RM ระบบบริหารความเสี่ยง

ระบบบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพ

(Risk, Safety, and Quality Management System)

(1) มีการประสานงานและประสานความร่วมมือที่ดีระหว่างโปรแกรมบริหารความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารความเสี่ยง

(2) มีการค้นหาความเสี่ยงทางด้านคลินิกและความเสี่ยงทั่วไป ในทุกหน่วยงานและในทุกระดับ จัดลำดับความสำคัญ เพื่อกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยและมาตรการป้องกัน

(3) มีการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม สื่อสารและสร้างความตระหนักอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ได้ผล

(4) มีระบบรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์เกือบพลาดที่เหมาะสม มีการวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้เพื่อการประเมินผล ปรับปรุง เรียนรู้ และวางแผน

(5) มีการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง (root cause) เพื่อค้นหาปัจจัยเชิงระบบ ที่อยู่เบื้องหลัง และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เหมาะสม

(6) มีการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และนำไปสู่การปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ความคาดหวังที่จะดู

  • ประสิทธิภาพในการตรวจจับและแก้ไขปัญหา

กระบวนการ : การเฝ้าระวังปัญหา, การจัดการกับเหตุการณ์เบื้องต้น, การรายงาน, การลดความสูญเสีย, การวิเคราะห์สาเหตุ, การวางแนวทางเพื่อป้องกัน

ผลลัพธ์ :ตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว, ควบคุมความสูญเสียได้, โอกาสเกิดซ้ำอยู่ในระดับต่ำ

  • ประสิทธิภาพในการป้องกันและจัดการกับความเสี่ยง

กระบวนการ : การวิเคราะห์ความเสี่ยง, การกำหนดมาตรการป้องกัน, การสร้างความตระหนัก, การเฝ้าระวัง/ระบบรายงาน, การจัดการกับความสูญเสีย/เสียหาย, การจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารความ

เสี่ยง, การเชื่อมโยงโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง, การประเมินประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ : ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ, ความสูญเสีย/ความเสียหายอยู่ในระดับต่ำ

ความคาดหวังคุณภาพการดูแล

  • ความครอบคลุมของกิจกรรมคุณภาพด้านคลินิกบริการ ทั้งประเภทของกิจกรรม กลุ่มผู้ป่วย หน่วยงาน และบุคคลที่เข้าร่วมทำกิจกรรม

กระบวนการ :การวิเคราะห์โรคและหัตถการเพื่อหาโอกาสพัฒนา, การค้นหาแหล่งข้อมูล scientific evidence/recommendation, การเปรียบเทียบช่องว่างระหว่างความรู้กับการปฏิบัติ, การวางแผนและทดลองปรับปรุง, การวัดผล, การขยายผล, การติดตามเครื่องชี้วัดทางคลินิกเฉพาะโรค

ผลลัพธ์ : มีกิจกรรมคุณภาพด้านคลินิกบริการครอบคลุมโรคและหัตถการที่สำคัญ, มีการเปลี่ยน

แปลงระดับคุณภาพด้านคลินิกบริการที่เห็นได้ชัดเจน, ผู้เกี่ยวข้องมีเจตคติที่ดีต่อการร่วมทำกิจกรรม

ทีมที่เกี่ยวข้อง

  • ทีม RM

  • ทีมนำเฉพาะด้านต่างๆ

  • หน่วยงาน/ทีมงานประจำวัน

บทบาทคณะกรรมการ RM

  • กำหนดทิศทาง นโยบายและติดตามประเมินผลว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด

  • สามารถป้องกันและจัดการกับความเสี่ยงหรือความสูญเสียได้ดีเพียงใด

  • ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงกิจกรรมและข้อมูลข่าวสารระหว่างโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงทั้งโรงพยาบาล

  • ให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจ และสงบความไม่พึงพอใจแก่ผู้สูญเสียให้เร็วที่สุด

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

ค้นหา ประเมิน จัดระบบป้องกัน/แก้ไข ติดตามประเมิน/เฝ้าระวัง

การค้นหาความเสี่ยง

  • ค้นเชิงรุก

  • ค้นในเชิงตั้งรับ

การค้นหาความเสี่ยงเชิงตั้งรับ จากบันทึกที่มีอยู่แล้ว

§ บันทึกการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

§ รายงานการตรวจสอบเพื่อป้องกันอัคคีภัย

§ รายงานยาเสพติด

§ บันทึกการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

§ รายงานการควบคุมคุณภาพของอาหาร

§ รายงานด้านอาชีวอนามัย

§ รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

§ รายงานการตรวจสอบความปลอดภัยด้านรังสีวิทยา

§ รายงานอุบัติการณ์

§ รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล

§ บันทึกประจำวันของหน่วยงาน

§ รายงานเวรตรวจการ

§ รายงานของหน่วยรักษาความปลอดภัย

การค้นหาความเสี่ยงทางคลินิก

  • ค้นหาจากกระบวนการดูแลผู้ป่วย

  • ประสบการณ์ในอดีตของตนเองหรือผู้อื่น เช่น รายงานอุบัติการณ์ ข่าวเหตุการณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์

  • ผลการวิจัยในวารสารวิชาการต่างๆ

  • ทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการหาความเสี่ยงจากกระบวนการดูแลผู้ป่วย (ค้นหาเชิงรุก)

  • patient round เป็นการค้นหาความเสี่ยงจากผู้ป่วยที่กำลังนอนอยู่ เช่น C3THER , nursing round ,grand round เป็นต้น

  • chart round เป็นการสุ่มเวชระเบียนมาอ่าน มาทบทวนว่าเรามีอะไรที่อาจหลุดหรือผิดพลั้งไป มีอะไรที่ไม่ได้สื่อสารกันหรือดูแลไม่สอดคล้องกัน ควรทำให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แพทย์ดูของแพทย์ พยาบาลดูเองพยาบาล เมื่อไรเห็นควรจะมาทบทวนร่วมกันก็นัดมาคุยกัน

จะหาความเสี่ยงได้อย่างไร

  • disease round เป็นการเอาโรคเป็นตัวตั้ง พิจารณาว่าประเด็นสำคัญโรคนี้มีอะไรบ้าง จะดูแลตรงไหนให้ดีขึ้นอย่างไร ( ซึ่งอาจใช้แนวคิดองค์รวม ใช้เครื่องชี้วัด ใช้ความรู้ทางวิชาการที่เปลี่ยนไป หรือใช้การทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มาจุดประกายการพัฒนา)

  • การทบทวน 12 กิจกรรมตามบันไดขั้นที่ 1

การทบทวน 12 กิจกรรม เป็นกลไกตรวจจับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

  • การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย : เป็นการตรวจหาปัญหาในเรื่องความเหมาะสมของการดูแลผู้ป่วย อาจจะพบเหตุเกือบพลาดหรือภาวะแทรกซ้อนและสามารถแก้ไขได้ในทันที

  • การทบทวนการส่งต่อ/ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา : เป็นการตรวจหาปัญหาในเรื่อง competency ขององค์กร รวมทั้งความไม่พึงพอใจ ซึ่งอาจจะแฝงอยู่

  • การค้นหาและป้องความเสี่ยง : เป็นการทบทวนประสบการณ์ในหน่วยงานของตนเองและองค์กรอื่น รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์ก่อน ทีมงานอาจจะนำเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่อื่นมาพิจารณาในเชิงรุก โดยการถามว่า “เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในองค์กรของเราได้หรือไม่” ถ้ามีโอกาสก็หาทางป้องกันโดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์นั้นก่อน

  • การป้องกันและการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล : เป็นการตรวจหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เฉพาะระบบการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

  • การป้องกันและเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา: เป็นการตรวจหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หรือ เหตุเกือบพลาดเฉพาะระบบยา

  • การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ที่มิใช่แพทย์ : เป็นการตรวจหาปัญหาในเรื่อง competency ของผู้ประกอบวิชาชีพ รวมทั้งเป็นการรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นเนื้อหาในการพัฒนา competency หรือการจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม

  • การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ : เป็นการตรวจหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง เช่น การเสียชีวิต การเกิดภาวะแทรกซ้อน

  • การทบทวนความสมบูรณ์เวชระเบียน : เป็นการตรวจหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หรือ เกือบพลาด ซึ่งบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การทบทวนหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยแล้วจะทำให้ตรวจจับเหตุการณ์ที่อาจหลุดรอดไปจากรายงานอุบัติการณ์

  • การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ : เป็นการหาโอกาสปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยเชิงรุกโดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

  • การติดตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญ : เป็นการศึกษา performance ของระบบว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจหรือไม่

  • การทบทวนความคิดเห็น/ข้อร้องเรียน : เป็นการรับทราบความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยอาจมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงถึงระดับรุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็นความไม่พึงพอใจในระดับใดก็สามารถสะท้อนปัญหาเชิงระบบขององค์กรได้

RM8 Clinical risk

Risk Identification & Analysis

ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดที่หามาได้

บ่งชี้ให้ได้ว่า specified events เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

บอกระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมาได้

มีการอธิบายหรือคาดการณ์ความรุนแรงของความเสี่ยงได้

มีการ identification เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (undesired events) ได้ชัดเจน และวิเคราะห์หาสาเหตุได้

Risk Evaluation & Assessment

ให้ชัดว่าจะ priorities ของการจัดการความเสี่ยงอย่างไร โดยเทียบ level of risk เทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ใช้

เปรียบเทียบผลของการวิเคราะห์ว่ายังเกิดซ้ำหรือ severity ลดลงหรือไม่ อย่างไร

เทคนิคการป้องกันความผิดพลาด

บุคลากรมีความรู้ที่เพียงพอ

ลดความซ้ำซ้อน

ทดลองก่อนเปลี่ยนแปลงระบบ

ลดความเครียด

การประเมินผล

  • การทบทวนระบบ/กระบวนการที่ได้วางไว้

  • ทบทวนผลลัพธ์

อุบัติการณ์/อุบัติเหตุ

ทบทวนการดูแลผู้ป่วย

ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับความเสี่ยงสำคัญ

การประเมินความเสี่ยง

  • เป้าหมายเพื่อ ; สามารถ

บอกระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมาได้

มีการอธิบายหรือคาดการณ์ความรุนแรงของความเสี่ยงได้

  • มีวิธีการประเมินความรุนแรงความเสี่ยงอย่างไร ?