2I 1 Fundamental of Infection Control and Prevention for Workforce

I 1: Fundamental of Infection Control and Prevention for Workforce

Definition

การติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพที่ระหว่างการปฎิบัติงาน (Occupationally-acquired infection)

ได้แก่ โรคติดเชื้อที่บุคลากรสุขภาพสัมผัสในระหว่างการปฎิบัติงานและอาจเกิดการติดเชื้อ(infection) หรือโรค (disease) ขึ้น โดยการสัมผัสผู้ป่วยหรือเลือด สารคัดหลั่ง เนื้อเยื่อ อวัยวะของ ผู้ป่วยหรือสัตว์ทดลอง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่มีเชื้อก่อโรค

การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพที่ระหว่างการปฎิบัติงาน (infection

prevention and control for workforce)

ได้แก่ การลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสหรือการถ่ายทอด การแพร่ของเชื้อก่อโรคในระหว่างการปฎิบัติงาน เพื่อการป้องกันหรือควบคุมการอาศัยของเชื้อ (colonization) หรือการติดเชื้อ

(infection) หรือการเกิดโรค (disease) ในบุคลากรสุขภาพ

ประเภทของโรคติดเชื้อจำแนกตามแนวทางการถ่ายทอดของเชื้อก่อโรค

โรคติดเชื้อที่บุคลากรสุขภาพเสี่ยงเมื่อจ าแนกประเภทตามแนวทางการถ่ายทอดของเชื้อก่อโรค 4

ประเภท ได้แก่

1. ทางอากาศ (airborne transmission) ได้แก่ วัณโรคทางเดินหายใจ อีสุกอีใสและหัด ซึ่งเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อ

ในงานบริการสุขภาพที่สeคัญที่สุด เนื่องจากพบบ่อยที่สุด รวมทั้งโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น SARS และ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ยังไม่ทราบวิธีการแพร่เชื้อ อาจแพร่เชื้อทางอากาศได้บางโอกาส (opportunistic airborne)

2. ผ่านละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (droplet) ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด, คอตีบ, ไอกรน, ฯลฯพบบ่อยรองลงไปจาก airborne

3. ผ่านการสัมผัสเชื้อ (contact transmission) ได้แก่ HIV, HBV, HCV, Ebola virus, dengue virus,

cytomegalovirus ผ่านอุบัติเหตุการแพทย์ เช่น เข็มต ามือ เลือดและสารคัดหลั่งกระเด็น พบไม่บ่อย

แต่มีผลกระทบรุนแรง ส่วนการสัมผัสแบคทีเรียดื้อยาไม่มีผลโดยตรงกับบุคลากร แต่ถ่ายทอดสู่

ผู้ป่วยหรือบุคลากรที่มีโรคประจ าตัว

4. ผ่านทางพาหะ (vector borne transmission) โดยเฉพาะแมลง เช่น ไข้เลือดออก ไวรัสซิก้า มาลาเรีย ฯลฯ

พบได้น้อยมาก นอกจากในโรงพยาบาลในพื้นที่ชุกชุมโรค

Goal

ความปลอดภัยของบุคลากรสุขภาพทุกระดับจากการติดเชื้อในระหว่างปฏิบัติงานในระดับ National Personnel Safety Goals

Why

การติดเชื้อของบุคลากรสุขภาพในระหว่างปฏิบัติงานส่งผลต่อความสูญเสียต่อขวัญ กำลังใจ สุขภาพ

และชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ระบบการบริการสุขภาพระดับชาติ

Process

1.การจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ

งานอาชีวอนามัยเป็นองค์ประกอบหลักของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของบุคลากร

สุขภาพในระหว่างปฏิบัติงาน โดยกระบวนการดังต่อไปนี้

1.1 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (preexposure prophylaxis,

active immunization) โดยจัดล าดับความสำคัญตาม high risk areas, practices

 บุคลากรสุขภาพทุกรายควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อต่อไปนี้ ได้แก่ ไวรัส

ตับอักเสบบี หัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและไข้หวัดใหญ่

1.2 การให้การป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากรสุขภาพหลังสัมผัสโรคติดเชื้อที่อาจติดต่อได้

ระหว่างปฏิบัติงาน (postexposure prophylaxis, passive immunization)

 การป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis) ที่มีในปัจจุบัน สามารถ

ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี HIV โรคหัด ไอกรน และไข้กาฬหลังแอ่น

(invasive meningococcal infection) บุคลากรสุขภาพที่ติดเชื้อหรือสัมผัสโรคติดเชื้อที่อาจ

ติดต่อได้ (communicable disease) จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาอย่าง

ถูกต้อง ได้รับการประเมินเพื่อพักการปฏิบัติหน้าที่หรือจ ากัดการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งการลา

ป่วย การชดเชยตามสิทธิ

2.กระบวนการป้องกันการติดเชื้อบุคลากรสุขภาพ

แนวทางปฏิบัติหลัก 6 ประการได้แก่

1. การให้การศึกษาฝึกอบรมแก่บุคลากรเมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงานและประจ าปีในระหว่าง

ปฏิบัติงาน

2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนตั้งแต่ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

3. การจัดให้มีกระบวนการการคัดกรอง (screening and triage) คัดแยกผู้ป่วยและการ

ระมัดระวังการสัมผัสโรค (isolation and precaution) ในผู้ป่วยที่มีหรือสงสัยโรคติดเชื้อ

ที่อาจติดต่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรคติดต่อทางอากาศ เช่น วัณโรค โรคติดเชื้ออุบัติ

ใหม่ ในแผนกผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ สถานพยาบาลที่เป็นด่านหน้าของงาน

บริการสุขภาพทุกระดับ

4. การประเมินบุคลากรผู้สัมผัสโรคติดเชื้อที่อาจติดต่อได้และการจัดหาการป้องกันด้วยยา

ต้านจุลชีพหรือการให้ภูมิคุ้มกันภายหลังการสัมผัส (postexposure prophylaxis)

5. การปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวัง การติดเชื้อขั้นพื้นฐาน standard precaution ใน

ระหว่างให้การดูแลผู้ป่วย

6. การจัดให้มีและการใช้งานอย่างถูกต้องของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (protective

personal equipment) ได้แก่ หน้ากากอนามัย หน้ากากไส้กรองละเอียด N 95หรือ

powered air respirator (PAPR) อุปกรณ์ป้องกันบริเวณดวงตา ใบหน้า ศีรษะ ถุงมือ

และเสื้อคลุม ตามประเภทกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อก่อโรค

Training

การให้การศึกษาฝึกอบรมการปฏิบัติแนวทางการระมัดระวัง การติดเชื้อขั้นพื้นฐาน การใช้งานอย่างถูกต้อง ของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล แก่บุคลากร เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงาน และประจ าปีในระหว่างปฏิบัติงาน

Monitoring

การประเมินผลอัตราการปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อขั้นพื้นฐาน (standard

precaution) ตัวชี้วัด surrogate marker eg., Incidence of needle stick injury, mucous

membrane exposure, new annual cases of pulmonary tuberculosis ในบุคลากรสุขภาพ

Pitfall

ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติโดยความไม่เข้าใจที่อาจเกิดขึ้นที่ส าคัญ ได้แก่ การไม่ปฏิบัติหรือปฎิบัติ

ผิดพลาดตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อขั้นพื้นฐาน standard precaution ในระหว่างให้การ

ดูแลผู้ป่วย

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่

4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค. สุขภาพและความปลอดภัย

ของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการ

ติดเชื้อ (IC.1) ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4) และ (5), ข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อการ

ป้องกันการติดเชื้อ (IC.2) ข. การป้องกันการติดเชื้อกลุ่มเฉพาะ (3)