III-5 การให้ข้อมูลและการเสริมพลัง

88 การให้ข้อมูลและเสริมพลัง

มาตรฐาน

III-5 การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย / ครอบครัว (IMP)

ทีมผู้ให้บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย / ครอบครัว และกิจกรรมที่วางแผนไว้เพื่อเสริมพลังผู้ป่วย / ครอบครัวให้มีความสามารถและรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตนเองรวมทั้งเชื่อมโยงการสร้างเสริมสุขภาพเข้าในทุกขั้นตอนของการดูแล.

(1) [ประเมิน(ปัญหา ความต้องการ อารมณ์ จิตใจ ศักยภาพความพร้อม)] [วางแผน กิจกรรม การเรียนรู้]

-ทีมผู้ให้บริการประเมินผู้ป่วยเพื่อวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้.

-การประเมินครอบคลุม ปัญหา/ ความต้องการของผู้ป่วย, ขีดความสามารถ, ภาวะทางด้านอารมณ์ จิตใจ, ความพร้อมในการเรียนรู้และดูแลตนเอง.

(2) [ให้ข้อมูลช่วยเหลือ การเรียนรู้] [ประเมินการรับรู้]

-ทีมผู้ให้บริการให้ข้อมูลที่จำเป็นและช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ สำหรับการดูแลตนเองและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี แก่ผู้ป่วยและครอบครัว, อย่างเหมาะสมกับปัญหา เวลา มีความชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่าย.

-มีการประเมินการรับรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้รับไปปฏิบัติ.

(3) [ให้ความช่วยเหลือด้านอารมณ์ จิตใจ ให้คำปรึกษา]

ทีมผู้ให้บริการให้ความช่วยเหลือทางด้านอารมณ์จิตใจและคำปรึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและครอบครัว.

(4) [กำหนดกลยุทธ์การดูแลตนเอง] [ติดตามปัญหา อุปสรรค]

ทีมผู้ให้บริการและผู้ป่วย / ครอบครัว ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์การดูแลตนเองที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย,รวมทั้งติดตามปัญหาอุปสรรคในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง.

(5) [เสริมทักษะ]

ทีมผู้ให้บริการจัดกิจกรรมเสริมทักษะที่จำเป็นให้แก่ผู้ป่วย/ครอบครัว และสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วย /ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง.

(6) [ประเมิน] [ปรับปรุง] ดูตามเป้าหมาย

ทีมผู้ให้บริการประเมินและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้และการเสริมพลังผู้ป่วย / ครอบครัว.

เป้าหมาย ผู้ป่วย/ครอบครัว สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้

HA scoring

1-ผู้ป่วยได้รับข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตน

2-มีการประเมินความต้องการและวางแผน กิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

3-ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการกำหนด แผนการดูแลตนเอง, ได้รับข้อมูลและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดูแลตนเอง มีความโดดเด่น เช่น นวตกรรมในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ, การให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ, เชื่อมโยงการสร้างเสริมสุขภาพเข้าในทุกขั้นตอนของการดูแล

4-มีความโดดเด่น เช่น นวตกรรมในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ, การให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ, เชื่อมโยงการสร้างเสริมสุขภาพเข้าในทุกขั้นตอนของการดูแล

5-มีการประเมินและปรับปรุงการให้ข้อมูล และเสริมพลังอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จใน การดูแลตนเองและมีส่วนในการช่วยเหลือ แนะนำผู้อื่น

การดำเนินงาน

-พัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรค metabolic syndrome ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

-การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ

-การพัฒนาระบบการดูแลสตรีที่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

-พัฒนาสนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในกลุ่ม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

-พ๊มนาส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ชุมชนให้สามารถดูแลตนเองในโรงงานได้

-พัฒนาระบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในการดูแลกลุ่ม acute stroke

ขณะอยู่ในโรงพยาบาลและเมื่อกลับไปบ้าน มีระบบการติดตามเยี่ยมต่อผู้ป่วยที่บ้านอย่างเป็นรูปแบบที่เหมาะสม

ผู้ป่วยและญาติได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาต่อเนื่อง มีกิจกรรมเฉพาะในผู้ป่วยบางกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเช่น กลุ่มเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

จัดให้ญาติและผู้ที่ต้องดูแลทราบแนะทางการไปปฏิบัติตนต่อที่บ้าน

เช่นกรณีดูแลผู้ป่วย stroke หรือ ผ่าตัดสมอง