1S 2: Safe Anesthesia

Definition

ความปลอดภัยในการให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วย หมายถึง การมีอัตราการเสียชีวิต

และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกี่ยวข้องกับการให้ยาระงับความรู้สึกในอัตราต ่า และหลีกเลี่ยง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจป้องกันได้

Goal

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการระงับความรู้สึกโดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม

มีกระบวนการการให้ยาระงับความรู้สึกตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการ

แพทย์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับการผ่าตัดโดยปลอดภัย ลดอัตราเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อน

Why

จากงานวิจัยสหสถาบัน THAI Study (2005) โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่ง

ประเทศไทย ซึ่งพบอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้การระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมง

28:10000 ลดลงเป็น 14:10000 (งานวิจัย PAAd Thai Study 2015) และการลดลงของ

ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ โดยราช

วิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ได้ใช้แนวทาง International Standard for a Safe Practice of

Anesthesia 2010 (จากความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก World Health Organization และ

World Federation of Societies of Anesthesiologists)

Process

การให้ยาระงับความรู้สึกประกอบด้วย

1. บุคลากรที่สามารถให้การระงับความรู้สึก ได้แก่

1.1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเพื่อแสดงความรู้ความ

ช านาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิสัญญีวิทยา จากแพทยสภา

1.2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลใน

ก ากับของรัฐ หรือสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย

1.3. พยาบาลที่ได้รับประกาศนียบัตรการศึกษา หรือการอบรมในหลักสูตรวิสัญญี

พยาบาล โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใน

สถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลในก ากับของรัฐ หรือสถานพยาบาลของ

สภากาชาดไทย (เฉพาะการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป)

โดยจ านวนบุคลากรที่บริการต้องมีความเพียงพอต่อจ านวนผู้มารับการระงับความรู้สึก

ทุกประเภท ทั้งการระงับความรู้สึกทั้งแบบ moderate sedation และ deep sedation

ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังหน่วยดูแลหลังผ่าตัด หรือหอผู้ป่วยวิกฤต

2. กระบวนการท างาน ขั้นตอนในการระงับความรู้สึก

ก่อนทา การระงบ ั ความร้ส ู ึก ผู้ป่วยจ าเป็นต้อง (1) ได้รับการประเมินสภาวะก่อนการ

ระงับความรู้สึก (pre-anesthetic evaluation) (2) จ าแนกผู้ป่วยตามเกณฑ์ของสมาคมวิสัญญี

แพทย์อเมริกา (American Society of Anesthesiologists Physical Status) เพื่อวางแผนการ

ระงับความรู้สึก และจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสม (3) ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการระงับ

ความรู้สึก การปฏิบัติตนหลังการระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น (สามารถ

ยกเว้นได้ในกรณีฉุกเฉิน) (4) มีการบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย (5) Anesthetic Consent

Form และ (6) ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ และยาที่จ าเป็น

ระหว่างการระงบ ั ความร้ส ู ึก ต้องมีการเฝ้าระวัง และการบันทึกที่เหมาะสม ตาม

แนวทางมาตรฐานของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย และต้องประเมินผู้ป่วยก่อน

การเคลื่อนย้าย

หลังการระงับความรู้สึก ผู้ป่วยในระยะนี้อาจยังมีผลจากยาระงับความรู้สึกโดยเฉพาะ

ระบบประสาทส่วนกลาง และยาหย่อนกล้ามเนื้อที่อาจหลงเหลืออยู่ ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมี

บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเครื่องมือที่จ าเป็นในระหว่างการเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ยัง

ต้องมีการส่งต่อข้อมูลที่ส าคัญให้ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย สามารถดูแลได้อย่างต่อเนื่อง

การดูแลผู้ป่ วยหลังการระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้ น (post-anesthetic care) เป็น

เวลาที่ไม่ต ่ากว่า 1 ชั่วโมง โดยมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 หรือบุคลากรที่ได้รับการ

ฝึกอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกของแต่ละสถานพยาบาล ต้องมีการเฝ้าระวัง

และการบันทึกที่เหมาะสม และ หรือก่อนการส่งต่อผู้ป่วยจาก/post anesthetic care unit ควรมี

post-anesthesia recovery scoring system ควรมี score ที่ถึงเกณฑ

3. เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม ตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยวิสัญญี

แพทย์แห่งประเทศไทย

4. มีแนวทางการจัดการเมื่อเกิดภาวะไม่พึงประสงค์: เพื่อไม่ให้น าไปสู่ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์

หรือลดความรุนแรงของภาวะไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ควรตั้งสติระงับความตกใจ การขอความ

ช่วยเหลือจากบุคคลที่เชื่อถือได้ การสื่อสารที่ดีกับทีมศัลยแพทย์ทันที งดการวิจารณ์โดยไม่

ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเหตุไม่พึงประสงค์เกิดจากสาเหตุใด เรียบเรียงเหตุการณ์และไม่บันทึก

เหตุการณ์ในลักษณะขัดแย้ง สื่อสารกับญาติเป็นทีม รายงานผู้จัดการความเสี่ยง และ

ผู้บังคับบัญชา รวมทั้งการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และสร้างความเข้าใจที่ดีกับญาติ

Training

1. วิสัญญีแพทย์/แพทย์ ต้องมีการอบรมเพิ่มพูนความรู้เฉพาะทางวิสัญญีวิทยา อย่างน้อย 20

ชั่วโมงต่อ 5 ปี

2. วิสัญญีพยาบาล ต้องมีการอบรมเพิ่มพูนความรู้เฉพาะด้านวิสัญญีวิทยา อย่างน้อย 15

ชั่วโมงต่อ 5 ปี และ/หรือต้องมีการปฏิบัติการให้ยาระงับความรู้สึกไม่น้อยกว่า 50 รายต่อปี

Monitoring

1. ก าหนดตัวชี้วัดของหน่วยงานอย่างชัดเจน

2. ก าหนดแนวทางปฏิบัติ เฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงในแง่ของอุบัติการณ์ หรือความรุนแรง

3. มีกิจกรรมรายงานข้อมูลเหตุไม่พึงประสงค์ หรือภาวะแทรกซ้อน เป็นประจ า เพื่อหาแนวทาง

ป้องกันและลดความรุนแรง

4. บุคลากรควรมีการศึกษาฝึกอบรมความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง

Pitfall

1. บุคลากรควรมีจ านวนเหมาะสมกับงานบริบาลของหน่วยงานวิสัญญี ประกอบด้วยการให้ยา

ระงับความรู้สึก การประเมินเตรียมผู้ป่วย และให้ข้อมูลผู้ป่วยในระยะก่อนให้ยาระงับ

ความรู้สึก ตลอดจนการดูแลระยะหลังการให้ยาระงับความรู้สึก

2. ทรัพยากร ตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ การเฝ้า

ระวังด้วย pulse oximeter ทุกราย การเฝ้าระวังระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก

ด้วย capnometer ในผู้ป่วยได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวที่ใส่ท่อหายใจ นอกจากนี้ควร

พัฒนาให้มีการจัดหาเครื่องช่วยในการใส่ท่อหายใจกรณีใส่ท่อหายใจยาก ควรจัดหาเครื่อง

อัลตร้าซาวน์ส าหรับช่วยในหัตถการต่างๆ การติดสลากยา ทางวิสัญญีใช้ระบบสีตาม

แนวทางของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อป้องกัน และลดความรุนแรง

ของภาวะแทรกซ้อนของการให้ยาผิดพลาด อย่างไรก็ตามก่อนบริหารยาต้องอ่านชื่อยาที่

ระบุไว้บนสลากยาเสมอ

3. ควรจัดตั้งห้องพักฟื้น (Post anesthesia care unit: PACU) มีหลักฐานว่าช่วยลด

ภาวะแทรกซ้อนหลังการให้ยาระงับความรู้สึกได้ สถานพยาบาลที่มีขนาดและทรัพยากร

เพียงพอจึงควรจัดตั้งห้องพักฟื้น เพื่อการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย

4. หากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการจ าหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นภายหลังระยะเวลา 1 ชั่วโมง

ควรมีการจ าหน่ายด้วยระบบ scoring ที่เหมาะสม หรือได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพ

เวชกรรม

5. นอกจากมาตรฐานและแนวทางของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังมี

แนวทางปฏิบัติซึ่งอาจแตกต่างกันในบางประเทศขึ้นกับบริบทของสถานพยาบาลในแต่ละ

ประเทศ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในเรื่องเดียวกันของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่างสาขา ก็

อาจมีความแตกต่างกัน

6. เนื่องจากการบริการวิสัญญีเป็นวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกจึงต้องรับการศึกษา

ต่อเนื่อง เพื่อด ารงความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือช านาญการ การร่วมประชุมวิชาการ หรือเข้ารับ

การอบรมเชิงปฏิบัติการวิสัญญีจึงมีความจ าเป็น

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ (PCD.3) ก. การระงับ

ความรู้สึก