1S 2 Social Media and Communication Professionalism

S 2: Social Media and Communication Professionalism

Definition

“สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) หมายความว่า สื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสารหรือ

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เน้นการสร้างและเผยแพร่เนื้อหา

ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน (Creation and Exchange of User-Generated Content) หรือ

สนับสนุนการสื่อสารสองทาง หรือการน าเสนอและเผยแพร่เนื้อหาในวงกว้างได้ด้วยตนเอง เช่น

กระดานข่าว, Facebook, YouTube, LINE เป็นต้น

Goal

เพื่อให้บุคลากรของสถานพยาบาลมีการใช้งานและการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social

Media) และสื่ออื่นๆ อย่างเหมาะสมและมีความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) และ ลดปัญหา

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและองค์กร

Why

การใช้งานและการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และสื่ออื่นๆ อย่างไม่เหมาะสม

หรือไม่เป็นมืออาชีพ (Unprofessional Conduct) อาจทำให้บุคลากรทางการแพทย์ถูก

ดำเนินการทางจริยธรรมหรือทางวินัย และอาจสร้างความเสียหายต่อตนเอง สถานพยาบาล

วิชาชีพ หรือเกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยได้

Process

1. สถานพยาบาลมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และ สื่อ

อื่นๆ ของบุคลากร ทั้งที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายควบคุม และบุคลากรอื่นของ

สถานพยาบาล (ทั้งที่ใช้งานในนามส่วนตัวหรือในนามองค์กร) ที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร

โดยอาจน าแนวทางปฏิบัติที่เป็น Best Practices มาปรับใช้

2. สถานพยาบาลมีการสื่อสารทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติดังกล่าวภายในองค์กรอย่างทั่วถึง

3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ควรครอบคลุมถึงประเด็นต่อไปนี้

 ความเชื่อมโยงกับจริยธรรมวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

 การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยและหลีกเลี่ยง การโจมตี กลั่นแกล้งหรือ คุกคาม ทำให้

ผู้อื่นเสียหาย (Cyber-bullying)

 แนวทางการใช้งานที่เป็นพฤติกรรมหรือการวางตัวอย่างเหมาะสม (Appropriate Conduct)

 การคำนึงถึงความความปลอดภัย (Safety) และเป็นส่วนตัว (Privacy) ของบุคคลอื่น

โดยเฉพาะผู้ป่วย

 การห้ามบุคลากรทำการโฆษณาที่ผิดกฎหมายหรือจริยธรรม

 แนวทางการใช้งานที่ไม่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นอันตราย เช่น ความรู้ทาง

การแพทย์ที่ผิดๆ

 ขอบเขตและแนวทางการใช้งานเพื่อการปรึกษา ให้คำปรึกษา ติดตาม สั่งการร้กษา หรือให้

คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพ (Online Consultation) ไม่ว่าจะระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง หรือ

กับผู้ป่วยหรือบุคคลภายนอก ที่เหมาะสมขององค์กร

4. สถานพยาบาลมีการเฝ้าระวังและกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Communication)

ซึ่งรวมถึงการตอบสนองในกรณีที่มีเหตุที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และ

ความเชื่อมั่นขององค์กรในวงกว้าง ที่เหมาะสม คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ

Training

การอบรมเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ

Monitoring

 มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

 สัดส่วนของบุคลากรที่มีความตระหนักต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และสื่อต่างๆ อย่าง

เหมาะสมและมีความเป็นมืออาชีพ

 จำนวนอุบัติการณ์ความเสี่ยงด้านการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรหรือ

องค์กรที่สามารถป้องกันได้

Pitfall

 แนวทางปฏิบัติไม่สอดคล้องกับบริบทขององค์กร หรือ มีความยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป

 แนวทางปฏิบัติจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคลากรจนเกินไป หรือมีปัญหาการยอมรับโดยบุคลากร

 องค์กรเองไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อสังคมออนไลน์ การกำหนดแนวทางปฏิบัติ หรือการนำ

แนวทางปฏิบัติไปใช้ จึงเกิดปัญหา เช่น สร้างปัญหาความสัมพันธ์กับผู้ป่วยมากกว่าเดิม ละเมิด

สิทธิของผู้ป่วย หรือส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นต่อองค์กรเอง

 องค์กรมุ่งเน้นแต่เรื่องการถ่ายภาพหรืออัดเสียงในโรงพยาบาล หรือ การโพสต์ข้อความบนสื่อ

สังคมออนไลน์ของผู้ป่วยและญาติมากจนเกินไป จนเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยเกินสมควร

หรือสร้างปัญหาความสัมพันธ์กับผู้ป่วย แต่ไม่ได้ให้ความส าคัญกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์

ของบุคลากรที่เป็นปัญหาเสียเองและส่งผลกระทบด้านลบต่อองค์กรและบุคลากรเองด้วย

 การเฝ้าระวัง ติดตาม หรือแก้ไขปัญหาบนสื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรไม่ทันท่วงทีหรือขาด

ประสิทธิภาพ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 4

ข้อ 4.2 การจัดการความรู้และสารสนเทศ

ข. การจัดการระบบสารสนเทศ (3)