AE จำแนกความรุนแรง

การจำแนกความรุนแรง (แบบย่อ)

การเกิด/ไม่เกิดความคลาดเคลื่อน
A: มีเหตุการณ์                   เกิดที่นี่
B: ไม่ถึงผู้ป่วย               เกิดที่ไหน
ถึงแล้ว
C: ถึงแล้ว   ไม่เป็นไร         เกิดกับใคร
D: ถึงแล้ว   เฝ้าระวัง         ต้องระวัง
เกิดHarm
E: อันตรายชั่วคราว ต้องรักษา
F: อันตรายชั่วคราว ต้องนอนนาน
เกิดถาวร
G: อันตรายถาวร ถาวร เป็นถาวร
H: ต้องช่วยชีวิต CPR  ช่วยชีวิต
I: ผู้ป่วยเสียชีวิต Dead จำใจลา

จำอีกแบบ

A-ppear เริ่มมีลางบอกเหตุ  มีเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน
B-irth เกิด เหตุการณ์แล้ว แต่ังไม่ถึงผู้ป่วย
C-ontact ถึง  ถึงแล้ว ถึงผู้ป่วยแล้ว
D-one โดนแล้ว แค่ระวัง ต้องเฝ้าระวัง
E-treatment รักษา มีการรักษาเพิ่มเติมจากปกติ
F-all ตกซ้ำชั้น ต้องนอนนาน  
Gan พิการ  พิการถาวร เสียชื่อเสียง
H-elp ช่วยเหลือ ช่วยชีวิต ต้อง CPR
I Die ไป ลาก่อน เสียชีวิต

การจำแนกความรุนแรง โดย (NCC MERP) 

ยังไม่เกิด
A: มีเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อน

เกิดความคลาดเคลื่อน
B: ยังไม่ถึงผู้ป่วย
C: ถึงผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยไม่ได้ใช้หรือใช้แต่ไม่อันตรายใดๆ
D: เกิดแล้วเฝ้าระวัง

เกิดHarmชั่วคราว
E: อันตรายชั่วคราวต่อผู้ป่วยซึ่งต้องให้การบำบัดรักษา
F: อันตรายชั่วคราวต่อผู้ป่วยซึ่งต้องทำให้นอนโรงพยาบาลนานขึ้น

เกิดอันตรายถาวร
G: อันตรายถาวรต่อผู้ป่วย
H: ต้องรับการบำบัดรักษาเพื่อช่วยชีวิต
I: ผู้ป่วยเสียชีวิต

ตัวอย่าง  
A  LASA บรรจุภัณฑ์ยาเหมือนกันมีความเสี่ยง หรือ อดนอน งาน overload ขาด mindfulness
B เตรียมผสมปฏิชีวนะหยิบยาผิดเป็น insulin
C เดินมาเตรียมให้ยาเข้าสาย IV แต่เส้น Leak แล้วสังเกตุปริมาณยาว่าไม่ไช่  กลับไปเข็ครู้ว่าไม่ใช่จึงเปลี่ยนตัวยาใหม่ หรือ เพื่อนวิ่งมาทักทัน
D ฉีดไปแล้วสังเกตุอาการแต่ ไม่มีอาการอะไร ไม่มีน้ำตาลต่ำ
E แก้ไขด้วย glucose
F ต้องรักษาภาวะนี้ต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง
G เกิดภาวะ hypoglycemic coma สมองพิการติดตัวแล้ว
H จนต้องช่วย CPR
I จนเสียชีวิต 

ที่มาของระดับความรุนแรง ที่ใช้ในปัจจุบัน

มาจากการจัดระดับความรุนแรงของอันตรายที่เกิดขึ้น

จากความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) 

จําแนกตามระดับความรุนแรงของอาการไมพึงประสงคที่เกิดขึ้น ทางยา

National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention (NCC MERP) 

ได้กําหนดเกณฑการจําแนกระดับความรุนแรงของอันตรายที่เกิดขึ้นจากความ คลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) ออกเป็น 9 ระดับ

ยังไมเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา

A เหตุการณ์ที่อาจจะทําให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ แต่ยังไม่เกิดขึ้น

เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาแต่ยังไม่มีอันตรายต่อผู้ปวย

B เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นแล้วแต่ความคลาดเคลื่อนนั้นยังไม่ถึงผู้ป่วย

C ความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นและไปถึงผู้ป่วยแล้ว ผู้่ป่วยอาจจะยังไม่ใช้ยานั้นหรืออาจจะใชไปแล้วแต่ไม่มีอันตรายใดๆเกิด ขึ้นกับผู้ป่วย

D ผู้ป่วยได้รับความคลาดเคลื่อน และเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นไม่มากเพียงแค่รบกวนผู้ป่วยเล็กน้อยไม่กระทบกับ ชีวิตประจําวัน ไม่จําเป็นจะต้องเปลี่ยนการรักษาเพียงแต่ให้มีการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจไม่่เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหารอ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องผูก ปากแห้ง คอแห้ง เป็นต้น

ความคลาดเคลื่อนทางยาที่ก่ออันตรายแก่ผู้ป่วย

E ผูัป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากความคลาดเคลื่อนทางยา ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวหรือรบกวนการดําเนิน ชีวิตประจําวันของผู้ป่วยจนต้องให้การบําบัดหรือได้รับการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม หรือปรับเปลี่ยนการรักษา เช่น อาการ ปวดศีรษะ ใจสั่น เดินเซ  ตาพร่า อาเจียน ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น

F ความคลาดเคลื่อนทางยาทําให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ถึง ขั้นสูงผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวจนต้องได้รับการรักษานอน ในโรงพยาบาล หรือนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เช่น อาการ ความดันเลือดตก

G อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนทางยา นั้นสงผลให้เกิดอันตรายถาวรแก่ผู้ป่วย เช่น การเกิด pigmentation ที่จอตาอย่างถาวรเป็น ต้น

H ความคลาดเคลื่อนทางยาทำ ให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ ส่งผลให้ผู้ปวยต้องการการรักษาเพื่อช่วยชีวิต เชน ชัก หมดสติ

 

ความคลาดเคลื่อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

I ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ปวยเสียชีวิต

 

Ref.

http://www.suanprung.go.th/medicine/pdf/Report%20Wanlop.pdf

 

 

แนวทางการจัดระดับความรุนแรง ของเหตุการณ์

The National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention  

ระดับ A เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน

ระดับ B เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ยังไม่ถึงผู้ป่วย

ระดับ C เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย

ระดับ D เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องมีการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

ระดับ E เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องมีการบำบัดรักษา

าระดับ F เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องนอนโรงพยาบาลหรืออยู่

                โรงพยาบาลนานขึ้น

ระดับ G เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยส่งผลให้เกิดอันตรายถาวรแก่ผู้ป่วย                                     

ระดับ H เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต

ระดับ I เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต