CTHL17PIH

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 120 เตียง ให้การดูแลผู้ป่วยคนไทย (สิทธิ์ทั่วไป , ประกันสังคม และผู้ป่วยต่างด้าวที่ประกันสุขภาพ (สิทธิ AW ) มีสูติแพทย์ประจำ 1 ท่าน Part time 7 ท่าน ในปี 2556-2559(มิ.ย.-มิ.ย.) มีทารกแรกเกิดคลอดจำนวน 860,867, 556, 222 ราย ตามลำดับโดยมีสัดส่วนทารก ชาวไทย :ชาวพม่า (1 : 3 ) จากสถิติพบว่าภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Pregnancy induced hypertension ; PIH ) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปี 2556-2559 (ม.ค. – มิ.ย. ) พบภาวะ PIH จำนวน 16 ราย (1.86%), 32 ราย (3.69 %), 21 ราย (3.78%), 11 ราย (4.95%) จากหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอดทั้งหมดรายปีที่ 860, 867, 556,222 ราย โดยแบ่งเป็น

1) Mild pre eclampsia จำนวน 11 ราย (68.75%), 21ราย (65.62%), 12ราย (57.14%), 10 ราย (90.9%)

2) Severe pre eclampsia จำนวน 5 ราย (31.25%), 11ราย (34.38%), 9ราย (42.86%), 1 ราย (9.10%) ผู้ป่วยที่มีภาวะ PIH ฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่องร้อยละ 87.5 ไม่มีประวัติฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลและมาด้วยภาวะ PIH ที่ร้อยละ 12.5

ปี 2558 เดือนตุลาคม 2558 พบ Eclampsia 1 ราย โดยพบว่าเกิดจากขาดการประเมินซ้ำ และการรายงานผล Lab ล่าช้า ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะชัก

ปี 2559 เดือนมีนาคม 2559 พบผู้ป่วย Severe PIH 1 ราย ได้รับการรักษาโดยการให้ยา Magnesium หลังได้รับยาผู้ป่วยไม่เกิดภาวะ Eclampsia และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา Magnesium

2.ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงที่สำคัญ

1. การคัดกรองและการประเมินความเสี่ยงซ้ำที่มีประสิทธิภาพ

2. การวินิจฉัยที่ถูกต้องและให้การดูแลรักษาที่รวดเร็ว

3. วางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม รวดเร็วลดการเกิดภาวะชักในกลุ่ม PIH

3.เป้าหมายการพัฒนา

เพื่อลดอัตราการเกิด Eclampsia

4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

พัฒนาระบบเพิ่มศักยภาพ การคัดกรองและประเมิน

1. วางระบบการซักประวัติคัดกรองความเสี่ยง PIH และบันทึกภาวะเสี่ยงโดยใช้ปากกาเน้นข้อความสีแดง “ Risk PIH ” ในบันทึกการฝากครรภ์และประวัติของโรงพยาบาล

2. กำหนดแนวทางการประเมินแบบ Early warning จากประวัติ ANC ตรวจหาระดับโปรตีน ในปัสสาวะทุกรายทันทีถ้าพบโปรตีนในปัสสาวะ 1 + ขึ้นไป BP ≥140/90 รายงานแพทย์ทราบ สังเกตอาการที่จะนำไปสู่ภาวะ Severe Preeclampsia ปฏิบัติตาม CPG

3. กรณีที่มีภาวะ severe Preeclampsia ให้การรักษาตาม Standing order for Severe Preeclampsia

4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะPIH

การรักษา

กำหนด CPGเรื่องแนวทางการดูแลผู้ป่วย PIH

5. ผลการพัฒนา

1. มีแนวทางการดูแล ภาวะPIH

2. เจ้าหน้าที่มีสมรรถนะ ในการดูแล และสามารถ ให้การดูแลรักษาได้

6. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

1. พัฒนาการฝากครรภ์คุณภาพเน้นให้ ผู้ป่วยสามารถ สังเกตอาการผิดปกติ ป้องกันภาวะชักได้ด้วยตัวเอง

2. อบรมเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม High risk for PIH