3M 1.2 Second Victim

M 1.2: Second Victim

Definition

กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดย 3 ระดับ

1. ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เรียกว่า

First Victim คือผู้ป่วยและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาด

2. บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึง

ประสงค์ เรียกว่า

Second Victim ทั้งแพทย์และพยาบาลและบุคคลากรอื่นใดที่ให้การดูแลรักษา

กรณีดังกล่าว ที่เกิดปรากฎการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ที่เรียกว่า Second Victim

Phenomenon

3. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวเป็น Third Victim

Second Victim- "health care provider who [is] involved in an unanticipated adverse patient

event, in a medical error and/or a patient related injury and become[s] victimized in the

sense that the provider is traumatized by the event." Typically, second victims feel

personally responsible for the patient outcome, as if they have failed the patient,

secondguessing their clinical skills and knowledge base.

Goal

บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดภาวะ Second Victim

ได้รับการดูแลให้สามารถดำเนินชีวิตปกติและทำงานในวิชาชีพต่อไปได้ด้วยความมั่นใจ

Why

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Second Victim

ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีคุณค่าในระบบบริการสาธารณสุข หากไม่มีระบบในการดูแลและรักษาไว้

โดยกลุ่ม Second Victim จะมีปรากฏการณ์ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ดังนี้

Common Second Victim Physical Symptoms

เช่น นอนไม่หลับ ความดันขึ้น ปวดหัว มีอาการไม่ปกติทางระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้อาเจียนและ

Common Second Victim Psychosocial Symptoms

เช่น วิตกกังวล ไม่กล้าตัดสินใจ ขาด

ความมั่นใจ กลัวต่อการรักษา ออกจากวิชาชีพ

Process

องค์กรควรมีแนวทางจัดระบบการดูแลบุคลากรทางสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่

พึงประสงค์

1. เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบกับผู้ป่วยและญาติ

จัดให้มีระบบในการดูแลผู้ป่วยและญาติโดยมีทีมที่องค์กรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้

เช่น ทีมเจรจาไกล่เกลี่ย

2. จัดให้มีบุคคลหรือทีมดูแลบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดย

การรับฟัง ให้กำลังใจ และ มีแนวทางปฏิบัติที่ตกลงร่วมกันในองค์กรเพื่อลดผลกระทบทาง

ร่างกายและจิตใจ (obtaining emotional "first aid") ของบุคคลากรที่มีโอกาสเป็น Second

Victim

3. ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน มีการสื่อสาร รับฟัง ให้กำลังใจ ด้วยความเข้าใจ และติดตามดูแล

เพื่อเฝ้าระวังภาวะ Second Victim Phenomenon

4. มีกระบวนการทำ Root Cause Analysis ที่รับฟังข้อจำกัด ปัญหา

และร่วมกันหาทางออกของปัญหาอย่างสร้างสรรค์

5. สร้างและส่งเสริมวัฒนธรมมความปลอดภัยในเรื่อง No blame, No shame

Training

ฝึกทักษะสื่อสาร รับฟัง ของบุคลากรในทีม

ให้มีทักษะ การทำ Emotional First Aid

Monitoring

ติดตามเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

Pitfall

1.กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มีทีมเจรจาไกล่เกลี่ยดูแลญาติและผู้ป่วยแต่ไม่ได้ดูแลผู้ได้รับ

ผลกระทบในลักษณะ Second Victim

2.การทำ RCA ในวิธีการที่ไม่เหมาะสมหรือผิดวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอาจส่งผล

กระทบกับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น สอดคล้องและใกล้เคียงกับการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาล

และบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.2

5.2 ความผูกพันของกำลังคน (WKF.2)

ก. ความผูกพันและผลการปฏิบัติงานของกำลังคน (1)