I-6 การจัดการกระบวนการ (PCM)

I-6 การจัดการกระบวนการ (PCM)

I-6.1 การออกแบบระบบงาน

องค์กรกำหนดงานที่เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของตน ออกแบบระบบงาน และกระบวนการสำคัญ เพื่อ

ส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ป่วย / ผู้รับผลงานอื่นๆ, พร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน, และบรรลุความสำเร็จขององค์กร.

ก. ความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร

(1) องค์กรกำหนดงานที่เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของตน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพันธกิจ สิ่งแวดล้อม และแผน

ปฏิบัติการ.

(2) องค์กรออกแบบระบบงานโดยรวม และสร้างนวัตกรรมให้กับระบบงาน โดยใช้ทรัพยากรจากภายนอก

อย่างเหมาะสม.

ข. การออกแบบกระบวนการทำงาน

(1) องค์กรกำหนดกระบวนการทำงานสำคัญ ซึ่งสัมพันธ์กับความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร. กระบวนการ

เหล่านี้นำไปสู่การส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ป่วย ผู้รับผลงานอื่นๆ และความสำเร็จขององค์กร. (นำเสนอ

กระบวนการทำงานที่สำคัญ)

(2) องค์กรจัดทำข้อกำหนด (คุณลักษณะที่คาดหวัง)52 ที่สำคัญของกระบวนการข้างต้น โดยใช้ข้อมูลจากผู้ประกอบ

วิชาชีพ ผู้ป่วย ผู้รับผลงานอื่นๆ ผู้ส่งมอบ และผู้ร่วมงานจากภายนอก. (นำเสนอข้อกหนด / ความคาดหวัง

ที่สำคัญ)

(3) องค์กรออกแบบ53และสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับกระบวนการทำงานเพื่อตอบสนองข้อกำหนด / ความ

คาดหวังสำคัญข้างต้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย หลักฐานทางวิชาการ มาตรฐานวิชาชีพ

เทคโนโลยีใหม่ๆ54 ความรู้ขององค์กร โอกาสที่จะต้องปรับเปลี่ยน ผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้น รอบเวลา ผลิตภาพ

ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล.

(4) องค์กรมีการจัดกระบวนงานเอกสารที่ทำให้มั่นใจว่านโยบาย ยุทธศาสตร์ กระบวนการ แผนงาน และรายงาน

การประชุมที่สำคัญ ได้รับการบันทึก โดยเอกสารและบันทึกต่างๆ มีกระบวนการควบคุมเอกสารที่ดี

ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ได้แก่

- ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้อนุมัติการเผยแพร่และใช้เอกสาร การอนุมัติอาจอยู่ในรูปแบบของลายเซ็น หรือ

การอนุมัติผ่านระบบอิเล็คโทรนิกที่มีรหัสผ่าน

- การจัดการที่ทำให้มั่นใจว่าเอกสารรุ่นล่าสุดอยู่ ณ จุดที่มีการนำไปใช้

- การจัดการที่ทำให้มั่นใจว่าเอกสารอยู่ในสภาพที่อ่านได้ง่าย และการเปลี่ยนแปลงสามารถสังเกตได้ง่าย

(โดยใช้ชื่อเอกสาร วันที่ออก เลขที่เอกสาร หรือเครื่องหมายอื่นๆ ที่เหมาะสม)

- การปรับปรุงเอกสารเป็นระยะตามความจำเป็น และมีการอนุมัติใหม่

- การป้องกันไม่ให้มีการใช้เอกสารที่ยกเลิกไปแล้ว โดยไม่ตั้งใจ และวิธีการระบุเอกสารที่ยกเลิกไปแล้ว

ในกรณีที่เอกสารนั้นยังต้องถูกจัดเก็บไว้เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง

- การประยุกต์ใช้กระบวนการควบคุมเอกสารกับเอกสารที่ได้รับมาจากภายนอกองค์กร

ค. ความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

องค์กรสร้างความมั่นใจในการเตรียมพร้อมของระบบงานและสถานที่ทำงานเพื่อรองรับภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน55,

โดยพิจารณาการป้องกัน การบริหารจัดการ ความต่อเนื่องของการให้บริการผู้ป่วยและชุมชนการเคลื่อนย้าย

และการฟื้นฟู.

Scoring guideline2011

26 การกาหนดงานที่เป็น core competency ขององค์กร และการออกแบบระบบงานโดยรวม

1.มีการกาหนด core competency ขององค์กรซึ่งสัมพันธ์กับพันธกิจและสิ่งแวดล้อมขององค์กร

2.มีการกาหนดระบบงานและกระบวนการสาคัญซึ่งสัมพันธ์กับ core competency ขององค์กร

3.มีการออกแบบระบบงานโดยรวมเพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้รับผลงาน, มีการพัฒนา core competency

4.มีการสร้างนวตกรรมให้แก่ระบบงานโดยใช้ทรัพยากรภายนอกอย่างเหมาะสม5, มีการทบทวนและปรับปรุง core competency

5.มี core competency โดดเด่นเป็นที่เทียบเคียงขององค์กรอื่น

Scoring guideline2011

27 ความพร้อมสาหรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติต่างๆ

1.มีการวิเคราะห์ภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินที่มีโอกาสเกิดขึ้น

2.มีการวางแผนเตรียมความพร้อมของระบบงานและสถานที่เพื่อรองรับภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน

3.มีการซักซ้อมความเข้าใจหรือซ้อมปฏิบัติอย่างสม่าเสมอ ครอบคลุมภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติที่สาคัญ

4.มีความโดดเด่น เช่น การปรับปรุงแผนให้เหมาะสมและมีความพร้อมตลอดเวลา

5.มีระบบบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Management System) ภายใต้ภาวะวิกฤติ

I-6.2 การจัดการและปรับปรุงกระบวนการทำงาน

องค์กรนำกระบวนการทำงานสำคัญไปปฏิบัติ บริหารจัดการ และปรับปรุงกระบวนการดังกล่าว เพื่อส่งมอบ

คุณค่าให้แก่ผู้ป่วย / ผู้รับผลงานอื่น และเพื่อบรรลุความสำเร็จขององค์กร.

ก. การจัดการกระบวนการทำงาน

(1) องค์กรนำกระบวนการทำงานที่ออกแบบไว้ไปปฏิบัติ และสร้างความมั่นใจว่าจะเป็นไปตามข้อกำหนดสำคัญ

ของกระบวนการ (บรรลุคุณลักษณะที่คาดหวัง). มีการนำข้อมูลจากผู้ป่วย ผู้รับผลงานอื่น ผู้ส่งมอบ และ

ผู้ร่วมงานจากภายนอกมาใช้ในการจัดการกระบวนการดังกล่าว. องค์กรใช้ตัวชี้วัดผลงานสำคัญ และ

ตัวชี้วัดระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมและปรับปรุงกระบวนการทำงาน.

(2) มีการพิจารณาความคาดหวังของผู้ป่วย. มีการอธิบายกระบวนการบริการสุขภาพและผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดขึ้น

เพื่อให้ผู้ป่วยมีความคาดหวังที่สามารถตอบสนองได้. ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและนำความสมัครใจ

(preference) ของผู้ป่วยมาพิจารณาในการให้บริการ.

(3) องค์กรพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการตรวจสอบ ป้องกันการต้องทำงานซ้ำและความผิดพลาด.

ข. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน56

องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น ลดความแปรปรวน ยกระดับการจัดบริการสุขภาพ

และผลลัพธ์สุขภาพ57 และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและทิศทางด้านบริการสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป. มี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปรับปรุงุ และบทเรียนระหว่า่งหน่วยงานและกระบวนการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการ

เรียนรู้และนวัตกรรมในองค์กร.

Scoring guideline2011

28 การจัดการและปรับปรุงกระบวนการทางาน

1.ใช้ 3P หรือPDSA ในโครงการพัฒนาคุณภาพและงานประจา

2.ใช้ 3P หรือ PDSA ในการบริหารหน่วยงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการติดตามกากับงานประจาวัน

3.ใช้ 3P หรือ PDSA กับระบบงานหรือกระบวนการหลัก (กระบวนการที่สร้างคุณค่า) และประเด็นเชิงกลยุทธ์

4.มีความโดดเด่น เช่น มีความชัดเจนในเรื่องการบูรณาการ (เชื่อมโยง) และนวต กรรม, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล

5.มีการประเมินและปรับ ปรุงการจัดการกระบวน การ ส่งผลให้เกิดคุณค่าต่อผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ความแปรปรวนลดลง ผลลัพธ์สุขภาพดีขึ้น