4P 1 Fundamental Guideline for Prevention of WorkRelated Disorder

P 1: Fundamental Guideline for Prevention of WorkRelated Disorder

Defnition

การบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ

ท างาน เป็นเครื่องมือที่ท าให้บุคลากรอยู่ในสภาพแวดล้อมการท างานที่ปลอดภัย และมี

การดูแลสุขภาพที่อาจจะเกิดผลกระทบจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในสิ่งแวดล้อมในการ

ท างาน ซึ่งประกอบด้วย สิ่งคุกคามทางกายภาพ เช่น เสียง แสง ความร้อน รังสีก่อไอออน

สิ่งคุกคามทางเคมี เช่น ยาเคมีบ าบัด สารฟอร์มาลีน สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น เชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี เชื้อวัณโรค สิ่งแวดล้อมทางชีวกลศาสตร์ เช่น การยกเคลื่อนย้าย และ

สิ่งแวดล้อมทางจิตสังคม และ การท างานล่วงเวลา ความเครียดจากการท างาน และ

ตลอดจนสภาพการท างานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งได้แก่ การจัดการองค์กร การออกแบบการ

ท างาน ชั่วโมงการท างาน และคุณลักษณะของบุคลากร เช่น เพศหญิง สูงอายุ หรือ

บุคลากรใหม่เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะองค์กรที่เน้นแสวงหาผลก าไร ซึ่งลักษณะนี้จะมีผลต่อ

ความปลอดภัยของบุคลากรในการท างาน คุณภาพชีวิต และจะมีผลต่อคุณภาพในการ

ดูแลผู้ป่วย

Goal

 มีข้อแสดงเจตจ านงขององค์กรในการด าเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภายในสถานพยาบาลที่เป็นรูปธรรมและมีการติดตามเป็นตัวชี้วัดของสถานพยาบาล

อย่างชัดเจน

 มีระบบการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ

สภาพแวดล้อมในการท างานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจาก

การท างาน และมีวัฒนธรรมความปลอดภัยในการท างาน

Why

1. เนื่องจากสถานพยาบาลมีกระบวนการท างานที่มีสิ่งคุกคามต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน

ดังนั้นจ าเป็นต้องมีระบบการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ

สภาพแวดล้อมในการท างานอย่างเป็นรูปธรรม

2. โรงพยาบาลเป็นสถานประกอบกิจการที่กฎหมายก าหนดให้ต้องปฏิบัติตาม

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน พ.ศ. 2554

และกฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน ความปลอดภัย

อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการท างาน พศ. 2549

Process

1. โรงพยาบาลต้องประกาศนโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อม

ในการท างาน ภายใต้กฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการท างาน พ.ศ. 2549 และมาตรฐาน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย ที่เป็นบริบทของแต่ละโรงพยาบาลได้ก าหนด เช่น มอก.

18001 (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) หรือ ISO45001

2. กา หนดแผนงานและแผนงบประมาณ ของกิจกรรมด้านอาชีวอนามย ั และ

ความปลอดภัย ที่สอดคล้องกับนโยบายที่ได้ประกาศไว้ สอดคล้องกับความเสี่ยงที่แต่

ละโรงพยาบาลได้มีการประเมินไว้ และสอดคล้องกับมาตรฐานโรงพยาบาลและการ

บริการสุขภาพ ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ตั้งแต่การ

ประเมินความเสี่ยงจากสิ่งคุกคาม การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม การจัดการความ

เสี่ยงสุขภาพ การจัดท าระบบร้องเรียน การจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน การจัดท าเอกสาร

การจัดท าป้ายเตือนอันตราย การจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย โดยความ

ปลอดภัยเฉพาะด้านนั้น ประกอบไปด้วย

2.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่โครงสร้างอาคาร เช่น การตรวจสอบโครงสร้าง

อาคาร โดยต้องจัดท าโดยผู้ที่ได้รับใบรับรองตามมาตรฐาน และจัดท าควบคู่ไปกับระบบ

สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย

2.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับต้นก าเนิดพลังงานต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบระบบ

หม้อต้มไอน ้า การตรวจสอบระบบเครื่องปั่นไฟส ารอง

2.3 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การ

ตรวจสอบเครื่องก าเนิดรังสีก่อไอออน

2.4 ความปลอดภัยเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ เช่น การจัดการสารเคมีอันตรายใน

โรงพยาบาล โดยต้องจัดท าภายใต้ กฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานในการบริหารและการ

จัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการท างาน เกี่ยวกับ

สารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 และ การจัดการยาอันตรายภายใต้ NIOSH list of

Antineoplastic and Other Hazardous Drugs in Healthcare Settings 2016

2.5 ความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคลากร เช่น การตรวจสุขภาพก่อนเข้างานภายใน 30

วัน การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง การตรวจสุขภาพหลังสัมผัสสิ่งคุกคามจาก

อุบัติเหตุ (post-exposure)

2.6 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการท างาน เช่น การประเมินความ

เสี่ยงสุขภาพ การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม การควบคุมความเสี่ยงสุขภาพ การ

สื่อสารความเสี่ยงสุขภาพแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงาน

2.7 การจัดสวัสดิการและค่าชดเชยแก่บุคลากร

2.8 การก าหนดแผนป้องกันเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่นการระเบิด ไฟไหม้ สารเคมี

รั่วไหล

3. โรงพยาบาลต้องมีการจด ั กิจกรรมการดแ ู ลสภาพแวดล้อมและสิ่ งแวดล้อมใน

การท างานให้กับบุคลากรทุกระดับ รวมไปถึงผู้รับเหมาให้มีสภาพการท างานและ

สภาพแวดล้อมในการท างานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการ

ปฏิบัติงานของบุคลากรไม่ให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย

ให้สอดคล้องกับบริบทของ โรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนทรัพยากรบุคคล

(เช่นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือนักวิชาการ

สาธารณสุข) สนับสนุนงบประมาณ รวมถึงอุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ จากฝ่าย

บริหาร

4. ให้มีผร ู้ บ ั ผิดชอบด้านความปลอดภย ั ในการทา งานและอาชีวอนามย ั ในระดับ

ต่างๆ ดังนี้

4.1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับบริหาร

4.2 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับหัวหน้างาน

4.3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท างาน

(คปอ.) ที่มีองค์ประกอบและวิธีการได้มาตามเกณฑ์ก าหนดที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง

ก าหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย

สภาพแวดล้อมในการท างาน พศ. 2549) ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ต้องมีองค์ประกอบทั้ง

ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ในจ านวนที่ได้มาตรฐาน เช่น หากจ านวนบุคลากร

ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป จะต้องมีจ านวน คปอ. อย่างน้อย 11 คน ซึ่งประกอบด้วย ระดับ

บริหาร 5 คน ระดับปฏิบัติการ 5 คน และเลขานุการ 1 คน ทั้งนี้ เลขานุการควรเป็น

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นส าหรับหน่วยงาน

ราชการว่า ในต าแหน่งเลขานุการอาจมีบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีคุณวุฒิเทียบเท่า

แทนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ โดยมีการประชุมสม ่าเสมอ และเสนอผลการ

ประชุมและแนวทางฏิบัติในคณะกรรมการระดับบริหารต่อไป

5. โรงพยาบาลอาจจัดให้มีตัวแทนบุคลากรด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

ในระดบ ั หน่ วยงาน เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานในระดับหน่วยงาน

และมีเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน

6. โรงพยาบาลควรมีโครงสร้างการบริหารและจด ั การ โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาด

ใหญ่กว่า 500 คน (อ้างอิงจากกฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานในการบริหารและการ

จัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการท างาน พ.ศ. 2549) ซึ่ง

อาจมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการ ความปลอดภัยในการท างาน อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการท างาน โดยมีการแต่งตั้งหัวหน้าส านักงานฯ และมีบุคลากร

ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่จ าเป็น ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับ

วิชาชีพ หรือนักวิชาการสาธารณสุขที่มีความสามารถเทียบเท่า พยาบาลอาชีวอนามัย

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นต้น

7. มีตว ั ชี้วด ั ที่สา คญ ั ของการบริหารและจด ั การ ความปลอดภย ั อาชีวอนามย ั และ

สภาพแวดล้อมในการท างาน และมีการติดตามตัวชี้วัดอย่างสม ่าเสมอรวมถึงมี

การศึกษาแนวโน้มและการแก้ใข

8. มีระบบการตรวจสอบ (audit) การบริหารและการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอ

นามัย และการประเมินผล (evaluate) ผลลัพธ์จากการบริหารและการจัดการ

9. สร้างระบบการมีส่วนร่วมทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ

10. มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ

ท างาน (คปอ.) สม ่าเสมอ

Training

1. อบรมความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท างานระดับพื้นฐาน แก่

ผู้บริหารและบุคลากรทุกคน

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับต่างๆ ต้องได้รับการอบรมและผ่าน

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานจ านวน 12 ชั่วโมง โดยหลักสูตรต้อง

ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (หรือ

เทียบเท่า) ทั้งนี้ บุคลากรในโรงพยาบาลที่ต้องได้รับการอบรมฯ ได้แก่

2.1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับบริหาร

2.2 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับหัวหน้างาน

2.3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท างาน (คปอ.)

2.4 หัวหน้าส านักงานความปลอดภัย (อาชีวอนามัย)

Monitoring

1) การลดลงของการบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการท างานของบุคลากรลดลง

2) การลดลงของจ านวนการลางานจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการ

ท างาน

3) การลดความสูญเสียที่เกิดจากภาวะฉุกเฉินในที่ท างาน

4) บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการท างานที่ดี

5) การลดลงของอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใกล้เกิด ได้แก่ trip, slip and fall และ needle

stick injury เป็นต้น (ตัวชี้วัดที่ระบุในคู่มือ THIP หมวด SH: ประเภท SH 03 Human

Resource and Occupational Health; SH0301, SH0302, SH0303)

Pitfall

1. โรงพยาบาลมักมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ

ท างาน (คปอ.) เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในการดูแล

ผู้ป่วย (ENV) ซึ่งอาจไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การบริหารและการจัดการ ความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท างาน

2. โรงพยาบาลมักให้กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงาน

ความปลอดภัยในการท างานด้วย ซึ่งภารกิจหลักของกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมเป็นภารกิจที่

ให้บริการสุขภาพในการบริการอาชีวอนามัย ไม่ได้เป็นหน่วยงานหลักการจัดการความ

ปลอดภัยในการท างาน ดังนั้นอาจท าให้ขาดผู้รับผิดชอบหลักในการด าเนินงานตาม

แผนงาน ตลอดจนการประมาณการงบประมาณที่มาสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยและ

อาชีวอนามัย

3. อนึ่งหน่วยงานไม่สามารถปฏิบัติตามบริบทได้เช่นหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงาน

ขนาดเล็กเช่น รพสต หรือ รพช อาจจะอนุโลมให้หน่วยงานอาชีวเวชกรรมอาจเป็น

หน่วยงานการจัดการ แต่ควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารของ ติดตามตัวชี้วัดตามที่ก าหนด

4. การบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ

ท างาน เป็ นระบบงานและกระบวนการของหมวดทรัพยากรบุคคลเป็ นหลัก ไม่ใช่

ระบบงานสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย (ENV)

5. คณะกรรมการฯ ต้องมีองค์ประกอบทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ มิใช่เพียง

ระดับบริหารเท่านั้น

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค. สุขภาพและ

ความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 3 ข้อ 3.1 สิ่งแวดล้อม

ทางกายภาพและความปลอดภัย (ENV.1) ข้อ 3.2 เครื่องมือและระบบสาธารณูปโภค

(ENV.2) ข้อ 3.3 สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

(ENV.3), หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC.1) ก. ระบบการ

ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4) และ (5), ข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ

(IC.2) ข. การป้องกันการติดเชื้อกลุ่มเฉพาะ (3)