7 การจัดการด้านยาและการใช้ยา (MMU)

ภาพรวม

ยาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วย และใช้ในการวินิจฉัย การรักษาตามอาการ การป้องกัน การรักษา การบรรเทา และการบำบัดรักษาโรค และสภาวะต่าง ๆ ระบบยาซึ่งถูกสนับสนุนด้วยการจัดการ ด้านยาที่เหมาะสม จะต้องรวมกระบวนการในการใช้ยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ โดยการยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ ที่จะประยุกต์หลักการของการออกแบบกระบวนการที่มีประสิทธิผล การนำไปปฏิบัติ และการปรับปรุง ไปใช้ในการคัดเลือก การจัดหา การเก็บรักษา การสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่ง การกระจายยา การเตรียมยา การจ่ายยา การบริหารยา การบันทึก และการเฝ้าติดตามการ ใช้ยา กระบวนการจัดการด้านยาที่ดี เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยมีความเป็นสากล แม้ว่าบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบริการสุขภาพในการจัดการ ด้านยาในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน

หมายเหตุ : ยา ความหมายถึง ยาที่แพทย์สั่งใช้ยาตัวอย่าง ยาสมุนไพร วิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาที่ สามารถซื้อได้เองจากร้านขายยา วัคซีน หรือสารทึบรังสีและวินิจฉัย ที่ใช้กับบุคคล หรือให้แก่บุคคล เพื่อวินิจฉัย เพื่อรักษา หรือเพื่อป้องกันโรคหรือสภาวะผิดปกติอื่น ๆ สารเภสัชรังสีการบำบัดรักษาทาง เดินหายใจ สารอาหาร ทางหลอดเลือดดำ ผลิตภัณฑ์จากเลือด และสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (ไม่ได้ผสมหรือผสมสารละลายอิ เล็กโทรไลต์และ/หรือ ผสมยาร่วมด้วย) และสารละลายที่บริหารให้ผู้ป่วย ระหว่างการผ่าตัด หรือการทำหัตถการ แบบ invasive

หมายเหตุ ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

องค์กรและการจัดการ

MMU.1 การใช้ยาในโรงพยาบาลถูกจัดการให้ตอบสนองต่อความจำเป็นของผู้ป่วย ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมาย และ ระเบียบข้อบังคับ และภายใต้การกำกับดูแลของเภสัชกรผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบ วิชาชีพอื่นที่ได้รับการอบรม P

MMU.1.1 โรงพยาบาลพัฒนาและใช้แผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (Antibiotic Stewardship)

การคัดเลือกและการจัดหายา

MMU.2 การเก็บสำรองยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาล และมีกระบวนการในการจัดหายาที่ไม่ได้สำรอง หรือเป็นยาที่ ปกติมีในโรงพยาบาล หรือในช่วงเวลาที่ฝ่ายเภสัชกรรมปิดให้บริการ P

MMU.2.1 โรงพยาบาลมีวิธีในการตรวจตราบัญชียาในโรงพยาบาล และการใช้ยา

การจัดเก็บยา

MMU.3 ยาถูกเก็บอย่างเหมาะสมและปลอดภัย P

MMU.3.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการจัดการยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งต้องการการจัดการพิเศษ P

MMU.3.2 โรงพยาบาลมีการสำรองยาฉุกเฉินไว้พร้อมใช้มีกระบวนการเก็บรักษา การติดตาม และความ ปลอดภัยเหมือนกันเมื่อจัดเก็บนอกฝ่ายเภสัชกรรม P

MMU.3.3 โรงพยาบาลมีระบบการเรียกคืนยา P

การสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่งการใช้ยา

MMU. 4 โรงพยาบาลกำหนดนโยบาย หรือกระบวนการ ในการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยา และการถ่ายทอดคำสั่งการ ใช้ ยา P

MMU.4.1 โรงพยาบาลกำหนดองค์ประกอบในการสั่งยาและใบสั่งยาที่สมบูรณ์ P

MMU.4.2 โรงพยาบาลบ่งชี้ผู้มีคุณสมบัติซึ่งได้รับอนุญาตให้สั่งใช้ยาได้

MMU.4.3 ยาที่ถูกสั่งใช้และบริหารให้แก่ผู้ป่วยจะต้องมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

การเตรียมยาและการจ่ายยา

MMU.5 ยาจะต้องถูกเตรียม และจ่ายในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และปลอดภัย

MMU.5.1 มีการทบทวนความเหมาะสมของคำสั่งใช้ยา P

MMU.5.2 มีระบบจ่ายยาที่ถูกขนาด แก่ผู้ป่วยที่ถูกคน ในเวลาที่ถูกต้อง

การบริหารยา

MMU.6 โรงพยาบาลกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่มีสิทธิในการบริหารยา

MMU.6.1 การบริหารยารวมถึงกระบวนการ เพื่อสอบทวนความถูกต้องกับคำสั่งใช้ยา

MMU.6.2 มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติเพื่อกำกับการใช้ยาที่ผู้ป่วยนำมาใช้ด้วยตัวเองหรือยาตัวอย่าง P

การเฝ้าติดตามการใช้ยา

MMU.7 มีการเฝ้าติดตามผลของยาต่อผู้ป่วย P

MMU.7.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการ และระเบียบปฏิบัติในการรายงาน และ ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิด ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) และเหตุการณ์เกือบพลาด (Near Miss) P

มาตรฐาน, เจตจำนง, และองค์ประกอบที่วัดได้

องค์กรและการจัดการ

มาตรฐาน MMU. 1

การใช้ยาในโรงพยาบาลถูกจัดการให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยโดยให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับและภายใต้การควบคุมและการตรวจสอบของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของเภสัชกรและวิชาชีพอื่น ๆ ที่ เหมาะสม P

เจตจำนงของ MMU.1

ยาเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยซึ่งจะต้องถูกจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบการ จัดการด้านยาอย่างปลอดภัยจะช่วยจัดการปัญหากระบวนการจัดการด้านยาขององค์กร ดังนี้

a) การวางแผน

b) การคัดเลือกและการซื้อยา

c) การจัดเก็บ

d) การสั่งยา

e) การเตรียมและการจ่ายยา

f) การบริหารยา

g) การติดตาม

h) การประเมิน

การจัดการด้านยาไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายเภสัชกรรม แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของผู้จัดการและ ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ การแบ่งปันหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นอยู่กับโครงสร้างโรงพยาบาลและบุคลากร ในกรณีที่ไม่มีเภสัชกรอยู่ การจัดการยาแต่ละหน่วยคลินิกจะเป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาล แต่หากมีฝ่าย เภสัชกรรมเภสัชกรจะเป็นผู้วางระบบการจัดการและควบคุมยาทุกส่วนทั่วทั้งโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ (แผนกผู้ป่วยใน แผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยเฉพาะทางต่าง ๆ)

อย่างไรก็ตามการจัดการยาในโรงพยาบาลจะถูกตรวจตราโดยเภสัชกรหรืองานบริการเภสัชกรรมโดยตรงซึ่งอาจจะ เป็นคนที่ผ่านการอบรมหรือได้รับใบอนุญาตหรือใบประกอบวิชาชีพ ถ้าลักษณะงานดังกล่าวต้องการโดยกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับจะถูกรวมเข้าไว้ในโครงสร้างขององค์กรและการปฏิบัติของระบบการจัดการด้านยาใน โรงพยาบาล

เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการและการใช้ยาโรงพยาบาลจะต้องมีการทบทวนระบบ อย่างน้อยปีละครั้ง การทบทวนประจำปีจะทำให้ทราบว่าระบบดีหรือไม่โดยการรวบรมข้อมูลและประสบการณ์ที่ สัมพันธ์กับการจัดการด้านยา ตั้งแต่ a) ถึง h) ตามข้างต้น การทบทวนจะทำให้โรงพยาบาลทราบความจำเป็น และลำดับความสิ่งสำคัญของพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างต่อเนื่องในเชิงของคุณภาพและความปลอดภัย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU.1

❏ 1. การเขียนนโยบายจัดการกับหัวข้อ a) ถึง h) ตามเนื้อหาข้างต้นอย่างเหมาะสมโดยกำหนดการจัดการ ระบบยาและการใช้ยาทั่วทั้งโรงพยาบาล (ดูMMU.2.1, ME 1)

❏ 2. ทั่วทุกสถานที่ หน่วยบริการ และบุคคลที่จัดการกระบวนการด้านยาถูกรวมไว้ในโครงสร้างขององค์กร (ดูMMU.2.1, ME 2)

❏ 3. เภสัชกรที่ได้รับใบประกอบโรคศิลป์หรือบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตรวจตราระบบงานและงาน บริการด้านเภสัชกรรม (ดูGLD.9, ME1)

❏ 4. ทบทวนนโยบายของระบบการจัดการด้านยาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบ 12 เดือน ตามหัวข้อ ข้างต้น a) ถึง h) อย่างเหมาะสม

❏ 5. งานบริการด้านเภสัชกรรมและการใช้ยา จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (ดู MMU.3, ME2; MMU.5, ME2; และ GLD.2, ME5)

❏ 6. แหล่งข้อมูลสารสนเทศด้านยาจะต้องมีความเหมาสม ง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้ (ดูQPS.3)

มาตรฐาน MMU.1.1 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินแผนงานสำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะที่ชาญฉลาดบนพื้นฐานหลักการของการสนับสนุน การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

เจตจำนงของ MMU.1.1 การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นหรือใช้ผิดส่งผลในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยารุนแรง (superbugs) มีความทนทานต่อยาปฏิชีวนะที่มีอยู่มากขึ้น ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) เชื้อแบคทีเรียดื้อยาทำให้เกิดการเสียชีวิต 23,000 ราย และ เจ็บป่วยราว 2 ล้านรายในแต่ละปีสถาบันพัฒนา บริการสุขภาพ (IHI) รายงานว่า 25,000 รายเสียชีวิตในแต่ละปีในยุโรปจากการดื้อยาต้านจุลชีพและการต้านทาน ของเชื้อจุลินทรีย์มากขึ้นเรื่อยๆ ในตะวันออกกลาง, แอฟริกาและเอเชีย 2–4 บางคนประมาณการว่าทั่วโลกเสียชีวิต กว่า 700,000 รายต่อปีเนื่องจากความต้านทานยาปฏิชีวนะ

นอกเหนือไปจากความต้านทานและการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยารุนแรง (super-bugs) ยังพบบ่อยว่า ยามีผลข้างเคียงและ/หรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะรวมทั้ง การได้รับเชื้อ Clostridium difficile ไตหรือ ตับที่ได้รับความเสียหาย สูญเสียการได้ยิน โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นอาทิการใช้ที่เหมาะสมของยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ไม่จำเป็นเนื่องจากการใช้ ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม

ผู้ประกอบวิชาชีพดูแลสุขภาพมีส่วนร่วมในการพัฒนาของการดื้อยาในหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างต่อเนื่องเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป การใช้ปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างที่ไม่จำเป็น หรือการใช้ยาปฏิชีวนะที่ ออกฤทธิ์กว้างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นภายหลังจากได้รับผลความไวแล้วการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผิดปกติหรือสั่งยายาผิด ขนาด หรือ ดำเนินการให้ยาปฏิชีวินะเพื่อการป้องกันโรคหลังจากที่ไม่มีข้อแนะนำแล้ว

เพื่อที่จะลดการพัฒนาและการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาและส่งผลให้ผู้ป่วยดีขึ้น โรงพยาบาลจะต้อง ดำเนินมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม (ดูPCI.6 และ PCI.6.1 ร่วมด้วย) การดำเนินการ ของแผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลจะช่วยให้โรงพยาบาลบรรลุเป้าหมายของการให้บริการผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ รักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสมในขนาดที่ เหมาะสม และในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม6

แผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอาจจะครอบคลุมองค์ประกอบต่อไปนี้ การติดตามรูปแบบ ของการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะและความต้านทาน แจ้งบุคลากรเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและความต้านทานเป็นประจำ และการให้ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม มันเป็นความจำเป็นสำหรับแผนงานที่จะมีการ สนับสนุนจากผู้นำโรงพยาบาล ซึ่งรวมถึงความมุ่งมั่นของผู้นำในการให้การสนับสนุนอัตรากำลัง การเงิน แหล่งความ รู้ทางวิชาการที่อิงหลักฐาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าแผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างสมเหตุผลมีประสิทธิภาพ นอกเหนือไปจากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ ต้องมี แพทย์พยาบาล เภสัชกร บุคลากรฝึกหัด ผู้ป่วยครอบครัวและคนอื่น ๆ เข้ามาร่วมในแผนงานการสนับสนุนการใช้ ยา ปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลด้วย 7

การติดตามประสิทธิผลของแผนงานเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จของแผนงาน ตัวอย่างของการระบุ ประสิทธิผลอาจรวมถึงหลักฐานของการลดลงของการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมและเชื้อที่ดื้อยาหลายชนิดลดลง เอกสารที่ผู้สั่งจ่ายยาปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับ และการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันโรคที่ เหมาะสม การติดตามที่ประสบความสำเร็จของประสิทธิผลของแผนงานจำเป็นต้องมีกลไกในการกำกับดูแล การ กำกับดูแล อาจรวมถึงบุคคล กลุ่มทำงานขนาดเล็ก คณะกรรมการประสานงาน คณะทำงานเฉพาะกิจ หรือกลไกอื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU.1.1

❏ 1. โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินแผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลที่มีผู้เชี่ยวชาญ ด้านการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ แพทย์พยาบาล เภสัชกร บุคลากรฝึกหัด ผู้ป่วยครอบครัวและ คนอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง .(ดูPCI.2, ME 2 และ 3 ร่วมด้วย)

❏ 2. แผนงานอาศัยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แนวทางการปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ และกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น (ดูQPS.3 และ GLD.2, ME 5 ร่วมด้วย)

❏ 3. แผนงานครอบคลุมแนวทางสำหรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อรวมทั้งการใช้ยา ปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสม (ดูGLD.11.2 ร่วมด้วย)

❏ 4. มีกลไกในการกำกับดูแลแผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (ดูMMU.2.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 5. มีการเฝ้าติดตามประสิทธิผลของแผนงานการสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

การคัดเลือกและการจัดหายา

มาตรฐาน MMU. 2

การเก็บสำรองยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาลและมีกระบวนการในการจัดหายาที่ไม่ได้สำรองหรือเป็นยาที่ปกติมีใน โรงพยาบาลหรือในช่วงเวลาที่ฝ่ายเภสัชกรรมปิดให้บริการ P

เจตจำนงของ MMU.2

โรงพยาบาลจะต้องพิจารณายาที่ใช้สำรองเพื่อการสั่งใช้ของแพทย์โดยพิจารณาตามวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล ความ ต้องการของผู้ป่วย ชนิดของการให้บริการในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจัดทำรายการยาที่สำรองในโรงพยาบาล หรือพร้อมที่จะจัดหาจากภายนอก ในกรณีที่กฎหมายหรือข้อบังคับ ให้โรงพยาบาลมีการสำรองยาบางประเภท หรือจัดหาได้จากภายนอก การคัดเลือกยาจะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้ป่วย ความปลอดภัย และ เศรษฐกิจสำหรับยาขาด เพราะว่ากระบวนการขนส่งช้า ขาดทั้งประเทศหรือเหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้ยาไม่พร้อมใช้ใน คลัง โรงพยาบาลต้องมีกระบวนการแจ้งแพทย์ผู้สั่งถึงยาที่ขาดและยาที่ใช้ทดแทน

ในกรณีที่ยาที่ไม่มีการสำรองหรือไม่พร้อมใช้ตามความต้องการผู้ป่วย โรงพยาบาลจะต้องมีกระบวนการปรับปรุง รายการบัญชียาและการสั่งซื้อ นอกจากนั้นหากมีความต้องการใช้ยาในช่วงเวลากลางคืนหรือฝ่ายเภสัชกรรมปิด แต่ละโรงพยาบาลต้องมีแผนรองรับเรื่องดังกล่าวและอบรมเจ้าหน้าให้ให้ปฏิบัติตาม

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU.2

❏ 1. โรงพยาบาลมีรายการยาที่สำรองในโรงพยาบาลหรือพร้อมใช้จากแหล่งภายนอก

❏ 2. โรงพยาบาลเคยปรับปรุงบัญชีรายการยาสำรองของโรงพยาบาล (ถ้าไม่มีการปรับปรุงจะต้องถูกกำหนด โดยข้อบังคับหรือผู้มีอำนาจภายนอกโรงพยาบาล) รวมถึงแจ้งแพทย์ผู้สั่งใช้และผู้บริหารจัดการยาใน โรงพยาบาล

❏ 3. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการเบิกใช้ยาในช่วงระยะเวลากลางคืนหรือฝ่ายเภสัชกรรมปิด (ดู MMU.3.2, ME 1)

มาตรฐาน MMU. 2.1

โรงพยาบาลมีวิธีในการตรวจตราบัญชียาในโรงพยาบาลและการใช้ยา

เจตจำนงของ MMU.2.1

โรงพยาบาลมีวิธีหรือกระบวนการ เช่น คณะกรรมการพิจารณา ในการคงสภาพ หรือติดตามรายการยาสำรองและ ติดตามการใช้ยาในโรงพยาบาล ตัวอย่างเช่น ติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจตรารายการ รวม ไปถึงกระบวนการสั่งใช้ยา การจ่ายยา การบริหารยา และการติดตามการใช้ยาโดยการตัดสินใจในการพิจารณายา เข้าหรือยาออกจากรายการยาโรงพยาบาลจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ซึ่งรวมข้อบ่งชี้ประสิทธิภาพ ความเสี่ยง และ ราคา

โรงพยาบาลมีกระบวนการหรือกลไกในการติดตามผลตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาที่เข้าใหม่ของโรงพยาบาลหรือยาก ลุ่มใหม่ในรายการ นอกจากนั้นโรงพยาบาลจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามการใช้ยาตามข้อบ่งใช้ที่ เหมาะสมหรือการสั่งใช้ยา (ตัวอย่างเช่น ขนาดยา ช่องทางการให้ยา) และอาการไม่พึงประสงค์จากยาหรืออาการที่ สอดคล้องกับยาใหม่ รายการยาของโรงพยาบาลถูกทบทวนอย่างน้อยปีละครั้งขึ้นอยู่กับข้อมูลความปลอดภัยและ ประสิทธิภาพ ข้อมูลการใช้และอาการไม่พึงประสงค์

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU.2.1

❏ 1. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการตรวจตราการใช้ยาในโรงพยาบาล (ดูMMU. 1, ME 1 และ MMU.1.1, ME 4)

❏ 2. บุคลากรทางการแพทย์มีส่วนร่วมในกระบวนการสั่งยา จ่ายยา บริหารยา และติดตามการใช้ยา มีส่วน ร่วมในการประเมินและคงไว้ของยาในบัญชียาสำรองของโรงพยาบาล (ดูMMU.1, ME 2)

❏ 3. การพิจารณายาเข้าหรือยาออกจากรายการยาต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ❏ 4. เมื่อมียาใหม่เพิ่มในบัญชียาจะต้องมีกระบวนการหรือกลไกในการเก็บรวบรวมและติดตามข้อมูลการใช้ ยาและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น

❏ 5. โรงพยาบาลมีการทบทวนรายการยาอย่างน้อยปีละครั้งขึ้นอยู่กับข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

การจัดเก็บยา

มาตรฐาน MMU. 3

ยาถูกเก็บอย่างเหมาะสมและปลอดภัย P

เจตจำนงของ MMU.3

ยาอาจถูกจัดเก็บไว้ในคลังยา ห้องยา แผนกเภสัชกรรม หรือในหน่วยที่ดูแลผู้ป่วยในห้องเก็บยาหรือที่ห้องพยาบาล ในแต่ละแผนก มาตรฐาน MMU.1 ให้มีกลไกในการตรวจตราสถานที่ที่มีการจัดเก็บยาและต้องมีการปฏิบัติดังนี้

• ยาถูกเก็บในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อความคงตัวของยา รวมถึงยาของผู้ป่วยแต่ละรายที่เก็บแต่ละแผนก และบนรถพยาบาล (Ambulances) (ดูACC.6, ME 4)

• ยาที่ต้องควบคุมพิเศษ (Controlled Substances) จะต้องมีจำนวนถูกต้องแม่นยำ สอดคล้องกับ กฎหมายข้อบังคับ

• ยาหรือสารเคมีที่ใช้ในการเตรียมยาจะต้องถูกติดฉลากเนื้อหาบ่งชี้อย่างถูกต้อง วันหมดอายุและคำ เตือน

• สารละลายเกลือแร่ที่มีความเข้มข้นสูงจะไม่ถูกจัดเก็บในหน่วยดูแลผู้ป่วยถ้าไม่มีความจำเป็นทางคลินิก และเมื่อมีการจัดเก็บในหน่วยดูแลผู้ป่วยจะต้องถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการใช้โดยไม่ตั้งใจ (จะให้คะแนนใน IPSG.3.1)

• ทุกพื้นที่ที่มีการจัดเก็บยา รวมถึง ยาของผู้ป่วยแต่ละรายที่เก็บแต่ละแผนก และบนรถพยาบาล (Ambulances) ถูกตรวจสอบเป็นประจำตามนโยบายของโรงพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่า ยาถูกเก็บอย่าง เหมาะสม (ดูACC.6, ME 4)

• ยาถูกป้องกันจากการสูญหาย และลักขโมยทั่วทั้งโรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 3

❏ 1. ยาถูกจัดเก็บในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อความคงตัวของยารวมถึงยาของผู้ป่วยแต่ละรายที่เก็บแต่ละแผนก และบนรถพยาบาล (Ambulances)

❏ 2. ยาที่ต้องควบคุมพิเศษ (Controlled Substances) จะต้องมีจำนวนถูกต้องแม่นยำสอดคล้องกับ กฎหมายข้อบังคับ (ดูMMU.1, ME 5)

❏ 3. ยาหรือสารเคมีที่ใช้ในการเตรียมยาจะต้องถูกติดฉลากเนื้อหาบ่งชี้อย่างถูกต้อง วันหมดอายุและ คำ เตือน (ดูFMS.5, ME 4)

❏ 4. ทุกพื้นที่ที่มีการจัดเก็บยารวมถึงยาของผู้ป่วยแต่ละรายที่เก็บแต่ละแผนกและบนรถพยาบาล (Ambulances) ถูกตรวจสอบเป็นประจำตามนโยบายของโรงพยาบาลเพื่อให้มั่นใจว่ายาถูกเก็บอย่าง เหมาะสม

❏ 5. ยาถูกป้องกันจากการสูญหายและลักขโมยทั่วทั้งโรงพยาบาล (ดูFMS.4.1, ME 3)

มาตรฐาน MMU. 3.1 โรงพยาบาลมีกระบวนการจัดการยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งต้องการการจัดการพิเศษ P

เจตจำนงของ MMU.3.1

ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutritional Products) มีหลายชนิด ซึ่งต้องการกระบวนการพิเศษสำหรับการติด ฉลากชี้บ่ง การเก็บรักษาและการควบคุมการใช้ยกตัวอย่าง เช่น เภสัชรังสี (Radioactive Medications) ที่มีความ เสี่ยงต่อความปลอดภัย ยาที่ผู้ป่วยนำมา (Medication brought in) สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการบ่งชี้และการเก็บ รักษาเนื่องจากมีโอกาสที่จะใช้ในทางที่ผิด (abuse or misuse) รวมถึงยาตัวอย่าง (Sample Medications) และยา ฉุกเฉินด้วย (Emergency Medications) ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutritional Products) เช่น นมแม่ สิ่งที่ต้อง พิจารณา คือ การติดฉลากบ่งชี้ที่เหมาะสมและการเก็บรักษา เขียนนโยบายการจัดการยาและผลิตภัณฑ์สารอาหารครอบคลุม a) การรับ (Receipt) b) การชี้บ่ง (Identification) c) การติดป้าย (Labeling) d) การจัดเก็บ (Storage) และ e) การควบคุม (Control) และการกระจาย (Distribution) (ดูFMS.4.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 3.1

❏ 1. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการ ตามหัวข้อ a) ถึง e) ในเจตจำนงสำหรับผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร (Nutritional Products)

❏ 2. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการ ตามหัวข้อ a) ถึง e) ในเจตจำนงสำหรับเภสัชรังสี (Radioactive Medications) สารตรวจวินิจฉัย (Investigational Medications) และยาที่คล้ายกัน (Similar Medications) (ดูFMS.5, ME 2 and 4)

❏ 3. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการ ตามหัวข้อ a) ถึง e) ในเจตจำนงสำหรับยาตัวอย่าง (Sample Medications) (ดูMMU.6.2, ME 3)

❏ 4. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการ ตามหัวข้อ a) ถึง e) ในเจตจำนงสำหรับยาที่ผู้ป่วย นำมา (Medication brought in) (ดูMMU.6.2, ME 2)

มาตรฐาน MMU. 3.2

โรงพยาบาลมีการสำรองยาฉุกเฉินไว้พร้อมใช้มีกระบวนการเก็บรักษา การติดตาม และความปลอดภัยเหมือนกัน เมื่อจัดเก็บนอกฝ่ายเภสัชกรรม P

เจตจำนงของ MMU.3.2

เมื่อผู้ป่วยเกิดเหตุฉุกเฉินการเข้าถึงยาฉุกเฉินที่เหมาะสมด้วยความรวดเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ละโรงพยาบาลต้อง กำหนดตำแหน่งที่การเก็บสำรองยาฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น สารที่ใช้แก้พิษยาดมสลบจะต้องเก็บสำรองในห้องผ่าตัด โดยอาจจะเก็บในชั้นหรือตู้วางของ รถ กระเป๋า หรือกล่อง ยาฉุกเฉินจะต้องถูกจัดเก็บในระบบที่เหมือนกันเพื่อให้ สะดวก ง่ายในการเข้าถึงและรวดเร็วในการขนส่งยาที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น รถฉุกเฉินแต่ละคันในโรงพยาบาล จะต้องมียาช่วยชีวิตที่เหมือนกัน และจัดเรียงรูปแบบเดียวกันในแต่ละชั้นของรถซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ สำหรับบุคลากรที่จะต้องใช้ยาฉุกเฉินจากรถซึ่งไม่ได้ใช้เป็นประจำ อย่างไรก็ตามการจัดเก็บยาฉุกเฉินสำหรับเด็ก แตกต่างจากรถฉุกเฉินของผู้ใหญ่ แต่ยาฉุกเฉินถูกจัดเก็บด้วยกระบวนการเดียวกันในรถแต่ละชนิด

เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเข้าถึงยาฉุกเฉินได้เมื่อจำเป็น โรงพยาบาลจะต้องมีกระบวนการหรือวิธีในการป้องกันการใช้ ยาไม่เหมาะสม การขโมยหรือสูญหาย นอกจากนั้นกระบวนการยังต้องมั่นใจว่ายาจะถูกทดแทนเมื่อมีการใช้ แตกหักหรือหมดอายุซึ่งการจัดเก็บนั้นโรงพยาบาลจะต้องวิเคราะห์ระหว่างความพร้อมในการเข้าถึงยาและความ ปลอดภัยในในการจัดเก็บยาแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ถ้าการเข้าถึงยาฉุกเฉินขึ้นอยู่บุคลากรคนเดียวที่จะสามารถ เปิดรถได้นั้นหมายความว่ายาฉุกเฉินไม่ได้พร้อมที่ใช้งานในกรณีที่บุคลากรดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติงานถึงแม้การจัดเก็บ จะปลอดภัยก็ตาม (ดูFMS.4.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 3.2

❏ 1. โรงพยาบาลมียาฉุกเฉินพร้อมใช้ในแต่ละหน่วยซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้หรือพร้อมต่อการเข้าถึงภายใน โรงพยาบาลเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน (ดูMMU.2, ME 3)

❏ 2. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการสำหรับการเก็บและการคงไว้ของยาฉุกเฉินเหมือนกัน และป้องกันจากการลักขโมยและการสูญหาย

❏ 3. ยาฉุกเฉินถูกติดตามและทดแทนหลังจากใช้ในเวลาหรือเมื่อยาหมดอายุหรือแตกหัก

มาตรฐาน MMU. 3.3 โรงพยาบาลมีระบบการเรียกคืนยา P

เจตจำนงของ MMU.3.3

โรงพยาบาลมีกระบวนการในการบ่งชี้เรียกคืนและส่งคืนหรือทำลายยาที่ถูกเรียกคืนจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขาย ด้วยความปลอดภัยและเหมาะสม นอกจากนั้นโรงพยาบาลต้องมีนโยบาย หรือกระบวนการในการแก้ปัญหาในการ ใช้ยาหรือทำลายยาที่หมดอายุหรือล้าสมัย ยาหมดอายุเป็นยาที่มีการเก็บไว้เกินกว่าอายุที่กำหนดบนบรรจุภัณฑ์ จากบริษัท ส่วนยาล้าสมัยเป็นยาที่ถูกเปิดใช้จากนั้นประสิทธิภาพและความปลอดภัยจะมีในระยะเวลาสั้นลง เมื่อ เปิดใช้ (อายุการเก็บรักษา) ยาล้าสมัยควรมีการเขียนบ่งชี้วันหมดอายุใหม่ขึ้นอยู่กับวันที่ยาตัวนั้น ๆ เปิดใช้ดังนั้น บุคลากรจะต้องทราบวันหมดอายุสุดท้ายของยา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 3.3

❏ 1. โรงพยาบาลมีระบบในการเรียกยาคืน

❏ 2. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการสำหรับยาที่ยังไม่เปิดใช้ยาหมดอายุและยาล้าสมัย

❏ 3. โรงพยาบาลมีกระบวนการและการดำเนินการสำหรับการทำลายยาที่หมดอายุและล้าสมัย

การสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่งยา

มาตรฐาน MMU. 4

โรงพยาบาลกำหนดนโยบายหรือกระบวนการในการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่งยา P

เจตจำนงของ MMU.4

โรงพยาบาลกำหนดนโยบายหรือกระบวนการในการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยา และการถ่ายทอดคำสั่งยาอย่างปลอดภัย แพทย์พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรที่บริหารยาจะต้องช่วยกันพัฒนาและติดตามการใช้นโยบาย บุคลากรที่มี ส่วนเกี่ยวข้องจะต้องได้รับการฝึกอบรมในการตรวจสอบการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่งยา คำสั่งยา ที่อ่านยากหรือคำสั่งยาที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยอาจจะทำให้การรักษาช้าลง โรงพยาบาลจะต้องมีแนว ทางแก้ไขเพื่อลดปัญหาจากลายมืออ่านยาก นอกจากนั้นรายการยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำจะต้องถูกบันทึกในเวช ระเบียนผู้ป่วยโดยแพทย์พยาบาล และ เภสัชกรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้และโรงพยาบาลจะต้องกำหนดกระบวนการ ในการเปรียบเทียบรายการยาปัจจุบันที่ผู้ป่วยใช้กับคำสั่งของแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Admission)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 4

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดกระบวนการ และ ดำเนินการสำหรับการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยาและการถ่ายทอด คำสั่ง ยาอย่างปลอดภัยในโรงพยาบาล (ดูIPSG.2 และ COP.2.2)

❏ 2. โรงพยาบาลกำหนดกระบวนการ และ ดำเนินการสำหรับจัดการแก้ไขใบสั่งยา หรือ คำสั่งการรักษาที่ อ่านยาก รวมถึงติดตามเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ขึ้นต่อเนื่อง (ดูMOI.12, ME 3)

❏ 3. บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อตรวจสอบกระบวนการสั่งใช้ยา คำสั่งใช้ยา และ การถ่ายทอดคำสั่งยา

❏ 4. เวชระเบียนผู้ป่วยมีการบันทึกรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ก่อนที่จะรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือ ผู้ป่วยนอก นอกจากนั้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยเภสัชกรและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ เมื่อมีความ จำเป็นต้องใช้ข้อมูล (ดูACC.3, ME 2 และ 3)

❏ 5. มีการเปรียบเทียบคำสั่งยาเมื่อแรกรับกับบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนรับไว้เป็นผู้ป่วยในตาม กระบวนการที่โรงพยาบาลกำหนด (ดูAOP.1, ME 4 และ AOP.1.1, ME 1)

มาตรฐาน MMU. 4.1

โรงพยาบาลกำหนดองค์ประกอบของคำสั่งยาและใบสั่งยาที่สมบูรณ์ P

เจตจำนงของ MMU.4.1 โรงพยาบาลกำหนดนโยบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของคำสั่งยาที่สมบรูณ์เพื่ิอลดความแปรปรวนและยกระดับความ ปลอดภัยของผู้ป่วย องค์ประกอบของใบสั่งยาที่ระบุในนโยบายควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปน้ีเป็นอย่างน้อย

a) ข้อมูลที่จำเป็นในการบ่งชี้ตัวผู้ป่วย (ดูIPSG.1)

b) องค์ประกอบที่จำเป็นของคำสั่งยาและใบสั่งยา

c) เมื่อไหร่ที่การใช้ชื่อสามัญหรือชื่อการค้ายอมรับให้ใช้

d) เมื่อไหร่หรือจำเป็นหรือไม่ในการระบุข้อบ่งใช้ในคำสั่งยารวมถึงคำสั่ง PRN (pro re nata, หรือ “เมื่อ จำเป็น”)

e) ชนิดของคำสั่งยาที่ต้องระบุน้ำหนักหรือปรับตามน้ำหนัก เช่น สำหรับเด็ก ผู้ป่วยสูงอายุที่รูปร่าง ผอม เล็กและกลุ่มประชากรอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

f) ระบุอัตราการบริหารยาเมื่อมีคำสั่งใช้ยาแบบให้intravenous Infusions ในคำสั่งใช้ยา

g) คำสั่งใช้ยาพิเศษอื่น ๆ เช่น คำสั่งเพิ่มและลดขนาดยาทีละน้อย (titration and tapering orders) หรือ คำสั่งใช้ยาที่เป็นช่วง

โรงพยาบาลมีกระบวนการในการจัดการ

• คำสั่งยาที่มีองค์ประกอบไม่สมบูรณ์อ่านยาก หรือ อ่านไม่ชัดเจน

• ข้อควรระวังพิเศษสำหรับคำสั่งยาที่เป็นยาชื่อพ้องมองคล้าย (ดูIPSG.3)

• คำสั่งยาชนิดพิเศษ เช่น คำสั่งในกรณีฉุกเฉิน คำสั่งยืน คำสั่งหยุดยาอัตโนมัติที่ต้องมีองค์ประกอบ พิเศษเมื่อใช้คำสั่งดังกล่าว

• การใช้คำสั่งยาทางวาจา หรือ ทางโทรศัพท์หรือ การส่งข้อความจะต้องมีกระบวนการเพื่อทวนสอบ คำสั่งดังกล่าว (จะให้คะแนนใน IPSG.2, ME 1 และ 2)

ดังนั้นมาตรฐานนี้ควรจะใช้ทั่วทั้งโรงพยาบาลเมื่อมีการสั่งยา ดังนั้นกระบวนการเหล่านี้จะส่งผลให้คำสั่งยาใน เวชระเบียนสมบูรณ์ เภสัชกรหรือจุดจ่ายยาได้รับข้อมูลที่มีความจำเป็นในการจ่ายยา และ เช่นเดียวกันกับการ บริหารยา (ดูCOP.2.2 และ MOI.9)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 4.1

❏ 1. การเขียนคำสั่งยาและใบสั่งยาที่สมบูรณ์ต้องเขียนตามองค์ประกอบที่กำหนดอย่างน้อยจาก a) ถึง g) ในเจตจำนง

❏ 2. โรงพยาบาลมีการพัฒนาและดำเนินการตามกระบวนการจัดการกับคำยาที่ไม่สมบูรณ์อ่านยากและไม่ ชัดเจน

❏ 3. โรงพยาบาลมีการพัฒนาและดำเนินการตามกระบวนการจัดการกับคำสั่งยาพิเศษ เช่น คำสั่งในกรณี ฉุกเฉิน (Emergency Orders) คำสั่งยืน (Standing Orders) คำสั่งหยุดยาอัตโนมัติ (Automatic Stop Orders) และคำสั่งพิเศษอื่น ๆ ที่ต้องมีองค์ประกอบพิเศษเมื่อใช้คำสั่งดังกล่าว

❏ 4. โรงพยาบาลมีการพัฒนาและดำเนินการตามกระบวนการติดตามความสมบูรณ์และความถูกต้องของ คำสั่งยาและใบสั่งยา

มาตรฐาน MMU. 4.2

โรงพยาบาลระบุตัวผู้มีคุณสมบัติซึ่งได้รับอนุญาตให้สั่งยาได้

เจตจำนงของ MMU.4.2

การคัดเลือกยาเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์เฉพาะ แต่ละโรงพยาบาลมีความรับผิดชอบ ในการกำหนดบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็น และ ได้รับอนุญาตให้สั่งยาได้โดยใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพ ประกาศนียบัตร กฎหมาย หรือ ระเบียบข้อบังคับ โรงพยาบาลอาจจะกำหนดสิทธิ์ในการสั่งยารายบุคคล เช่น สารควบคุม ยาเคมีบำบัด หรือเภสัชรังสีและ สารที่ใช้ในการวินิจฉัย ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สั่งยาจะต้องถูก รับทราบโดยฝ่ายเภสัชกรรม หรือ บุคลากรที่จ่ายยา ในกรณีฉุกเฉินโรงพยาบาลอาจกำหนดรายชื่อบุคลากรที่ อนุญาตให้สั่งใช้ยาได้เพิ่มเติม (ดูCOP.2.2, SQE.10, และ MOI.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 4.2

❏ 1. เฉพาะบุคลากรที่ได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาล และ โดยใบอนุญาต กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เท่านั้นที่สามารถสั่งยาได้ (ดูCOP.2.2, ME 4 และ MOI.11, ME 2)

❏ 2. โรงพยาบาลมีการพัฒนาและดำเนินการตามกระบวนการในการจำกัดสิทธิ์การสั่งยาที่เหมาะสม (ดู SQE.12, ME 1)

❏ 3. ฝ่ายเภสัชกรรม หรือ บุคลากรที่จ่ายยาสามารถเข้าถึงข้อมูลและรับทราบรายชื่อบุคลากรที่ได้รับ อนุญาตให้สั่งยาได้(ดูSQE.10, ME 3)

มาตรฐาน MMU. 4.3

ยาที่ถูกสั่งและบริหารให้แก่ผู้ป่วยจะต้องมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตจำนงของ MMU.4.3

เวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละคนที่ได้รับยาจะต้องถูกบันทึกรายการยาที่แพทย์สั่งหรือคำสั่งสำหรับผู้ป่วย ขนาดยา และ เวลาที่บริหารยาให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงยาที่ผู้ป่วยได้รับเมื่อมีความจำเป็น (“as needed”) ถ้าข้อมูลเหล่านี้ถูก บันทึกแยกในแบบฟอร์ม แบบฟอร์มเหล่านี้จะต้องถูกเก็บในเวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Discharge) หรือโอนย้ายไปโรงพยาบาลอื่น (Transfer)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 4.3

❏ 1. ยาที่ถูกสั่งจะต้องบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละราย (ดูCOP.2.3, ME 1)

❏ 2. เมื่อมีการบริหารยาให้ผู้ป่วยแต่ละครั้งจะต้องมีการบันทึกยานั้น ๆ

❏ 3. ข้อมูลการใช้ยาจะถูกเก็บในเวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละรายและถูกแทรกเก็บในเวชระเบียนหลังจาก ผู้ป่วย ถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Discharge) หรือโอนย้ายไปโรงพยาบาลอื่น (Transfer) (ดู COP.2.2, ME 5)

การเตรียมยาและการจ่ายยา

มาตรฐาน MMU. 5

ยาจะต้องถูกเตรียมและจ่ายในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย

เจตจำนงของ MMU.5

ห้องยาหรือบริการทางเภสัชกรรมหรือบุคลากรอื่น ๆ ที่ได้รับการฝึกอบรม และ มีประสบการณ์ในการเตรียม และ จ่ายยาในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และ มาตรฐานวิชาชีพ โรงพยาบาลระบุมาตรฐานการปฏิบัติสำหรับการเตรียมยา และ จัดจ่ายยาที่ปลอดภัย และ สะอาด ตัวอย่าง เช่น มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับการเตรียมยากำหนดการทำความสะอาดพื้นที่ที่ใช้ในการเตรียมยา และ การเตรียมยา รูปแบบใดต้องสวมหน้ากาก (mask) หรือ ใช้ตู้ที่มีระบบหมุนเวียนอากาศแบบ laminar ในการเตรียมยา ยาที่ได้รับ การเก็บ และ จัดจ่ายนอกห้องยา (ตัวอย่าง เช่น หน่วยดูแลผู้ป่วย) ต้องเป็นไปตามาตรฐานเดียวกันใน ด้านความ ปลอดภัยและความสะอาด บุคลากรที่จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ (เช่น สารน้ำ และ ยาที่บริหารผ่านเยื่อหุ้ม ประสาท epidural) หรือ เตรียมยาจากภาชนะบรรจุยาที่ใช้หลายครั้ง (multi-dose vial) ได้รับการฝึกอบรมหลักการเตรียมยา โดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ (aseptic technique) เช่นเดียวกันนี้ตู้ที่มีระบบหมุนเวียนอากาศ แบบ laminar พร้อมใช้และมีการใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติตามวิชาชีพ (ตัวอย่างเช่น ยาที่มีพิษต่อเซลล์)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 5

❏ 1. ยาได้รับการจัดเตรียมและจัดจ่ายในสถานที่ที่สะอาดและปลอดภัย โดยมีเครื่ิองมือและอุปกรณ์ที่ เหมาะสม (ดูPCI.5, ME 3 และ 4)

❏ 2. การจัดเตรียมยาและจัดจ่ายยาเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานวิชาชีพ (ดูMMU.1, ME 5)

❏ 3. บุคลากรที่จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อ และ เตรียมยาจากภาชนะบรรจุยาที่ใช้หลายครั้ง (multidose vial) ได้รับการฝึกอบรมทฤษฎีการเตรียมยาและเทคนิคปราศจากเชื้อ (ดูMMU.5, ME 3 และ 4)

มาตรฐาน MMU.5.1 มีการทบทวนความเหมาะสมของใบสั่งยาหรือคำสั่งยาè P

เจตจำนงของ MMU.5.1

การจัดการด้านยาที่ดีครอบคลุมการทบทวนแต่ละใบสั่งยาหรือคำสั่งยาสองครั้ง ได้แก่

• ทบทวนความเหมาะสมของยาสำหรับผู้ป่วยและความต้องการทางคลินิกที่ดำเนินการในช่วงเวลาที่ยา ได้รับใบสั่งยาหรือคำสั่ง

• การตรวจสอบในช่วงเวลาของการบริหารที่ยาตรงตามที่ได้รับใบสั่งยาหรือคำสั่งยา (ดูMMU.6.1,ME.1 ร่วม ด้วย)

การตรวจสอบครั้งแรกที่จะดำเนินการโดยคนอื่นที่ไม่ใช่บุคคลที่ออกคำสั่ง เช่นเภสัชกรได้รับใบอนุญาต นักเทคนิค หรือวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตอื่น ๆ เช่น พยาบาลหรือแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการทบทวน ความเหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบ แต่ละใบสั่งยาหรือคำสั่งยา โดยเฉพาะใบสั่งยาหรือคำสั่งยาใหม่ ได้รับการทบทวน ความเหมาะสมครอบคลุม a) ถึง g) ด้านล่าง การทบทวนความเหมาะสมของยาใหม่ควรจะดำเนินการเมื่อขนาดยา หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมที่ระบุไว้ด้านล่างมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการสั่งใช้ยาใหม่และอาจจะมี การ ให้ยาที่อาจจะมีฤทธิ์ซ้ำซ้อน โรงพยาบาลกำหนดข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยที่จำเป็นสำหรับการทบทวนความ เหมาะสม ของคำสั่งยาหรือใบสั่งยา

การทบทวนความเหมาะสมจะดำเนินการโดยบุคคลผู้มีความสามารถในการทำเช่นนั้นได้โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ ตาม การศึกษาและการฝึกอบรมตามที่ระบุโดยการมอบสิทธิหรือแสดงให้เห็นถึงความสามารถของพยาบาลหรือ วิชาชีพ อื่น ๆ ในกระบวนการทบทวน บุคคลดังกล่าวอาจจะเป็นเภสัชกรในช่วงเวลาการทำงานปกติของห้องยา กระบวนการ ในการดำเนินการทบทวนความเหมาะสม (ทบทวนครั้งแรก) สำหรับคำสั่งยาหรือใบสั่งยาก่อนที่จะ จ่ายยาครอบคลุม การประเมินผลโดยวิชาชีพที่ผ่านการฝึกอบรม คือ

a) ความเหมาะสมของยา ขนาด ความถี่ และช่องทางของการบริหารยา

b) ฤทธิ์การรักษาที่ซ้ำซ้อน

c) การแพ้ยาที่แท้จริงหรือที่มีโอกาสแพ้ยาหรือความไวต่อยา

d) อันตรกิริยาจริงหรือที่อาจเกิดขึ้นระหว่างยากับยาอื่น ๆ หรือยากับอาหาร

e) การเปลี่ยนแปลงจากเกณฑ์โรงพยาบาลสำหรับการใช้ยา

f) น้ำหนักและข้อมูลทางสรีรวิทยาอื่น ๆ ของผู้ป่วย และ

g) ข้อห้ามอื่น ๆ

การทบทวนความเหมาะสมจะต้องดำเนินการแม้ในขณะที่สถานการณ์จะทำไม่ได้ตัวอย่างเช่น ถ้าห้องยากลางหรือ ห้องยาประจำหน่วยไม่เปิดและมีการจ่ายยาเสพติดออกมาจากคลังสำรองในหน่วยงานพยาบาล การทบทวนความ เหมาะสมอาจจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการทวนสอบเมื่อบุคคลที่สั่งยาจะบริหารยาและเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วย เมื่อบุคคลที่สั่งยาไม่สามารถอยู่บริหารยาและเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยได้องค์ประกอบที่สำคัญของการทบทวน ความ เหมาะสมอาจจะดำเนินการโดยบุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมอื่น ๆ สำหรับการบริหารยาขนานแรก การทบทวน ความ เหมาะสมทั้งหมดจะต้องดำเนินการโดยเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตหรือวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตอื่น ๆ เช่น พยาบาล หรือแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่กำหนดให้ทบทวนความเหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบได้ก่อนที่จะมีให้ ยาขนาน ต่อมา องค์ประกอบที่สำคัญของการตรวจสอบความเหมาะสมมีอย่างน้อยดังต่อไปนี้

h) การแพ้ยา

i) อันตรกิริยาที่รุนแรงถึงตายระหว่างยา/ยา

j) ขนาดยาตามน้ำหนัก

k) พิษต่ออวัยวะที่อาจเกิดขึ้น (ยกตัวอย่างเช่น การให้ยาขับปัสสาวะที่ไม่ขับโปแตสเซียมในผู้ป่วยไตวาย)

องค์ประกอบที่สำคัญของการทบทวนความเหมาะสมอาจจะดำเนินการโดยบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตและการ ฝึกอบรมอื่น ๆ ในช่วงเวลาที่ห้องยาที่ไม่เปิดบริการ บุคคลเหล่านี้มีเอกสารการฝึกอบรมในการดำเนินการตาม องค์ประกอบที่ สำคัญของการทบทวนความเหมาะสมและจะได้รับการสนับสนุนจากวัสดุอ้างอิงแผนงาน คอมพิวเตอร์และทรัพยากรอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อแพทย์โทรศัพท์มาสั่งยาใหม่ในช่วงกลางคืนแก่ผู้ป่วย บุคคลที่ได้รับการ ฝึกฝนจะเขียนลงไปและอ่าน ทวนกลับคำสั่งยาและจากนั้นดำเนินการทบทวนความเหมาะสมสำหรับองค์ประกอบที่ สำคัญที่ระบุการทบทวนครั้ง ที่สองจะต้องทำโดยเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตหรือวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตอื่น ๆ เช่น พยาบาล หรือแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่กำหนดให้ทบทวนความเหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบได้ภายใน 24 ชั่วโมง

อาจจะมีสถานการณ์ที่การทบทวนความเหมาะสมเต็มรูปแบบไม่สามารถปฏิบัติได้เช่น ในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อ แพทย์ที่สั่งยาอยู่ตรงนั้นเพื่อสั่งยา บริหารยา และเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วย (เช่น ห้องผ่าตัดหรือแผนกฉุกเฉิน) หรือ การให้สารทึบรังสีทางปาก ทวารหนัก หรือ ฉีดในรังสีร่วมรักษาหรือภาพตรวจวินิจฉัยที่ยาเป็นส่วนหนึ่งของ หัตถการ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการทบทวนมีบันทึก (โปรไฟล์) สำหรับการใช้ยาทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย ยกเว้น ยาฉุกเฉิน และยาที่บริหารเป็นส่วนหนึ่งของหัตถการ บันทึกนี้อาจจะถูกเก็บไว้ที่ห้องยาและ/หรือจะออนไลน์เพื่อ การทบทวนเมื่อห้องยาเมื่อปิด ข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการทบทวนความเหมาะสม

เมื่อมีการใช้แผนงานคอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบอันตรกิริยาระหว่างยา/ยาและการแพ้ยา แผนงานเป็นปัจจุบัน และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ผลิตแผนงาน นอกจากนี้เมื่อใช้วัสดุอ้างอิงที่ตีพิมพ์วัสดุที่ถูกนำมาใช้เป็นฉบับ ปัจจุบันมากที่สุด

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU.5.1

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยที่จำเป็นสำหรับกระบวนการทบทวนที่มีประสิทธิภาพและ แหล่งที่มาหรือความพร้อมของข้อมูลนี้สามารถใช้ได้ทุกครั้งเมื่อห้องยาเปิดหรือปิด

❏ 2. นอกเหนือจาก ข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในเจตจำนง แต่ละใบสั่งยาหรือคำสั่งยาได้รับการทบทวนความ เหมาะสม โดยหรือวิชาชีพที่ได้รับอนุญาต เช่น พยาบาลหรือแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่กำหนดให้ ทบทวนความ เหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบได้ก่อนที่จะมีการ จ่ายยาและการบริหารยาและครอบคลุม องค์ประกอบ a) จนถึง g) ในเจตจำนง

❏ 3. บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมจะถูกตัดสินความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ และได้รับทรัพยากรเพื่อสนับสนุนกระบวนการทบทวน (ดูSQE.14, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 4. เมื่อวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการทบทวนความเหมาะสมได้บุคคลที่ผ่าน การฝึกอบรมให้ดำเนินการทบทวนองค์ประกอบที่สำคัญ h)จนถึง k) ในเจตจำนงที่สำหรับยาขนานแรก และการทบทวนเต็มรูปแบบได้รับการดำเนินการโดยวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตที่กำหนดไว้ภายใน 24 ชั่วโมง (ดูSQE.5,ME 4 SQE.10, ME 3 SQE.14, ME 1 และ SQE.16, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 5. มีการอำนวยความสะดวกในการทบทวนโดยบันทึก (โปรไฟล์) สำหรับผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยาและ บันทึกนี้สามารถใช้ได้ทุกครั้งเมื่อห้องยาเปิดหรือปิด (ดูACC.3, ME 3 และ 4 ร่วมด้วย)

❏ 6. เมื่อมีการใช้แผนงานคอมพิวเตอร์และวัสดุอ้างอิงที่ตีพิมพ์ในการตรวจสอบอันตรกิริยาระหว่างยา/ยา และการแพ้ยาต้องเป็นปัจจุบันและทันสมัย (ดูQPS.3 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน MMU. 5.2

มีระบบจ่ายยาที่ถูกขนาด แก่ผู้ป่วยที่ถูกคน ในเวลาที่ถูกต้อง

เจตจำนงของ MMU.5.2

การใช้ยาในโรงพยาบาลมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น และการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นสาเหตุหลักที่สามารถ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ดังนั้นการจ่ายยาและกระจายยาในรูปแบบเดียวกันสามารถช่วย ลดความเสี่ยง จากการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ โรงพยาบาลจ่ายยาในรูปแบบพร้อมใช้แก่ผู้ป่วย (Ready –toadminister) มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างการจัดยาและ การบริหารยา โดยเฉพาะสถานการณ์ฉุกเฉิน การใช้ยาที่พร้อมใช้ยิ่งมีความสำคัญที่ต้องบริหารยาทันทีเพื่อช่วย ชีวิต ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการช่วยฟื้นคืนชีพ นอกจากนั้นยาในแผนกเภสัชกรรมและที่กระจายตามหน่วย ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลใช้ ระบบเดียวกัน โดยระบบสนับสนุนการจ่ายที่ถูกต้องของยาในเวลาที่เหมาะสม

เมื่อยาถูกเตรียมโดยบุคลากรที่ไม่ใช้ผู้บริหารยา ความเสี่ยงของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการนำยาออกจากบรรจุภัณฑ์เดิมหรือเตรียมและจัดจ่ายในภาชนะที่แตกต่างออกไป โดยไม่ได้นำไปใช้กับ ผู้ป่วยทันทีจะต้องเขียนฉลากยา ซึ่งประกอบด้วยชื่อยา ขนาด/ความเข้มข้น วันที่จัดเตรียม วันที่หมดอายุและการ บ่งชี้ผู้ป่วยสองตัวบ่งชี้เมื่อยาถูกเตรียมระหว่างการทำหัตถการในห้องผ่าตัด และส่วนที่ เหลือใช้จะถูกทิ้งทันที ดังนั้นการติดฉลากชี้บ่งชื่อผู้ป่วยและวันหมดอายุอาจไม่จำเป็น

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 5.2

❏ 1. โรงพยาบาลมีระบบในการจัดจ่ายยา และกระจายยาที่เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับ กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น และภูมิภาค (ดูGLD.2, ME 5)

❏ 2. ยาได้รับการจัดจ่ายในรูปแบบที่พร้อมใช้แก่ผู้ป่วยมากที่สุด (ดูIPSG.3.1, ME 2 และ MMU.6.1)

❏ 3. ระบบสนับสนุนการจ่ายที่ถูกต้องและทันเวลาและเอกสารของการจ่ายยา

❏ 4. หลังจากการเตรียมยา ยาที่ไม่ได้บริหารให้กับผู้ป่วยทันทีจะต้องเขียนฉลากยา ซึ่งประกอบด้วย ชื่อยา ขนาด/ความเข้มข้น วันที่จัดเตรียม วันที่หมดอายุและการบ่งชี้ผู้ป่วยสองตัวบ่งชี้ (ดูIPSG.1, ME 2)

การบริหารยา

มาตรฐาน MMU. 6

โรงพยาบาลกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่มีสิทธิในการบริหารยา

เจตจำนงของ MMU.6

การบริหารยาในการรักษาผู้ป่วยต้องมีความรู้และประสบการณ์เฉพาะ แต่ละโรงพยาบาล มีความ รับผิดชอบในการ กำหนดบุคลากรผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็น และยังได้รับอนุญาตให้บริหารยาได้โดย ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ (Licensure) ประกาศนียบัตร (Certification) กฎหมายหรือ ระเบียบข้อ บังคับในการบริหารยา โรงพยาบาลอาจจะจำกัด การบริหารยาโดยบุคลากร เช่น สำหรับสารควบคุมพิเศษ หรือยากัมมันตรังสีและยาที่ใช้ ในการตรวจวินิจฉัย และ ในกรณีฉุกเฉินโรงพยาบาลกำหนดรายชื่อที่ ได้รับ อนุญาตในการบริหารยา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 6

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดบุคลากรที่มีสิทธิบริหารยา โดยบรรยายลักษณะงาน (Job description) หรือ กระบวนการให้สิทธิการปฏิบัติงาน (ดูSQE.3, ME 1 และ SQE.10, ME 3)

❏ 2. เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาล และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับเท่านั้นที่มีสิทธิเป็นผู้บริหารยา (ดูSQE.10, ME 3; SQE.14, ME 1; และ SQE.16, ME 1)

❏ 3. มีกระบวนการจำกัดการบริหารยาของบุคลากร เมื่อมีความเหมาะสม (ดูSQE.12, ME 3; SQE.14, ME 2; และ SQE.16, ME 2)

มาตรฐาน MMU. 6.1

การบริหารยารวมถึงกระบวนการ เพื่อสอบทวนความถูกต้องกับคำสั่งใช้ยา

เจตจำนงของ MMU.6.1

การบริหารยาที่ปลอดภัยครอบคลุมการสอบทวนต่อไปนี้ • ยากับที่ระบุในใบสั่งยา หรือคำสั่งใช้ยา (ดูMMU.5.1) • เวลา และความถี่ในการบริหารยา กับที่ระบุในใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยา • จำนวนขนาดยา กับที่ระบุในใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยา • วิธีการบริหารยา กับที่ระบุในใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยา • การบ่งชี้ผู้ป่วย (จะให้คะแนนใน IPSG.1, ME 2).

โรงพยาบาลกำหนดกระบวนการทวนสอบที่ใช้ในการบริหารยา เมื่อมีการจัดเตรียมยาและจัดจ่ายยา ไป ยังหน่วย ดูแลผู้ป่วย กระบวนการทบทวนความเหมาะสมที่ระบุไว้ใน MMU.5.1 ต้องได้รับการปฏิบัติโดย บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วย (ดูMMU.5.2, ME 2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 6.1

❏ 1. มีการทวนสอบระหว่างยาและใบสั่งยาหรือคำสั่งยา (ดูMMU.5.1)

❏ 2. มีการทวนสอบระหว่างขนาดยาและใบสั่งยาหรือคำสั่งยา

❏ 3. มีการทวนสอบระหว่างวิธีการบริหารยาและใบสั่งยาหรือคำสั่งยา

❏ 4. ผู้ป่วยได้รับข้อมูลของยา และมีโอกาสได้ถามคำถาม หากมีข้อสงสัย (ดูPFR.2, ME 1 และ 2)

❏ 5. มีการบริหารยาตรงเวลา

❏ 6. มีการบริหารยาตามคำสั่งใช้ยาและบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย (ดูCOP.2.3, ME 1)

มาตรฐาน MMU. 6.2

มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติเพื่อกำกับการใช้ยาที่ผู้ป่วยนำมาใช้ด้วยตัวเองหรือยาตัวอย่างè P

เจตจำนงของ MMU.6.2

การกำกับดูแลการใช้ยาในโรงพยาบาล ต้องทราบแหล่งที่มาของยา และการใช้ยาที่ไม่ได้จ่ายจาก ฝ่ายเภสัชกรรม ของโรงพยาบาล เช่น ยาที่ผู้ป่วยนำมา (Medications Brought in) หรือครอบครัว หรือ ยาตัวอย่าง แพทย์เจ้าของ ไข้ต้องทราบยาที่ผู้ป่วย และครอบครัวนำมา และบันทึกไว้ในเวชระเบียน นอกจากนั้น สำหรับยาที่ผู้ป่วยบริหาร ด้วยตัวเอง (Self-administration) ทั้งยาที่ผู้ป่วยนำมา หรือยาที่สั่งจ่าย ภายในโรงพยาบาล แพทย์เจ้าของไข้ต้อง ทราบ และบันทึกไว้ในเวชระเบียนเช่นกัน นอกจากนั้นโรงพยาบาลมีการควบคุม และมีกระบวนการเพื่อจัดการกับ ยาตัวอย่าง รวมถึงการใช้ยา และการบันทึก

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 6.2

❏ 1. นโยบายและระเบียบปฏิบัติได้รับการนำไปปฏิบัติเพื่อกำกับดูแลการบริหารยาด้วยผู้ป่วยเอง

❏ 2. นโยบายและระเบียบปฏิบัติได้รับการนำไปปฏิบัติเพื่อกำกับดูแลการบันทึกและการจัดการยาที่ผู้ป่วย นำเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล (ดูMMU.3.1, ME 4)

❏ 3. นโยบายและระเบียบปฏิบัติได้รับการนำไปปฏิบัติเพื่อกำกับดูแลการจัดการและการใช้ยาตัวอย่างรวมถึง การบันทึก (ดูMMU.3.1, ME 3)

การเฝ้าติดตามการใช้ยา

มาตรฐาน MMU. 7

มีการเฝ้าติดตามผลของยาต่อผู้ป่วยè P

เจตจำนงของ MMU.7

ผู้ป่วย แพทย์พยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อเฝ้าติดตาม ผู้ป่วย ใน เรื่องการใช้ยา วัตถุประสงค์ของการเฝ้าติดตาม คือเพื่อประเมินผลของยาต่ออาการ หรือความเจ็บ ป่วยของผู้ป่วย รวมถึง จำนวนเม็ดเลือด การทำงานของไต การทำงานของตับ และการติดตามค่าอื่น ๆ สำหรับยาบางตัว และเพื่อประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย จากการเฝ้าติดตามค่าต่าง ๆ จะสามารถปรับขนาดหรือประเภท ของยาได้เมื่อจำเป็น การติดตามการตองสนองทางของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อมีการบริหารยา ให้กับผู้ป่วยเป็นครั้งแรก การเฝ้าติดตามมีเป้าหมายเพื่อบ่งชี้การตอบสนอง ทางเภสัชวิทยาของผู้ป่วย รวมถึงการ แพ้ยา อันตรกิริยาระหว่างยาที่ไม่คาดคิด การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทรงตัวของผู้ป่วย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง ต่อการล้ม

การเฝ้าติดตามผลของการใช้ยา รวมถึงการสังเกต และการบันทึกผลอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลมี นโยบายที่ระบุการบันทึกและรายงานอาการไม่พึงประสงค์นอกจากนั้น โรงพยาบาลจัดทำกลไก เพื่อการรายงาน เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อเกิดเหตุและกำหนดเวลาที่จะต้องรายงาน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 7

❏ 1. มีการเฝ้าติดตามผลจากการใช้ยาต่อผู้ป่วย (ดูAOP.2, ME 1)

❏ 2. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต่อผู้ป่วย มีการบันทึก

❏ 3. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการบันทึกอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในเวชระเบียนผู้ป่วย และ รายงานอาการไม่พึงประสงค์ต่อโรงพยาบาล (ดูQPS.8)

❏ 4. มีการบันทึกผลอาการไม่พึงประสงค์ในเวชระเบียนผู้ป่วย

❏ 5. มีการรายงานผลอาการไม่พึงประสงค์ตามกำหนดเวลา

มาตรฐาน MMU. 7.1

โรงพยาบาลมีกระบวนการและระเบียบปฏิบัติในการรายงาน และ ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนทาง ยา (Medication Error) และเหตุการณ์เกือบพลาด (Near Misses) è P

เจตจำนงของ MMU.7.1

โรงพยาบาลมีกระบวนการในการบ่งชี้และรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) และเหตุการณ์ เกือบพลาด (Near Misses) กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย การกำหนดคำจำกัดความของ คำว่าความ คลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์เกือบพลาด รวมถึงการใช้แบบฟอร์มมาตรฐานในการรายงานและ การให้ความรู้ แก่บุคลากรเกี่ยวกับกระบวนการและความสำคัญของการรายงาน คำจำกัดความและกระบวน การรายงาน ถูกจัดทำ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดการด้านยา กระบวนการรายงานเป็น ส่วนหนึ่งในแผนงาน คุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยรายงานจะถูกส่งตรงถึงผู้ที่มีความรับผิดชอบในการแก้ไข หนึ่งคน หรือมากกว่านั้น ซึ่งแผนงานมุ่งเน้นการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ด้วยการทำความเข้าใจชนิดความ คลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งโรงพยาบาล และองค์กรอื่น ๆ และสาเหตุที่เกิดเหตุ เกือบพลาดขึ้น (ดูIPSG.3) มีการใช้ การการปรับปรุงกระบวนการเกี่ยวกับยา และการฝึกอบรม เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในอนาคต โดยฝ่ายเภสัช กรรมมีส่วนร่วมในการฝึกอปรมบุคลากรด้วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ MMU. 7.1

❏ 1. มีการกำหนดคำจัดกัดความของความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์เกือบพลาด โดยกระบวนการที่ ร่วมมือกัน (ดูQPS.9, ME 1)

❏ 2. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์เกือบพลาด โดยปฏิบัติ ตามกระบวนการที่กำหนด (ดูQPS.8 และ QPS.9, ME 2)

❏ 3. มีการกำหนดผู้ที่มีความรับผิดชอบในการดำเนินการเมื่อได้รับรายงาน

❏ 4. โรงพยาบาลใช้ข้อมูลรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์เกือบพลาด เพื่อพัฒนากระบวนการ ใช้ยา (ดูQPS.9, ME 4)