การทำ Lean in Healtcare

Lean in Healthcare

เป้าหมาย Lean ใน Healthcare

คือ การส่งมอบ product/ service ที่มีคุณค่าให้แก่ผู้รับผลงาน คุณค่าในมุมมองของผู้รับผลงาน คุณค่าในมติของ

Quality, Safety, Delivery, Low Cost

Ø โดยมี Work Flow Process อย่างต่อเนื่อง Increase Flow

Ø ปราศจากความสูญเปล่า Decrease Waste

Ø ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาวะที่เป็นไปได้โดยเร็วที่สุด

Ø หรือส่งเสริมป้องกันไม่ให้สุขภาวะที่มีอยู่ต้องเสื่อมลง

ขั้นตอนการทำ Lean

1. กำหนดเป้าหมายหรือโครงการที่จะทำ ลีน

2. กำหนดวัตถุประสงค์และผู้รับผิดชอบ

3. จัดทำ แผนผังการทำงานในปัจจุบัน (Value Stream Mapping หรือ Flow Process)

4. ระดมสมองและร่วมกันวิเคราะห์กระบวนการทำงานหลักเพื่อ ระบุหรือประเมินปัญหา

5. ปรับปรุง Flow Processโดยเทคนิค ลีน เช่น ขจัด ความสูญเสีย Muda เพิ่มคุณค่า เลือกงานสำคัญเฉพาะที่มีคุณค่า

6. จัดทำ แผนผังการทำงานใหม่ ในอนาคตให้ไหลลื่น

7. แจ้งแผนการทำงานใหม่ให้ทุกคนทราบและปฎิบัติตาม

8. ติดตาม ประเมินผลลัพธ์ เปรียบเทียบ และแก้ไขปรับปรุง

การเลือกกระบวนการมาทำ Lean Project

1) กระบวนการทำงานที่เป็น Value creation process

2) งานที่ต้องประสานงานกับหลายหน่วยงาน

3) กระบวนการทำงานที่ต้องใช้คนหลายคน

4) กระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนที่คอยนาน งานที่ต้องรอ หรืองานที่ทำไม่ทัน

5) งานที่เป็นคอขวด มีงานค้างเสมอๆ งานที่ต้องกลับไปทำต่อที่บ้าน

6) กระบวนการทำงานที่ใช้ค่าใช้จ่ายมาก สิ้นเปลือง

ตัวอย่าง ระบบนัดผู้ป่วย

Prelean

นัดผู้ป่วยโดยไม่ระบุเวลา

ผู้ป่วยต้องรีบมาจองคิวตรวจ

ผู้ป่วยจำนวนมากรอคิว เกิดความแออัด

ไม่ทราบเวลาที่ได้ตรวจ ทำให้ต้องสอบถามบ่อยๆ

เกิดความไม่พีงพอใจ ทั้งผู้ป่วย ญาติและเจ้าหน้าที่

Postlean

เวลาชัดเจน

สอบถามผู้ป่วยถีงนัดผู้ป่วย

โดยระบุเวลาที่สะดวกและสอด

คล้องกับโรคของผู้ป่วยและเวลา

ในการตรวจของแพทย์

ให้มาก่อนเวลานัดประมาณ

15 นาที

Lean Tools

Leveling appointment (Heijunka) เพื่อลด Muri, Mura

หัวหน้าพาทำ Lean

แนวทางการเรียนรู้คุณค่าของ Lean อีกวิธีหนึ่ง คือการเรียนลัดโดยการนำของผู้นำ ซึ่งอาจเป็นผู้นำในระดับองค์กรหรือในระดับหน่วยงานก็ได้ ส่งเสริมให้เกิดการทดลองขนาดเล็กๆ เพื่อพิสูจน์ความคิดและขยายผลสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ดังต่อไปนี้ เริ่ม

1.นำ 5ส. มาสร้างความเป็นระบบระเบียบในสถานที่ทำงานทุกจุดในองค์กร

2.ใช้ visual management

- เพื่อให้สามารถมองเห็นความสูญเปล่า

- สิ่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้ง่ายขึ้น

- คุณค่าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองด้วยการพูดคุยกับผู้รับบริการ ณ

- จุดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่มีการรอคอยจำนวนมาก

3. จัดทำ Work Flow Process Chart , แบบ form โดยการเดินตามผู้รับบริการไปตามขั้นตอนการบริการ ทีละขั้น ทำความรู้สึกเสมือนหนึ่งเป็นผู้รับบริการเอง พิจารณาว่างานตรงไหนที่มีคุณค่า ตรงไหนเป็นความสูญเปล่า พร้อมทั้งบันทึกเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน หาวิธีว่าจะขจัดขั้นตอนที่เป็นความสูญเปล่าได้อย่างไร

4. ทำการวิเคราะห์ Work Flow Process Chart จากข้อ 3

5. คำนวณหาประสิทธิภาพของกระบวนการ เดิม ประสิทธิภาพของกระบวน = value/เวลาทั้งหมด cycle time

6. จัดทำ Work Flow Process Chart การทำงานใหม่, ตามแบบ form

โดยใช้เครื่องมือ - 5 W 1H, - ERRSCI, - ทบทวนกฎเกณฑ์ต่างๆที่ใช้อยู่ และยกเลิกกฎเกณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า

วิธีการลด waste/ เพิ่ม flow (ERRSCI)

Eliminate การกำจัดออกไป

Re-arrange การลำดับขั้นตอนใหม่

Re-structure การปรับโครงสร้างหรือหน่วยงาน เช่น ย้ายหน่วยงานให้ใกล้กัน

Simplify การทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ซ้ำซ้อน

Combine รวมขั้นตอนหลาย ๆ ขั้นตอนเข้าด้วยกัน

IT การพัฒนาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลแทน การบันทึกในกระดาษ ทำให้เกิดความรวดเร็วอย่างมาก