการดำเนินงาน วิธีการนี้ประกอบด้วย

• การใส่ข้อมูลในระดับแผนกและการมีส่วนร่วมในแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย;

• การใช้ข้อมูล, การตรวจสอบข้อมูลเพื่อวัดกระบวนการทำงาน;

• การใช้ข้อมูลและเกณฑ์มาตรฐานอ้างอิงเพื่อมุ่งเน้นแผนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ; และ

• การดำเนินการและการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนที่มีผลในการพัฒนา ทั้งแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

• เป็นผู้นำการขับเคลื่อน;

• ค้นหาเพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร;

• ระบุและลดความผันแปรเชิงรุก;

• ใช้ข้อมูลเพื่อมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญ; และ

• ค้นหาเพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คุณภาพและความปลอดภัยหยั่งรากลึกในการทำงานประจำวันของบุคลากรทุกคนในทุกสถานที่ เช่นบุคลากรทาง คลินิกประเมินความต้องการของผู้ป่วยและให้การดูแล, บทนี้จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจวิธีการที่ทำให้เกิดการพัฒนา อย่างแท้จริงที่จะช่วยผู้ป่วยและลดความเสี่ยง ในทำนองเดียวกันบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปสามารถนำมาตรฐาน ไปใช้ในการทำงานประจำวันของพวกเขาเพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถนำทรัพยากรมาใช้อย่างชาญฉลาดมากขึ้นและความเสี่ยงทางกายภาพสามารถลดลงได้ ,

มาตรฐานการรับรองระหว่างประเทศเหล่านี้มีอยู่ในทุกกิจกรรมขององค์กรด้านการดูแลสุขภาพรวมทั้งกรอบการ , ทำงานเพื่อการพัฒนากิจกรรมเหล่านั้นและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างในกระบวนการ

ดังนั้น ,กรอบที่นำเสนอในมาตรฐานเหล่านี้เหมาะสำหรับแผนงานที่มีโครงสร้างหลากหลายและวิธีการที่ไม่เป็น ทางการในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย กรอบนี้ยังสามารถรวมแผนงานการวัดแบบเดิมเข้า ด้วยกัน เช่นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (การบริหารความเสี่ยง)ละการใช้ทรัพยากร การจัดการ) (ทรัพยากร

นอกจากนี้องค์กรที่เป็นไปตามกรอบนี้จะ ,

• พัฒนาความเป็นผู้นำการสนับสนุนแผนงานระดับองค์กรให้ใหญ่ขึ้น;

• อบรมและมีส่วนร่วมกับบุคลากรมากขึ้น;

• จัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจนสำหรับสิ่งที่จะวัด;

• ตัดสินใจบนฐานข้อมูลการวัด; และ

• พัฒนาบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น ๆ,ระดับประเทศและต่างประเทศ

หมายเหตุในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทน

การจัดการกิจกรรมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

QPS.1 บุคคลที่มีคุณสมบัติแนะนำการจัดทำแผนงานของโรงพยาบาลสำหรับการพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัยของผู้ป่วย และบริหารจัดการกิจกรรมที่จำเป็นในการจัดทำแผนงานการพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องภายในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ P การคัดเลือกการวัดและการเก็บรวบรวมข้อมูล

QPS.2 บุคลากรแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยสนับสนุนกระบวนการคัดเลือกการวัดตลอดทั้ง โรงพยาบาลและจัดให้มีการประสานงานและการรวมรวมกิจกรรมการวัดตลอดทั้งโรงพยาบาล

QPS.3 แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ในปัจจุบันเพื่อ สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย, การศึกษาด้านวิชาชีพสุขภาพ, การวิจัยทางคลินิกและการบริหารจัดการ , การวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อมูลการวัด

QPS.4 แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยประกอบด้วยการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย, การจัดการโรงพยาบาลและ ,แผนงานการจัดการคุณภาพ และการมีส่วนร่วมใน ฐานข้อมูลภายนอก

QPS.4.1 บุคคลที่มีประสบการณ์และทักษะที่เหมาะสม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใน ,ความรู้ , างเป็นระบบโรงพยาบาลอย่

QPS.5 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลครอบคลุมถึงผลกระทบของการพัฒนาที่สำคัญระดับโรงพยาบาลในเรื่อง ค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพ กำหนดให้มีอย่างน้อยหนึ่งเรื่องต่อปี

QPS.6 โรงพยาบาลใช้กระบวนการภายในเพื่อตรวจสอบข้อมูล P

QPS.7 โรงพยาบาลใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อการระบุและการจัดการเหตุการณ์พึงสังวร P

QPS.8 ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์เสมอเมื่อมีแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์ที่เห็นได้ชัดเจนจากข้อมูล P

QPS.9 องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อการระบุและวิเคราะห์เหตุการณ์เกือบพลาด

การเพิ่มพูนและการธำรงการพัฒนา

QPS.10 การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยบรรลุผลและยั่งยืน

QPS.11 แผนงานการบริหารความเสี่ยงที่ทำอย่างต่อเนื่องใช้เพื่อการระบุและลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่ คาดคิดและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อผู้ป่วยและบุคลากรในเชิงรุก P

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

หมายเหตุ: ในทุกมาตรฐานบท QPS ผู้นำเป็นบุคคล และ คณะผู้นำเป็นกลุ่มที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน ภาระรับ ผิดมีการอธิบายในระดับบุคคลหรือร่วมกัน (โปรดดูบท "การกำกับดูแล คณะผู้นำและทิศทาง" [GLD] สำหรับ ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง)

การจัดการกิจกรรมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

ภาพรวมของแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้รับการอนุมัติโดยคณะปกครอง )ดู GLD.2) ร่วมกับกลุ่มผู้นำของโรงพยาบาลกำหนดโครงสร้างและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อจัดทำแผนงาน (ดูGDL.4) กลุ่มผู้นำยังระบุลำดับความสำคัญภาพรวมของโรงพยาบาลสำหรับการวัดและการพัฒนา )ดูGLD. ,(5 บริการระบุลำดับความสำคัญสำหรับการวัดและการพัฒนาภายในแ/ร่วมกับผู้นำแผนกผนก) บริการของพวกเขา/ดู GLD. และ 11GLD.(11.1

มาตรฐานในบท QPS นี้จะระบุโครงสร้าง ,คณะผู้นำการเพื่อสนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูลและกิจกรรมเ , วิเคราะห์ข้อมูลและ ,การพัฒนาคุณภาพ เพื่อระบุลำดับความสำคัญระดับโรงพยาบาลเช่นเดียวกับแผนก-- และ การบริการและการตอบสนองต่อเหตุการณ์พึงสังวร ,ที่เฉพาะเจาะจงซึ่งรวมถึงการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์- และเหตุการณ์เกือบพลาด มาตรฐานยังอ ,งประสงค์เหตุการณ์ไม่พึ ,ระดับโรงพยาบาลธิบายถึงบทบาทสำคัญของ การประสานงานทุกการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการให้คำแนะนำและ ทิศทางสำหรับการฝึกอบรมพนักงานและการสื่อสารข้อมูลคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย มาตรฐานไม่ได้ เจาะจงโครงสร้างขององค์กรเช่นแผนก สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลกำหนด

มาตรฐาน QPS.1 บุคคลที่มีคุณสมบัติแนะนำการจัดทำแผนงานของโรงพยาบาลสำหรับการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของ ผู้ป่วย และบริหารจัดการกิจกรรมที่จำเป็นในการจัดทำแผนงานการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องภายในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ P

เจตจำนงของ QPS.1

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลต้องใช้แผนงานการจัดการที่ดี ขณะที่คณะปกครองอนุมัติแผนงานและคณะผู้นำจัดสรรทรัพยากรที่ใช้จัดทำแผนงาน ต้องใช้การแนะนำและการ จัดการทุกวันเพื่อจัดทำแผนงาน และทำให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของวิธีการที่ โรงพยาบาลจะเป็นไปตามพันธกิจและกลยุทธ์ที่สำคัญ (ดูGLD.4)

บุคคลที่มีคุณสมบัติหนึ่งคนหรือมากกว่าดูว่าแผนงานได้นำไปดำเนินการ สิ่งนี้ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ใน หลายแง่มุมของการเก็บรวบรวมข้อมูล ,การตรวจสอบข้อมูลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ,และการวิเคราะห์ข้อมูล , บุคคลที่กำกับดูแลด้านแผนงานคุณภาพยังต้องเลือกบุคลากรแผนงานคุณภาพที่มีความสามารถที่จำเป็นสำหรับแผนงาน ในบางครั้งบางส่วนของบุคคลด้านคุณภาพที่สำคัญอาจจะอยู่ภายในแผนกส่วนบริการในโรงพยาบาล / บุคคลเหล่านี้จะต้องได้รับการสนับสนุนด้วยข้อมูลและความช่วยเหลือ บุคลากรแผนงานคุณภาพยังต้องเข้าใจวิธีการ การจัดลำดับความสำคัญระดับโรงพยาบาล และระดับแผนกการให้บริการ และเปลี่ยนพวกเขาเป็นผู้ประสานงาน/ ภาพรวมของแผนงาน บุคลากรแผนงานคุณภาพประสานงานและจัดระเบียบด้วยมาตรการเดียวกันทั้งองค์กรและให้ การสนับสนุนกิจกรรมการวัดที่เกี่ยวข้องกับการจัดลำดับความสำคัญของโรงพยาบาล

การฝึกอบรมและการสื่อสารยังมีส่วนสำคัญ บุคลากรแผนงานคุณภาพช่วยในการสนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งโรงพยาบาล โดยให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับประเด็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นการสร้างรูปแบบการเก็บรวบรวม ข้อมูล และวิธีการตรวจสอบข้อมูล ,การระบุข้อมูลในการเก็บรวบรวม ,บุคลากรโรงพยาบาลอาจต้องการความ ช่วยเหลือในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินผลถ้ามีการพัฒนาอย่าง ,การพัฒนาการดำเนินการ , ยืนยั่งบุคลากรแผนงานคุณภาพจึงมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการฝึกอบรมและการสื่อสารด้านคุณภาพและความ ปลอดภัยของผู้ป่วยตลอดทั้งโรงพยาบาล4-1 (ดูGLD.9)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.1

❏ 1. บุคคลที่มีประสบการณ์ในวิธีการและกระบวนการของการพัฒนาถูกเลือกให้แนะนำแนวทางในการจัดทำ แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยของโรงพยาบาล

❏ 2. บุคคลที่กำกับดูแลแผนงานคุณภาพเลือกและสนับสนุนบุคลากรที่มีคุณสมบัติสำหรับแผนงานและ สนับสนุนบุคลากรที่มีความรับผิดชอบงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยตลอดทั้งโรงพยาบาล (ดู SQE.1, ME 2)

❏ 3. แผนงานคุณภาพให้การสนับสนุนและประสานงานกับผู้นำแผนก/บริการ เพื่อเป็นมาตรการทั้ง โรงพยาบาลและเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนา (ดูGLD.11)

❏ 4. แผนงานคุณภาพมีการจัดทำแผนงานการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาท ในการพัฒนาคุณภาพและแผนงานความปลอดภัยของผู้ป่วย (ดูSQE.14.1, ME 1 และ SQE.16.1, ME 1)

❏ 5. แผนงานคุณภาพมีหน้าที่ในการสื่อสารประเด็นคุณภาพให้พนักงานทุกคนอย่างสม่ำเสมอ (ดูGLD.4.1, ME 3)

การคัดเลือกตัววัดและการเก็บรวบรวมข้อม

มาตรฐาน QPS.2 บุคลากรแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยสนับสนุนกระบวนการคัดเลือกตัววัดตลอดทั้งโรงพยาบาล และจัดให้มีการประสานงานและการรวบรวมกิจกรรมการวัดตลอดทั้งโรงพยาบาล

เจตจำนงของ QPS.2

การเลือกตัววัดเป็นความรับผิดชอบของคณะผู้นำ ,GLD.จะอธิบายวิธีการที่ 5คณะผู้นำของโรงพยาบาลตัดสินใจ เรื่องการจัดลำดับความสำคัญในการวัดสำหรับโรงพยาบาลทั้งหมด และ ,GLD. และ 11GLD.จะอธิบาย 11.1 ขั้นตอนการคัดเลือกตัววัดสำหรับแต่ละแผนกทางคลินิกและการบริหาร-บริการ ทุกหน่วยงานและการบริการ/ เลือก-จัดการตัววัดที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของพวกเขา ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีโอกาสที่การวัดที่คล้ายกันจะ ได้รับเลือกมากกว่าหนึ่งแผนก ยกตัวอย่างเช่นและแผนกโรคติดเชื้อ ,การควบคุมการติดเชื้อ ,บริการเภสัชกรรม/แผนก ,

แต่ละหน่วยงานอาจให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล แผนงานคุณภาพและความ ปลอดภัยของผู้ป่วยที่อธิบายไว้ในมาตรฐาน QPS นี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้แผนกบริการเหล่านี้เห็นด้วย/ กับวิธีการวัดที่พบบ่อยและจะอำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวัดที่ถูกเลือกแผนงานคุณภาพ และปลอดภัยของผู้ป่วยยังต้องรวบรวมกิจกรรมการวัดทั้งหมดในโรงพยาบาลด้วย รวมทั้งการวัดของวัฒนธรรม ความปลอดภัยและระบบการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์การรวมรวมระบบการวัดทั้งหมดนี้จะทำให้พบ โอกาสสำหรับการแก้ปัญหาแบบบูรณาการและการพัฒนา) 5-3 ดูGLD. (4 )

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.2

❏ 1. แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยสนับสนุนการเลือกการวัดตลอดทั้งโรงพยาบาล ในระดับ โรงพยาบาลและระดับแผนกหรือระดับการให้บริการ

❏ 2. แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยจัดให้มีการประสานงานและการรวบรวมกิจกรรมการวัด ตลอดทั้งโรงพยาบาล

❏ 3. แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยจัดให้มีการรวบรวมของระบบการรายงานเหตุการณ์, การ วัดวัฒนธรรมความปลอดภัย, และอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการแก้ปัญหาแบบบูรณาการและการพัฒนา

❏ 4. แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยมีการติดตามความคืบหน้าในการเก็บรวบรวมข้อมูลการ วัดตามแผนที่เลือกไว้ตามลำดับความสำคัญ

มาตรฐาน QPS.3 แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันเพื่อ สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย, การศึกษาทางวิชาชีพด้านสุขภาพ, การวิจัยทางคลินิกและการบริหารจัดการ ,

เจตจำนงของ QPS.3

ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพ, นักวิจัย, นักศึกษา, และผู้จัดการมักจะต้องใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในงานของตน ข้อมูลดังกล่าว อาจรวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์และการจัดการแนวปฏิบัติทางคลินิก ,, ผลการวิจัยและวิธีการศึกษา , แหล่งค้นห,สื่อสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด ,อินเทอร์เน็ตาออนไลน์และสื่อส่วนบุคคลเป็นแหล่งที่มีคุณค่าของข้อมูลที่เป็น , ) ปัจจุบันดูMMU.1, ME 6;MMU.5.1, ME 6; PCI.3, ME 1; GLD.7; GLD.11.2; และ FMS.5.1, ME 3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.3

❏ 1. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย

❏ 2. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันสนับสนุนการศึกษาทางคลินิก

❏ 3. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันสนับสนุนการวิจัย

❏ 4. ข้อมูลทางวิชาชีพและข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันสนับสนุนการจัดการ

❏ 5. ข้อมูลจะถูกจัดให้อยู่ในกรอบเวลาที่ตรงกับความคาดหวังของผู้ใช้

การวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อมูลการวัด

มาตรฐาน QPS.4 แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยประกอบด้วยการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการ ดูแลผู้ป่วย, การจัดการโรงพยาบาล ,และแผนงานการจัดการคุณภาพ และการมีส่วนร่วมในฐานข้อมูลภายนอก

เจตจำนงของ QPS.4

แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม เพื่อสนับสนุนการดูแล ผู้ป่วยและการจัดการโรงพยาบาล ข้อมูลที่รวบรวมจะบอกรายละเอียดของโรงพยาบาลในช่วงเวลานั้นๆ และ อนุญาตให้มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลกับองค์กรอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการวัด ระดับโรงพยาบาลที่เลือกโดยคณะผู้นำ ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมการพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมข้อมูลจากการบริหารความเสี่ยง, การ จัดการระบบสาธารณูปโภคและการทบทวนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร ,การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ , านข้อมูลภายนอกยังมีสามารถช่วยให้โรงพยาบาลเข้าใจประสิทธิภาพในปัจจุบันและระบุโอกาสสำหรับการพัฒนา ฐ ความสำคัญในการติดตามการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่อธิบายใน SQE.11

โดยการเข้าร่วมฐานข้อมูลภายนอกโรงพยาบาลสามารถเปรียบเทียบตัวเองกับโรงพยาบาลอื่นที่คล้ายคลึงกันใน , มีประสิทธิภาพสำหรับการระบุโอกาสระดับประเทศและต่างประเทศ การเปรียบเทียบเป็นเครื่องมือที่ ,ระดับพื้นที่ ในการพัฒนาและการบันทึกข้อมูลประสิทธิภาพระดับโรงพยาบาล เครือข่ายการดูแลสุขภาพและผู้ซื้อหรือจ่ายเงิน สำหรับการดูแลสุขภาพมักจะขอข้อมูลดังกล่าว ฐานข้อมูลภายนอกแตกต่างอย่างมากจากฐานข้อมูลด้านประกันที่ เก็บรักษาโดยสมาคมวิชาชีพ โรงพยาบาลอาจจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบที่จะนำไปสู่บางฐานข้อมูล ภายนอกในทุกกรณีการรักษาความปลอดภัยและความลับของข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศจะถูกดำรงไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.4

❏ 1. แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยมีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

❏ 2. การรวบรวมข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย, การจัดการโรงพยาบาล, การทบทวน การประกอบวิชาชีพและภาพรวมแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (ดูSQE.11, ME 2 และ MOI.5, MEs 1 และ 4)

❏ 3. ข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศที่สรุปถูกจัดให้แก่หน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล เมื่อมีความจำเป็นตาม กฎหมายหรือกฎระเบียบ ❏ 4. มีกระบวนการที่จะนำไปสู่และเรียนรู้จากฐานข้อมูลภายนอกเพื่อการเปรียบเทียบ (ดูPCI.6 และ PCI.6.1)

❏ 5. มีการรักษาความปลอดภัยและความลับเมื่อมีการนำไปสู่หรือการใช้ฐานข้อมูลภายนอก (ดูMOI.2)

มาตรฐาน QPS.4.1

บุคคลที่มีประสบการณ์ความรู้และทักษะที่เหมาะสม ,รวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ

เจตจำนงของ QPS.4.1

เพื่อที่จะไปถึงข้อสรุปและเพื่อการตัดสินใจ ข้อมูลจะต้องถูกรวบรวมวิเคราะห์และแปลงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ , ารข้อมูลมีทักษะในด้านวิธีการการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เข้าใจการจัดกรวบรวมข้อมูลและรู้วิธีการใช้ เครื่องมือทางสถิติต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีการรายงานให้กับบุคคลที่รับผิดชอบในกระบวนการหรือผล ที่ถูกวัด และผู้ที่สามารถดำเนินการกับผลลัพธ์ที่ได้บุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นทางคลินิกรหรือทั้งการบริหารจัดการ

สองประเภทรวมกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้ได้รับการตอบกลับของข้อมูลการจัดการคุณภาพอย่าง ต่อเนื่อง ที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นตัดสินใจและปรับปรุงกระบวนการทางคลินิกและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคทางสถิติเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปรผล การเปลี่ยนแปลงและการตัดสินใจจุดที่ต้องการปรับปรุง แผนภูมิเส้นกราฟฮิสโตแกรมและแผนภูมิ,แผนภูมิควบคุม , พาเรโตเป็นตัวอย่างของเครื่องมือทางสถิติที่มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง แลสุขภาพการดู

แผนงานคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดวิธีการที่มักจะใช้รวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ของ กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือขอบเขตการวัดและความถี่ของการวัด ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการควบคุมคุณภาพ ห้องปฏิบัติการทางคลินิกอาจจะวิเคราะห์รายสัปดาห์เพื่อให้ตรงกับระเบียบข้อบังคับในประเทศ และข้อมูลผู้ป่วย พลัดตกหกล้มอาจได้รับการวิเคราะห์รายเดือนถ้าการพลัดตกหกล้มมีไม่บ่อยนัก ดังนั้นการรวบรวมข้อมูล ณ จุด เวลาจะช่วยให้โรงพยาบาลพิจารณาความคงที่ของกระบวนการที่เจาะจง หรือการคาดการณ์ของผลที่เจาะจงในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหมาย

เป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะสามารถเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลคือสี่วิธี:

1) เปรียบเทียบกับตัวเองในช่วงเวลา เช่นเดือนต่อเดือนหรือหนึ่งปีถัดไป

2) เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นผ่านฐานข้อมูลอ้างอิง

3) เปรียบเทียบกับมาตรฐาน เช่นมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรที่รับรองและองค์กรวิชาชีพ หรือกำหนดโดย กฎหมายหรือกฎระเบียบ

4) เปรียบเทียบกับการปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับซึ่งระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการปฏิบัติหรือแนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุดหรือดีกว่า

การเปรียบเทียบเหล่านี้ช่วยให้โรงพยาบาลเข้าใจที่มาและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์และช่วยใน การมุ่งเน้นการพัฒนา )ดูGLD.(5

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.4.1

❏ 1. ข้อมูลได้รับการรวบรวม, วิเคราะห์และแปลงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการระบุโอกาสในการพัฒนา (ดูPCI.6, ME 2)

❏ 2. บุคคลที่มีประสบการณ์ความรู้และทักษะทางคลินิกหรือการบริหารจัดการที่เหมาะสมมีส่วนร่วมใน กระบวนการ

❏ 3. เครื่องมือและเทคนิคทางสถิติถูกใช้ในกระบวนการวิเคราะห์เมื่อเหมาะสม

❏ 4. ความถี่ของการวิเคราะห์ข้อมูลเหมาะสมกับกระบวนการหรือผลลัพธ์ที่ศึกษา (ดูQPS.8)

❏ 5. มีการรายงานผลการวิเคราะห์ไปยังผู้รับผิดชอบเพื่อการดำเนินการ (ดูGLD.1.2, ME 2)

❏ 6. การวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนการเปรียบเทียบภายในช่วงเวลา รวมทั้งการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ องค์กรที่คล้ายกัน, การปฏิบัติที่ดีที่สุด, และแหล่งข้อมูลวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์ (ดูPCI.6.1, ME 2)

มาตรฐาน QPS.5 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลครอบคลุมถึงผลกระทบของการพัฒนาที่สำคัญระดับโรงพยาบาลในเรื่องค่าใช้จ่ายและ ประสิทธิภาพ กำหนดให้มีอย่างน้อยหนึ่งเรื่องต่อป

เจตจำนงของ QPS.5 แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยรวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาที่ความสำคัญได้รับ การสนับสนุนโดยคณะผู้นำ) ดูGLD.5, ME 4) ตัวอย่างเช่น มีหลักฐานสนับสนุนว่าการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกที่ สร้างมาตรฐานการดูแลมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพของการดูแลและลดระยะเวลาการอยู่ โรงพยาบาล ซึ่งในที่สุดจะช่วยลดค่าใช้จ่าย บุคลากรแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นผู้พัฒนา เครื่องมือเพื่อประเมินการใช้ทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการ และประเมินซ้ำในการใช้ทรัพยากรสำหรับการปรับปรุง กระบวนการ ทรัพยากรอาจจะหมายถึงมนุษย์)ตัวอย่างเช่น เวลาที่ใช้แต่ละขั้นตอนในกระบวนการหรืออาจ ( เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีหรือทรัพยากรอื่น ๆเคราะห์จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการวิ 8-6 ประสิทธิภาพของผลกระทบและค่าใช้จ่าย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.5

❏ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและประเภทของการใช้ทรัพยากรได้รับการรวบรวมจากโครงการพัฒนาที่สำคัญ ระดับโรงพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งโครงการ ทั้งก่อนและการติดตามการพัฒนา

❏ 2. เจ้าหนาที่แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่นทรัพยากร มนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการเงินในการพิจารณาข้อมูลที่จะเก็บ

❏ 3. ผลการวิเคราะห์ถูกใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ และรายงานผ่านกระบวนการการประสานงานด้าน คุณภาพไปที่คณะผู้นำ

มาตรฐาน QPS.6 โรงพยาบาลใช้กระบวนการภายในเพื่อตรวจสอบข้อมูล P

เจตจำนงของ QPS.6

แผนงานการพัฒนาคุณภาพเป็นเพียงข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวม หากข้อมูลมีข้อบกพร่องความพยายามในการพัฒนา คุณภาพจะไม่ได้ผล ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของการวัดจึงเป็นหลักของการพัฒนาทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลที่ดีเป็นประโยชน์ได้รับการเก็บรวบรวม จะต้องมีกระบวนการ,ตรวจสอบข้อมูลภายในหรือภายนอก

การตรวจสอบข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดเมื่อ

a) มีการวัดใหม่ที่จะดำเนินการ (โดยเฉพาะการวัดทางคลินิกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยโรงพยาบาลในการ ประเมินและปรับปรุงกระบวนการหรือผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ);

b) ข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชนบนเว็บไซต์ของโรงพยาบาลหรือในรูปแบบอื่น ๆ;

c) มีการเปลี่ยนแปลงการวัดที่มีอยู่ เช่นมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือมีการ เปลี่ยนแปลงกระบวนการสรุปข้อมูลหรือผู้สรุป;

d) ข้อมูลที่เป็นผลจากการวัดที่มีอยู่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่อธิบายไม่ได้;

e) แหล่งข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เช่นเมื่อส่วนหนึ่งของการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยเปลี่ยนเป็นรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์และทำให้แหล่งข้อมูลอยู่ทั้งอิเล็กทรอนิกส์และกระดาษ; หรือ

f) หัวข้อของการเก็บรวบรวมข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเปลี่ยนแปลงในอายุเฉลี่ยของผู้ป่วย, โรค ประจำตัว, การเปลี่ยนแปลงของระเบียบการวิจัย, ใช้แนวทางปฏิบัติใหม่, หรือมีการแนะนำการใช้ เทคโนโลยีและวิธีการรักษาใหม

การตรวจสอบข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจคุณภาพของข้อมูลและการสร้างระดับของความ เชื่อมั่นของผู้มีอำนาจตัดสินใจในข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลกลายเป็นหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการของการ จัดลำดับความสำคัญสำหรับการวัด ,การวิเคราะห์ข้อมูล ,การดึงหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล ,การเลือกสิ่งที่จะวัด , าและการใช้สิ่งที่พบเพื่อการพัฒน

เมื่อโรงพยาบาลมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางคลินิกหรือพื้นที่อื่น ๆ หรือใน ,ความปลอดภัยของผู้ป่วย , วิธีอื่น ๆ ที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะ เช่นบนเว็บไซต์ของโรงพยาบาล โรงพยาบาลต้องมีจริยธรรมในการให้ สาธารณชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องคณะผู้นำของโรงพยาบาลมีหน้าที่ในการทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลได้รับการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของการวัดและคุณภาพของข้อมูลสามารถสร้างผ่านกระบวนการตรวจสอบข้อมูล ภายในของโรงพยาบาล หรืออีกทางเลือกหนึ่งสามารถทำโดยบุคคลที่สามที่เป็นอิสระเช่นบริษัทภายนอกที่ทำ สัญญากับโรงพยาบาล (ดูGLD.6)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.6

❏ 1. การตรวจสอบข้อมูลถูกใช้โดยแผนงานคุณภาพเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาที่เลือกโดย คณะผู้นำ

❏ 2. ข้อมูลได้รับการตรวจสอบเมื่อพบเงื่อนไขใด ๆใน a) ถึง f) ในเจตจำนง

❏ 3. มีการใช้วิธีการที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการตรวจสอบข้อมูล

❏ 4. คณะผู้นำของโรงพยาบาลมีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลคุณภาพและผลลัพธ์ที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชน

มาตรฐาน QPS.7 โรงพยาบาลใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อการระบุและการจัดการเหตุการณ์พึงสังวร è P

เจตจำนงของ QPS.7

เหตุการณ์พึงสังวรคืออุบัติการณ์ที่ไม่คาดคิดที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บทางกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง การบาดเจ็บทางร่างกายที่รุนแรง รวมถึงการสูญเสียอวัยวะหรือการทำงานของอวัยวะ เหตุการณ์ดังกล่าวเรียกว่า พึงสังวรเพราะสิ่งเหล่านั้นส่งสัญญาณความจำเป็นในการตรวจสอบและการตอบสนองโดยทันทีแต่ละโรงพยาบาล กำหนดนิยามของเหตุการณ์พึงสังวร ที่อย่างน้อยรวมถึง

a) การเสียชีวิตที่ไม่คาดคิดซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียง,

• การเสียชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยหรือสภาวะโรคประจำตัว (ตัวอย่างเช่นการเสียชีวิตจากการติดเชื้อหลังการผ่าตัดหรือภาวะลิ่มเลือดในปอดจาก โรงพยาบาล);

• การเสียชีวิตของทารกคลอดครบกำหนด; และ

• ฆ่าตัวตาย

b) สูญเสียการทำงานหลักอย่างถาวร ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเจ็บป่วยหรือสภาวะโรคประจำตัว ของผู้ป่วย;

c) ผ่าตัดผิดข้าง, ผิดหัตถการ, ผิดผู้ป่วย;

d) การแพร่กระจายของโรคเรื้อรังหรือร้ายแรงหรือเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากการรับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือด หรือปลูกอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ปนเปื้อน;

e) การลักพาตัวทารกหรือเด็กทารกถูกส่งกลับบ้านให้ผิดพ่อแม่; และ

f) ข่มขืน, ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน เช่นการทำร้าย (ที่นำไปสู่การเสียชีวิตหรือสูญเสียหน้าที่อวัยวะอย่าง ถาวร);หรือฆาตกรรม (การฆ่าโดยเจตนา) ของผู้ป่วย,พนักงาน, ผู้ปฏิบัติงาน, นักศึกษาแพทย์, ผู้ฝึกงาน, ผู้ เยี่ยม, หรือผู้ขายในขณะที่อยู่ในพื้นที่โรงพยาบาล (ดูSQE.8.2)

คำนิยามเหตุการณ์พึงสังวรของโรงพยาบาล ประกอบด้วย a (f ถึง (และอาจรวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่กฎหมาย หรือกฎระเบียบหรือทบทวนโดยโรงพยาบาลตามความเหมาะสมที่จะเพิ่มรายการของเหตุการณ์พึงสังวร เหตุการณ์ ทั้งหมดที่พบตามเหตุการณ์พึงสังวร จะต้องได้รับการประเมินโดยการดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุรากที่น่าเชื่อถือ รายละเอียดที่ถูกต้องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นในการวิเคราะห์สาเหตุรากที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นการ วิเคราะห์สาเหตุรากจะต้องมีการดำเนินการโดยเร็วหลังจากเกิดเหตุการณ์ถ้าเป็นไปได้การวิเคราะห์และการ วางแผนต้องเสร็จสมบูรณ์ภายใน วัน 45จากวันที่เกิดเหตุการณ์หรือรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป้าหมายของการ ดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุรากเพื่อให้โรงพยาบาลทำความเข้าใจต้นกำเนิดของเหตุการณ์ได้ดีขึ้น เมื่อการวิเคราะห์ สาเหตุรากแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงระบบหรือการดำเนินการอื่น ๆ สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการ เกิดซ้ำของเหตุการณ์พึงสังวรดังกล่าวได้โรงพยาบาลจะออกแบบกระบวนการใหม่และดำเนินการอื่นใด ๆก็ตามที่มี ความเหมาะสมที่ควรทำ) 14-12 ดู(IPSG.3

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทราบว่าเหตุการณ์พึงสังวรและความผิดพลาดทางการแพทย์ไม่ได้มีความหมายเหมือนกัน ไม่ใช่ ความผิดพลาดทั้งหมดจะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์พึงสังวร หรือเหตุการณ์พึงสังวรไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เป็นผลมาจาก ความผิดพลาด การระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์พึงสังวรไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ของความรับผิดตามกฎหมาย )ดู(GLD.4.1, ME 2 และ QPS.11

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.7

❏ 1. ผู้นำโรงพยาบาลกำหนดนิยามของเหตุการณ์พึงสังวรโดยอย่างน้อยประกอบด้วย a) ถึง f) ที่แสดงใน เจตจำนง

❏ 2. โรงพยาบาลวิเคราะห์สาเหตุรากของเหตุการณ์พึงสังวรทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์และในช่วงเวลาที่ระบุโดย คณะผู้นำโรงพยาบาล ซึ่งไม่เกิน 45 วันนับจากวันที่เกิดเหตุการณ์หรือเมื่อรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

❏ 3. การวิเคราะห์สาเหตุรากระบุต้นกำเนิดของเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่การปรับปรุงและ / หรือการ ดำเนินการเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำของเหตุการณ์พึงสังวร

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลดำเนินการเกี่ยวกับผลของการวิเคราะห์สาเหตุราก

มาตรฐาน QPS.8

ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์เสมอเมื่อมีแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์ที่เห็นได้ชัดเจนจากข้อมูลè P

เจตจำนงของ QPS.8

โรงพยาบาลต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันของการให้บริการดูแลผู้ป่วยเป็น ระยะ ๆ เพื่อที่จะทำเช่นนั้นจะต้องมีกลไกของการรายงานผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริการมีคุณภาพ สิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยจะต้องได้รับการระบุและติดตาม ควรจะต้องมีการเก็บ รวบรวมข้อมูลที่เพียงพอเพื่อตรวจจับแนวโน้มและรูปแบบ และจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความถี่และ/หรือความเสี่ยง ของการบริการสำหรับผู้ป่วย (ดูMMU.7.1; QPS.4.1, ME 4; QPS.11)

a) การยืนยันการเกิดปฏิกิริยาจากการถ่ายเลือดทั้งหมด, หากใช้บังคับกับโรงพยาบาล (ดูCOP.3.3)

b) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์รุนแรงจากการใช้ยาทั้งหมด, หากใช้บังคับและตามที่กำหนดโดยโรงพยาบาล (ดู MMU.7, ME 3)

c) ความผิดพลาดที่เกี่ยวกับยาที่มีนัยสำคัญทั้งหมด, หากใช้บังคับและตามที่กำหนดโดยโรงพยาบาล (ดู MMU.7.1, ME 2)

d) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการวินิจฉัยก่อนการผ่าตัดและหลังผ่าตัดทั้งหมด; ตัวอย่างเช่นการวินิจฉัย ก่อนการผ่าตัดว่ามีการอุดตันของลำไส้และการวินิจฉัยหลังผ่าตัดว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่อง ท้องแตก

e) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือรูปแบบของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในขณะทำให้สงบเพื่อทำหัตถการโดยไม่ คำนึงถึงการบริหารยา (ดูASC.3.2 และ ASC.5)

f) เหตุการณ์หรือรูปแบบไม่พึงประสงค์ในระหว่างการระงับความรู้สึกโดยไม่คำนึงถึงการบริหารยา

g) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่นการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและการระบาดของ โรคติดเชื้อ (ดูPCI.7.1, ME 6)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.8

❏ 1. กระบวนการรวบรวมข้อมูลที่กำหนดมีการพัฒนาและดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าการรวบรวมข้อมูล, การวิเคราะห์, และการรายงานมีความถูกต้อง

❏ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลที่จริงจังเกิดขึ้นเมื่อระดับ,รูปแบบ,หรือแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น

❏ 3. การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลมีการดำเนินการตามรายการ a) ถึง g) ในเจตจำนง

❏ 4. ผลการวิเคราะห์ถูกใช้ในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของการบริการ, การ รักษา, หรือการทำงาน (ดูPCI.10, ME 3)

❏ 5. ข้อมูลผลลัพธ์ได้รับการรายงานไปยังนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนา คุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (ดูGLD.4.1, ME 1)

มาตรฐาน QPS.9

องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อการระบุและวิเคราะห์เหตุการณ์เกือบพลาด

เจตจำนงของ QPS.9

ในความพยายามที่จะเรียนรู้เชิงรุกที่ที่ระบบอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น โรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ระบุว่าเป็นเหตุการณ์เกือบพลาดเหล่านั้นและ ประเมินเหตุการณ์เหล่านั้นเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจริง อันดับแรก ,โรงพยาบาลต้องกำหนดนิยามและประเภท ของเหตุการณ์เกือบพลาดที่ต้องรายงาน เหตุการณ์เกือบพลาดสามารถนำไปใช้ได้มากกว่าความผิดพลาดที่ เกี่ยวกับยา เหตุการณ์เกือบพลาดยังรวมถึงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ประเภทอื่น ๆ ประการที่สองต้องมี ,กลไกการ รายงาน และท้ายที่สุดต้องมีกระบวนการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง กระบวนการเชิงรุกซึ่งจะลดหรือขจัดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือเหตุการณ์เกือบพลาด (ดูMMU.7.1 และ QPS.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.9

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดนิยามของเหตุการณ์เกือบพลาด (ดูMMU.7.1, ME 1)

❏ 2. โรงพยาบาลกำหนดประเภทของเหตุการณ์ที่ต้องรายงาน

❏ 3. โรงพยาบาลสร้างกระบวนการสำหรับการรายงานเหตุการณ์เกือบพลาด ( ดูMMU.7.1, ME 2)

❏ 4. ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์และการดำเนินการเพื่อลดเหตุการณ์เกือบพลาด (ดูMMU.7.1, ME 4)

การเพิ่มพูนและธำรงการพัฒนา

มาตรฐาน QPS.10 การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยบรรลุผลและยั่งยืน

เจตจำนงของ QPS.10

ข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ในการระบุการพัฒนาที่อาจเป็นไปได้หรือเพื่อลด (หรือป้องกัน) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ข้อมูลการวัดที่ทำเป็นประจำเช่นเดียวกับข้อมูลจากการประเมินอย่างละเอียดนำไปสู่ความ เข้าใจในการพัฒนาที่ควรมีการวางแผนและสิ่งที่ความสำคัญควรจะให้การพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาที่มี การวางแผนสำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลที่ความสำคัญจะระบุโดยผู้นำโรงพยาบาล

หลังจากมีการวางแผนการพัฒนา ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมในขณะที่มีการทดสอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าการ เปลี่ยนแปลงจากการวางแผนเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้จริง เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาจะยั่งยืน ข้อมูลการวัดจะถูก เก็บรวบรวมเพื่อการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพจะรวมอยู่ในกระบวนการดำเนินงาน ที่มีมาตรฐานและการให้ความรู้พนักงานที่จำเป็นใด ๆ จะได้รับการดำเนินการ โรงพยาบาลบันทึกการพัฒนาที่ ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการจัดการและพัฒนาคุณภาพ (ดูGLD.11,ME 4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.10

❏ 1. การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยได้รับการวางแผน, การทดสอบ, และดำเนินการ

❏ 2. ข้อมูลใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าการพัฒนามีประสิทธิภาพและยั่งยืน (ดูGLD.11, ME 3)

❏ 3. การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จำเป็นเพื่อการวางแผน, เพื่อดำเนินการ, และเพื่อดำรงไว้ซึ่งการพัฒนาได้รับ การดำเนินการ

❏ 4. ความสำเร็จของการพัฒนาได้รับการบันทึกไว้

มาตรฐาน QPS.11

แผนงานการบริหารความเสี่ยงที่ทำอย่างต่อเนื่องใช้เพื่อการระบุและลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่คาดคิดและ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่น ๆที่มีผลต่อผู้ป่วยและพนักงานในเชิงรุกè P

เจตจำนงของ QPS.11 มีความเสี่ยงหลายประเภทที่สามารถมีผลกระทบต่อโรงพยาบาล ประเภทของความเสี่ยงเหล่านี้ประกอบด้วย

• กลยุทธ์(ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร);

• การดำเนินงาน (แผนพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร); • การเงิน (การป้องกันสินทรัพย์);

• การปฏิบัติตาม (การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ); และ

• ชื่อเสียง (ภาพการรับรู้ของสาธารณชน)

โรงพยาบาลจำเป็นต้องนำแนวทางเชิงรุกมาใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยงที่ประกอบด้วยการพัฒนากลยุทธ์การลด ความเสี่ยงโดยมีเป้าหมายเพื่อลดหรือขจัดผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายของความเสี่ยงที่ทราบหรือที่เป็นไปได้15-17 วิธีการหนึ่งคือแผนงานการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นทางการที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ a) การระบุความเสี่ยง; b) การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง; c) การรายงานความเสี่ยง; d) การจัดการความเสี่ยง รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง (ดูMMU.7.1, QPS.7, QPS.8, และ QPS.9); และ e) การจัดการการเรียกร้องที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบสำคัญของการบริหารความเสี่ยงคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่นกระบวนการในการประเมินเหตุการณ์ เกือบพลาดและกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงอื่น ๆที่มีความล้มเหลวจะส่งผลในเหตุการณ์พึงสังวร มีเครื่องมือ หลายตัวที่สามารถช่วยในการวิเคราะห์เชิงรุกของผลกระทบของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการวิกฤต,มี ความเสี่ยงสูง ตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA) และการวิเคราะห์ความเสี่ยงอันตราย (HVA) เป็นเครื่องมือสองตัวที่ใช้โดยทั่วไป

เพื่อการใช้เครื่องมือเหล่านี้หรือที่คล้ายกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความ เสี่ยงแต่ละประเภทและจัดลำดับความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบมากที่สุดต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและพนักงาน เช่นเดียวกับคุณภาพและความปลอดภัยของการดูแลผู้ป่วย ข้อมูลนี้ควรนำมาใช้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการ จัดสรรทรัพยากรในการวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงที่สูงที่สุดและดำเนินการเพื่อออกแบบกระบวนการหรือการ ดำเนินการที่คล้ายกันเพื่อลดความเสี่ยงในกระบวนการ กระบวนการลดความเสี่ยงนี้จะดำเนินการอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต่อปีและได้รับการบันทึกไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ QPS.11

❏ 1. กรอบการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลประกอบด้วย a) ถึง e) ในเจตจำนง

❏ 2. คณะผู้นำระบุและจัดลำดับความเสี่ยงที่อย่างน้อยเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์, การเงิน, และการดำเนินงานของ โรงพยาบาล

❏ 3. อย่างน้อยเป็นประจำทุกปี, การดำเนินการลดความเสี่ยงเชิงรุกได้รับการดำเนินการโดยใช้หนึ่งใน กระบวนการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง

❏ 4. กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการออกแบบใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ผลการทดสอบ