Discharge Planning 2

IN-HOME-SSS เป็นเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วย
ขณะเยี่ยมบ้าน

I Immobility ประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
N Nutrition ประเมินด้านอาหาร ลักษณะ ชนิดอาหารเหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่
การเก็บอาหาร วิธีการทำ เป็นต้น
H Housing ไม่ใช่ประเมินว่าดีหรือไม่ แต่ประเมินว่าสภาพบ้านมีลักษณะอย่างไร
โรคติดเชื้อ ดูอากาศถ่ายเท สัดส่วน เป็นต้น
ข้อเข่าเสื่อม ดูการขึ้นลง บันได ชั้น เป็นต้น
O Other people ประเมินว่าภาระบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร มีต่อผู้ป่วยอย่างไร ความสัมพันธ์เพื่อนบ้าน ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะมีใครเป็นตัวแทนที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้
M Medications ประเมินว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง กินอย่างไร มีวิธีการจัดยาแต่ละมื้ออย่างไรมียาอื่น ความสม่ำเสมอในการใช้ การเก็บรักษา ความชิ้นแสง เป็นต้น
E Examination การตรวจร่างกายและการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำภารกิจประจำวันได้มากน้อยเพียงใดที่บ้าน
S Safety ประเมินสภาพความปลอดภัยในบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติปรับสภาพภายในที่บ้านที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ห้องน้ำลื่น ที่จับ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก เป็นต้น
S Spiritual health ประเมินความเชื่อ ค่านิยมของคนในบ้านจาก ศาสนาวัตถุภายในบ้าน ความหมายในการใช้ชีวิต เช่น ห้ามรับเลือด เป็นต้น
S Services ให้ญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยในขณะที่หมอไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเข้าใจบริการดูแลสุขภาพทั้งที่บ้านและโรงพยาบาลว่ามีอะไรบ้าง แหล่งสถานที่ให้บริการด้านสุขภาพใกล้บ้านมีหรือไม่

เทคนิคขณะเยี่ยมบ้าน

  • การสัมภาษณ์ โดยมีหลักคือ ฟังด้วยความเห็นใจ, ใช้คำถามเปิด, อย่าแสดงความรีบร้อน, อย่าขัดจังหวะ

  • การสังเกต ในสิ่งที่ผู้ป่วยและสมาชิกภายในครอบครัวทำ สังเกตสภาพบ้านและเพื่อนบ้าน

  • ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ป่วย
    ได้แก่ เทคนิค BATHE
    - สถานการณ์ขณะเกิดเหตุการณ์(background situation)
    - อารมณ์ของผู้ป่วย(affect)
    - ปัญหาอะไรที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด(troubling for the patient)
    - วิธีการที่ผู้ป่วยจัดการกับปัญหานั้น(handing the problem)
    - ความเห็นอกเห็นใจ(empathy)


ที่มา
http://www.meded.nu.ac.th/WBI/499101/PD1/During%20visit.html