Best practice

Let’s Reinvent the Wheel and Redefine “Best Practice”

เรามาคิดค้นกันใหม่ ให้ความหมายใหม่กับคำว่า “Best Practice” กันเถอะ

By Derek Feeley | Wednesday, January 30, 2019

....

ประเด็นสำคัญ (1) เลิกมองว่า best practice เป็น final แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราวที่ต้องพัฒนากันต่อไปเรื่อยๆ (2) ผู้ป่วยเป็นบุคคลสำคัญในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

.......

http://www.ihi.org/communities/blogs/lets-reinvent-the-wheel-and-redefine-best-practice?utm_campaign=tw&utm_source=hs_email&utm_medium=email&utm_content=69528282&_hsenc=p2ANqtz--_68aZf6nr03CzvLFwxgPIJthTdl0aiZhCLUAG_3rq-kS0mM-2aCy5bFnJGkYz80e8CANIt4SPDXY_8xyXfQW4iWELFQ&_hsmi=69528282

เมื่อผมเป็น CEO ของระบบสุขภาพ ผมมีคณะกรรมการชุดหนึ่งทำหน้าที่พิจารณาเภสัชตำรับระดับชาติอที่แพทย์จะสั่งใช้ได้. ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เป็นแพทย์จากสถาบันการศึกษา. บางคนเป็นตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม. สมาชิกบางคนตั้งข้อสงสัยในการที่มีผู้ป่วยท่านหนึ่งร่วมอยู่ในวงพิจารณาด้วย. พวกเขาสงสัยว่าผู้ป่วยจะเข้าใจความซับซ้อนของกระบวนการตัดสินใจของเราหรือไม่. ความห่วงกังวลเหล่านั้นไม่เป็นความจริง. การนำผู้แทนผู้ป่วยเข้ามาร่วมในกระบวนการนี้ได้ทำให้พลวัตของกลุ่มและบทสนทนาเปลี่ยนแปลงไป. ผู้เชี่ยวชาญโดยทั่วไปมักจะมาร่วมอภิปรายเพื่อกำหนด best practice พร้อมมุมมองที่ตัดสินใจไว้เรัยบร้อยแล้ว. พวกเขามีที่นั่งในที่ประชุมเพราะเป็นตัวแทนตำแหน่งสักอย่างหนึ่ง. ตรงกันข้าม ผู้ป่วยมักจะมาด้วยประสบการณ์ชีวิตและผลประโยชน์ของผู้ป่วยเท่านั้น. เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่ผมตั้งข้อสงสัยว่าระบบบริการสุขภาพจะปิดอช่องว่างระหว่างสิ่งที่เรารู้กับสิ่งที่เราทำได้อย่างไร. ผมไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดอย่างนั้น. เมื่อปี 2003 Beth McGlynn และคณะได้เผยแพร่บทความใน New England Journal of Medicine ว่าเพียงร้อยละ 55 ของผู้ใหญ่นับพันในสหรัฐที่เขาศึกษาได้รับการดูแลตามคำแนะนำ.

ทำไมจึงมีข่องว่างระหว่างความเข้าใจของเรากับสิ่งที่ผู้ป่วยรับรู้ ในเรื่องคุณภาพการดูแล? ไม่ใช่เพราะว่าผู้เชี่ยวชาญที่กำหนด best practice มีความรู้ไม่พอ หรือว่าข้อเสนอแนะของพวกเขาไม่ถูกต้อง. แต่เหตุผลหนึ่งก็คือเรามักจะลืมผู้ป่วยและผู้ที่จะนำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย. เป็นการง่ายมากที่จะมองข้ามบุคคลสำคัญเหล่านี้เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ร่วมในวงอภิปราย.

ในปัจจุบัน best practice มักจะถูกกำหนดโดยคนไม่กี่คน (กลุ่มที่ถูกเลือกมาซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของสังคม) เพื่อใช้กับคนส่วนใหญ่. คนจำนวนน้อยที่ว่านี้มักจะเป็นผู้อาวุโส ผิวขาว (ตามบริบทอเมริกา)และเป็นผู้ชาย การผูกขาดเช่นนี้ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาแก่วงการของเรา.

วิธีคิดแบบที่ยึดถือกันมาฉุดรั้งเราอย่างไร

โปรดอย่าเข้าใจผมผิด. ความเชี่ยวชาญเป็นสิ่งจำเป็น. หลักฐานจากการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์อาจจะสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน และควรเป็นศูนย์กลางของการอภิปรายเรื่อง best practice ทั้งหมดของเราแต่มันไม่เพียงพอ. ต่อไปนี้คือคำอธิบายว่าวิธีคิดแบบที่ยึดถือกันมาเกี่ยวกับผู้ที่จะกำหนด best practice ฉุดรั้งเราไว้อย่างไร:

-มันผลักดันให้เราใช้ closed mindset มากกว่า growth mindset

มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า “best” คือจุดสุดท้าย. จะเป็นอย่างไรถ้าเราใช้คำว่า current best practice? มันจะช่วยให้เราตระหนักว่า best practice มีลักษณะชั่วคราวและสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา.

-มันทำให้มุมมองของเราแคบเกินไป

Current best practice ต้องถูกสร้างโดย many สำหรับ the many. เราควรทำให้มั่นใจว่าได้พิสูจน์เพื่อความเป็นธรรมในแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานทุกชุด. อีกนัยหนึ่ง เราแน่ใจหรือไม่ว่าแนวปฏิบัตินั้นช่วยลดความแตกต่างกัน มิใช่ทำให้มากขึ้น? เราจะรู้ได้อย่างไร? มีแนวโน้มว่าเราจะทำให้แนวปฏิบัติสร้างความเป็นทำได้มากขึ้นถ้าเรานำผู้คนเข้ามาร่วมพิจารณามากขึ้น (more inclusive).

-มันใช้เวลานานว่าที่ best practice จะไปถึงผู้ป่วย

มักจะมีความเข้าใจผิดว่าการนำผู้คนจำนวนมากขึ้นมาร่วมจัดทำ best practice จะทำให้ช้าลง. ผมขอแย้งว่าการทำให้กระบวนการนี้เปิดรับมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับคนส่วนใหญได้เร็วขึ้น. การมีผู้ป่วยร่วมอยู่ในห้องประชุมจะทำให้เรามี better sense ว่าแนวคิดใหม่ๆ นั้นจะใช้การได้ในชีวิตจริงกับผู้คนซึ่งอาจจะไม่มีปริญญาแพทยศาสตร์หรือดุษฎีบัณฑิต. ในเกือบทุกกระบวนการออกแบบทางคลินิกที่ผมได้มีส่วนร่วม ผู้ป่วยคือคนที่ทำให้ความตรงไปตรงมากลับคืนมา. พวกเขาตั้งคำถามต่อสมมติฐานที่เราใช้กันจนชิน. บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะถามคำถามที่สำคัญที่สุด: “ทำไมสิ่งนี้จึงมีความสำคัญ?” “เราจำเป็นต้องทำแบบนี้หรือไม่?” “มีวิธีที่จะทำให้ง่ายกว่านี้สำหรับผู้ป่วยหรือไม่?” “การทำแบบนี้จะมีผลเสียอะไรบ้าง?”

แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง? เราจะเลิกใช้การคิดแบบที่ยึดถือกันมาเกี่ยวกับ best practice ได้อย่างไร?

-นำความรู้หรือศาสตร์ด้านการพัฒนามาใช้ในการจัดทำ current best practice

ผมเชื่อว่าความเชี่ยวชาญร่วมของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาด้านคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแบะการนำไปปฏิบัติ ร่วมกับผู้ป่วย รวมกันแล้วจะให้ผลมากกว่าที่จะได้รับจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดดๆ. การจัดทำ current best practice ควรเป็นกระบวนการที่เปิดกว้าง เป็นความพยายามร่วมกัน และไม่มอบหมายให้เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว.

-ขยายวงของผู้เชี่ยวชาญ

ถ้าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาด้านคลินิก ให้คิดว่าท่านจะมีส่วนในการสร้าง best practice ร่วมกับความเขี่ยวชาญของผู้อื่นอยได้อย่างไร โดยเฉพาะผู้ป่วยและครอบครัว.

-ถามตัวเองว่าจะเรียนรู้จากวงการอื่นได้อย่างไร

ตัวอย่างเช่น ในวงการเทคโนโลยี ไม่เคยมีสิ่งที่เรียกว่า “best practice.” ทุกสิ่งเป็นเรื่องของการพัฒนา และผู้ที่ช่วยให้เกิดก่รพัฒนาเพื่อให้เกิเ the next best version ของผลิตภัณฑ์คือผู้ใช้นั่นเอง. เราทำสิ่งนี้ทุกครั้งที่เราใช้ smartphone. วิธีการใช้โทรศัพท์ของเราบอกบริษัทผู้ผลิตเกี่ยวกับ function ที่เราใช้ ความถี่ที่เราใช้ และสิ่งที่เราอาจพบว่ามีประโยชน์ในอนาคต. กระบวนการที่มีการทำซ้ำและทดสอบอยู่ตลอดเวลานี้เรียกว่า “perpetual beta,” มันเป็นเรื่องของ approach และ mindset ซึ่งอาจช่วยแก้ปัญหาที่ดูเหมือน intractable ด้วยการมองปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีการใหม่ที่สร้างสรรค์. เป็นความจริงที่ว่าเราควรเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของผู้อื่นให้มากขึ้น ผมอยากจะท้าทายความคิดที่ว่าเราไม่ควรคิดค้นซ้ำในสิ่งที่ถูกค้นพบแล้ว. บางคนั้งเราก็ต้องคิดค้นซ้ำอีก หาไม่แล้วเราอาจจะเหมือนกับว่าเราเอาล้อเกวียนในยุคกลางมาใส่รถยนต์ของเราแทนที่จะเป็นล้ออัลลอย 19 นิ้ว.

ขอให้ยอมรับว่าเราต้องคิดค้นผลิตล้อใหม่ (reinvent the wheel) และขออย่าทำเพียงในห้องทดลอง. ขอให้ทำงานร่วมกับคนที่จะนำไปใช้หรือได้รับการรักษาใหม่ กระบวนการใหม่ หรือหัตถการใหม่. ขอให้นำมุมมองของพวกเขามาพิจารณาว่าเขาต้องการอะไร และอะไรที่สำคัญกับพวกเขามากที่สุด.

การอุทิศตนของเราให้กับการพัฒนาคุณภาพหมายความว่าจะไม่ยอมหยุดอยู่กับสิ่งใดหากไม่ใช่ the best. การให้นิยามความหมายใหม่อยู่ตลอดเวลาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เราไปถึงจุดนั้น.

Credit อ.อนุวัฒน์