5 การดูแลผู้ป่วย (COP)

ภาพรวม

ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดขององค์กรผู้ให้บริการการดูแลสุขภาพและบุคลากรขององค์กรนั้น คือการให้การดูแล สุขภาพที่ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และบริการให้กับผู้ป่วยทุกราย มาตรฐานต้องการให้มีสื่อสารที่มีประสิทธิ ภาพ, มีการทำงานร่วมกันและมีกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าการวางแผน, การประสานงานและการ ปฏิบัติสนับสนุนการดูแลและตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะและเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละราย

การดูแลอาจจะเป็นการป้องกัน, การดูแลรักษาแบบประคับประคอง, การรักษา, หรือการฟื้นฟูและอาจรวมถึงการ ให้การระงับความรู้สึกด้วยการดมยา, การผ่าตัด, การรักษาด้วยยา, การรักษาแบบสนับสนุน, หรือเป็นการใช้วิธีการ ต่าง ๆเหล่านี้รวมกัน และขึ้นอยู่กับการประเมินและการประเมินซ้ำของผู้ป่วยแต่ละราย การบริการที่มีความเสี่ยงสูง ของการดูแล (รวมถึงการช่วยชีวิต, การให้เลือด, การปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ) และการดูแลที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความต้องการพิเศษของประชากรเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเพิ่มเติม

การดูแลผู้ป่วยจะให้บริการโดยสหสาขาวิชาชีพและจากบุคลากรฝ่ายสนับสนุน ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย จะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนที่กำหนดโดยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ; ข้อมูลประจำตัว; ใบประกาศนียบัตร; กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ; โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล; และนโยบายขององค์กร หรือรายละเอียดงาน (job description) ในการดูแลบางอย่างอาจจะดำเนินการได้โดยตัวผู้ป่วย, ครอบครัวของ ผู้ป่วย, หรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกฝน

การส่งมอบการดูแลและบริการต้องมีการประสานงานและบูรณาการร่วมกันของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยแต่ละคนโดย ทำงานร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ดูแลแต่ละคนมั่นใจว่า

• การดูแลมาจากการประเมิน, แผนการดูแลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย;

• การดูแลตามแผนจะส่งมอบให้กับผู้ป่วยแต่ละราย;

• การตอบสนองของผู้ป่วยในการดูแลมีการตรวจสอบ; และ

• แผนการดูแลมีการปรับปรุงเมื่อมีความจำเป็นขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย

หมายเหตุ

ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทน

การส่งมอบการดูแลผู้ป่วย

COP.1 การดูแลผู้ป่วยทั้งหมดเป็นรูปแบบเดียวกันและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องè

COP.2 มีกระบวนการที่บูรณาการและประสานการดูแลที่ให้กับผู้ป่วยแต่ละราย

COP.2.1 แผนการดูแลเป็นรายบุคคลได้รับการพัฒนาและจัดทำเป็นเอกสารสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

COP.2.2โรงพยาบาล จัดทำและดำเนินกระบวนการในลักษณะเดียวกันสำหรับคำสั่งการรักษาผู้ป่วย P

COP.2.3 หัตถการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัยทางคลินิก, และการรักษาถูกดำเนินการและบันทึกไว้ เป็นคำสั่งรวมถึงผลลัพธ์ของการรักษาได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

COP.3 การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงปฏิบัติตามตามแนวทางการปฏิบัติทาง วิชาชีพ, กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ P

การรับรู้การเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วย

COP.3.1 บุคลากรทางคลินิกได้รับการฝึกอบรมในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วย

บริการช่วยฟื้นคืนชีพ

COP.3.2 บริการช่วยฟื้นคืนชีพมีอยู่ทั่วโรงพยาบาลตลอดเวลา

COP.3.3 แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและขั้นตอนการปฏิบัติถูกจัดทำ และดำเนินการปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บ, การนำไปใช้และการบริหารเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดè

อาหารและโภชนบำบัด

COP.4 จัดให้มีอาหารที่หลากหลาย และเหมาะสมสำหรับภาวะโภชนาการและสอดคล้องกับการดูแลทางคลินิก ของผู้ป่วยอย่างตลอดเวลา

COP.5 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางด้านโภชนาการได้รับการรักษาด้วยโภชนบำบัด

การจัดการความเจ็บปวด

COP.6 ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนในการจัดการความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ P

การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต

COP.7 โรงพยาบาลจัดให้มีการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่กำลังจะตายที่ตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยและครอบครัวและเพิ่มประสิทธิภาพในความสะดวกสบายของผู้ป่วยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

บริการการปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อในโรงพยาบาล

COP.8 ผู้นำของโรงพยาบาลจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะ / เนื้อเยื่อ

COP.8.1 ผู้นำแผนงานการปลูกถ่ายที่มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับแผนงานการปลูกถ่าย

COP.8.2 แผนงานการปลูกถ่ายรวมถึงทีมสหสาขาวิชาชีพที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญใน อวัยวะทีปลูกถ่ายที่เกี่ยวข้อง-แผนงานการปลูกถ่ายที่จำเพาะ

COP.8.3 มีการกำหนดกลไกการประสานงานสำหรับกิจกรรมการปลูกถ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแพทย์, พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ

COP.8.4 แผนงานการปลูกถ่ายใช้เกณฑ์การคัดเลือกอวัยวะ-การปลูกถ่ายจำเพาะทางคลินิก, จิตวิทยา และตามเกณฑ์ความเหมาะสมทางสังคมสำหรับผู้สมัครปลูกถ่าย

COP.8.5 แผนงานการปลูกถ่ายได้รับความยินยอมแบบเฉพาะเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้สมัครปลูกถ่ายè

COP.8.6 แผนงานการปลูกถ่ายมีเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติ, แนวทางการปฏิบัติทางคลินิก, หรือขั้นตอน สำหรับการฟื้นฟูอวัยวะและอวัยวะที่ได้รับ เพื่อให้มั่นใจในความเข้ากันได้, ความปลอดภัย, ประสิทธิภาพและคุณภาพของเซลล์ของมนุษย์, เนื้อเยื่อและอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย

COP.8.7 แผนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับปลูกถ่าย

แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้อวัยวะของผู้บริจาคที่มีชีวิต

COP.9 แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและระดับ ภูมิภาและคุ้มครองสิทธิของผู้บริจาคที่คาดหมายหรือเป็นผู้บริจาคจริง

COP.9.1 แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตได้รับความยินยอมแบบเฉพาะเพื่อการบริจาคอวัยวะ จากผู้บริจาคที่คาดหวัง

COP.9.2 แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตใช้เกณฑ์การคัดเลือกทางคลินิกและทางจิตวิทยาเพื่อ กำหนดความเหมาะสมของผู้บริจาคที่มีศักยภาพ

COP.9.3 แผนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเป็นแนวทางในการดูแลของผู้บริจาคที่มีชีวิต

มาตรฐาน, เจตจำนง, และองค์ประกอบที่วัดได้

การส่งมอบการดูแลสำหรับผู้ป่วยทั้งหมด

มาตรฐาน COP.1

การดูแลผู้ป่วยทั้งหมดเป็นรูปแบบเดียวกันและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง P

เจตจำนงของ COP.1

ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพและมีความต้องการการดูแลแบบเดียวกันมีสิทธิที่จะได้รับคุณภาพในการดูแลแบบ เดียวกันตลอดทั้งโรงพยาบาล การดำเนินการด้วยหลักการของ "การดูแลด้วยคุณภาพระดับเดียวกัน" ต้องการให้ ผู้นำหน่วยงาน / บริการวางแผนและประสานงานการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการแก่กลุ่มผู้ป่วยที่ คล้ายกันในหลายหน่วยงานหรือหลายพื้นที่ด้วยการใช้นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติที่มีผลต่อการส่งมอบการดูแล ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้ผู้นำหน่วยงาน / บริการมั่นใจว่าการดูแลในระดับเดียวกันให้บริการทุกวันในหนึ่ง สัปดาห์, และในการทำงานทุกเวรในแต่ละวัน นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับที่เหมาะสมกับกระบวนการการดูแล และได้รับการพัฒนาที่ดีที่สุดในความร่วมมือกัน การดูแลผู้ป่วยที่เป็น รูปแบบเดียวกันจะสะท้อนจาก;

❏ การเข้าถึงและความเหมาะสมของการดูแลและการรักษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ป่วยในการจ่าย หรือแหล่งที่มาของการชำระเงิน

❏ การเข้าถึงการดูแลและการรักษาที่เหมาะสมโดยผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติไม่ขึ้นอยู่กับวันหรือช่วงเวลาของ วัน

❏ ความรุนแรงของสภาวะของผู้ป่วยกำหนดการจัดสรรทรัพยากรให้ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย (ดู ACC.1.1,ME 4)

❏ ระดับของการดูแลที่จัดให้กับผู้ป่วย (เช่น การดูแลการระงับความรู้สึก) เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งโรงพยาบาล

❏ ผู้ป่วยที่มีความต้องการการพยาบาลลักษณะเดียวกันได้รับการพยาบาลในระดับที่เทียบเคียงกันตลอดทั้ง โรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยในรูปแบบเดียวกันเป็นผลจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้ประเมินผล ของการดูแลที่มีลักษณะคล้ายกันตลอดทั้งโรงพยาบาล (ดูPFR.1.1 และ GLD.12)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.1

❏ 1. ผู้นำหน่วยงาน / บริการของโรงพยาบาลร่วมกันให้การดูแลที่เป็นกระบวนการรูปแบบเดียวกัน (ดู ACC.2.2.1)

❏ 2. ข้อกำหนดของการดูแลที่เป็นรูปแบบเดียวกันสะท้อนการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ท้องถิ่นและระดับภูมิภาค

❏ 3. การดูแลที่เป็นรูปแบบเดียวกันเป็นไปตามเจตจำนงตั้งแต่ข้อ a) ถึงข้อ e)

มาตรฐาน COP.2

มีกระบวนการที่บูรณาการและประสานการดูแลที่ให้กับผู้ป่วยแต่ละราย

เจตจำนงของ COP.2

กระบวนการดูแลผู้ป่วยเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีความเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจำนวนมากในหลาย ๆพื้นที่และหน่วยงาน และหลาย ๆการบริการ (ดูCOP.9.3) การบูรณาการและการประสานงานในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างมีเป้าหมายเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของ กระบวนการดูแล, การใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ ผลการรักษาผู้ป่วยจะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้นำหน่วยงาน / การบริการใช้เครื่องมือและวิธีการบูรณาการและ ประสานงานที่ดีขึ้นในการดูแลผู้ป่วย (เช่น ทีมผู้ให้การดูแล, การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในหลาย ๆ หน่วยงาน, การ ประสมประสานรูปแบบแผนการดูแลร่วมกัน, การบูรณาการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย, ผู้จัดการการดูแลผู้ป่วย) (ดู ACC.3) เวชระเบียนของผู้ป่วยสนับสนุนและสะท้อนการบูรณาการ และการประสานงานในการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแต่ ละข้อสังเกตและการรักษาของผู้ปฏิบัติงานที่บันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีผลลัพธ์ใด ๆ หรือ ข้อสรุปจากการประชุมของทีมร่วมดูแลผู้ป่วย หรือจากการอภิปรายกับผู้ป่วยที่ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดูAOP.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2

❏ 1. การวางแผนการดูแลถูกบูรณาการและประสานงานระหว่างพื้นที่, หน่วยงาน และการให้บริการ

❏ 2. การส่งมอบการดูแลถูกบูรณาการและประสานงานระหว่างพื้นที่, หน่วยงาน และการให้บริการ

❏ 3. ผลลัพธ์หรือข้อสรุปใด ๆของการประชุมทีมดูแลผู้ป่วย หรือการอภิปรายร่วมกันอื่น ๆได้รับการบันทึก ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

มาตรฐาน COP.2.1

แผนการดูแลเป็นรายบุคคลได้รับการพัฒนาและจัดทำเป็นเอกสารสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

เจตจำนงของ COP.2.1

ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับแผนการดูแลและการรักษาที่ระบุกิจกรรมการดูแลของทีมดูแลสุขภาพที่จะดำเนินการในการ แก้ไขหรือสนับสนุนการวินิจฉัยที่ได้จากการประเมิน เป้าหมายโดยรวมของแผนการดูแลคือเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ทาง คลินิกที่ดีที่สุด (ดูCOP.3; COP.8.7 และ COP.9.3)

กระบวนการวางแผนเป็นการทำงานร่วมกันและใช้ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้นและจากการประเมินซ้ำเป็นระยะ ๆ โดยแพทย์, พยาบาล, และผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญในการรักษา, ขั้นตอนการดูแลรักษา, การพยาบาล, และการดูแลอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยและ ครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกับทีมผู้ดูแลสุขภาพ แผนการดูแลถูกพัฒนาภายใน 24 ชั่วโมงของการ รับเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในขึ้นอยู่กับการประเมินซ้ำโดยผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย แผนการดูแลถูกปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของผู้ป่วย แผนการดูแลเป็นหลักฐานในเวช ระเบียนของผู้ป่วยที่บันทึกโดยผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย แผนการดูแลผู้ป่วยจะต้องสัมพันธ์กับการระบุความต้องการของผู้ป่วย ความต้องการเหล่านั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากผลทางคลินิกที่ดีขึ้น หรือข้อมูลใหม่จากการประเมินซ้ำเป็นประจำ (เช่น ผลที่ผิดปกติทาง ห้องปฏิบัติการหรือจากการถ่ายภาพรังสี), หรือหลักฐานจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วยอย่างฉับพลัน (เช่น การสูญเสียความรู้สึกตัว) แผนการดูแลถูกทบทวนตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และได้รับการบันทึกในเวชระเบียน ในแผนการดูแลเริ่มต้น, หรืออาจบันทึกผลในแผนการดูแลใหม

วิธีการหนึ่งของการพัฒนาแผนการดูแลคือการระบุและสร้างเป้าหมายที่วัดได้แพทย์ผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย สามารถเลือกเป้าหมายที่วัดได้โดยร่วมมือกับพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ เป้าหมายที่วัด ได้เป็นสิ่งที่สังเกตได้, เป็นเป้าหมายที่ทำให้สำเร็จได้โดยสัมพันธ์กับการดูแลผู้ป่วย และความคาดหวังใน ผลการรักษา

เป้าหมายที่วัดได้จะต้องเป็นจริงที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย, และเวลาที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้า และผลลัพธ์ที่ เกี่ยวข้องกับแผนการดูแล ตัวอย่างของเป้าหมายที่วัดได้และเป็นจริงมีดังนี้:

• ผู้ป่วยจะคงไว้และรักษาไว้ซึ่ง cardiac output ที่เพียงพอ โดยระบุจากอัตราการเต้นหัวใจ, จังหวะ, และ ความดันโลหิตที่อยู่ภายในขอบเขตปกติ

• ผู้ป่วยจะแสดงให้เห็นถึงการฉีดอินซูลินได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องก่อนที่จะออกจากโรงพยาบาล

• ผู้ป่วยสามารถที่จะเดินจากเตียงนอนไปที่บริเวณผู้เยี่ยมด้วย walker แบบมาตรฐาน, สามารถลงน้ำหนักบน ขาที่ได้รับผลกระทบได้

หมายเหตุ: อีกประการหนึ่ง, แผนการดูแลแบบบูรณาการที่ระบุเป้าหมายที่วัดได้โดยผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแล สุขภาพเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นการสะท้อนถึงความเฉพาะเจาะจง, วัตถุประสงค์, และเป้าหมายที่วัดได้เพื่อทำให้ ง่ายต่อการประเมินซ้ำและการทบทวนแผนการดูแล (ดูPFE.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2.1

❏ 1. การดูแลผู้ป่วยแต่ละรายมีการวางแผนโดยแพทย์ผู้รับผิดชอบ, พยาบาล, และผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแล สุขภาพอื่น ๆ ภายใน 24 ชั่วโมงของการรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน

❏ 2. แผนการดูแลเป็นรายบุคคลตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลการประเมินเบื้องต้นของผู้ป่วยและความต้องการ ที่ถูกระบุ (ดูASC.7.3, ME 3)

❏ 3. แผนการดูแลเป็นปัจจุบัน หรือถูกปรับปรุงและทบทวนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ขึ้นอยู่กับการประเมินซ้ำ ของผู้ป่วยโดยผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ

❏ 4. แผนการดูแลเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไขใด ๆ ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้รับการบันทึกไว้ในเวช ระเบียนของผู้ป่วย

❏ 5. แผนการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการทบทวนเมื่อถูกจัดทำเบื้องต้น และเมื่อปรับปรุงแก้ไขใหม่ตามการ เปลี่ยนแปลงของสภาวะของผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดู ASC.7.3, ME 4)

❏ 6. แผนการดูแลถูกจัดให้กับผู้ป่วยแต่ละคนและเป็นหลักฐานในเวชระเบียนของผู้ป่วยโดยการบันทึกของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วย (ดูCOP.2.3; ASC.3.2, ME 1; ASC.5 และ MOI.9.1, ME 4)

มาตรฐาน COP.2.2

โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการที่เป็นแบบแผนเดียวกันสำหรับการสั่งคำสั่งของผู้ป่วย P

เจตจำนงของ COP.2.2

หลายกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมีบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะสั่งคำสั่งสำหรับกิจกรรมที่จะต้องได้รับการ บันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย กิจกรรมดังกล่าวอาจรวมถึง ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งสำหรับการทดสอบทาง ห้องปฏิบัติการการ บริหารยา การดูแลรักษาพยาบาลเฉพาะ โภชนาบำบัด การบำบัดฟื้นฟูและลักษณะคล้ายๆ กัน นี้กิจกรรมการดูแล ผู้ป่วยที่ต้องใช้คำสั่งจะได้รับคำสั่งจากบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะทำเช่นนั้นได้คำสั่งดังกล่าว จะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย ถ้าคำสั่งเหล่านั้นจะต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม ตำแหน่งคำสั่งบนแผ่นทั่วไปหรือ ในตำแหน่งที่เป็นแบบเดียวกัน ในเวชระเบียนของผู้ป่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของคำสั่ง คำสั่งที่ ได้รับการบันทึกช่วยให้บุคลากรเข้า ใจรายละเอียดของคำสั่งที่จำเพาะเจาะจง เวลาที่จะต้องดำเนินการตามคำสั่ง และผู้ที่ดำเนินการออกคำสั่ง (ดูMMU. 4.1 ร่วมด้วย) คำสั่งสามารถเขียนลงบนแผ่นคำสั่งเพื่อที่จะถูกโอนไปยังเวช ระเบียนของผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ หรือเมื่อ จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหรือระบบการสั่งทางคอมพิวเตอร์อาจจะใช้ ในโรงพยาบาลที่มีการใช้เวชระเบียนผู้ป่วย อิเล็กทรอนิกส์

แต่ละโรงพยาบาลกำหนดเองว่า

• คำสั่งชนิดใดจะต้องเขียน/บันทึกและไม่ใช้คำสั่งทางโทรศัพท์ทางวาจาหรือการส่งข้อความ (ถ้าอนุญาตให้ ใช้คำสั่งทางวาจ ทางโทรศัพท์หรือส่งข้อความ) ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งทางโทรศัพท์อาจจะจำกัดให้ใช้ใน สถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อแพทย์ไม่ปรากฎอยู่ คำสั่งด้วยวาจาอาจจะจำกัดให้ใช้ในสถานการณ์ที่แพทย์ผู้สั่งทำ หัตถการที่ปราศจากเชื้อและคำสั่งที่ส่งข้อความอาจจะจำกัดเฉพาะ การตรวจวินิจฉัยเท่านั้น

• คำสั่งตรวจภาพเพื่อการวินิจฉัยทางคลินิกและการทดสอบในห้องปฏิบัติการชนิดใดจะต้องให้ข้อบ่งชี้/เหตุ ผลทางคลินิก

• ข้อยกเว้นใด ๆ ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น แผนกฉุกเฉินและหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤต (ดูMMU.4.1, ME 3 ร่วมด้วย)

• ผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้กำหนดคำสั่ง (ดูMMU.4.2 และ MOI.11 ร่วมด้วย) และ

• ตำแหน่งใดที่คำสั่งจะได้รับการบันทึกอยู่ในเวชระเบียนของผู้ป่วย รวมทั้งคำสั่งที่อาจจะได้รับผ่านทางข้อ ความ (ดูIPSG.2 MMU.4, ME.1 MMU.4.3 และ MOI.9 ร่วมด้วย)

เมื่อเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระได้เริ่มที่จะใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคลเพื่อส่งข้อความคำสั่ง ไป ยังโรงพยาบาล เพื่อการดูแลผู้ป่วย การรักษาหรือบริการแพลตฟอร์มการส่งข้อความอาจมีการนำเสนอฟังก์ชั่น การ ทำงานที่จะตอบสนองต่อความห่วงกังวลก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องทันเวลา การบันทึกเป็นเอกสาร ความ ลับ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและความปลอดภัยของผู้ป่วย6

ถ้าโรงพยาบาลเลือกที่จะอนุญาตให้ถ่ายทอดคำสั่งผ่านการส่งข้อความ โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าแพลตฟอร์ม การส่งข้อความที่เสถียรภาพดังต่อไปนี้7

a) ขั้นตอนการลงชื่อ (sign-on) ที่มีการรักษาความปลอดภัย

b) การส่งข้อความมีการเข้ารหัส (Encrypted)

c) ห้ามใช้การส่งข้อความที่ไม่มีเสถียรภาพ (ตัวอย่างเช่น การส่งข้อความด้วยบริการข้อความสั้น (SMS))

d) ใบบันทึก (Receipts) การส่ง (Deliver) และการอ่าน (Read)

e) ประทับตราวันที่และเวลา

f) กำหนดกรอบเวลาการเก็บรักษาข้อความที่เหมาะกับประเภท

g) กระบวนการสำหรับพิสูจน์ตัว (Authentication) โดยแพทย์ที่สั่ง

นอกจากนี้โรงพยาบาลจะเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเฝ้าติดตามกระบวนการสื่อสารเพื่อชี้แจงเมื่อมีคำถามเกิดขึ้นจาก คำสั่งที่ส่งเป็นข้อความ โรงพยาบาลที่อนุญาตให้ส่งคำสั่งเป็นข้อความได้รับการคาดหวังให้ทำตามมาตรฐานการจัด การด้านยาและการใช้ยา (MMU) มาตรฐาน MMU.4 และ MMU.4.1 ซึ่งระบุองค์ประกอบที่จำเป็นของการสั่งยา ที่ สมบูรณ์และการดำเนินการเมื่อคำสั่งไม่สมบูรณ์หรือไม่ชัดเจน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2.2

❏ 1. โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการที่เป็นแบบเดียวกันสำหรับการกำหนดการเขียน/บันทึกคำสั่ง ของผู้ป่วย ซึ่งครอบคลุมการระบุคำสั่งที่อาจจะได้รับด้วยวาจา ผ่านทางโทรศัพท์และผ่านทางข้อความ (ดูMOI.9, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 2. คำสั่งตรวจภาพเพื่อการวินิจฉัยทางคลินิกและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการครอบคลุมข้อบ่งชี้/เหตุผล ทางคลินิก เมื่อจำเป็นต้องมีการแปลผล (ดูMOI.9.1, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. คำสั่งได้รับการสั่งโดยผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะทำเช่นนั้นได้เท่านั้น (ดูMMU.4.2, ME 1 และ MOI.11, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. คำสั่งจะพบในตำแหน่งที่เป็นแบบแผนเดียวกันในเวชระเบียนผู้ป่วย (ดูMMU.4.3, ME 3 และ MOI.9, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 5. เมื่อโรงพยาบาลอนุญาตให้คำสั่งได้รับการถ่ายทอดผ่านการส่งข้อความ โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่า กระบวนการดังกล่าวส่งผ่านแพลตฟอร์มการส่งข้อความที่มีเสถียรภาพและเป็นไปตาม a) ถึง g) ใน เจตจำนง . (ดูMOI.2, ME 1 และ MOI.11.1 ร่วมด้วย)

❏ 6. เมื่อโรงพยาบาลอนุญาตให้มีคำสั่งที่ส่งด้วยข้อความ โรงพยาบาลเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเฝ้าติดตาม กระบวนการสื่อสารสำหรับการชี้แจงเมื่อมีคำถามเกิดขึ้น

มาตรฐาน COP.2.3 หัตถการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัยทางคลินิก, และการรักษาถูกดำเนินการและบันทึกไว้เป็นคำสั่งรวมถึง ผลลัพธ์ของการรักษาได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตจำนงของ COP.2.3 หัตถการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกและการดำเนินการรักษา, และผลหรือผลลัพธ์ได้รับการบันทึกใน เวชระเบียนของผู้ป่วย (ดูMOI.9.1) ตัวอย่างของหัตถการและการรักษา ได้แก่ การส่องกล้อง (endoscopies), การ ตรวจสวนหัวใจ, การรักษาด้วยรังสี, การตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT), และการตรวจวินิจฉัยด้วย การทำหัตถการและการรักษาแบบ invasive และ noninvasive ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอทำหัตถการหรือการรักษา และ เหตุผลสำหรับการทำหัตถการหรือการรักษาจะรวมอยู่ในเอกสาร (ดูCOP.2.1, ME 6 และ ASC.7.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2.3

❏ 1. หัตถการและการรักษาจะดำเนินการตามคำสั่งการรักษา และมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดู MMU.4.3, ME 1 และ MMU.6.1, ME 6)

❏ 2. บุคคลที่ร้องขอและเหตุผลในการร้องขอทำหัตถการหรือการรักษามีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของ ผู้ป่วย (ดูMOI.9.1, ME ที่ 4 และ MOI.11.1, ME 1)

❏ 3. ผลของการทำหัตถการและการดำเนินการรักษามีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดูACC.3, ME 3)

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและการบริการที่มีความเสี่ยง

มาตรฐาน COP.3

การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงปฏิบัติตามตามแนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพ, กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ P

เจตจำนงของ COP.3 โรงพยาบาลให้การดูแลสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลสุขภาพที่มีความหลากหลาย ผู้ป่วยบางรายถูก พิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงเนื่องมาจากอายุ, สภาวะการเจ็บป่วย, หรือจากความต้องการที่สำคัญตามธรรมชาติโดย ปกติเด็กและผู้สูงอายุจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้เนื่องจากมักจะไม่สามารถพูดได้ด้วยตนเอง ไม่เข้าใจกระบวนการดูแล และ ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ในทำนองเดียวกัน มีความกลัว สับสน ไม่รู้สึกตัว หรือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะเข้าใจกระบวนการดูแลเมื่อต้องการการดูแลที่มีประสิทธิภาพและ รวดเร็ว

นอกจากนี้โรงพยาบาลยังให้การบริการที่หลากหลาย การบริการบางอย่างได้รับการพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนที่จำเป็นในการรักษาสภาวะที่คุกคามชีวิต (การฟอกไตผู้ป่วย) ธรรมชาติของการรักษา (การกู้ชีวิตผู้ป่วย) อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย (การผูกยึด) หรือความเป็นพิษของยาที่ มีความเสี่ยงสูงบางอย่าง (เช่นยาเคมีบำบัด) (ดูPFR.5.2)

การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยการใช้เครื่องมือ เช่น แนวทางการปฏิบัติ, ขั้นตอนการ ปฏิบัติ, การวางแผนการดูแล, แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและอื่น ๆ (ดูCOP.2.1) เครื่องมือเหล่านี้มีความสำคัญ สำหรับบุคลากรที่จะต้องเข้าใจ และตอบสนองผ่านการมีสมรรถนะ และลักษณะการปฏิบัติที่เป็นลักษณะเดียวกัน ผู้นำโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับ

• การระบุผู้ป่วยและการบริการที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาล;

• ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันในการพัฒนาเครื่องมือที่เขียนขึ้นสำหรับเป็นแนวทางในการดูแล และเป็น รูปแบบเดียวกัน; และ

• การฝึกอบรมบุคลากรในการใช้เครื่องมือเหล่านี้

เครื่องมือที่เขียนขึ้นสำหรับการดูแลจะต้องปรับให้เหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หรือบริการที่มีความเสี่ยง สูง ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่ขั้นตอนต้องระบุ

• วางแผนที่เกิดขึ้นอย่างไร รวมถึงการระบุความแตกต่างของประชากรระหว่างกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มเด็ก หรือ การพิจารณาเป็นพิเศษอื่น ๆ

• เอกสารที่จำเป็นสำหรับทีมการดูแลที่จะทำงานและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ;

• การพิจารณาการให้ความยินยอมแบบพิเศษ ถ้าจำเป็นต้องมี;

• การตรวจสอบผู้ป่วยที่จำเป็น รวมถึงการใช้การเตือนภัยที่เหมาะสม;

• คุณสมบัติพิเศษหรือทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแล; และ

• ความพร้อมและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะ

เมื่อให้บริการใด ๆ แก่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หรือการให้บริการใด ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงที่ระบุด้านล่างนี้ โรงพยาบาลต้องจัดทำแนวทางและขั้นตอนการให้บริการ และนำลงสู่การปฏิบัติสำหรับดำเนินการให้บริการแก่ ผู้ป่วย (ดูIPSG.1, ME 3; COP.8.6, ME 1; COP.9.2, ME 1; COP.9.3, ME 1; PCI.8 และ PCI.8.1) การ บริการที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับ

a) ผู้ป่วยฉุกเฉิน (emergency patients); b) ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว (comatose patients);

c) ผู้ป่วยที่ได้รับการกู้ชีวิต (patient on life support);

d) การดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อ (care of patients with a communicable disease);

e) การดูแลผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (care of immunosuppressed patients);

f) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต (care of patients receiving dialysis);

g) การดูแลของผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึด (care of patients in restraints;

h) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (care of patients receiving chemotherapy);

i) การดูแลประชากรผู้ป่วยที่เปราะบาง รวมทั้งผู้สูงอายุที่อ่อนแอ, เด็กที่พึ่งตนเองไม่ได้, และผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรมและ / หรือถูกทอดทิ้ง (care of vulnerable patient populations, including frail elderly, dependent children, and patients at risk for abuse and/or neglect); และ

j) การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (care of patients at risk for suicide)

ผู้ป่วยและการบริการที่เพิ่มเติมจะถูกครอบคลุมเมื่อผู้ป่วยเป็นตัวแทนของประชากรผู้ป่วยในโรงพยาบาล และใน การบริการที่จัดให้นอกจากนี้ผู้นำโรงพยาบาลยังต้องระบุความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่เป็นผลมาจากขั้นตอนใด ๆ หรือ แผนการดูแล (ตัวอย่างเช่น ความจำเป็นในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก, แผลกดทับ, และการ ติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการกู้ชีวิต; การบาดเจ็บทางระบบประสาทและระบบไหลเวียน เลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึด; การสัมผัสเชื้อในเลือดในผู้ป่วยฟอกไต; การติดเชื้อใน central line; และการพลัด ตกหกล้ม (ดูIPSG.6) เมื่อมีความเสี่ยงดังกล่าวเกิดขึ้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันโดยการให้ความรู้แก่ บุคลากรและการพัฒนานโยบายที่เหมาะสม, แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติ (ดูPFR.5.2.) โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูล การวัดในการประเมินผลการให้บริการกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและบูรณาการข้อมูลนั้นเข้าสู่แผนงานพัฒนา คุณภาพโดยรวมของโรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.3

❏ 1. ผู้นำโรงพยาบาลได้ระบุผู้ป่วยและการบริการที่มีความเสี่ยงสูง อย่างน้อย a) ถึง j) ตามเจตจำนง

❏ 2. ผู้นำจัดทำและนำนโยบาย, ขั้นตอนการปฏิบัติและ / หรือหลักการดูแลไปดำเนินการสำหรับบริการที่มี ความเสี่ยงสูงที่ให้บริการในโรงพยาบาล (ดูMOI.8.1, ME 3)

❏ 3. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและนำเครื่องมือที่เขียนขึ้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงสูงและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

❏ 4. ผู้นำโรงพยาบาลระบุความเสี่ยงเพิ่มเติมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง และ ดำเนินมาตรการเพื่อลดและ / หรือป้องกันความเสี่ยงเพิ่มเติม

❏ 5. การพัฒนาความเสี่ยงในโรงพยาบาลจะถูกติดตาม และรวมอยู่ในแผนงานการพัฒนาคุณภาพของ โรงพยาบาล

การรับรู้การเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วย

มาตรฐาน COP.3.1

บุคลากรทางคลินิกได้รับการฝึกอบรมในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วย

เจตจำนงของ COP.3.1

บุคลากรที่ไม่ได้ทำงานในพื้นที่การดูแลที่สำคัญอาจจะไม่มีความรู้และได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอในการประเมิน และตรวจสอบผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตามนัยสำคัญของจำนวนผู้ป่วยนอกพื้นที่การดูแลที่สำคัญนี้มี ประสบการณ์ในเหตุการณ์การเป็นผู้ป่วยวิกฤต บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการเตือนภัยล่วงหน้า (ตัวอย่างเช่น สัญญาณชีพแย่ลง หรือการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งทางระบบประสาท) ประสบการณ์ช่วงเวลาสั้น ๆก่อนที่มีนัยสำคัญ ทางคลินิกแย่ลงและส่งผลในเหตุการณ์สำคัญ (ดูAOP.2) วรรณกรรมทางคลินิกระบุเกณฑ์ทางสรีรวิทยาที่ สามารถช่วยบุคลากรในการตรวจสอบเบื้องต้นในผู้ป่วยที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์หัวใจ หยุดเต้น หรือหยุดหายใจจะแสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพทางคลินิกก่อนที่หัวใจจะหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ เมื่อ บุคลากรมีความสามารถในการบ่งชี้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้ตั้งแต่ในช่วงต้น และขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากบุคลากรที่ ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษผลลัพธ์ทางคลินิกจะดีขึ้น

บุคลากรทางคลินิกทุกคนจำเป็นต้องได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อได้รับความรู้และทักษะในการรับรู้และ การปฏิบัติอย่างทันเวลา เมื่อการประเมินผู้ป่วยบ่งชี้ว่าระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยมีสัญญาณที่ไม่เป็นปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเสื่อมสภาพของผู้ป่วย การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสภาวะ ผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่อาจป้องกันการเสื่อมสภาพที่ดำเนินต่อไปได้โรงพยาบาลที่พัฒนาวิธีการรับรู้การเปลี่ยนแปลง สภาวะของผู้ป่วยในช่วงต้น และให้การดูแลผู้ป่วยที่มีการเสื่อมสภาพที่ทวีความรุนแรงอย่างเป็นระบบอาจจะช่วยลด ภาวะหัวใจหยุดเต้นและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ (ดูSQE.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.3.1

❏ 1. โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการที่เป็นระบบสำหรับการรับรู้ของบุคลากรและการตอบสนอง ให้กับผู้ป่วยที่มีสภาวะที่ดูเหมือนจะเลวร้ายลง

❏ 2. โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินการจัดทำเอกสารเกณฑ์สัญญาณเตือนเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงหรือ การเสื่อมสภาพของผู้ป่วยและเมื่อต้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม

❏ 3. ตามเกณฑ์การเตือนในช่วงต้นของโรงพยาบาล, บุคลากรขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อมีความกังวล เกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วย

❏ 4. โรงพยาบาลจะแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวรับทราบวิธีการขอความช่วยเหลือเมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับ สภาวะของผู้ป่วย (ดูACC.2.2, ME 1)

บริการช่วยฟื้นคืนชีพ

มาตรฐาน COP.3.2

บริการช่วยฟื้นคืนชีพมีอยู่ทั่วโรงพยาบาลตลอดเวลา

เจตจำนงของ COP.3.2

บริการช่วยฟื้นคืนชีพสามารถกำหนดเป็นการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลฉุกเฉินในผู้ป่วยที่ประสบเหตุการณ์ วิกฤตที่คุกคามต่อชีวิตเช่น หัวใจวายหรือหยุดหายใจ เมื่อหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจเกิดขึ้นต้องเริ่มทำการกด หน้าอกหรือให้การสนับสนุนทางเดินหายใจทันทีนั่นอาจหมายถึงความแตกต่างระหว่างการมีชีวิตและความตาย หรืออย่างน้อยอาจช่วยหลีกเลี่ยงความเสียหายร้ายแรงของสมองที่อาจเกิดขึ้น

การช่วยฟื้นคืนชีพที่ประสบความสำเร็จของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การช็อก ไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มต้นและการดำเนินการที่ถูกต้องในการช่วยชีวิตขั้นสูง บริการเหล่านี้จะต้องสามารถให้บริการกับ ผู้ป่วยทุกคนได้ตลอด 24 ชั่วโมงและในทุกวัน สิ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติที่สำคัญเหล่านี้คือความพร้อมอย่างรวดเร็ว ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน, ยาสำหรับการช่วยชีวิต และการฝึกอบรมบุคลากรอย่างถูกต้องในการ ช่วยชีวิต การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจะต้องดำเนินการทันทีที่มีการรับรู้ว่าหัวใจหยุดเต้นหรือระบบทางเดินหายใจ ล้มเหลว และกระบวนการช่วยชีวิตขั้นสูงต้องไปถึงสถานที่ที่ต้องการในเวลาน้อยกว่า 5 นาทีการปฏิบัตินี้รวมถึง การทบทวนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาลและการจำลองการฝึกอบรมการตอบสนองต่อ ภาวะหัวใจหยุดเต้น บริการช่วยฟื้นคืนชีพที่มีอยู่ภายในโรงพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์และการ ฝึกอบรมบุคลากรอย่างถูกต้องจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางคลินิกและกลุ่มประชากรที่ให้บริการ (ตัวอย่างเช่น ถ้าโรงพยาบาลมีประชากรผู้ป่วยเด็ก จะต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการช่วยชีวิตผู้ป่วยเด็ก) (ดูASC.3, ME 4; SQE.8.1; GLD.9, ME 2 และ FMS.8)

หมายเหตุ: ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลจะรวมถึงพื้นที่ใด ๆ ที่มีการรักษาและมีการให้บริการ รวมทั้งพื้นที่การรักษา หรือการวินิจฉัยในอาคารที่แยกต่างหากภายในขอบเขตโรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.3.2

❏ 1. บริการช่วยฟื้นคืนชีพมีอยู่และให้บริการกับผู้ป่วยทุกคนตลอด 24 ชั่วโมง และทุกวันทั่วทุกพื้นที่ของ โรงพยาบาล

❏ 2. อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการช่วยชีวิตและยาสำหรับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูงมีมาตรฐาน และสามารถใช้ได้สำหรับการใช้งานตามความต้องการของประชากรที่ให้บริการ (ดูASC.3, ME 3)

❏ 3. ในทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจะดำเนินการทันทีที่รับรู้ว่าหัวใจหยุดเต้นหรือหยุด หายใจ และการช่วยชีวิตขั้นสูงจะดำเนินการในเวลาน้อยกว่า 5 นาที

มาตรฐาน COP.3.3

แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและขั้นตอนการปฏิบัติถูกจัดทำ และดำเนินการปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บ, การนำไปใช้ และการบริหารเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด P

เจตจำนงของ COP.3.3

การบริหารเลือดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการปฏิบัติและในลักษณะที่สอดคล้องเพื่อให้มั่นใจในความ ปลอดภัยของผู้รับ ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและวิธีการอธิบายกระบวนการสำหรับ

a) การได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยในการบริหาร; (ดูPFR.5.2, ME 3)

b) การจัดหาเลือดจากธนาคารเลือดหรือพื้นที่จัดเก็บเลือด;

c) การระบุตัวผู้ป่วย;

d) การบริหารเลือด;

e) การตรวจสอบผู้ป่วย; และ

f) การบ่งชี้และการตอบสนองต่อสัญญาณของการเกิดปฏิกิริยาต่อการให้เลือด

มีบุคลากรที่มีการศึกษา มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการกำกับดูแลการบริหารเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการ ขั้นตอนและแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการให้เลือดมีการกำหนดให้ชัดเจน และนำไปดำเนินการ (ดูQPS.8)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.3.3

❏ 1. มีบุคลากรที่มีการศึกษา ความรู้และความเชี่ยวชาญในการกำกับดูแลการบริหารเลือดและผลิตภัณฑ์จาก เลือด (ดูAOP.5.11, ME 1)

❏ 2. มีการจัดทำแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและวิธีการปฏิบัติและนำไปดำเนินการสำหรับการจัดเก็บ, การ นำไปใช้และการบริหารเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด (ดูAOP.5.11, ME 2)

❏ 3. แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและวิธีการอธิบายกระบวนการสำหรับ a) ถึง f) ในเจตจำนง (ดู GLD.11.2)

อาหารและโภชนบำบัด

มาตรฐาน COP.4

จัดให้มีอาหารที่หลากหลาย และเหมาะสมสำหรับภาวะโภชนาการและสอดคล้องกับการดูแลทางคลินิกของผู้ป่วย อย่างตลอดเวลา

เจตจำนงของ COP.4

อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อผู้ป่วยทำให้สุขภาพดีและหายจากการเจ็บป่วย การเลือก รับประทานอาหารต้องคำนึงถึงอายุของผู้ป่วย, วัฒนธรรมและการบริโภคอาหารที่ชอบ และแผนการดูแล ซึ่งอาจ รวมถึงความต้องการอาหารพิเศษ เช่น คอเลสเตอรอลต่ำ อาหารผู้ป่วยเบาหวาน และอาหารเหลวใส ขึ้นอยู่กับการ วินิจฉัยโรคของผู้ป่วย จากการประเมินความต้องการของผู้ป่วยและแผนการดูแลของแพทย์หรือผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติ อื่น ๆ ของผู้ป่วย เป็นผู้สั่งอาหารหรือสารอาหารอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วย (ดูAOP.1.4) ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนและการเลือกอาหาร เมื่อเป็นไปได้ผู้ป่วยได้รับการเสนอให้เลือกอาหารที่มีความ หลากหลายที่สอดคล้องกับภาวะโภชนาการของตนเองได้ครอบครัวของผู้ป่วยอาจมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมในการ จัดหาอาหารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น ๆ และปฏิบัติให้เข้ากันได้กับการินิจฉัยโรคของผู้ป่วย เมื่อครอบครัวของผู้ป่วยหรือคนอื่น ๆ จัดหาอาหารให้กับผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับ อาหารที่มีข้อห้ามตามแผนความต้องการของผู้ป่วยและแผนการดูแล รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาใด ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับอาหาร อาหารที่จัดหาโดยครอบครัวหรือคนอื่น ๆ จะถูกเก็บไว้ภายใต้สภาวะที่ เหมาะสมเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.4

❏ 1. ความหลากหลายของการเลือกอาหารหรือโภชนาการสอดคล้องกับสภาวะของผู้ป่วย, การดูแลและความ ต้องการอย่างสม่ำเสมอ

❏ 2. ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแล ผู้ป่วยในทุกคนมีคำสั่งสำหรับอาหารอยู่ในเวชระเบียน

❏ 3. คำสั่งอาหารขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการและความต้องการของผู้ป่วย

❏ 4. การกระจายของอาหารทันเวลาและสนองตอบความต้องการพิเศษ

❏ 5. เมื่อครอบครัวผู้ป่วยจัดหาอาหารให้ครอบครัวต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการรับประทาน อาหารของผู้ป่วย

❏ 6. อาหารที่ถูกจัดหาให้โดยครอบครัวผู้ป่วยหรือคนอื่น ๆ จะถูกเก็บไว้ตามภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันการปนเปื้อน

มาตรฐาน COP.5

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางด้านโภชนาการได้รับการรักษาด้วยโภชนบำบัด

เจตจำนงของ COP.5

ในการประเมินครั้งแรกผู้ป่วยจะได้รับการคัดกรองเพื่อบ่งชี้ความเสี่ยงทางโภชนาการ (ดูAOP.1.4) ผู้ป่วยเหล่านี้จะ ถูกส่งต่อให้นักโภชนาการสำหรับการประเมินต่อไป เมื่อมีการบ่งชี้แล้วว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงทางโภชนาการ แผน สำหรับการรักษาด้วยโภชนบำบัดจะถูกจัดทำขึ้นและนำไปดำเนินการ ความก้าวหน้าของผู้ป่วยจะถูกตรวจสอบและ บันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย แพทย์, พยาบาล, งานบริการควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพ และครอบครัวของผู้ป่วย ร่วมกันวางแผนเพื่อให้การรักษาด้วยโภชนบำบัด

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.5

❏ 1. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางภาวะโภชนาการได้รับการรักษาด้วยโภชนบำบัด

❏ 2. กระบวนการทำงานร่วมกันถูกนำมาใช้ในการวางแผน การส่งมอบ และการตรวจสอบการรักษาด้วยโภช นาบำบัด

❏ 3. การตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษาด้วยโภชนบำบัดถูกตรวจสอบและบันทึกไว้ในเวชระเบียน (ดู AOP.2, ME 1)

การจัดการความเจ็บปวด

มาตรฐาน COP.6

ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนในการจัดการความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ P

เจตจำนงของ COP.6

อาการเจ็บปวดเป็นส่วนหนึ่งที่พบบ่อยของประสบการณ์ของผู้ป่วยและอาจจะเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือความเจ็บป่วย ที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา อาการเจ็บปวดก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา, การทำหัตถการหรือการตรวจ ในส่วน หนึ่งของแผนการดูแลผู้ป่วยจะได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสเกิดความเจ็บปวดที่เป็นผลกระทบจากการรักษา, การ ทำหัตถการ หรือการตรวจและสิ่งที่เป็นตัวเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดที่มีอยู่ ไม่ว่าที่มาของอาการ เจ็บปวด, อาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาลงจะมีผลไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ผู้ป่วยที่อยู่ในความ เจ็บปวดมีสิทธิที่จะได้รับการประเมินและการจัดการของอาการเจ็บปวดอย่างเหมาะสม (ดูPFR.2.2 และ AOP.1.5)

โรงพยาบาลมีกระบวนการในการประเมินและการจัดการความเจ็บปวดอย่างเหมาะสม ตามขอบเขตของการ ให้บริการ รวมถึง

• การบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดในระหว่างการประเมินเบื้องต้นและการประเมินซ้ำ;

• การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับความเจ็บปวดที่อาจจะเป็นผลที่คาดหวังของการรักษา, การทำหัตการ, หรือ การตรวจ;

• ให้การจัดการความเจ็บปวดโดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของอาการเจ็บปวดตามแนวทางหรือวิธีการ และ ร่วมกับเป้าหมายของผู้ป่วยในการจัดการความเจ็บปวด; (ดูCOP.7)

• สื่อสารและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดและการจัดการกับอาการในบริบทของ ความเชื่อส่วนบุคคล, วัฒนธรรมและศาสนา; และ

• ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพในการประเมินและการจัดการความเจ็บปวด

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.6

❏ 1. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่อยู่ในความเจ็บปวดตามขอบเขตของการให้บริการ

❏ 2. เมื่อมีอาการเจ็บปวดที่เป็นผลตามที่คาดหวังของแผนการรักษา, การทำหัตถการหรือการตรวจ ผู้ป่วยจะ ได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสเกิดความเจ็บปวดและตัวเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวด

❏ 3. ผู้ป่วยที่อยู่ในความเจ็บปวดได้รับการดูแลตามแนวทางการจัดการความเจ็บปวดและเป็นไปตาม เป้าหมายของผู้ป่วยในการจัดการความเจ็บปวด

❏ 4. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการสื่อสารและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับความเจ็บปวด ตามขอบเขตของการให้บริการ

❏ 5. โรงพยาบาลมีกระบวนการให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับความเจ็บปวดตามขอบเขตของการให้บริการ

การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต

ผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตต้องการการดูแลที่เน้นความต้องการเฉพาะ ผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตอาจพบ กับอาการที่สัมพันธ์กับกระบวนการของโรคหรือการรักษาทางการแพทย์หรืออาจต้องการความช่วยเหลือในการ จัดการทางด้านจิตสังคม,จิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความตายและกำลังจะตาย

ครอบครัวผู้ป่วยและผู้ดูแลของผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องมีการพักผ่อนจากการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยหนักในช่วง สุดท้าย หรือช่วยเหลือในการรับมือกับความเศร้าโศกและการสูญเสีย เป้าหมายของโรงพยาบาลในการให้การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตจะพิจารณาพื้นที่ที่ให้การดูแลหรือให้บริการได้ (เช่นบ้านพักรับรอง หรือหน่วยงานที่ให้การดูแลแบบประคับประคอง) ประเภทของการให้บริการและประชากรที่ เป็นผู้ป่วยที่ให้บริการ โรงพยาบาลมีการพัฒนากระบวนการในการจัดการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่ง กระบวนการเหล่านี้คือ

• ทำให้มั่นใจว่าอาการแสดงจะได้รับการประเมินและบริหารจัดการอย่างเหมาะสม;

• ทำให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่ป่วยหนักในระยะสุดท้ายจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีและด้วยความเคารพ;

• ให้การประเมินผู้ป่วยบ่อยเท่าที่จำเป็นในการบ่งชี้อาการแสดง; • วางแผนป้องกันและบำบัดรักษาในการจัดการอาการแสดง; และ

• ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการอาการแสดง

มาตรฐาน COP.7

โรงพยาบาลจัดให้มีการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่กำลังจะตายที่ตอบสนองความต้องการของ ผู้ป่วยและครอบครัว และเพิ่มประสิทธิภาพในความสะดวกสบายของผู้ป่วยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

เจตจำนงของ COP.7

ผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตมีความต้องการเฉพาะสำหรับการได้รับความเคารพ, การดูแลด้วยความเห็นอกเห็นใจตามที่ ถูกบ่งชี้โดยการประเมิน(ดูAOP.1.7) เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้บุคลากรทุกคนต้องรู้ถึงความต้องการเฉพาะของผู้ป่วยที่อยู่ ในระยะสุดท้ายของชีวิต ความตระหนักถึงความสะดวกสบายและศักดิ์ศรีของผู้ป่วยควรจะเป็นสิ่งชี้นำแนวทางในการ ดูแลทุกมิติในระยะสุดท้ายของชีวิต โรงพยาบาลให้การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต รวมถึง

• การปฏิบัติเพื่อการจัดการความเจ็บปวด; (ดูCOP.6)

• การให้การรักษาที่เหมาะสมสำหรับอาการแสดงใด ๆ ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัว;

• ละมุนละม่อมต่อประเด็นที่มีความอ่อนไหว เช่น การชันสูตรศพ และการบริจาคอวัยวะ;

• การเคารพคุณค่าของผู้ป่วย, ศาสนาและวัฒนธรรม

• ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลทุกมิติ; และ • การตอบสนองต่อจิตใจ, อารมณ์, จิตวิญญาณ และตระหนักถึงวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัว

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้บุคลากรทุกคนต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการเฉพาะในระยะสุดท้ายของ ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว (ดูPFR.1.2 และ SQE.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.7

❏ 1. บุคลากรได้รับการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการเฉพาะในระยะสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

❏ 2. การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตให้ความสำคัญกับอาการแสดง สภาวะ และความต้องการการดูแล สุขภาพของผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตตามที่บ่งชี้โดยการประเมิน (ดูAOP.1.7, ME 1)

❏ 3. การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตให้ความสำคัญกับอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิต (ดู PFR.2.2)

❏ 4. การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตให้ความสำคัญกับจิตสังคม, อารมณ์, วัฒนธรรม และความต้องการทาง จิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวที่เกี่ยวกับการตายและความเศร้าโศกตามความเหมาะสม (ดู AOP.1.7, ME 2)

❏ 5. ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดูแล (ดูPFR.2)

บริการการปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อในโรงพยาบาล

หมายเหตุ: มาตรฐานดังต่อไปนี้ให้ความสำคัญกับโรงพยาบาลที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ได้จากการ บริจาคและการจัดหาการปลูกถ่ายอวัยวะมักจะเป็นหัตถการช่วยชีวิต, และบางครั้งการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อก็ เป็นตัวเลือกเดียวสำหรับการรักษาโรคที่หลากหลาย ความก้าวหน้าล่าสุดพบว่ามีอัตราความสำเร็จมากขึ้นสำหรับ การปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ อย่างไรก็ตามการปลูกถ่ายไม่ได้ปลอดจากความเสี่ยง มีเอกสารที่เป็นที่รู้จัก กล่าวถึงความตระหนักในความปลอดภัยในการแพร่เชื้อจากผู้บริจาคไปยังผู้รับ โรคที่ถูกกล่าวถึงในเอกสารนี้เป็น โรคที่มีการแพร่เชื้อจากผู้บริจาคที่ติดเชื้อภายหลังจากการปลูกถ่าย รวมถึงจากเชื้อ HIV, ไวรัสตับอักเสบบีและซี, โรค Creutzfeldt-Jakob (CJD) ผู้รับอวัยวะยังอาจติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือเชื้อราผ่านการปนเปื้อนระหว่างการ ขนส่ง, การเก็บรักษา หรือการใช้งาน

ความมุ่งมั่นของผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อจะมีนัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ ความสำเร็จโดยรวมของโรงพยาบาลในความพยายามจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อ มาตรฐานนี้ให้ความสำคัญกับความ รับผิดชอบของโรงพยาบาลทั้งองค์กรสำหรับการบริจาคและการจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อ ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ได้รับ การพิจารณาในทางการแพทย์ว่าเหมาะสมสำหรับการบริจาคโดยองค์กรที่รับจัดหาอวัยวะ ความพยายามจัดหา อวัยวะนี้จะรวมถึงโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของอวัยวะและเนื้อเยื่อหลังจากการ ตายของหัวใจ และผู้บริจาคที่หัวใจไม่เต้นด้วย

มาตรฐาน COP.8

ผู้นำของโรงพยาบาลจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ

เจตจำนงของ COP.8

แผนงานปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อต้องมีบุคลากรที่มีการศึกษาและการฝึกอบรมพิเศษ และทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อให้มี ความปลอดภัย, การดูแลที่มีคุณภาพสูง (ดูSQE.3, ME 1) การศึกษาและการฝึกอบรมของบุคลากรจะต้องมี ความจำเพาะกับความรับผิดชอบและความต้องการของการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ ทรัพยากรที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เวชภัณฑ์, ห้องพักผู้ป่วยที่มีการระบายอากาศที่จำเป็นสำหรับประเภทของหัตถการการปลูกถ่าย (เช่น การระบาย อากาศแรงดันบวก), ยาที่จำเป็นสำหรับประเภทของหัตถการการปลูกถ่าย, การทดสอบในห้องปฏิบัติการเทคนิค ทางการแพทย์ที่มั่นใจว่าเนื้อเยื่อ / อวัยวะไม่มีการปนเปื้อน, และทรัพยากรอื่น ๆ ที่ระบุไว้โดยผู้นำแผนงาน นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการข้อมูลที่จำเป็นเพื่อช่วยให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง, ผลลัพธ์, และข้อมูลอื่น ๆ ที่สนับสนุนคุณภาพของแผนงานการปลูกถ่าย (ดูGLD.7 และ GLD.9, ME 2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8

❏ 1. บุคลากรที่ได้รับการอบรมพร้อมที่จะให้ความปลอดภัย, การดูแลที่มีคุณภาพสูงในแผนงานปลูกถ่าย อวัยวะ/เนื้อเยื่อ

❏ 2. ผู้นำของโรงพยาบาลจัดสรรทรัพยากรสำหรับแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ (ดูGLD.1.1, ME 3)

❏ 3. ระบบการจัดการข้อมูลถูกใช้ในการสนับสนุนคุณภาพของแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ (ดู MOI.1)

มาตรฐาน COP.8.1

ผู้นำแผนงานการปลูกถ่ายที่มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับแผนงานการปลูกถ่าย

เจตจำนงของ COP.8.1

ความรับผิดชอบหลักของโรงพยาบาลที่ให้บริการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ คือ การให้ความปลอดภัย, การดูแลที่ มีคุณภาพสูงแก่ผู้บริจาคและผู้รับการปลูกถ่าย หลักสำคัญของความรับผิดชอบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถ สนับสนุนกิจกรรมของแผนงานปลูกถ่ายทั้งหมด องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานคือมีบุคคล / กลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะ / เนื้อเยื่อทำหน้าที่แบบเต็มเวลาหรือบางเวลา บุคคล / กลุ่มบุคคลนี้รับผิดชอบในการกำกับดูแลตามการมอบหมายงานหรือรายละเอียดของงาน (job description) เป็น บุคคล / กลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติในการบริหารจัดการการปลูกถ่ายโดยการศึกษา, การฝึกอบรม, ประสบการณ์, ใบอนุญาต, และ / หรือใบรับรอง คุณสมบัติที่จำเป็นขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ดำเนินการ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.1

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสนับสนุนกิจกรรมทุกด้านของแผนงานการปลูกถ่าย

❏ 2. บุคคลหรือมากกว่าหนึ่งมีคุณสมบัติในการกำกับดูแลขอบเขตและความซับซ้อนของโครงการปลูกถ่าย อวัยวะ / เนื้อเยื่อ (ดูGLD.9, ME 1)

❏ 3. บุคคล / กลุ่มบุคคลตอบสนองต่อความรับผิดชอบในการกำกับดูแลตามที่กำหนดโดยแผนงานการปลูก ถ่าย

มาตรฐาน COP.8.2

แผนงานการปลูกถ่ายรวมถึงทีมสหสาขาวิชาชีพที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอวัยวะที่ปลูกถ่ายที่ เกี่ยวข้อง-แผนงานการปลูกถ่ายที่จำเพาะ

เจตจำนงของ COP.8.2

ความสำเร็จของแผนงานการปลูกถ่ายและผลลัพธ์ในเชิงบวกสำหรับผู้รับการปลูกถ่ายและผู้บริจาคที่มีชีวิตขึ้นอยู่กับ ทีมของผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางคลินิกในการปลูกถ่ายโดยเฉพาะ, การ พยาบาล, จิตวิทยา, เภสัชวิทยา, และความต้องการทางโภชนาการของผู้รับอวัยวะและผู้บริจาคอวัยวะที่มีชีวิตมี ความจำเพาะ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่สัมพันธ์กับประเภทของการปลูกถ่ายประกอบด้วยบุคลากรจาก • การแพทย์; • การพยาบาล; • โภชนาการ; • เภสัชวิทยา; • การควบคุมการติดเชื้อ; • สังคมสงเคราะห์; บริการทางจิตวิทยา; และ • เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมควรมีคุณสมบัติ, มีการฝึกอบรม, และมีประสบการณ์ในการให้การดูแลและให้บริการกับผู้รับการปลูกถ่ายและผู้ บริจาคที่มีชีวิต

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.2

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายบันทึกองค์ประกอบของทีมเฉพาะการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ / อวัยวะ

❏ 2. แผนงานการปลูกถ่ายบันทึกความรับผิดชอบของสมาชิกในทีม '

❏ 3. การให้บริการโดยทีมปลูกถ่ายประกอบด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการแพทย์, การพยาบาล, โภชนาการ, เภสัชวิทยา, การควบคุมการติดเชื้อ, สังคมสงเคราะห์, บริการทางจิตวิทยา, เวชศาสตร์ฟื้นฟู และการประสานงานการปลูกถ่าย (ดูGLD.9, ME 3)

❏ 4. แผนงานการปลูกถ่ายประเมินคุณสมบัติ, การฝึกอบรมและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเมื่อถูก พิจารณาให้เป็นทีมการปลูกถ่าย

มาตรฐาน COP.8.3

มีการกำหนดกลไกการประสานงานสำหรับกิจกรรมการปลูกถ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแพทย์, พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ

เจตจำนงของ COP.8.3

บริการการปลูกถ่ายมีความเสี่ยงที่จำเพาะ และเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่ออวัยวะ / เนื้อเยื่อของผู้รับและในกรณีของ ผู้บริจาคที่มีชีวิตด้วย องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย, การดูแลที่มีคุณภาพสูงในทุก ขั้นตอนของกระบวนการบริจาค / การรับคือการกำหนดบุคคลที่มีความรับผิดชอบในการประสานงานและความ ต่อเนื่องของการดูแลผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้รับโดยรวม บุคคลนี้อาจจะเป็นแพทย์, พยาบาลวิชาชีพ, หรือผู้ปฏิบัติงาน ด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติ (ดูACC.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.3

❏ 1. บุคคลที่รับผิดชอบในการประสานงานการดูแลผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้รับการปลูกถ่ายถูกระบุและพร้อม ปฏิบัติงานสำหรับการดูแลการปลูกถ่ายทุกระยะ

❏ 2. ผู้ประสานงานการปลูกถ่ายอำนวยความสะดวกในความต่อเนื่องของการดูแลแก่ผู้ป่วยปลูกถ่าย (ผู้มี ความประสงค์และ ผู้รับ) ตั้งแต่ระยะก่อนปลูกถ่าย, ระยะการปลูกถ่าย, และระยะจำหน่ายออกจากการปลูกถ่าย

❏ 3. ผู้ประสานงานการปลูกถ่ายอำนวยความสะดวกในความต่อเนื่องของการดูแลผู้บริจาคที่มีชีวิตที่อยู่ใน ระหว่างการประเมินผลการบริจาคและระยะจำหน่ายออกจากการบริจาค

❏ 4. การประสานงานของกิจกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อถูกสื่อสารให้บุคลากรทุกคนที่มีส่วนร่วมใน กิจกรรมของแผนงานปลูกถ่าย

มาตรฐาน COP.8.4

แผนงานการปลูกถ่ายใช้เกณฑ์การคัดเลือกอวัยวะ-การปลูกถ่ายจำเพาะทางคลินิก, จิตวิทยาและตามเกณฑ์ความ เหมาะสมทางสังคมสำหรับผู้สมัครปลูกถ่าย

เจตจำนงของ COP.8.4

มีเหตุผลหลายประการที่ใช้ประกอบการพิจารณาเมื่อต้องการการตัดสินใจในการจัดสรรอวัยวะไปยังผู้รับ การ พิจารณาอาจจะมาจากความต้องการการปลูกถ่ายอย่างรีบด่วนของผู้ป่วย, ผลประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการปลูก ถ่าย, ความพร้อมของการรักษาทางเลือก, ความคาดหวังในการปรับปรุงคุณภาพของชีวิตของผู้ป่วย, และปริมาณ ของทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการรักษาที่ประสบความสำเร็จ เพราะอวัยวะและเนื้อเยื่อของมนุษย์ที่มีพร้อมสำหรับการปลูกถ่ายนั้นมีจำกัด เกณฑ์สำหรับการเลือกผู้รับจึงต้องถูก พัฒนา เกณฑ์การคัดเลือกผู้รับการปลูกถ่ายช่วยระบุผู้ป่วยที่เหมาะสมที่สุดและจำกัดอคติที่อาจะเกิดขึ้น ดังนั้น เกณฑ์สำหรับการเข้าถึงอวัยวะและเนื้อเยื่อมีการกำหนดในลักษณะที่โปร่งใสบนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ของการ ประเมินความต้องการทางการแพทย์

นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์เฉพาะอวัยวะที่จะต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจในการจัดสรรอวัยวะ ตัวอย่างเช่น ความ มีชีวิตของอวัยวะเมื่ออยู่นอกร่างกายที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาระยะเวลาที่ต้องใช้ในการนำอวัยวะ ไปถึงผู้รับ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.4

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายบันทึกเกณฑ์เฉพาะทางคลินิกของอวัยวะสำหรับผู้สมัครปลูกถ่าย

❏ 2. แผนงานการปลูกถ่ายบันทึกเกณฑ์ทางด้านจิตวิทยาและทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สมัครปลูกถ่าย

❏ 3. ผลของการประเมินทางการแพทย์ถูกรวมเข้าเป็นการกำหนดความเหมาะสมในการปลูกถ่าย

❏ 4. แผนงานการปลูกถ่ายยืนยันความเข้ากันได้ของอวัยวะในเวชระเบียนของผู้สมัครปลูกถ่าย

มาตรฐาน COP.8.5

แผนงานการปลูกถ่ายได้รับความยินยอมแบบเฉพาะเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้สมัครปลูกถ่าย P

เจตจำนงของ COP.8.5

การให้ความยินยอม, ผู้ป่วยต้องได้รับการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับแผนการดูแลที่จำเป็นสำหรับการ ตัดสินใจ (ดูPFR.2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการทำ graft หรือสุขภาพของผู้สมัครปลูกถ่ายที่เป็น ผู้รับด้วย แต่ไม่จำกัดถึง a) ประวัติของผู้บริจาค; b) สภาวะของอวัยวะที่ใช้; c) อายุของอวัยวะ; และ d) โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการติดต่อจากโรคติดเชื้อ หากไม่สามารถตรวจพบโรคนั้นได้จากผู้บริจาค ที่ติดเชื้อ

นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยา, จริยธรรม, การเงิน, และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเพาะต่อผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่าย มากกว่าผู้ป่วยอื่น ๆ เช่น ความต้องการใช้ยากดภูมิต้านทาน และอัตราการรอดชีวิตจากที่คาดการณ์ไว้ (ดู AOP.1.1) ผู้ป่วยต้องการรับทราบสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษทั้งหมดโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายจะปฏิบัติตามนโยบายเรื่องการให้ความยินยอมของโรงพยาบาล และกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและระดับภูมิภาคด้วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.5

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายปฏิบัติตามนโยบายของโรงพยาบาลเมื่อรับการให้ความยินยอมจากผู้สมัครปลูก ถ่าย

❏ 2. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้สมัครปลูกถ่ายที่คาดหวังเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทางจิตสังคม

❏ 3. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้สมัครปลูกถ่ายที่คาดหวังเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของผู้บริจาคอวัยวะที่อาจส่งผล กระทบต่อความสำเร็จของ graft หรือสุขภาพของผู้สมัครปลูกถ่ายที่เป็นผู้รับ แต่ไม่จำกัด a) ถึง d) ของ เจตจำนง

❏ 4. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้สมัครปลูกถ่ายที่คาดหวังของศูนย์ปลูกถ่ายว่าจะติดตามและคาดการณ์อัตราการ รอดตายในหนึ่งปี; หรือเมื่อแผนงานการปลูกถ่ายได้ดำเนินการผ่าตัดน้อยกว่า 18 เดือนอัตราการรอดตาย ในหนึ่งปีจะเป็นไปตามวรรณกรรม

❏ 5. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้สมัครปลูกถ่ายที่คาดหวังเกี่ยวกับอัตราการปฏิเสธยากดภูมิคุ้มกันและค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องที่เป็นไปได้

❏ 6. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้สมัครปลูกถ่ายที่คาดหวังเกี่ยวกับการรักษาทางเลือก

มาตรฐาน COP.8.6

แผนงานการปลูกถ่ายมีเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติ, แนวทางการปฏิบัติทางคลินิก, หรือขั้นตอนสำหรับการฟื้นฟู อวัยวะและอวัยวะที่ได้รับ เพื่อให้มั่นใจในความเข้ากันได้, ความปลอดภัย, ประสิทธิภาพและคุณภาพของเซลล์ของ มนุษย์, เนื้อเยื่อและอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย

เจตจำนงของ COP.8.6

เพื่อลดความเสี่ยงของการปฏิเสธอวัยวะ ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายต้องมั่นใจความเข้ากันได้ของผู้บริจาคอวัยวะและผู้รับ ความเข้ากันได้เป็นการทดสอบที่ใช้บ่อยที่สุดรวมถึง blood typing และ cross matching และ tissue typing ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายมั่นใจว่าการทดสอบความเข้ากันได้เกิดขึ้นก่อนการฟื้นตัวของอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะที่ จะเกิดขึ้น การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้รับเนื้อเยื่อและอวัยวะของผู้ บริจาค ดังนั้นจะต้องมั่นใจระดับของความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ, และคุณภาพของเซลล์, เนื้อเยื่อและอวัยวะของ มนุษย์สำหรับการปลูกถ่าย การประเมินอวัยวะและเนื้อเยื่อของผู้บริจาคอาจบ่งชี้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับการติด เชื้อ และอาจแพร่เชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้การตรวจคัดกรองผู้บริจาคจากประวัติทางคลินิกและการทดสอบโรคติดเชื้อของผู้บริจาคจะมีนัยสำคัญที่สามารถลดอุบัติการณ์ของการแพร่กระจายโรคของผู้บริจาค การตรวจคัดกรองผู้ บริจาคควรจะรวมถึงการประเมินประวัติทางการแพทย์, ปัจจัยเสี่ยงทางด้านพฤติกรรม, และการตรวจร่างกาย การ ทดสอบผู้บริจาคควรจะรวมถึงการทดสอบหา HIV, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซีและการทดสอบอื่น ๆ ที่ ได้รับการแนะนำ

สำหรับการปลูกถ่ายใด ๆ ด้วยวัสดุจากมนุษย์, การตรวจสอบย้อนกลับควรจะมั่นใจสำหรับการคาดการณ์อายุการ ใช้งานของผู้บริจาคและผู้รับ ในระดับสากลได้ตกลงใช้รหัสเพื่อระบุเนื้อเยื่อและเซลล์ที่ใช้ในการปลูกถ่ายที่จำเป็น สำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ (ดูGLD.11.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.6

❏ 1. ทีมการปลูกถ่ายปฏิบัติตามแนวทางการฟื้นฟูอวัยวะ, แนวปฏิบัติทางคลินิกหรือขั้นตอนที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรซึ่งรวมถึงการตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็นของผู้บริจาคและข้อมูลผู้รับเพื่อทำให้มั่นใจในความเข้า กันได้ก่อนที่จะดำเนินการฟื้นฟูอวัยวะ (ดูCOP.3)

❏ 2. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายเป็นผู้รับผิดชอบในการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความเหมาะสมทางการแพทย์ ของผู้บริจาคอวัยวะสำหรับการปลูกถ่ายให้กับผู้รับ

❏ 3. เมื่ออวัยวะมาถึงที่ศูนย์การปลูกถ่าย ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ ที่มี ใบอนุญาตอย่างน้อยหนึ่งคนของศูนย์การปลูกถ่าย ทำการตรวจสอบเอกสารกรุ๊ปเลือดของผู้บริจาคและ ข้อมูลที่สำคัญอื่น ๆ ที่แสดงความเข้ากันได้กับผู้รับก่อนที่จะทำการปลูกถ่าย

❏ 4. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายเป็นผู้รับผิดชอบในการยืนยันว่าการประเมินของผู้บริจาค และการทดสอบผู้บริจาค สำหรับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้รับการดำเนินการเสร็จสิ้นสมบูรณ์และได้รับการบันทึกในเวชระเบียน ก่อนที่จะทำการฟื้นฟูอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะที่จะเกิดขึ้น

❏ 5. เมื่ออวัยวะมาถึงที่ศูนย์การปลูกถ่าย ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ ที่มี ใบอนุญาตอย่างน้อยหนึ่งคนของศูนย์การปลูกถ่าย ทำการตรวจสอบและบันทึกการประเมินและการ ทดสอบของผู้บริจาคที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีหลักฐานของโรคและสภาพของอวัยวะเหมาะสมสำหรับการปลูก ถ่าย

มาตรฐาน COP.8.7

แผนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับปลูกถ่าย

เจตจำนงของ COP.8.7

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ถูกปลูกถ่าย ประวัติสุขภาพของผู้ป่วยมีผลกระทบต่อการฟื้นตัว นอกจากนี้สภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วยอาจมีผลกระทบต่อ ความสำเร็จของการปลูกถ่าย การประเมินผลทางจิตวิทยาที่จะต้องดำเนินการโดยจิตแพทย์, นักจิตวิทยาหรือนัก สังคมสงเคราะห์ที่มีประสบการณ์ในการปลูกถ่ายเพื่อตรวจสอบความสามารถในการตัดสินใจของผู้ป่วย และคัด กรองสำหรับการเจ็บป่วยทางจิตเวชที่มีอยู่แล้ว (ดูAOP.1.1, ME 2) แผนการดูแลเป็นรายบุคคลได้รับการจัดทำ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ปลูกถ่าย (ดูAOP.1.2 และ COP.2.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.8.7

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายมีเอกสารแนวทางปฏิบัติทางคลินิกเฉพาะอวัยวะสำหรับระยะก่อนการปลูกถ่าย, ระยะการปลูกถ่าย, และระยะจำหน่ายออกจากการปลูกถ่าย

❏ 2. ผู้ป่วยปลูกถ่ายแต่ละคนอยู่ภายใต้การดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วย การประสานงานเบื้องต้น ทำโดยแพทย์ปลูกถ่ายที่ดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาก่อนการปลูกถ่าย, ระยะการปลูกถ่ายและระยะจำหน่าย ออกจากการปลูกถ่าย

❏ 3. ผู้สมัครปลูกถ่ายจะได้รับการประเมินความเหมาะสมของการรักษาทางการแพทย์และศัลยกรรมอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลในระยะสั้นและระยะยาวต่ออัตราการรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกถ่าย

❏ 4. ผู้สมัครปลูกถ่ายได้รับการประเมินผลทางจิตวิทยาโดยจิตแพทย์, นักจิตวิทยา, หรือนักสังคมสงเคราะห์ ที่มีประสบการณ์ในการปลูกถ่าย เพื่อตรวจสอบความสามารถในการตัดสินใจของผู้ป่วย และคัดกรอง สำหรับการเจ็บป่วยทางจิตเวชที่มีอยู่แล้ว

❏ 5. แผนงานการปลูกถ่ายปรับปรุงข้อมูลทางคลินิกในเวชระเบียนผู้ป่วยปลูกถ่ายให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง

แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้อวัยวะของผู้บริจาคที่มีชีวิต

มาตรฐาน COP.9

แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและระดับภูมิภาค และคุ้มครองสิทธิของผู้บริจาคที่คาดหมายหรือเป็นผู้บริจาคจริง

เจตจำนงของ COP.9

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่จำกัดของอวัยวะจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตมีผลในการเพิ่มความพยายามในการ ส่งเสริมการบริจาคอวัยวะจากผู้มีชีวิต มาตรฐานของผู้บริจาคที่มีชีวิตสำหรับการเลือกผู้ที่เหมาะสมสำหรับการ บริจาค, การให้ความยินยอม, และการดูแลผู้บริจาคต่อไปไม่ใช่การปฏิบัติแบบครอบจักรวาล ผู้บริจาคที่มีชีวิตต้อง เผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนไปตลอดชีวิต และไม่ควรรู้สึกถูกข่มขู่ หรือถูกกดดันในการบริจาคอวัยวะ

บุคคลที่มีความรู้การบริจาคอวัยวะของผู้บริจาคที่มีชีวิต, การปลูกถ่าย, จริยธรรมทางการแพทย์, และการให้ความ ยินยอมต้องถูกบ่งชี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจและเพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิของผู้บริจาคที่มีชีวิตได้รับการคุ้มครอง (ดู PFR.1 และ PFR.6)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.9

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายของผู้บริจาคที่มีชีวิตดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและ ระดับภูมิภาค

❏ 2. ผู้บริจาคอวัยวะที่มีชีวิตมีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริจาคโดยปลอดจากการข่มขู่และความกดดัน (ดูGLD.2, ME 5)

❏ 3. บุคคลที่มีความรู้การบริจาคอวัยวะของผู้บริจาคที่มีชีวิต, การปลูกถ่าย, จริยธรรมทางการแพทย์, และ การให้ความยินยอมถูกระบุเป็นผู้สนับสนุนสำหรับผู้บริจาคที่มีชีวิตด้วย

❏ 4. บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สนับสนุนของผู้บริจาคที่มีชีวิตไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกถ่ายที่ทำ ประจำ

❏ 5. บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สนับสนุนของผู้บริจาคที่มีชีวิตแจ้ง, สนับสนุนและเคารพผู้บริจาคที่มีชีวิต ในลักษณะที่เหมาะสมในระหว่างการตัดสินใจ

มาตรฐาน COP.9.1

แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตได้รับความยินยอมแบบเฉพาะเพื่อการบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคที่ คาดหวัง

เจตจำนงของ COP.9.1

ผู้บริจาคที่คาดหวังต้องการที่จะเข้าใจอย่างละเอียดในทุกแง่มุมของกระบวนการบริจาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการ ที่จะเข้าใจความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้บริจาคที่มีชีวิต ผู้บริจาคที่มีชีวิตจำนวนมากให้ อวัยวะของตนเองกับสมาชิกในครอบครัวหรือคนรู้จัก; อย่างไรก็ตามผู้บริจาคที่มีชีวิตบางคนก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการ กำหนดอวัยวะที่บริจาคของตนเอง ลักษณะสำคัญของการให้ความยินยอมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคที่คาดหวังก็เต็มใจ ที่จะบริจาคและไม่ได้รับการข่มขู่หรือสัญญาค่าตอบแทน และเข้าใจว่าอาจปฏิเสธที่จะบริจาคได้ตลอดเวลา (ดู PFR.5.2, ME 2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.9.1

❏ 1. ความยินยอมสำหรับการบริจาคที่มีชีวิตจะได้รับโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม และอยู่ในภาษาที่ผู้ บริจาคที่มีชีวิตที่คาดหวังสามารถเข้าใจได้

❏ 2. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้บริจาคที่มีชีวิตที่คาดหวังเกี่ยวกับความเสี่ยงทางจิตวิทยาที่อาจเกิดขึ้นจากการ บริจาค

❏ 3. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้บริจาคที่มีชีวิตเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กับการบริจาคอวัยวะของผู้มีชีวิต

❏ 4. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ป่วยผ่าตัดใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอม แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้บริจาคที่มีชีวิตที่คาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

❏ 5. แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้บริจาคที่มีชีวิตที่คาดหวังเกี่ยวกับการรักษาทางเลือกสำหรับผู้สมัครปลูกถ่าย

❏ 6. แผนงานการปลูกถ่ายแจ้งผู้บริจาคที่มีชีวิตที่คาดหวังเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริจาคที่จะเลือกออกจากการ บริจาคในเวลาใด ๆ ได้ในระหว่างขั้นตอนการบริจาค

มาตรฐาน COP.9.2

แผนงานการปลูกถ่ายที่ใช้ผู้บริจาคที่มีชีวิตใช้เกณฑ์การคัดเลือกทางคลินิกและทางจิตวิทยาเพื่อกำหนดความ เหมาะสมของผู้บริจาคที่มีศักยภาพ

เจตจำนงของ COP.9.2

ผู้บริจาคอวัยวะจะต้องได้รับการประเมินความเหมาะสมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการเป็นผู้บริจาคอวัยวะ การ ประเมินทางการแพทย์จะกำหนดความสามารถทางกายภาพของผู้บริจาคที่จะบริจาคและระบุความเสี่ยงต่อสุขภาพ ใด ๆ ที่เป็นไปได้ในทันที และความเสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคต การประเมินทางจิตวิทยาจะต้องดำเนินการโดย จิตแพทย์, นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่มีประสบการณ์ในการปลูกถ่าย เพื่อตรวจสอบความสามารถในการ ตัดสินใจ, คัดกรองสำหรับการเจ็บป่วยทางจิตเวชที่มีอยู่แล้ว และประเมินการถูกข่มขู่ใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้บริจาคยัง้องได้รับการประเมินความสามารถที่จะเข้าใจขั้นตอนการบริจาคและผลที่อาจเกิดขึ้น, รวมถึงผลกระทบที่ไม่พึง ประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น (ดูAOP.1.1, ME 2)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.9.2

❏ 1. เอกสารแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคที่มีชีวิตเฉพาะอวัยวะ (ดู COP.3)

❏ 2. เกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคที่มีชีวิตของแผนงานการปลูกถ่ายมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ และหลักการของจริยธรรมทางการแพทย์ (ดูGLD.2, ME 5 และ GLD.12)

❏ 3. ผลของการประเมินทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายของผู้บริจาคที่มีชีวิตจะถูกรวมในการ กำหนดความเหมาะสมสำหรับการบริจาค

❏ 4. ผลการทดสอบทางการแพทย์ในการระบุโรคติดเชื้อหรือโรคมะเร็งจะถูกรวมในการกำหนดความ เหมาะสมสำหรับการบริจาค

❏ 5. ผลของการประเมินทางจิตวิทยาที่ดำเนินการโดยจิตแพทย์, นักจิตวิทยา, หรือนักสังคมสงเคราะห์ที่มี ประสบการณ์ในการปลูกถ่ายจะถูกรวมในการกำหนดความเหมาะสมสำหรับการบริจาค

❏ 6. แผนงานการปลูกถ่ายยืนยันความเข้ากันได้ของอวัยวะในเวชระเบียนของผู้บริจาคที่มีชีวิต

มาตรฐาน COP.9.3

แผนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเป็นแนวทางในการดูแลของผู้บริจาคที่มีชีวิต

เจตจำนงของ COP.9.3 นอกจากยังมีความต้องการทั่วไปในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด, ผู้บริจาคที่มีชีวิตมีความ ต้องการการรักษาและการดูแลสุขภาพที่ต้องมีการพิจารณาเฉพาะ แผนการดูแลเป็นรายบุคคลมีการจัดทำและ นำมาใช้สำหรับผู้บริจาคที่มีชีวิตทั้งหมด (ดูCOP.2.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.9.3

❏ 1. แผนงานการปลูกถ่ายที่ทำโดยผู้บริจาคที่มีชีวิตถูกชี้นำโดยแนวทางการดูแลสำหรับการประเมิน, การ บริจาคและการจำหน่ายออกจากการบริจาค (ดูCOP.3 และ GLD.11.2)

❏ 2. แผนงานการปลูกถ่ายที่ทำโดยผู้บริจาคที่มีชีวิตใช้สหสาขาวิชาชีพดูแลโดยทีมที่ประสานงานโดยแพทย์ ของผู้บริจาคแต่ละคนตลอดทั้งระยะการประเมินผลผู้บริจาค, ระยะบริจาค, และระยะจำหน่ายจากการ บริจาค (ดูACC.3 และ COP.2)

❏ 3. ผู้บริจาคที่มีชีวิตได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจตลอดระยะเวลาของการบริจาคอย่างต่อเนื่อง