12 กิจกรรมทบทวน

12 กิจกรรมทบทวน

คะแนน 1 มีการทบทวนเป็นครั้งคราว

คะแนน 2 มีการทบทวนและปรับปรุงที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ

คะแนน 3 ทบทวนครอบคลุมโอกาสเกิดปัญหาสำคัญ มีการวิเคราะห์ Root cause เพื่อหาสาเหตุเชิงระบบนำมาสู่การปรับปรุงระบบงาน

เน้นที่การป้องกันสาเหตุที่แท้จริงอย่าง ครบถ้วน

คะแนน 4 ทบทวนที่บูรณาการเข้าเป็นกิจกรรมประจำ มีความไวในการตรวจพบปัญหาในการดูแลผุ้ป่วยติดตามการปฏับัติตามระบบงานที่ได้รับการปรับปรุงและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คะแนน 5 มีวัฒนธรรมของการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งการมีระบบ Concurrent monitoring ในรูปแบบต่างๆ

ทบทวนคุณค่าของการทบทวน

-ความรู้สึกต่อการทบทวน

-ปัญหาในการทบทวน

-วิธีการสร้างสรรค์ที่นำมาใช้

ความหมาย และความสำคัญ

“กิจกรรมทบทวนคุณภาพ”

-เป็นเครื่องมือคุณภาพขั้นพื้นฐาน ของ HA

-เป็นเครื่องมือค้นหาโอกาสพัฒนา

-เป็นกระจกส่องตัวเอง

เป้าหมายสำคัญ ของการทำกิจกรรมทบทวนคุณภาพ

เพื่อรับรู้ปัญหา รับรู้สาเหตุ และนำไปสู่การป้องกันอย่างรัดกุม

การทบทวน 12 กิจกรรม

1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย (C3THER)

2.การทบทวนคำร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นผู้รับบริการ

3.การทบทวนการส่งต่อ/ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา

4.การทบทวนโดยผู้ชำนาญกว่า

5.การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง

6.การทบทวนเหตุการณ์สำคัญ

7.การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

8.การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา

9.การทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียน

10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ

11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร

12.การทบทวนเครื่องชี้วัด

ดูไสด์เพิ่มเติมจากสรพ.ด้านล่าง

12 กิจกรรมทบทวน

ทบทวนทั้งที คุณเข้าใจเป้าหมายดีแล้วหรือยัง?

“การทบทวน เป็น เครื่องมือที่เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ การทำความเข้าใจเป้าหมาย/แก่นสารสำคัญของกิจกรรมทบทวน จะช่วยทำให้ได้เรียนรู้ประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทำให้การทบทวนเป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าอย่างแท้จริง”

***ทบทวนอย่างไรที่จะ ทำน้อยแต่ได้มาก

ไม่ใช่ทบทวนมากแต่ได้(ประโยชน์)น้อย? ***

เป้าหมาย/แก่นสารสำคัญของการทบทวน ที่ควรเข้าใจ ได้แก่

การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย :

เรียนรู้จากผู้ป่วยที่อยู่ตรงหน้า ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ว่าผู้ป่วยกำลังสอนอะไรเรา “อะไรเป็นความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะทำให้ดีขึ้น” สำหรับผู้ป่วยรายนี้และรายอื่นๆ, หลุมพลางที่พบบ่อยๆคือ C3THER เป็นเพียงแนวทางเพื่อให้เห็น Risk & OFI แนวหนึ่งเท่านั้น

การทบทวนเวชระเบียน

เป็นการประเมินโอกาสใช้ประโยชน์จากสิ่งที่บันทึก

ทบทวนแล้ว “สามารถหาโอกาสพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย” ได้ไหม?

การทบทวนอุบัติการณ์

รับรู้ AE ให้มาก เรียนรู้สาเหตุ ปรับปรุงระบบ “เพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำ”

การทบทวนการส่งต่อ/ปฏิเสธการรักษา

ดูแลดีพอหรือไม่ เรียนรู้อะไร ทบทวนแล้วรู้ว่า “ต้องพัฒนาศักยภาพอะไร”

การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ชำนาญกว่า

“เร่งรัดการพัฒนาให้เก่งเร็วขึ้น” โดยเฉพาะในกรณี ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือ เกินความสามารถ

การทบทวนการใช้ข้อมูลวิชาการ

ใช้วิชาการที่ทันโลก ไม่มากไป ไม่น้อยไป

การทบทวนคำร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

เพื่อรับรู้ ตอบสนอง ปรับระบบให้เป็นองค์กรที่มุ่นเน้นผู้ป่วย/ลูกค้ามากขึ้น รักษาศรัทธาและความไว้วางใจที่ผู้ป่วยมีต่อองค์กร และป้องกันการบานปลายของเรื่องราวที่อาจกลายเป็นคดีความ

การทบทวนตัวชี้วัด

เพื่อให้ทีมงานรับรู้ว่าสามารถเป้าหมายไดีเพียงใด อาจนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือการแบ่งปันบทเรียนของความสำเร็จให้แก่ผู้อื่น

การทบทวนเหตุการณ์สำคัญ

เพื่อเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น นำมาสู่การปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำ รวมทั้งฝึกสร้างวัฒนะรรมไม่ตำหนิกล่าวโทษกัน (no blame)

การทบทวนการใช้ทรัพยากร

เพื่อลดความสูญเปล่าในการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง

อ้างอิง นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ., ส่วนหนึ่งของการบรรยาย Road to Accreditation, Workshop Act to Accreditation. สถาบันรับรองคุณภสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

#สิ่งที่ได้เรียนรู้บนเส้นทางคุณภาพ #HAThailand