3 การกำกับดูแลกิจการ การนำและทิศทาง (GLD)

ภาพรวม การให้การดูแลผู้ป่วยที่ดีเยี่ยมต้องมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจความ รับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของแต่บุคคลในองค์กร และวิธีการที่บุคคลเหล่านี้ทำงานร่วมกัน บรรดาผู้กำกับ ดูแล จัดการ และนำองค์กร เป็นทั้งผู้มีอำนาจและความรับผิดชอบ องค์คณะและแยกรายบุคคลมีความรับผิดชอบใน การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ เป็นไปตามการประชุมความรับผิดชอบขององค์กรต่อประชากรผู้ป่วยที่จัด ให้

เมื่อเวลาผ่านไป การนำที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เอาชนะอุปสรรคและปัญหาการสื่อสารระหว่างหน่วยงานและ บริการในองค์กร และองค์กรที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมากขึ้นอีก การบริการมีการบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการจัดการคุณภาพและการปรับปรุงกิจกรรมตลอดทั่วทั้งองค์กรมีผลลัพธ์ในการ ปรับปรุงการรักษาผู้ป่วย

หมายเหตุ: ในมาตรฐาน GLD ทั้งหมด, มีการใช้คำศัพท์คำว่า ผู้นำ (leaders) เพื่อบ่งชี้ว่ามีบุคคลตั้ง แต่หนึ่งคนขึ้น ไปที่มีภาระรับผิดชอบต่อความคาดหวังที่ปรากฎในมาตรฐาน. คณะผู้นำ (Leadership) ใช้เพื่อบ่งชี้ว่ากลุ่มของผู้นำ มีภาระรับผิดชอบร่วมกันตามความคาดหวังที่ปรากฎในมาตรฐาน.

มาตรฐานในบทนี้ได้รับการแบ่งกลุ่มโดยการใช้ลำดับชั้นบังคับบัญชาของคณะผู้นำ (และแสดงให้เห็น ภาพใน แผนภาพด้านล่าง):

ระดับที่ 1 : ผู้กำกับดูแลกิจการ

GLD.1 และ GLD.1.2

นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ (Governance refers to the Governing entity) อาจจะประกอบด้วยโครงร่างใน หลายลักษณะ. ยกตัวอย่างเช่น , ผู้กำกับดูแลกิจการ อาจจะเป็นกลุ่มบุคคล (เช่น คณะกรรมการชุมชน), เจ้าของ ตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป, หรือใน กรณีของโรงพยาบาลรัฐบาล, กระทรวงสาธารณสุข. บุคคล, นิติบุคคล, หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบต่อ ข้อกำหนดที่ปรากฎใน GLD.1.1 ถือว่าเป็นภาระรับผิดชอบของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการของ โรงพยาบาล. ส่วนอื่นของมาตรฐานระบุความต้องการและความคาดหวังของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการคือ GLD.1 และ GLD.1.2

ระดับที่ 2 : ประธานฝ่ายบริหาร

มาตรฐาน GLD.2

ผู้บริหารโรงพยาบาลระดับสูงที่สุด, โดยปกติใช้ศัพท์คำว่า ประธานฝ่ายบริหาร (chief executive), คือ ตำแหน่งที่รั้ง โดยบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปโดยได้รับเลือกจากผู้กำกับดูแลกิจการเพื่อบริหารจัดการ งานในลักษณะประจำวันของ องค์กรในงานประจำวัน. ตำแหน่งนี้ส่วนมากโดยปกติจะรั้งตำแหน่งโดย แพทย์นักบริหาร, หรือ ทำงานทั้งสองอย่าง ด้วยกัน. ในศูนย์การศึกษาทางการแพทย์, คณบดีของโรงเรียนแพทย์จะอยู่ที่ระดับบริหารนี้ในโรงพยาบาล. มาตรฐาน GLD.2 อธิบายความรับผิดชอบและความคาดหวังของประธานฝ่ายบริหาร

ระดับที่ 3 : คณะผู้นำโรงพยาบาล

การแพทย์ การพยาบาล ฝ่ายบริหาร ฝ่ายอื่นๆ GLD.3 จนถึง GLD.7.1

มาตรฐานมอบความรับผิดชอบแก่ คณะผู้นำ (Leadership) โรงพยาบาล ในหลายลักษณะโดยมีเจตจำนงที่จะ ร่วมมือในการให้แนวทางแก่โรงพยาบาลเพื่อตอบสนองพันธกิจของตน. ที่พบบ่อยที่สุด, คณะ ผู้นำโรงพยาบาล ประกอบด้วย ประธานคณะบุคลากรสายแพทย์ (chief medical officer) ทำหน้าที่ เป็นตัวแทนของบุคลากรสาย แพทย์ในโรงพยาบาล, ประธานคณะบุคลากรสายพยาบาล (chief nursing officer) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ พยาบาลทุกระดับในโรงพยาบาล, ผู้บริหารระดับสูงและ บุคคลอื่น ๆ ที่โรงพยาบาลเลือก, เช่น ประธานบุคลากร ด้านคุณภาพ (chief quality officer) หรือ รองประธานด้านทรัพยากรมนุษย์ (vice president of human resources). ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างองค์กรแตกต่างกัน, เช่น ฝ่าย (division) , คณะผู้นำอาจจะ ครอบคลุมผู้นำของฝ่ายเหล่านี้ด้วย. แต่ละโรงพยาบาลระบุคณะผู้นำโรงพยาบาล, และมาตรฐาน GLD.3 จนถึง GLD.7.1 ได้อธิบาย ภาระรับผิดชอบของกลุ่มบุคคลนี้ไว้. GLD.8 ได้อธิบายความรับผิดชอบของบุคลากรสายคลินิก, แต่ อย่างไรก็ตามอาจจะจัดโครงสร้างที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ. ในศูนย์การศึกษาทางการแพทย์, ผู้นำด้าน การฝึกอบรมทางการแพทย์และผู้นำด้านวิจัยทางคลินิกอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้นำของโรงพยาบาล.

ระดับที่ 4 : ผู้นำแผนก/บริการ

แผนกคลินิก บริการตรวจวินิจฉัย เภสัชกรรม บริการสนับสนุน

ผู้จัดการบริการสายงานคลินิกและสายงานอื่น

GLD.8 จนถึง GLD.11.2

สำหรับการส่งมอบบริการทางคลินิกและการจัดการองค์กรประจำวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล, บ่อยครั้งมากที่โรงพยาบาลจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ทำงานร่วมกัน เช่น แผนก, บริการ หรือ หน่วยงาน, แต่ละส่วนอยู่ ภายใต้การกำกับดูแลของ ผู้นำแผนก/บริการ (department/service leader). มาตรฐาน GLD.8 จนถึง GLD.11.2 ได้อธิบายความคาดหวังของผู้นำแผนก/บริการเหล่านี้ไว้. โดยปกติกลุ่มย่อยจะประกอบไปด้วยแผนกทางคลินิก เช่น อายุรกรรม, ศัลยกรรม, สูติกรรม, กุมารเวชกรรม, และ อื่น ๆ; การพยาบาลกลุ่มย่อยตั้งแต่หนึ่งกลุ่มขึ้นไป; บริการหรือแผนกวินิจฉัย เช่น รังสีวิทยา และ ห้องปฏิบัติการทางคลินิก; บริการเภสัชกรรม, ทั้งแบบรวมศูนย์และ กระจายไปทั่วทั้งโรงพยาบาล; ตลอดจนถึงบริการสนับสนุน เช่น การขนส่ง, สังคมสงเคราะห์, การเงิน, จัดซื้อ, การ บริหารจัดการอาคารสถานที่, และทรัพยากรมนุษย์, และอื่น ๆ. โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดมักจะมีผู้จัดการภายใน กลุ่ม ย่อยเหล่านี้ด้วย. ยกตัวอย่างเช่น, การพยาบาลอาจจะมีผู้จัดการห้องผ่าตัดคนหนึ่งและอีกคนสำหรับ บริการ

ผู้ป่วยนอก, แผนกอายุรกรรมอาจจะมีผู้จัดการของแต่หน่วยงานทางคลินิกที่ดูแลผู้ป่วย, และสำนักงานธุรกิจของ โรงพยาบาลอาจจะมีผู้จัดการสำหรับหน้าที่ทางธุรกิจที่ต่างกัน เช่น ควบคุมเตียง, วาง บิล, จัดซื้อ และอื่น ๆ.

ท้ายที่สุด, GLD.12 จนถึง GLD.19

มีข้อกำหนดในบท GLD ซึ่งแตะไปที่ผู้นำทุกระดับที่บรรยายไว้ด้านบน. ข้อกำหนดเหล่านี้ปรากฎใน GLD.12 จนถึง GLD.19 และครอบคลุมวัฒนธรรมคุณภาพ, จริยธรรม และการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการสุขภาพ และ การวิจัยเมื่อมีบริการ.

หมายเหตุ ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์ è หลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

การกำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล

GLD.1 มีการอธิบายโครงสร้างและสายบังคับบัญชาในการกำกับดูแลกิจการไว้ในธรรมนูญ, นโยบายและระเบียบ ปฏิบัติหรือ เอกสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน.è P

GLD.1.1 หน้าที่และภาระรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการได้รับการ บรรยายไว้ในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร.è P

GLD.1.2 นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการให้ความเห็นชอบแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยของ โรงพยาบาลรวม ถึงรับทราบและตอบสนองรายงานของแผนงานคุณภาพและความปลอดภัย ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ.è P

GLD.2 ประธานฝ่ายบริหารทำหน้าที่ในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลและการปฏิบัติตามกฎหมายและ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง.è P

GLD.3 คณะผู้นำโรงพยาบาลได้รับการระบุตัวและร่วมกันทำหน้าที่กำหนดพันธกิจของโรงพยาบาลตลอดจนจัดทำ แผนงานและนโยบายที่จำเป็นเพื่อให้พันธกิจบรรลุผล.

GLD.3.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลระบุและวางแผนสำหรับประเภทของบริการทางคลินิกที่ถูกกำหนดเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลให้บริการ.è P

GLD.3.2 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจในการสื่อสารที่มีประสิทธิผลทั่วทั้งโรงพยาบาล.

GLD.3.3 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ามีแผนงานที่เป็นแนวทางเดียวกันสำหรับการสรรหา, ธำรงไว้, พัฒนาและให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทุกคน.

คณะผู้นำโรงพยาบาลสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย

GLD.4 คณะผู้นำโรงพยาบาลวางแผนจัดทำ และ นำสู่ปฏิบัติซึ่ง ,แผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย.

GLD.4.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลสื่อสารสารสนเทศการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยไปยังนิติ บุคคลผู้กำกับดูแลกิจการและบุคลากรของโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ.

GLD.5 ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลจัดลำดับความสำคัญซึ่งกระบวนการในภาพรวมระดับ โรงพยาบาลที่จะมีการวัดผล ,กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยในภาพรวมระดับ โรงพยาบาลที่จะมีการนำสู่ปฏิบัติ ,และวิธีการที่จะวัดผลความสำเร็จของความพยายามเหล่านั้นในภาพรวม ระดับโรงพยาบาล

คณะผู้นำโรงพยาบาลสำหรับสัญญาจ้าง

GLD.6 คณะผู้นำโรงพยาบาลมีภาระรับผิดชอบในการทบทวนคัดเลือก และเฝ้าติดตาม ,สัญญาจ้างเหมาด้าน คลินิกหรือด้านอื่นที่ไม่ใช่คลินิก.è P

GLD.6.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าสัญญาจ้างเหมาและข้อตกลงอื่น ๆ ได้รับการรวมเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยของโรงพยาบาล.

GLD.6.2 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบวิชาชีพอิสระซึ่งมิได้เป็นลูกจ้างของ โรงพยาบาลมีหลักฐานคุณสมบัติที่ถูกต้องสำหรับบริการที่จัดให้แก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล.è P

GLD.7 คณะผู้นำโรงพยาบาลตัดสินใจเกี่ยวกับกับจัดซื้อหรือใช้ทรัพยากร—มนุษย์และทางเทคนิค—ด้วยการทำ ความ เข้าใจนัยยะทางคุณภาพและความปลอดภัยของการตัดสินใจทั้งหลายเหล่านั้น.

GLD.7.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลแสวงหารวมทั้งใช้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยของห่วงโซ่ อุปทานสำหรับยา, เทคโนโลยีทางการแพทย์, และวัสดุภัณฑ์เพื่อปกป้องผู้ป่วยและบุคลากรจาก ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเสถียรภาพ ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอม.

องค์กรวิชาชีพของบุคลากรสายคลินิกและภาระรับผิดชอบ

GLD.8 ผู้นำด้านการแพทย์การพยาบาล และผู้นำด้านอื่น ๆ ของบริการทางคลินิก วางแผนโครงสร้างองค์กร วิชาชีพที่มีประสิทธิผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และนำโครงสร้าง ดังกล่าวสู่การปฏิบัติ.è P

การกำกับควบคุมแผนกและบริการของโรงพยาบาล

GLD.9 ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมหนึ่งคนหรือมากกว่าทำหน้าที่บริหารแต่ละแผนกหรืองานบริการในโรง พยาบาล. è P

GLD.10 ผู้นำแผนก/บริการแต่ละแผนกระบุบริการที่แผนกจะจัดให้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการประสานงานและ บูรณาการบริการระหว่างแผนกหรืองานบริการอื่น.è P

GLD.11 ผู้นำของแผนก/บริการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมกับลำดับการ พัฒนาคุณภาพที่สำคัญในระดับโรงพยาบาลและการเฝ้าติดตามตลอดจนการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยที่ จำเพาะเจาะจงกับแผนก/บริการ

GLD.11.1 ตัววัดที่ถูกเลือกโดยผู้นำแผนก /บริการที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้กับการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของแพทย์พยาบาลและบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมใน กระบวนการดูแลทางคลินิกที่ถูกนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

GLD.11.2 ผู้บริหารแผนก/บริการเลือกและนำแนวปฏิบัติทางคลินิก (clinical practice guideline) วิถีทางคลินิก (clinical pathways) และ/หรือระเบียบวิธี (protocol) มาใช้เป็นแนวทางใน การดูแลทางคลินิก.è P

จริยธรรมองค์กรและทางคลินิก

GLD.12 คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำกรอบการบริหารจริยธรรม ซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรมการปฏิบัติและการตัดสินใจ อย่างมีจริยธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลตามบรรทัดฐานด้านธุรกิจ การเงิน จริยธรรม และกฎหมาย รวมทั้งสร้างความมั่นใจว่ามีการปกป้องผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วย.è P

GLD.12.1 กรอบการบริหารจริยธรรมขององค์กรประกอบด้วย การตลาด การรับผู้ป่วย การโอนย้าย ผู้ป่วย และการจำหน่าย รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลความเป็นเจ้าของกิจการ ข้อมูลความขัดแย้ง เชิงธุรกิจและวิชาชีพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วย.è P

GLD.12.2 กรอบการบริหารจริยธรรมขององค์กรสนับสนุนการตัดสินใจในการดูแลทางคลินิกและ บริการ ทั่วไปอย่างมีจริยธรรม.è P

GLD.13 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างและสนับสนุนแผนงานวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งโรงพยาบาล.è P

GLD.13.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลปฏิบัติติดตาม และดำเนินการปรับปรุงแผนงานสำหรับวัฒนธรรมของ ความปลอดภัยทั่วทั้งโรงพยาบาล

การฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการวิจัยในมนุษย์

GLD.14 การศึกษาด้านวิชาชีพสุขภาพซึ่งจัดให้มีในโรงพยาบาล ได้รับแนวทางและข้อพิจารณาของเจ้าของแผนงานวิชาการและคณะผู้นำโรงพยาบาล.

GLD.15 การศึกษาวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและแนวทางของคณะผู้นำ โรงพยาบาล.è P

GLD.16 โรงพยาบาลแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบเกี่ยวกับวิธีการเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทาง คลินิก หรือการทดลองทางคลินิกซึ่งกระทำในมนุษย์. è P

GLD.17 โรงพยาบาลแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบถึงวิธีการที่ผู้ป่วยซึ่งสมัครใจเข้าร่วมในงานวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก จะได้รับการคุ้มครอง.

GLD.18 การขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวจะต้องกระทำก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก และการทดลองทางคลินิก. è P

GLD.19 โรงพยาบาลมีคณะกรรมการหรือวิธีการอื่นที่จะกำกับดูแลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งหมดใน องค์กร. è P

มาตรฐาน เจตจำนง และ องค์ประกอบที่วัดได้

ผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล

มาตรฐาน GLD.1 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาลอธิบายไว้ในธรรมนูญองค์กร นโยบาย และระเบียบปฏิบัติหรือเอกสารที่มีลักษณะคล้ายกันè P

เจตจำนงของ GLD.1 มีนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ ตัวอย่างเช่น กลุ่มของบุคคล (เช่น คณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการ ชุมชน) มีเจ้าของตั้งแต่หนึ่งบุคคลขึ้นไป ในกรณีของโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่ง กระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ รับผิดชอบในกำกับดูแลการดำเนินงานของโรงพยาบาลและมีภาระหน้าที่สำหรับการให้บริการดูแลสุขภาพที่ โรงพยาบาลจัดให้ คณะผู้กำกับดูแลกิจการนี้เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับข้อกำหนดที่พบใน GLD.1.1 โครงสร้างและ อำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนี้ได้รับการอธิบายไว้ในธรรมนูญองค์กร นโยบายและระเบียบปฏิบัติหรือเอกสารที่มี ลักษณะคล้ายกันที่ระบุวิธีการที่ได้รับการดำเนินการ

มีการประเมินผลประจำปีของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ การประเมินผลประจำปีสามารถทำได้เรียบง่าย เช่น คำถามสามหรือสี่คำถามที่เกี่ยวข้องว่านิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการทำตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตนหรือไม่ เช่น ที่อธิบายไว้ใน GLD.1.1-การอนุมัติพันธกิจ แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานงบประมาณ เป็นต้น สามารถที่จะ ทำ การสำรวจออนไลน์ง่ายๆ หรือ สามารถส่งคำถามเป็นไฟล์แนบผ่านทางอีเมล์หรือทางไปรษณีย์ให้กับสมาชิกของ นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ

เมื่อโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในหลาย ๆ องค์กรที่ต้องไปรายงานนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ เช่น ในกรณีของกระทรวง สาธารณสุข (MOH) บางแห่งที่ทำหน้าที่เป็นนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ การได้รับการทบทวนและดำเนินการ เกี่ยว กับรายงานของโครงการคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยอาจจะเป็นสิ่งที่ท้าทาย ในสถานการณ์เช่นนี้ โรงพยาบาล จะต้องมีความพยายามที่น่าเชื่อถือที่จะได้รับการป้อนข้อมูลที่จำเป็นและการดำเนินการจากนิติบุคคลผู้ กำกับดูแล กิจการ ความพยายามที่น่าเชื่อถือมีลักษณะคือความพยายามด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี(เช่น โทรศัพท์ อีเมลล์และ/หรือจดหมาย) พร้อมกับเอกสารของความพยายามและผลลัพธ์ของการสื่อสาร (ดูGLD.1.2 ร่วม ด้วย)

มีการนำเสนอหรือแสดงนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล ในแผนภูมิองค์กรหรือเอกสารอื่น ๆ ให้เห็น ระดับของอำนาจหน้าที่และภาระหน้าที่

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.1

❏ 1. โครงสร้างของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาลได้รับการอธิบายไว้ในเอกสารที่เป็น ลายลักษณ์อักษรโดยมีการระบุผู้ที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล

❏ 2. มีการอธิบายอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาลไว้ในธรรมนูญองค์กร นโยบาย และระเบียบปฏิบัติหรือเอกสารที่คล้ายกัน

❏ 3. มีการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการและมีการบันทึกผลไว้

❏ 4. เอกสารอธิบายเวลาและวิธีการในการมอบอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการและผู้บริหาร ระดับสูง

มาตรฐาน GLD.1.1 ความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ในการดำเนินงานของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการได้รับการอธิบายไว้ในเอกสารที่ เป็นลายลักษณ์อักษรè P

เจตจำนงของ GLD.1.1 ความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ของนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการได้รับการอธิบายไว้ในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์ อักษรที่ระบุวิธีการดำเนินการเพื่อให้โรงพยาบาลมีความเป็นผู้นำที่ชัดเจน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ให้บริการ ดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูง นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการจะต้องปฏิบัติเต็มความรับผิดชอบของตน ความ รับผิดชอบ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นระดับการอนุมัติครอบคลุม

• อนุมัติและทบทวนพันธกิจของโรงพยาบาลเป็นระยะและสร้างความมั่นใจว่าสาธารณชนตระหนักทราบถึง พันธกิจของโรงพยาบาล

• อนุมัติแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล รวมถึงนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จำเป็น ในการประกอบกิจการของโรงพยาบาลในประจำวัน

• อนุมัติการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลในการศึกษาของวิชาชีพดูแลสุขภาพและในการวิจัยรวมถึงการกำกับ ดูแลของคุณภาพของแผนงานดังกล่าวนั้น (ดูGLD.14 และ GLD.15 ร่วมด้วย)

• อนุมัติหรือการให้ทุนและงบประมาณดำเนินงานรวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงาน โรงพยาบาลและเพื่อตอบสนองพันธกิจและแผนกลยุทธ์ของโรงพยาบาล และ • แต่งตั้งหรืออนุมัติผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลและทำการประเมินผลประจำปีของแต่ละบุคคลและ บันทึกเป็นเอกสาร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.1.1

❏ 1. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติทบทวนเป็นระยะ ๆ และประกาศถ้อยแถลงพันธกิจของโรงพยาบาล สู่ สาธารณชน

❏ 2. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติแผนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานของโรงพยาบาลตลอดจนนโยบาย และระเบียบปฏิบัติ

❏ 3. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติเงินทุนและงบประมาณดำเนินงาน รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรอื่น ๆ ที่ จำเป็นเพื่อตอบสนองพันธกิจของโรงพยาบาล (ดูCOP.8,ME 2 PCI.4,ME 2 และ FMS.4.2,ME 2 ร่วม ด้วย)

❏ 4. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลในการศึกษาวิชาชีพด้านการดูแล สุขภาพและการวิจัยและการกำกับดูแลที่มีคุณภาพของแผนงานดังกล่าว

❏ 5. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการแต่งตั้งและประเมินผลผู้บริหารระดับสูงโรงพยาบาลเป็นประจำทุกปีและมี การบันทึกผลประเมินเป็นเอกสาร

มาตรฐาน GLD.1.2 นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติโครงการคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยของโรงพยาบาลและได้รับรายงาน โครงการคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งดำเนินการแก้ไขè P

เจตจำนงของ GLD.1.2 นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติหรือจัดให้มีโครงการและนโยบายของโรงพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งจัดสรร ทรัพยากรเพื่อตอบสนองพันธกิจของโรงพยาบาล หนึ่งในภาระหน้าที่ที่สำคัญคือการดำเนินความรับผิดชอบ ทั้งหมด ในลักษณะที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย การลงทุนที่ สำคัญใน ด้านคุณภาพจะต้องมีการวางแผน จัดให้มีทรัพยากรที่เพียงพอ และการเฝ้าติดตามความคืบหน้า ดังนั้น นิติบุคคล ผู้กำกับดูแลกิจการจะต้องอนุมัติโครงการคุณภาพเป็นประจำทุกปีและได้รับรายงานคุณภาพเป็นประจำ รายงาน โดยธรรมชาติสามารถเป็นภาพรวมทั้งหมดหรือมุ่งเน้นบริการเฉพาะทางคลินิก กลุ่มผู้ป่วย หรือ การ ดำเนินงาน ในบางแง่มุม ดังนั้นตลอดช่วงเวลาทุกแง่มุมของแผนงานคุณภาพรวมทั้งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และ เหตุการณ์พึงสังวรจะได้รับการนำเสนอเป็นสารสนเทศและการอภิปรายผลให้นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการทราบ เมื่อผลการ อภิปรายให้มีการดำเนินการแก้ไข เช่น การจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติม การดำเนินการเหล่านั้นจะถูก บันทึกในรายงาน การประชุมและมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งในที่การประชุมครั้งต่อไป

การได้รับการทบทวนและดำเนินการเกี่ยวกับรายงานของโครงการคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยจากนิติบุคคล ผู้กำกับดูแลกิจการอาจจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ องค์กรที่ต้อง รายงานไปยังนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ เช่น ในกรณีของกระทรวงสาธารณสุข (MOH) ถ้านิติบุคคลผู้กำกับดูแล กิจการยังคงไม่ตอบสนอง โรงพยาบาลแสดงความพยายามที่น่าเชื่อถือในการติดต่อกับกระทรวงสาธารณสุข ความ พยายามที่น่าเชื่อถือครอบคลุมการติดต่อนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการหลายครั้งโดยวิธีการที่หลากหลาย (เช่น โทรศัพท์อีเมล์และ/หรือจดหมาย) พร้อมกับบันทึกความพยายาม/ผลลัพธ์ของการสื่อสาร (ดูGLD.1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.1.2

❏ 1. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการอนุมัติโครงการคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยของโรงพยาบาลเป็น ประจำ ทุกปี

❏ 2. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการได้รับและดำเนินการต่อรายงานของโครงการคุณภาพและความปลอดภัย ผู้ป่วยรวมทั้งรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเหตุการณ์พึงสังวรอย่างน้อยทุกไตรมาส (ดูQPS.4.1, ME 5 FMS.3 และ FMS.10,ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. รายงานการประชุมสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินการใด ๆ และติดตามการดำเนินการเหล่านั้น

ภาระรับผิดชอบของประธานฝ่ายบริหาร

มาตรฐาน GLD.2 ประธานฝ่ายบริหารทำหน้าที่ในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลและการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง.è P

เจตจำนงของ GLD.2 การนำที่มีประสิทธิผลมีความจำเป็นสำหรับโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพและ บรรลุพันธกิจของโรงพยาบาล. การนำคือสิ่งที่ผู้นำแต่ละคนร่วมกันอุปถัมภ์แก่โรงพยาบาลโดยแต่ละบุคคล และ สามารถดำเนินการได้โดยไม่จำกัดจำนวนบุคคล.

ประธานฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการดำเนินกิจการที่เป็นงานประจำวันของโรงพยาบาลทั้งหมด. ครอบคลุมการ จัดหา และเก็บสำรองวัสดุที่จำเป็น ,การบริหารการเงิน ,การบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ,การบริหารคุณภาพ, และหน้าที่ รับผิดชอบอื่น ๆ. ความรู้และประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าวตรงตามข้อกำหนดในคำบรรยาย ตำแหน่งงาน. ประธานฝ่ายบริหารร่วมมือกับคณะผู้นำโรงพยาบาลในการกำหนดพันธกิจขององค์กรและวาง แผนนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติและบริการด้านคลินิกที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจนั้น., ประธานฝ่ายบริหารมีหน้าที่ นำนโยบายทั้งหมดที่ ผ่านการเห็นชอบโดยองค์คณะผู้กำกับดูแลกิจการไปสู่การปฏิบัติและ สร้างความมั่นใจ ว่าบุคลากรของโรงพยาบาล ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวทั้งหมด. (ดูบท QPS ร่วมด้วย)

ประธานฝ่ายบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับเรื่องต่อไปนี้ของโรงพยาบาล

• การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง;

• การตอบสนองต่อรายงานจากหน่วยงานตรวจสอบและควบคุม; และ

• กระบวนการบริหารและควบคุมทรัพยากรมนุษย์ ,การเงิน และทรัพยากรอื่น ๆ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.2

❏ 1. ความรู้และประสบการณ์ของประธานฝ่ายบริหารตรงตามข้อกำหนดในคำบรรยายตำแหน่งงาน.

❏ 2. ประธานฝ่ายบริหารจัดการกับการดำเนินกิจการที่เป็นงานประจำวันของโรงพยาบาลครอบคลุม ,หน้าที่ รับผิดชอบที่ระบุไว้ในคำบรรยายตำแหน่งงาน.

❏ 3. ประธานฝ่ายบริหารเสนอแนะนโยบาย ,แผนกลยุทธ์และงบประมาณต่อนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการ.

❏ 4. ประธานฝ่ายบริหารสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบ.

❏ 5. ประธานฝ่ายบริหารสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง. (ดู ACC.4.5, ME 6; ACC.4.5.1, ME 4; AOP.5, ME 1; AOP.6, ME 1; COP.9, ME 1; COP.9.2, ME 2; ASC.1, ME 4; MMU.1, ME 5; MMU.1.1, ME 2; MMU.5.2, ME 1; PCI.3, ME 1; PCI.7, ME 6; FMS.1, ME1; FMS.4.2, ME 1, FMS.5, ME 5; SQE.9, ME 2; SQE.9.1, ME 1; SQE.14, ME 2; SQE.16, ME 2; MOI.2, ME 2 ร่วมด้วย) ❏ 6. ประธานฝ่ายบริหารตอบสนองต่อรายงานทั้งหมดจากหน่วยงานตรวจสอบและควบคุม.(ดูPCI.3, MEs 3 and 4 and FMS.1, ME 3 ร่วมด้วย)

ภาระรับผิดชอบของคณะผู้นำโรงพยาบาล

มาตรฐาน GLD.3 คณะผู้นำโรงพยาบาลได้รับการระบุตัวและร่วมกันทำหน้าที่กำหนดพันธกิจของโรงพยาบาลตลอดจนจัดทำ แผนงาน และนโยบายที่จำเป็นเพื่อให้พันธกิจบรรลุผล.

เจตจำนงของ GLD.3 คณะผู้นำโรงพยาบาลมีที่มาจากหลายแหล่ง. นิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการกำหนดชื่อประธานฝ่ายบริหาร. ประธาน ฝ่ายบริหารอาจจะเสนอรายนามผู้อื่น ๆ เป็นคณะผู้นำโรงพยาบาล. คณะผู้นำโรงพยาบาลอาจจะมีตำแหน่งที่เป็น ทางการ, เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์หรือ ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลอาจจะเป็นผู้นำ , แผนกหรือบริการ ทางด้านคลินิกหรือด้านอื่นหรืออาจจะ ,เป็นที่ยอมรับอย่างไม่เป็นทางการเนื่องด้วยความ อาวุโส ,ความมีชื่อเสียง หรือผลงานที่ทำให้แก่โรงพยาบาล. เป็นสิ่งสำคัญที่คณะผู้นำโรงพยาบาลจะได้รับการ ยอมรับและนำเข้าร่วมใน กระบวนการกำหนดพันธกิจของโรงพยาบาล. โดยอาศัยพันธกิจดังกล่าวคณะ ,ผู้นำโรงพยาบาลทำงานด้วยกันและ ร่วมมือกันเพื่อจัดทำแผนงาน ,นโยบายและบริการที่จำเป็นต่อการบรรลุพันธกิจ. เมื่อมีการกำหนดพันธกิจและกรอบ นโยบายโดยเจ้าของกิจการหรือหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล ,คณะผู้นำโรงพยาบาลทำงานร่วมมือกันเพื่อนำพันธ กิจและนโยบายไปปฏิบัติ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.3

❏ 1. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลได้รับการระบุตัวด้วยตำแหน่งและชื่อตลอดจน ,ภาระ รับผิดชอบร่วมกันได้รับการอธิบายไว้ในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร.

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลทำหน้าที่กำหนดพันธกิจของโรงพยาบาล.

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลทำหน้าที่กำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามพันธกิจ.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่านโยบายและระเบียบปฏิบัติได้รับการปฏิบัติตาม

มาตรฐาน GLD.3.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลระบุและวางแผนสำหรับประเภทของบริการทางคลินิกที่ถูกกำหนดเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลให้บริการ.è

เจตจำนงของ GLD.3.1

บริการดูแลผู้ปวยได้รับการวางแผนและออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรผู้ป่วย. การดูแล และ บริการที่จัดขึ้นได้รับการบันทึกและสอดคล้องกับพันธกิจของโรงพยาบาล. คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนด ร่วมกัน กับผู้นำของแผนกและบริการทางคลินิกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลว่าบริการตรวจวินิจฉัย ,รักษา, ฟื้นฟูสภาพ และ บริการอื่น ๆ ใดบ้างที่จำเป็นต่อประชากรผู้ป่วย. นอกจากนี้คณะผู้นำโรงพยาบาลยังวางแผนร่วม กับผู้นำแผนก/ บริการถึงขอบเขตและความหนาแน่นของบริการต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลจัดให้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม. คณะผู้นำ โรงพยาบาลวางแผนและร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และโรงพยาบาล ,อื่น ๆ ในการตอบสนองความ ต้องการดูแลสุขภาพ ของชุมชนเมื่อเป็นไปตามพันธกิจ. บริการได้รับการวางแผนที่สะท้อนทิศทางเชิงกลยุทธ์ของโรงพยาบาลและ มุมมองของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยโรงพยาบาล.

การวางแผนบริการดูแลผู้ป่วยยังเกี่ยวข้องกับการที่คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนดชุมชนและประชากรผู้ป่วยของ โรงพยาบาล, การระบุชุมชนที่ต้องการการบริการ, และการวางแผนการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เสียหลักในชุมชน. (ดู PFR.1 ร่วมด้วย) การสื่อสารอาจจะโดยตรงไปยังแต่ละบุคคลหรือผ่านสื่อสารมวลชนและ ผ่านตัวแทนภายในชุมชนหรือไตรภาคี. ประเภทของสารสนเทศที่ได้รับการสื่อสารครอบคลุม

• สารสนเทศเกี่ยวกับบริการ, ชั่วโมงการทำงาน, และกระบวนการเพื่อเข้ารับการดูแล; และ

• สารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพของบริการซึ่งมีการจัดให้แก่ ,สาธารณะและแหล่งที่ส่งต่อ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.3.1

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนดและวางแผนร่วมกับผู้นำแผนก/บริการเกี่ยวกับประเภทการดูแลและบริการที่ จัดให้โดยโรงพยาบาลซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของโรงพยาบาลและความต้องการของผู้ป่วยที่ให้บริการโดย โรงพยาบาล. (ดูACC.1, ME 1 และ ACC.2.2.1, ME 1ร่วมด้วย)

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนของโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการดูแล และการเข้าถึงสารสนเทศเกี่ยวกับบริการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาล. (ดูMOI.1, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลให้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพบริการต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. (ดูQPS.6, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลอธิบายและบันทึกการดูแลและบริการที่จัดให้มี.

มาตรฐาน GLD.3.2 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจในการสื่อสารที่มีประสิทธิผลทั่วทั้งโรงพยาบาล.è P

เจตจำนงของ GLD.3.2 การสื่อสารที่มีประสิทธิผลภายในโรงพยาบาลเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะผู้นำโรงพยาบาล. ดังนั้นคณะผู้นำ โรง พยาบาลต้องเข้าใจพลวัตของการสื่อสารระหว่างกลุ่มวิชาชีพ; ระหว่างหน่วยงานตามโครงสร้าง เช่น แผนก; ระหว่างกลุ่มวิชาชีพและมิใช่วิชาชีพ ;ระหว่างวิชาชีพสุขภาพกับฝ่ายบริหาร ;ระหว่างวิชาชีพสุขภาพกับครอบ ครัว ; และระหว่างวิชาชีพสุขภาพกับองค์กรภายนอก ยกตัวอย่างเช่น. คณะผู้นำโรงพยาบาลไม่เพียงกำหนดพารามิเตอร์ ของการสื่อสารที่มีประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นแบบอย่างในการสื่อสารที่มีประสิทธิผลในเรื่องของ พันธ กิจ, กลุยทธ์, แผน และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ของโรงพยาบาล. คณะผู้นำโรงพยาบาลให้ความใส่ ใจกับความ ถูกต้องและความทันกาลของสารสนเทศที่มีการแลกเปลี่ยนและสื่อสารทั่วทั้งโรงพยาบาล.

เพื่อประสานและบูรณาการการดูแลผู้ป่วยคณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างวัฒนธรรมที่เน้นความร่วมมือและการ , .สื่อสาร มีการใช้วิธีการที่เป็นทางการ (ยกตัวอย่างเช่น, การตั้งคณะกรรมการ ,ทีมงานร่วม) และที่ไม่เป็น ทางการ (ยกตัวอย่างเช่น, จดหมายข่าวและโปสเตอร์) สำหรับส่งเสริมการสื่อสารระหว่างบริการและบุคลากร แต่ละคน. การประสานงานบริการทางคลินิกมาจากความเข้าใจในพันธกิจและบริการของแต่ละแผนกตลอด จนความร่วมมือใน การจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ใช้ร่วมกัน.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.3.2

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ามีกระบวนการพร้อมปฏิบัติสำหรับการสื่อสารสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องทั่วทั้งโรงพยาบาลในลักษณะที่ทันกาล. (ดูMOI.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจในการสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างแผนกงานบริการ และ บุคลากรแต่ละคนของสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก. (ดูMOI.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลสื่อสารวิสัยทัศน์ ,พันธกิจเป้าหมาย, นโยบาย, และแผนของโรงพยาบาล ,แก่ บุคลากร.

มาตรฐาน GLD.3.3 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ามีแผนงานที่เป็นแนวทางเดียวกันสำหรับการสรรหา, ธำรงไว้, พัฒนาและ ให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทุกคน.

เจตจำนงของ GLD.3.3 ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยขององค์กรมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการจูงใจและธำรงไว้ซึ่ง บุคลากรที่มีความสามารถ. คณะผู้นำโรงพยาบาลตระหนักว่าการธำรงไว้ซึ่งบุคลากรก่อให้เกิดประโยชน์ใน ระยะ ยาวมากกว่าการสรรหาบุคลากร. การคงอยู่ของบุคลากรจะเพิ่มขึ้นเมื่อคณะผู้นำโรงพยาบาลสนับสนุน ความก้าวหน้าของบุคลากรผ่านการศึกษาต่อเนื่อง. ดังนั้น คณะผู้นำโรงพยาบาลวางแผนและนำไปปฏิบัติซึ่ง แผนงานและกระบวนการเกี่ยวกับการสรรหา, การธำรงไว้, การพัฒนาและการศึกษาต่อเนื่องในแต่ละประเภทของ บุคลากรที่เป็นแนวทางเดียวกัน.(ดูSQE.2, ME 4 ร่วมด้วย) แผนงานสรรหาบุคลากรของโรงพยาบาลพิจารณา แนวทางที่มีการตีพิมพ์เช่น World Health Organization, International Council of Nurses, and World Medical Association.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.3.3

❏ 1. โรงพยาบาลจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการสำหรับการสรรหาบุคลากร. (ดูSQE.2, ME 1 ร่วม ด้วย)

❏ 2. โรงพยาบาลจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการสำหรับการธำรงรักษาบุคลากร.

❏ 3. โรงพยาบาลจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการสำหรับการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาต่อเนื่อง. (ดู SQE.8, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. การวางแผนเกิดจากความร่วมมือของทุกแผนกและงานบริการในโรงพยาบาล

คณะผู้นำโรงพยาบาลสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย

มาตรฐาน GLD.4 คณะผู้นำโรงพยาบาลวางแผนจัดทำ และ นำสู่ปฏิบัติซึ่ง ,แผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย.

มาตรฐาน GLD.4.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลสื่อสารสารสนเทศการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยไปยังนิติบุคคลผู้กำกับดูแล กิจการและบุคลากรของโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ.

เจตจำนงของ GLD.4 and GLD.4.1

การนำและการวางแผนเป็นสิ่งจำเป็น ,หากโรงพยาบาลจะริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งการพัฒนาและลดความเสี่ยงต่อ ผู้ป่วย และบุคลากร. การนำและการวางแผนเริ่มมาจากองค์คณะผู้กำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล, ร่วมกับเหล่าผู้ที่ บริหารและนำกิจกรรมด้านคลินิกและด้านบริหารจัดการของโรงพยาบาลในงานประจำวัน. บุคคล เหล่านี้เป็น ตัวแทนผู้นำแผนกและบริการของโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่ร่วมกัน. คณะผู้นำโรงพยาบาลมีหน้าที่ รับผิดชอบในการ สร้างและจัดให้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในความมุ่งมั่นขององค์กรต่อคุณภาพ. คณะผู้นำ โรงพยาบาลจัดทำ แผนงานคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยเพื่อให้ผู้กำกับดูแลกิจการเห็นชอบและขัดเกลาวัฒนธรรมคุณภาพของ , โรงพยาบาลผ่านวิสัยทัศน์และการสนับสนุนของผู้นำ. (ดูQPS.1 ร่วมด้วย)

คณะผู้นำโรงพยาบาลคัดเลือกวิธีการที่ใช้โดยโรงพยาบาลเพื่อวัด, ประเมิน และพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัย ผู้ป่วย. คณะผู้นำโรงพยาบาลยังต้องกำหนดวิธีการกำกับและจัดการแผนงานในงานประจำวันอีก ด้วย, เช่น แผนก คุณภาพ, และสร้างความมั่นใจว่าแผนงานมีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะทำให้เกิดประสิทธิผล.

คณะผู้นำโรงพยาบาลยังต้องนำสู่ปฏิบัติซึ่งโครงสร้างและกระบวนการสำหรับการเฝ้าติดตามและประสานงาน แผนงานทั้งหมดทั่วทั้งโรงพยาบาลอีกด้วย. การดำเนินการเหล่านี้สร้างความมั่นใจในการประสานงานระหว่าง แผนกและบริการทั้งหมดในการวัดผลและความพยายามในการพัฒนา. การประสานงานสามารถบรรลุผลด้วย สภา/คณะกรรมการบริหารคุณภาพ, หรือโครงสร้างบางอย่างอื่น ๆ. การประสานงานช่วยส่งเสริมแนวทางเชิง ระบบเพื่อการเฝ้าติดตามคุณภาพและกิจกรรมการพัฒนาขณะเดียวกันลดความซ้ำซ้อนของความพยายาม; ยกตัวอย่างเช่น, แผนกสองแผนกมีการวัดกระบวนการหรือผลลัพธ์ที่คล้ายกันโดยเป็นอิสระจากกัน. (ดูQPS.2 และ PCI.10, ME 1 ร่วมด้วย)

คณะผู้นำโรงพยาบาลยังต้องรับผิดชอบในการติดตามให้มีการเตรียมรายงานอย่างน้อยทุกไตรมาสเพื่อให้ผู้กำกับ ดูแลกิจการทบทวนและอภิปราย รวมทั้งรับผิดชอบในการตามดูว่ามาตรการแก้ไขของผู้กำกับดูแลกิจการ ที่สัมพันธ์ กับรายงานแผนงานคุณภาพได้มีการดำเนินการตามนั้น. นอกจากรายงานรายงานด้านคุณภาพอย่างน้อยทุกไตรมาส ต่อนิติบุคคลผู้กำกับดูแลกิจการครอบคลุม

• จำนวนและประเภทของเหตุการณ์พึงสังวรและมูลเหตุที่เกี่ยวข้อง;

• การให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ (ถ้ามี);

• การดำเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาความปลอดภัยในการตอบสนองต่อเหตุการณ์; และ

• การธำรงการพัฒนา (ถ้ามี).

การสื่อสารสารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยแก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอเป็น สิ่งจำเป็น. ทางไหลของการสื่อสารด้านคุณภาพนี้ผ่านช่องทางที่มีประสิทธิผล, เช่น จดหมายข่าว, กระดานข่าว, การประชุมบุคลากร และ กระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล. สารสนเทศสามารถเป็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาที่เริ่ม ใหม่หรือโครงการที่เพิ่งเสร็จสิ้น, ความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล, ผลการ วิเคราะห์เหตุการณ์พึงสังวรและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่น ๆหรือ , แผนงานวิจัยหรือ แผนงานวัดเปรียบเทียบ สมรรถนะที่เกิดขึ้นล่าสุด, ฯลฯ .

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.4

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในการจัดทำและนำสู่ปฏิบัติซึ่งแผนงานพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัยผู้ป่วยในภาพรวมระดับโรงพยาบาล.

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลคัดเลือกและนำสู่ปฏิบัติซึ่งกระบวนการในภาพรวมระดับโรงพยาบาลเพื่อวัด, ประเมิน, ปรับเปลี่ยนแผน, และธำรงการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย, และจัดให้มีการ ฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพนี้.

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนดวิธีการกำกับและจัดการแผนงานในงานประจำวันและสร้างความมั่นใจว่า แผนงานมีเทคโนโลยีและทรัพยากรอื่น ๆ เพียงพอที่จะเกิดประสิทธิผล.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลนำสู่ปฏิบัติซึ่งโครงสร้างและกระบวนการสำหรับเฝ้าติดตามทั้งหมดและการ ประสานงานแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.4.1

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลรายงานแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยต่อผู้กำกับดูแลกิจการ ทุกไตรมาส. (ดู QPS.8, ME 5 และ PCI.10 ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลรายงานไปยังผู้กำกับดูแลกิจการครอบคลุม, อย่างน้อยทุกไตรมาส, เกี่ยวกับ จำนวนและประเภทของเหตุการณ์พึงสังวรและมูลเหตุ, การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัว (ถ้ามี), การ ดำเนินการที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาความปลอดภัยในการตอบสนองต่อเหตุการณ์พังสังวร, และ การธำรง คุณภาพ (ถ้ามี) (ดู QPS.7 ร่วมด้วย)

❏ 3. สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากร อย่างสม่ำเสมอ, ครอบคลุมความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล. (ดู QPS.5, ME 5 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.5 ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลจัดลำดับความสำคัญซึ่งกระบวนการในภาพรวมระดับโรงพยาบาลที่ จะมีการวัดผล ,กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยในภาพรวมระดับโรงพยาบาลที่จะมีการนำสู่ ปฏิบัติ ,และวิธีการที่จะวัดผลความสำเร็จของความพยายามเหล่านั้นในภาพรวมระดับโรงพยาบาล.

เจตจำนงของ GLD.5 เนื่องจากข้อจำกัดในด้านอัตรากำลังและทรัพยากร, ทุกกระบวนการในโรงพยาบาลจึงไม่สามารถทำการวัด และ พัฒนาได้ในเวลาเดียวกันทั้งหมด. ดังนั้นหน้าที่หลักของคณะผู้นำโรงพยาบาลคือกำหนดลำดับความ สำคัญในการ วัดและการพัฒนาภาพรวมในระดับโรงพยาบาล. ทั้งหลายเหล่านี้คือความพยายามในการวัดและ การพัฒนาที่มี ผลกระทบหรือสะท้อนกิจกรรมในหลายแผนกและบริการ. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดให้มีจุดเน้น สำหรับกิจกรรมการ วัดและพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล, ครอบคลุมการวัดและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตามเป้าหมายความ ปลอดภัยสากลอย่างครบถ้วนของโรงพยาบาล. การลำดับความสำคัญอาจจะเน้นไป ที่การบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกล ยุทธ์; ยกตัวอย่างเช่น, เพื่อกลายเป็นผู้นำศูนย์การส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งในระดับ ภูมิภาค. คล้ายกันนี้, คณะผู้นำ โรงพยาบาลอาจจะให้ลำดับความสำคัญต่อโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพ, ลดอัตราการรับไว้นอนโรงพยาบาลซ้ำ, การขจัดปัญหาการไหลเวียนของผู้ป่วยในแผนกฉุกเฉิน, หรือจัดทำกระบวนการเฝ้าติดตามสำหรับคุณภาพบริการที่ จัดให้มีโดยผู้รับเหมา. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาล พิจารณาลำดับความสำคัญในระดับภาพรวม เชิงระบบเพื่อขยายผลการพัฒนาอย่างกว้างขวางทั่วทั้งโรงพยาบาล; ยกตัวอย่างเช่น, การพัฒนาระบบการจัดการ ด้านยาของโรงพยาบาล. กระบวนการจัดลำดับความ สำคัญครอบคลุมการพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งระบบและ กระบวนการแสดงให้เห็นความแปรปรวนในการนำสู่ ปฏิบัติและผลลัพธ์มากที่สุด. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความ มั่นใจว่า, เมื่อมีการทำวิจัยทางคลินิกและโปร แกรมการฝึกอบรมทางการแพทย์, แผนงานเหล่านั้นจะมีการนำเสนอ ในการจัดลำดับความสำคัญด้วย.

ประธานฝ่ายบริหาร และคณะผู้นำโรงพยาบาลยังต้องประเมินผลกระทบของการพัฒนาอีกด้วย. การวัดผลการ พัฒนาในเรื่องของประ สิทธิภาพของกระบวนการทางคลินิกที่ซับซ้อน, และ/หรือ การระบุเรื่องการลดต้นทุนและ การใช้ทรัพยากรภาย หลังการพัฒนากระบวนการ, ยกตัวอย่างเช่น. การวัดผลกระทบของการพัฒนาสนับสนุนความ เข้าใจในเรื่อง ต้นทุนสัมพัทธ์สำหรับการลงทุนในเรื่องคุณภาพ และด้านบุคคล, ด้านการเงิน ตลอดจนถึงการคืนทุน อื่น ๆ. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลสนับสนุนการจัดทำเครื่องมือง่ายๆ เพื่อใช้วัดปริมาณ ทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการเดิมและสำหรับการประเมินกระบวนการใหม่. การทำความเข้าใจทั้งผลกระทบ ของ การพัฒนาต่อผลลัพธ์ผู้ป่วยและต้นทุนสัมพัทธ์รวมถึงการส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการช่วย ปรับปรุง การจัดเรียงลำดับความสำคัญในอนาคต, ทั้งในระดับองค์กรและระดับแผนก/บริการ. เมื่อสารสนเทศ นี้รวมกันเข้า

ในภาพรวมระดับโรงพยาบาล, ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลสามารถทำความเข้าใจวิธีการจัดสรร ทรัพยากรที่เกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยที่มีอยู่ได้ดีขึ้น. (ดูQPS.2, QPS.4.1, PCI.6, PCI.6.1, และ GLD.11 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.5

❏ 1. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลใช้ข้อมูลที่มีอยู่จัดลำดับความสำคัญร่วมสำหรับกิจกรรม การวัดและพัฒนาในภาพรวมระดับโรงพยาบาลตลอดจนพิจารณาการพัฒนาเชิงระบบที่มีโอกาสเกิดขึ้น. (ดูFMS.3 ร่วมด้วย)

❏ 2. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่า, เมื่อมีการทำวิจัยทางคลินิกและ แผนงานการฝึกอบรมวิชาชีพสุขภาพ, แผนงานเหล่านั้นจะมีการนำเสนอในการจัดลำดับความสำคัญด้วย.

❏ 3. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลจัดลำดับความสำคัญครอบคลุมการปฏิบัติตามเป้าหมาย ความปลอดภัยสากลอย่างครบถ้วน.

❏ 4. ประธานฝ่ายบริหารและคณะผู้นำโรงพยาบาลประเมินผลกระทบของการพัฒนาในภาพรวมระดับโรง พยาบาลและระดับแผนก/บริการเกี่ยวกับประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากร. (ดูQPS.5 ร่วมด้วย)

คณะผู้นำโรงพยาบาลสำหรับสัญญาจ้าง

มาตรฐาน GLD.6 คณะผู้นำโรงพยาบาลมีภาระรับผิดชอบในการทบทวนคัดเลือก และเฝ้าติดตาม ,สัญญาจ้างเหมาด้านคลินิกหรือด้าน อื่นที่ไม่ใช่คลินิก.è P

เจตจำนงของ GLD.6 บ่อยครั้งที่โรงพยาบาลมีทางเลือกที่จะจัดให้มีบริการทางคลินิกและด้านบริหารจัดการเองโดยตรง หรือจัดให้มี บริการเหล่านั้นผ่านการส่งต่อ, การขอคำปรึกษา, สัญญาจ้างเหมา, หรือ ข้อตกลงอื่น ๆ. บริการเหล่านี้อาจจะมี ขอบเขตตั้งแต่บริการรังสีวิทยาและภาพวินิจฉัยไปจนถึงบริการทางด้านบัญชีการเงินตลอดจนบริการที่จัดให้สำหรับ แม่บ้าน, อาหาร หรือซักรีด. คณะผู้นำโรงพยาบาลบรรยายธรรมชาติและขอบเขตบริการที่จัดให้ผ่าน สัญญาจ้าง เหมาเป็นลายลักษณ์อักษร.

เมื่อสัญญาจ้างเหมาสัมพันธ์กับบุคลากรสายวิชาชีพสุขภาพ—ยกตัวอย่างเช่น, สัญญาจ้างเหมาพยาบาลเวชบำบัด วิกฤต—สัญญาระบุเงื่อนไขว่าบุคลากรสายวิชาชีพให้บริการตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลสำหรับบุคลากรที่มี ลักษณะคล้ายกันนี้.(ดูSQE.7, ME 2 and SQE.14, ME 5 ร่วมด้วย) ยกตัวอย่างเช่น, พยาบาลเวชบำบัดวิกฤต เป็นไปตามข้อกำหนดของ SQE.13, ME 6. ในทุกกรณี, คณะผู้นำโรงพยาบาลมีภาระรับผิดชอบต่อสัญญาจ้างเหมา หรือข้อตกลงอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและได้รับการรวมเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของ กิจกรรมการบริหารและพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล.(ดูQPS.6 and GLD.7.1ร่วมด้วย) ผู้นำ แผนก/บริการมีส่วนร่วมในการทบทวนและคัด เลือกสัญญาจ้างเหมาทางด้านคลินิกและด้านอื่นที่ไม่ใช่คลินิก รวมทั้งมีภาระรับผิดชอบในการเฝ้าติดตาม สัญญาจ้างเหมาเหล่านั้น. (ดูASC.1 และ MOI.13 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.6

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลมีภาระรับผิดชอบสำหรับสัญญาจ้างเหมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และฝ่ายบริหาร. (ดูACC.6, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 2. โรงพยาบาลมีคำบรรยายธรรมชาติและขอบเขตของบริการที่มีการจัดให้ผ่านสัญญาจ้างเหมาเป็นลาย ลักษณ์อักษร.

❏ 3. บุคลากรสัญญาจ้างเหมาสายวิชาชีพสุขภาพกำหนดให้มีการทบทวนหลักฐานคุณสมบัติเช่นเดียวกับ กระบวนการทบทวนของโรงพยาบาล.

❏ 4. ผู้นำแผนก/บริการมีภาระรับผิดชอบร่วมกันในการทบทวน, คัดเลือก, และเฝ้าติดตามสัญญาจ้างเหมา ทางด้านคลินิกและด้านอื่นที่ไม่ใช่คลินิก. (ดูAOP.5.1, ME 5; AOP.5.10.2, ME 2; AOP.6.1, ME 5; และ AOP.6.8, ME 2 และ 3 ร่วมด้วย)

❏ 5. เมื่อมีการเจรจาต่อรองรอบใหม่หรือยุติสัญญาจ้างเหมา, โรงพยาบาลธำรงความต่อเนื่องของบริการ ผู้ป่วย. ,

มาตรฐาน GLD.6.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าสัญญาจ้างเหมาและข้อตกลงอื่น ๆ ได้รับการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ แผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยของโรงพยาบาล.

เจตจำนงของ GLD.6.1 คุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยต้องอาศัยการประเมินผลบริการทั้งหมดที่จัดให้โดยโรงพยาบาล หรือ จัดให้ผ่านสัญญาจ้างเหมา. ดังนั้นโรงพยาบาลจำเป็นต้องได้รับ ,วิเคราะห์และดำเนินการต่อสารสนเทศเกี่ยวกับ คุณภาพที่ได้รับจากแหล่งบริการภายนอก. สัญญาจ้างเหมากับแหล่งบริการภายนอกครอบคลุม ความคาดหวังด้าน คุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วยตลอดจนความถี่และรูปแบบของข้อมูลที่จะต้องส่งให้แก่โรงพยาบาล. ผู้นำ แผนก/บริการได้รับและตอบสนองต่อรายงานคุณภาพจากหน่วยงานคู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้อง กับขอบเขตบริการที่จัดให้ ภายในแผนก/บริการและสร้างความมั่นใจว่ารายงานดังกล่าวถูกบูรณาการเข้าใน กระบวนการวัดคุณภาพของ โรงพยาบาล. (ดูASC.1, และ MOI.13 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.6.1

❏ 1. สัญญาจ้างเหมาทั้งหมดระบุเงื่อนไขของข้อมูลด้านคุณภาพที่จะต้องมีการรายงานต่อโรงพยาบาล, ทั้ง ความถี่และกลไกของการรายงาน, ตลอดจนถึงวิธีการที่โรงพยาบาลจะตอบสนองเมื่อไม่บรรลุตาม ข้อกำหนดหรือความคาดหวังด้านคุณภาพ. (ดูAOP.5.10, ME 1 และ AOP.6.8, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ข้อมูลด้านคุณภาพที่มีการรายงานภายใต้สัญญาจ้างเหมาถูกบูรณาการเข้ากับแผนงานการเฝ้าติดตาม คุณภาพของโรงพยาบาล. (ดูAOP.5.10, ME 4 และ AOP.6.8, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 3. ผู้นำด้านคลินิกและด้านบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมกับแผนงานพัฒนาคุณภาพในการวิเคราะห์ สารสนเทศด้านคุณภาพและความปลอดภัยจากสัญญาจ้างเหมาภายนอก. (ดูAOP.5.1, ME 5 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.6.2 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบวิชาชีพอิสระซึ่งมิได้เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาลมีหลักฐาน คุณสมบัติที่ถูกต้องสำหรับบริการที่จัดให้แก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล.è P

เจตจำนงของ GLD.6.2 ผู้นำด้านคลินิกอาจจะให้ข้อเสนอแนะให้ทำสัญญาจ้างกับ หรือข้อตกลงบริการจากแพทย์ทันตแพทย์และ ผู้ , ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น ๆ นอกโรงพยาบาล (เช่น บริการบริการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ บริการตรวจพยาธิหรือการ แปลผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) หรือ ทำข้อตกลงให้มาเข้ามาให้บริการภายในโรงพยาบาล. (เช่น ทำสัญญา แพทย์ทำหัตถการโรคหัวใจที่จะมาในสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้การตรวจวินิจฉัยการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหรือ หลอด) ในบางกรณี, บุคคลเหล่านี้อาจจะอยู่ในสถานที่นอกภูมิภาคหรือประเทศของโรงพยาบาล บริการที่จัดให้ อาจ รวมถึงการแพทย์ทางไกลหรือรังสีวิทยาทางไกล. ถ้าบริการดังกล่าวมีส่วนในการกำหนดทางเลือกในการดูแล หรือแนวทางการดูแลสำหรับผู้ป่วยผู้ประกอบวิชาชีพ ,จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและการ กำหนด สิทธิการดูแลของโรงพยาบาล. (ดูSQE.9 จนถึง SQE.10 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.6.2

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนดบริการที่จะจัดให้มีโดยผู้ประกอบวิชาชีพอิสระภายนอกองค์กร. (ดู SQE.10 ร่วมด้วย)

❏ 2. บริการตรวจวินิจฉัย ,ให้คำปรึกษา และการรักษาทั้งหมดที่จัดให้โดยผู้ประกอบวิชาชีพอิสระนอก โรงพยาบาล เช่น การแพทย์ทางไกล ,รังสีวิทยาทางไกล และการแปลผลการตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ เช่น การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), การตรวจวินิจฉัยพยาธิวิทยา และอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันนี้, ได้รับการอนุญาตให้สิทธิการให้บริการดังกล่าว จากโรงพยาบาล. ❏ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระซึ่งให้บริการดูแลผู้ป่วยในสถานที่ของโรงพยาบาลแต่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือสมาชิก บุคลากรสายคลินิกของโรงพยาบาลได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและกำหนดสิทธิการดูแล ตามที่กำหนด ไว้ใน SQE.9 ถึง SQE.12.

❏ 4. กำหนดให้บุคลากรที่มาพร้อมกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิสระได้รับการทวนสอบไปยัง แหล่งปฐมภูมิตามมาตรฐาน (ดูSQE.13, ME 6 ; SQE.15, ME 5 ร่วมด้วย)

❏ 5. คุณภาพบริการโดยผู้ประกอบวิชาชีพอิสระนอกโรงพยาบาลได้รับการเฝ้าติดตามเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของแผนงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล.(ดูAOP.5.10.1, ME 1 ร่วมด้วย)

คณะผู้นำโรงพยาบาลสำหรับการตัดสินใจเรื่องทรัพยากร

มาตรฐาน GLD.7 คณะผู้นำโรงพยาบาลทำให้การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือการใช้ทรัพยากรมนุษย์และทางเทคนิคโดยทำ ความเข้าใจในผลกระทบด้านคุณภาพและความปลอดภัยของการตัดสินใจเหล่านั้น

เจตจำนงของ GLD.7 คณะผู้นำโรงพยาบาลจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่อมีข้อมูลซึ่งจะเป็นฐานในการตัดสินใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อ โรงพยาบาลจะต้องมีการเปลี่ยนหรือเพิ่มเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือด ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนด ใน การบำรุงรักษา ข้อกำหนดในการฝึกอบรมหรือฝึกอบรมซ้ำของบุคลากร ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราความล้มเหลวและ เหตุการณ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ผ่านมา ความต้องการของบุคลากร ปัญหาการระบบเตือนภัยและอื่น ๆ ที่จะมี ผลในการตัดสินใจตามคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยมากกว่าค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว ในทำนองเดียวกัน เมื่อต้องทำ การตัดสินใจเกี่ยวกับการลดหรือการโอนย้ายบุคลากรทางการพยาบาล การพิจารณาผลกระทบด้าน

คุณภาพการดูแลผู้ป่วยและความความปลอดภัยของผู้ป่วยจำเป็นต้องนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ (ดูSQE.6 ร่วมด้วย) คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำกระบวนการในการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อ หรือในทรัพยากรที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่ารวมเอาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ คิด ตรวจสอบ และ พิจารณาอย่างรอบคอบ 4–6 (ดูGLD.7.1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบหนึ่งของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจด้านทรัพยากรคือการทำความเข้าใจข้อกำหนด หรือ คำแนะนำของอุปกรณ์การแพทย์เวชภัณฑ์และยาที่จำเป็นในการให้บริการ คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการ แพทย์เวชภัณฑ์และยาอาจจะมาจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรวิชาชีพ ระดับชาติหรือนานาชาติหรือแหล่งที่น่า เชื่อถืออื่น ๆ (ดูQPS.3 ร่วมด้วย)

ทรัพยากรที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาลเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ (IT) สารสนเทศด้าน สุขภาพครอบคลุมเทคโนโลยีที่กว้างขวางหลากหลายครอบคลุมวิธีการในการจัดเก็บเอกสารและการแบ่งปัน สารสนเทศของผู้ป่วย เช่น เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวิธีการสำหรับการ จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารสารสนเทศระหว่างผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเพื่อการประสานการดูแลที่ดีขึ้น และได้รับสารสนเทศที่จะช่วยในการวินิจฉัยการเจ็บป่วยและให้การดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัยขึ้น ความสำเร็จในการ ดำเนินงานของทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีทิศทาง การสนับสนุนและการกำกับดูแลของการเป็นคณะผู้นำ โรงพยาบาล (ดูMOI.13 ร่วมด้วย) เมื่อตัดสินใจด้านทรัพยากรทำโดยภาคีที่สาม เช่น กระทรวงสาธารณสุข คณะ ผู้นำโรงพยาบาลให้ข้อมูลและสารสนเทศไปยังภาคีที่สามเกี่ยวกับประสบการณ์และความต้องการของตนเพื่อให้ ข้อมูลทางเลือกของทรัพยากรในอนาคตที่ดีขึ้น

เมื่อโรงพยาบาลใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และ/หรือยาที่ถูกระบุว่าเป็น “การทดลอง” ในหัตถการการดูแลผู้ป่วย (นั่นคืออุปกรณ์ทางการแพทย์หรือยาที่ระบุว่าเป็น "การทดลอง" ทั้งในระดับประเทศหรือต่างประเทศ) มีกระบวน การทบทวนและให้ความเห็นชอบการใช้งานดังกล่าว (ดูGLD.19 ร่วมด้วย) เป็นสิ่งสำคัญที่การอนุมัติดังกล่าวต้อง เกิดขึ้นก่อนที่จะใช้ในการดูแลผู้ป่วย การกำหนดให้มีการขอความยินยอมผู้ป่วยเฉพาะเป็นสิ่งที่จำเป็น (ดูPFR.5.2 COP.8 และ SQE.11 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.7

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลใช้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผลกระทบด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการ เลือกเทคโนโลยีทางการแพทย์

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลใช้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผลกระทบด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการ เลือกบุคลากร

❏ 3. โรงพยาบาลใช้คำแนะนำขององค์กรวิชาชีพและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือในการตัดสินใจด้าน ทรัพยากร (ดูASC.6, ME 2 PCI.3, ME 2 และ PCI.7, ME 2 และ 6 ร่วมด้วย)

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลให้ทิศทาง การสนับสนุน และการกำกับดูแลทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

❏ 5. คณะผู้นำโรงพยาบาลเฝ้าติดตามผลของการตัดสินใจและการใช้ข้อมูลในการประเมินผลและพัฒนา คุณภาพของทรัพยากรที่ทำการตัดสินใจจัดซื้อและการจัดสรร

มาตรฐาน GLD.7.1

คณะผู้นำโรงพยาบาลแสวงหาและใช้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานเพื่อปกป้อง ผู้ป่วยและบุคลากรจากเวชภัณฑ์ที่ไม่มีเสถียรภาพ ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอม

เจตจำนงของ GLD.7.1 การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและคุณภาพของเวชภัณฑ์ที่ใช้ใน โรงพยาบาล ห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมขั้นตอนจากต้นกำเนิดไปถึงการจัดส่งเวชภัณฑ์ไปยังโรงพยาบาล ความ หลากหลายและปริมาณของเวชภัณฑ์ที่ใช้ในโรงพยาบาลมีมากมายจึงทำให้โรงพยาบาลต้องจัดการกับห่วงโซ่ อุปทานจำนวนมาก แต่เนื่องจากบุคลากรและทรัพยากรที่มีจำกัดทำให้ไม่สามารถติดตามและประเมินผลห่วงโซ่ อุปทานทุกรายการในเวลาเดียวกัน ดังนั้นโรงพยาบาลระบุยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการ สูญเสียความคงตัว ปนเปื้อน กลายเป็นข้อบกพร่องหรือถูกแทนที่ด้วยปลอมหรือสินค้าเลียนแบบ 7–12

สำหรับเวชภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดดังกล่าว โรงพยาบาลแสดงขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน แม้ว่าสารสนเทศ เหล่านี้อาจจะไม่สมบูรณ์และอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะปะติดปะต่อ อย่างน้อยโรงพยาบาลตัดสินใจว่าที่ใดมีความ เสี่ยงที่ สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น แผนภูมิแสดงขั้นตอนสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยในการแสดงการกระจายแต่ละขั้นตอน หรือจุด ในห่วงโซ่อุปทานแต่ละอุปทาน จุดในแผนภูมิแสดงขั้นตอนควรที่จะรวมถึงผู้ผลิต อาคารคลังสินค้า ผู้ขาย และอื่น ๆ โรงพยาบาลสามารถบ่งบอกถึงจุดในแผนภูมิแสดงขั้นตอนที่ระบุว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญได้ ยกตัวอย่าง เช่น

โรงพยาบาลมีการระบุอินซูลินเป็นยาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดสำหรับองค์กรของตนและจัดทำผังแสดงขั้นตอนที่แสดง ให้เห็นในแต่ละขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน โรงพยาบาลระบุจุด เช่น ผู้ผลิตอินซูลิน ผู้ขาย คลังสินค้า และการจัดส่ง รวมทั้งกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของผู้ผลิต การควบคุมอุณหภูมิและการ เฝ้าติดตามในคลังสินค้า รวมถึงการจำกัดระยะการเดินทางระหว่างจุดในห่วงโซ่และจัดทำเป็นบัญชีอย่างไรก็ตามใน ขณะที่การทบทวนสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน โรงพยาบาลเรียนรู้ว่าผู้ขายได้ทำสัญญาเมื่อเร็วๆ นี้กับบริษัทขนส่งที่มีการให้บริการที่ไม่น่าพอใจ รวมทั้งการส่งมอบล่าช้าไปที่โรงพยาบาลและเอกสารการเฝ้า ติดตาม อุณหภูมิระหว่างการเดินทางที่ไม่คงเส้นคงวา หลังจากประเมินสถานการณ์โรงพยาบาลอาจระบุว่านี่เป็น ความเสี่ยง ที่มีนัยสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน คณะผู้นำโรงพยาบาลทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่ อุปทานและ กำหนดลำดับความสำคัญสำหรับการตัดสินใจจัดซื้อโดยอาศัยความเข้าใจของจุดที่มีความเสี่ยงในห่วง โซ่อุปทาน (ดูGLD.6 และ GLD.7 ร่วมด้วย)

การจัดการห่วงโซ่อุปทานไม่เพียงเกี่ยวกับการประเมินผลที่คาดหวังของเวชภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ยังมีการ ติดตามและการรายงานย้อนหลังของเวชภัณฑ์หลังจากที่เข้าโรงพยาบาล13 โรงพยาบาลมีกระบวนการในการระบุ ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีไม่คงตัว ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอมรวมถึง และติดตามผ่านโรง พยาบาลเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาหรือสาเหตุของปัญหา ถ้าเป็นไปได้(ดูASC.7.4 ร่วมด้วย) ถ้ามีการประยุกต์ใช้ โรงพยาบาลจะแจ้งให้ผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดจำหน่ายเมื่อพบว่าเวชภัณฑ์ไม่คงตัว ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอม โดยระบุผ่านการติดตามย้อนหลัง

เมื่อเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลจัดซื้อ เก็บและจัดจำหน่ายโดยผู้มีอำนาจภาครัฐโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในแผนงาน การตรวจสอบและรายงานที่สงสัยว่าไม่คงตัว ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอม ตลอดจนใช้มาตรการเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ในขณะที่โรงพยาบาลของรัฐดังกล่าวอาจไม่ทราบความสมบูรณ์ของผู้จัด จำหน่ายในห่วงโซ่แต่ละราย ถือเป็นตระหนักถึงวิธีการจัดซื้ออุปกรณ์และการจัดการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.7.1

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลแสดงขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานสำหรับเวชภัณฑ์ที่กำหนดไว้ว่ามีความเสี่ยงมากที่ สุด

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลระบุจุดเสี่ยงใด ๆ ที่สำคัญในขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลทำการตัดสินใจด้านทรัพยากรโดยอาศัยความเข้าใจของตนในจุดที่มีความเสี่ยงใน ห่วงโซ่อุปทาน

❏ 4. โรงพยาบาลมีกระบวนการในการดำเนินการการติดตามย้อนหลังของเวชภัณฑ์ที่พบว่าไม่คงตัว ปนเปื้อน มีข้อบกพร่องและปลอม

❏ 5. โรงพยาบาลจะแจ้งให้ผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดจำหน่ายทราบเมื่อพบความไม่คงตัว ปนเปื้อน มีข้อบกพร่อง และปลอม

องค์กรวิชาชีพของบุคลากรสายคลินิกและภาระรับผิดชอบ

มาตรฐาน GLD.8 ผู้นำด้านการแพทย์การพยาบาล และผู้นำด้านอื่น ๆ ของบริการทางคลินิก วางแผนโครงสร้างองค์กรวิชาชีพที่มี ประสิทธิผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบและนำโครงสร้างดังกล่าวสู่การปฏิบัติ è P

เจตจำนงของ GLD.8 ผู้นำด้านการแพทย์การพยาบาล และผู้นำด้านอื่น ๆ ของบริการทางคลินิกมีหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยและองค์กร. ผู้นำเหล่านี้

• สนับสนุนการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพ;

• ร่วมวางแผนและจัดทำนโยบาย; แนวปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก และ/หรือระเบียบวิธีมาใช้เป็น แนวทางในการดูแลทางคลินิก; (ดูGLD.11.2 ร่วมด้วย)

• ดูแลให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมของแต่ละวิชาชีพ; (ดูGLD.12.1 ร่วมด้วย) และ

• กำกับดูแลคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

ผู้นำด้านการแพทย์และการพยาบาลจัดให้มีโครงสร้างองค์กรวิชาชีพที่เหมาะสม มีประสิทธิผล เพื่อทำหน้าที่ ดังกล่าว. โครงสร้างองค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ทำหน้าที่เหล่านี้อาจจะเป็นโครงสร้างของบุคลากร วิชาชีพที่ประกอบด้วยแพทย์พยาบาล และวิชาชีพอื่นร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นโครงสร้างของบุคลากรด้าน การแพทย์และพยาบาลแยกจากกันก็ได้. โครงสร้างที่เลือกใช้อาจจะมีการจัดระบบอย่างชัดเจนด้วยธรรมนูญ และ กฎระเบียบ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ. โดยทั่วไป โครงสร้างที่เลือกจะมีลักษณะดังนี้

• ประกอบด้วยบุคลากรทางคลินิกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด;

• สอดคล้องกับลักษณะผู้เป็นเจ้าของ พันธกิจ และโครงสร้างขององค์กร;

• เหมาะสมกับความซับซ้อนขององค์กรและจำนวนบุคลากรด้านวิชาชีพ; และ

• มีประสิทธิผลในการทำหน้าที่ที่ระบุไว้.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.8

❏ 1. มีโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิผล ซึ่งผู้นำด้านการแพทย์การพยาบาล และผู้นำอื่น ๆ ใช้เพื่อดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของตน. (ดูASC.2, ME 4 และ SQE.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 2. โครงสร้างมีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร. (ดูSQE.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 3. โครงสร้างและกระบวนการขององค์กรสนับสนุนวัฒนธรรมความปลดภัยและการสื่อสารระหว่างวิชาชีพ.

❏ 4. โครงสร้างและกระบวนการขององค์กรสนับสนุนการวางแผนและการจัดทำนโยบายทางคลินิก. (ดู GLD.11.2 ร่วมด้วย)

❏ 5. โครงสร้างและกระบวนการขององค์กรสนับสนุนการกำกับดูแลจริยธรรมวิชาชีพ.

❏ 6. โครงสร้างและกระบวนการขององค์กรสนับสนุนการกำกับดูแลคุณภาพการบริการด้านคลินิก

การกำกับควบคุมแผนกและบริการของโรงพยาบาล

มาตรฐาน GLD.9 ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมหนึ่งคนหรือมากกว่าทำหน้าที่บริหารแต่ละแผนกหรืองานบริการในโรงพยาบาล.è P

เจตจำนงของ GLD.9 การดูแลทางคลินิก ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย และการบริหารจัดการโดยรวมของสถานพยาบาล จะดีได้ด้วยกิจกรรมทาง คลินิกและการบริหารจัดการของแต่ละแผนกหรืองานบริการ. ขีดสมรรถนะที่ดีของแผนกหรืองานบริการต้องอาศัย การนำที่ชัดเจนจากผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม. การนำในแผนกหรืองานบริการขนาดใหญ่อาจจะมีการแยกตามบทบาท ย่อย. ในกรณีดังกล่าว มีการกำหนดหน้าที่ของแต่ละบทบาทไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.

ผู้นำของแต่ละแผนก/บริการ สื่อสารความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่น ๆ ต่อคณะผู้นำ โรงพยาบาล. การสื่อสารนี้จะทำให้มั่นใจว่ามีบุคลากร พื้นที่ใช้สอย เครื่องมืออุปกรณ์และทรัพยากรอื่น ๆ พร้อม ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยตลอดเวลา. อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผู้บริหารแผนกจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับ ทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่น ๆ ความต้องการอาจจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ได้รับทรัพยากรทั้งหมด, ดังนั้น ผู้บริหารแผนกต้องมีกระบวนการที่จะตอบสนองต่อการขาดแคลนทรัพยากร เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลที่ ปลอดภัยและมีประสิทธิผลสำหรับผู้ป่วยทุกราย.

ผู้บริหารแผนก/บริการ พิจารณาบริการที่จัดและวางแผนไว้โดยแผนกหรืองานบริการ รวมถึงการศึกษา ทักษะ ความรู้และประสบการณ์ที่บุคลากรวิชาชีพของแผนกจำเป็นต้องมีเพื่อให้บริการเหล่านั้น. ผู้บริหารแผนก/บริการ จัดทำเกณฑ์ที่สะท้อนถึงข้อพิจารณานี้แล้วเลือกบุคลากร. ผู้บริหารแผนก/บริการ อาจจะทำงานร่วมกับแผนก ทรัพยากรมนุษย์หรือแผนกอื่น ๆ ในกระบวนการเลือกสรรตามข้อเสนอของผู้บริหารแผนก. ผู้บริหารแผนก/บริการ สร้างความมั่นใจว่าบุคลากรทุกคนในแผนกหรืองานบริการเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของตน และจัดให้มีการปฐมนิเทศและฝึกอบรมแก่บุคลากรใหม่. การปฐมนิเทศครอบคลุมพันธกิจขององค์กร พันธกิจของ แผนกหรืองานบริการ ขอบเขตการให้บริการ นโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบริการที่จัด. ตัวอย่างเช่น บุคลากรทุกคนเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในองค์กร และในแผนกหรืองานบริการของตน. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเมื่อมีการนำนโยบายและระเบียบปฏิบัติใหม่หรือที่มีการทบทวนมาสู่การ ปฏิบัติ. (ดูACC.3, ME 1; AOP.6.1; MMU.1; QPS.1; และ PCI.1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.9

❏ 1. บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม การศึกษา และมีประสบการณ์ที่เหมาะสมกับบริการที่จัดให้ทำหน้าที่ บริหารจัดการแต่ละแผนกหรืองานบริการในองค์กร (ดูAOP.5.1, ME 1; AOP.5.1.1, ME 1; AOP.5.11, ME 1; AOP.6.1, ME 1; COP.8.1, ME 2; ASC.2, ME 2; MMU.1, ME 3; PCI.1, ME 1; และ FMS.3, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ผู้บริหารแผนก/บริการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย เครื่องมือ จำนวนและคุณสมบัติของบุคลากร เทคโนโลยีและทรัพยากรพิเศษอื่น ๆ ที่จำเป็นในการให้บริการ และมีกระบวนการตอบสนองเมื่อเกิดการ ขาดแคลน. (ดูAOP.6.2, ME 5; COP.3.2; COP.8; FMS.3; SQE.6, ME 2; SQE.6.1, MEs 2 และ 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. ผู้บริหารแผนก/บริการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกหรือแนะนำบุคลากรที่ต้องการสำหรับบุคลากรวิชาชีพ ของแผนก.(ดูCOP.8.2, ME 3 และ SQE.6, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. ผู้บริหารแผนก/บริการจัดให้มีแผนงานปฐมนิเทศและฝึกอบรมแก่บุคลากร ตามที่หน้าที่และความ รับผิดชอบของบุคลากรของแผนก/บริการ. (ดูAOP.5.3, ME 4; AOP.6.3, ME 5; และ SQE.7, ME 1 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.10 ผู้นำแผนก/บริการแต่ละแผนกระบุบริการที่แผนกจะจัดให้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการประสานงานและบูรณาการ บริการระหว่างแผนกหรืองานบริการอื่น.è P

เจตจำนงของ GLD.10

ผู้บริหารแผนก/บริการ ร่วมมือกันกำหนดรูปแบบและเนื้อหาของเอกสารวางแผนเฉพาะของแต่ละแผนกที่เป็น แนวทางเดียวกัน. โดยทั่วไป เอกสารที่แต่ละแผนกทางคลินิกจัดเตรียมจะกำหนดเป้าประสงค์รวมทั้งบริการที่มีอยู่ ในปัจจุบันและที่วางแผนสำหรับอนาคต. นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแผนกสะท้อนเป้าประสงค์และบริการของ แผนก รวมถึงความรู้ทักษะ และความพร้อมของบุคลากรที่ต้องมีเพื่อประเมินและตอบสนองความต้องการการดูแล ของผู้ป่วย. (ดูACC.3, ME 1 ร่วมด้วย)

บริการทางคลินิกที่จัดให้ผู้ป่วยได้รับการประสานความร่วมมือและบูรณาการภายในแต่ละแผนกบริการ ตัวอย่างเช่น การบูรณาการบริการทางการแพทย์และการพยาบาล. เช่นเดียวกัน แต่ละแผนกหรืองานบริการยังประสานความ ร่วมมือและบูรณาการบริการของตนกับแผนกหรืองานบริการอื่น. มีการหลีกเลี่ยงหรือขจัดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น เพื่อประหยัดทรัพยากรขององค์กร.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.10 ❏ 1. ผู้บริหารแผนก/บริการเลือกและใช้รูปแบบและเนื้อหาของเอกสารการวางแผนที่เป็นแนวทางเดียวกัน.

❏ 2. เอกสารของแต่ละแผนกหรืองานบริการ ระบุบริการที่แต่ละแผนกหรืองานบริการจัดอยู่ในปัจจุบัน และ วางแผนจะจัดในอนาคต. (ดูACC.2.3, ME1; ACC.2.3.1, ME 1; และ ACC.3, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 3. นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแต่ละแผนกหรืองานบริการชี้นำการจัดบริการที่ระบุไว้.

❏ 4. นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแต่ละแผนกหรืองานบริการระบุความรู้และทักษะของบุคลากรที่จำเป็น เพื่อการประเมินและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย.

❏ 5. มีการประสานความร่วมมือและบูรณาการของบริการภายในแต่ละแผนกหรืองานบริการ และกับแผนก หรืองานบริการอื่น. (ดูACC.3 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.11 ผู้นำของแผนก/บริการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมกับลำดับการพัฒนาคุณภาพ ที่สำคัญในระดับโรงพยาบาลและการเฝ้าติดตามตลอดจนการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยที่จำเพาะเจาะจงกับแผนก/ บริการ

เจตจำนงของ GLD.11 ผู้นำของแผนก/บริการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรในกิจกรรมการปรับปรุงที่สะท้อนถึงการจัดลำดับความสำคัญ โรงพยาบาล (ดูGLD.5 ร่วมด้วย) และกำหนดกิจกรรมเฉพาะเจาะจงทางคลินิกหรือกิจกรรมไม่ใช่ทางคลินิกยัง แผนกหรือบริการ ยกตัวอย่างเช่น แผนกทางคลินิกหรือบริการจะมีส่วนร่วมในความพยายามปรับปรุงกระบวนการ ส่งมอบการสื่อสารระดับโรงพยาบาล และยังอาจติดตามและลดความแปรปรวนของกระบวนการภายใน เช่น การสั่ง การตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาพเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน แผนกบริหารจัดการอาจจะมีส่วนร่วมใน โครงการโดยอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงการส่งมอบการสื่อสาร ที่อาจเกี่ยวข้องกับการติดตามและปรับปรุงความถูกต้อง ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วย

ผู้นำแผนก/บริการพิจารณาตัววัดของห้องสมุด Joint Commission International และ / หรือตัวชี้วัดอื่น กำหนด ตัววัดตามหลักฐานที่นำไปใช้ให้บริการทางคลินิกโดยแผนกหรือบริการ (ดูAPR.7 ร่วมด้วย) ดังนั้นผู้นำแผนกหรือ บริการที่ดำเนินการคัดเลือกและติดตามตัววัดที่เฉพาะเจาะจงไปยังแผนกหรือบริการที่รวมถึงดังต่อไปนี้: • คณะผู้นำโรงพยาบาลลำดับความสำคัญของการวัดและพัฒนาระดับโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจง กับแผนกหรือบริการ • ตัววัดเฉาพะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับของแผนก / บริการ ได้ลำดับความสำคัญเพื่อลดความแปรปรวน ปรับปรุงความปลอดภัยของหัตถการ / การรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย หรือ ปรับปรุงประสิทธิภาพ

การเลือกตัววัดควรจะอยู่บนพื้นฐานของกิจกรรมและกระบวนการที่ต้องให้มีการปรับปรุงในแผนกหรือบริการ สำหรับแต่ละวัดมีเป้าหมายที่ควรจะตั้ง เป็นค่าคาดหวังเริ่มต้นที่ยังได้บรรลุเป้าหมาย แต่เมื่อกลยุทธ์สำหรับการ ปรับปรุงได้ดำเนินการ ผู้นำแผนก / บริการควรคาดหวังที่จะเห็นการปรับปรุงไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น เมื่อเป้าหมาย ได้บรรลุและยั่งยืนอย่างน้อยสี่ช่วงของการวัด ตัววัดจะต้องถูกเลือกใหม

ผู้นำแผนกหรือบริการทางคลินิกเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมการวัดให้โอกาสสำหรับการ ประเมินผลของบุคลากรเช่นเดียวกับกระบวนการการดูแลรักษา ดังนั้นการวัดจะต้องครอบคลุมตลอดช่วงเวลาของ การให้บริการ ส่งผลให้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสำคัญความพยายามปรับปรุงแผนกหรือบริการ และยังมี ความสำคัญต่อแผนงานการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยของโรงพยาบาลด้วย (ดูQPS.1, ME 3 และ QPS.2 ร่วมด้วย)

หมายเหตุ: บางหน่วยงาน เช่น การควบคุมการติดเชื้อ, การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก แผนกรังสีวิทยาและ ห้องปฏิบัติการทางคลินิกมีการติดตามและควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ที่รวมอยู่ในลำดับความสำคัญของการวัด และอธิบายไว้ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริการเหล่านั้น (ดูAOP.5.9 และ AOP.6.7 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.11

❏ 1. ผู้นำแผนก/บริการนำไปปฏิบัติซึ่งตัววัดคุณภาพระดับโรงพยาบาลที่เกี่ยวกับบริการที่จัดให้โดยแผนก หรือบริการ, ครอบคลุมบริการจ้างเหมาที่รับผิดชอบ. (ดูPCI.10, ME 1 และ FMS.10, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ผู้นำแผนก/บริการนำไปปฏิบัติซึ่งตัววัดคุณภาพเพื่อลดความแปรปรวนและพัฒนากระบวนการภายใน แผนกหรือบริการ, ครอบคลุมที่พบในห้องสมุด Joint Commission International และ / หรือตัวชี้วัดอื่น กำหนดตัววัดตามหลักฐานที่นำไปใช้ให้บริการทางคลินิก

❏ 3. ผู้นำแผนก/บริการกำหนดการเรื่องตัววัดอยู่บนพื้นฐานความต้องการในการพัฒนา, ธำรงรักษา, คัดเลือกตัววัดใหม่.(ดูQPS.1, ME 3 และ QPS.10, ME 2 ร่วมด้วย) ❏ 4. ผู้นำแผนก/บริการบูรณาการการวัดคุณภาพบริการและกิจกรรมการพัฒนาเข้ากับและสนับสนุน โครงสร้างการบริหารและประสานความร่วมมือทางคุณภาพขององค์กร . (ดูQPS.10 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.11.1 ตัววัดที่ถูกเลือกโดยผู้นำแผนก / บริการที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้กับการประเมินผลการปฏิบัติงานของแพทย์ พยาบาลและบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลทางคลินิก ที่ถูกนำมาใช้ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

เจตจำนงของ GLD.11.1 ผู้นำมีความรับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของการดูแลและการให้บริการของแผนก / บริการของตนเอง กิจกรรมการวัดให้โอกาสสำหรับการประเมินผลการให้บริการเหล่านี้ผู้นำแผนก / บริการมีส่วนร่วมในการแต่งตั้ง การกำหนดสิทธิการรักษา, การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และการแต่งตั้งของแพทย์ภายในแผนกหรือ บริการ กิจกรรมการวัดคุณภาพสามารถเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจว่าผู้นำแผนก / บริการมีข้อมูล วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้

เมื่อเวลาผ่านไปการวัดคุณภาพรวมทั้งหมดของการให้บริการโดยแผนกหรือบริการและรวมถึงสิทธิการรักษาทาง คลินิกของแพทย์ทั้งหมด ว่า "ผลทางคลินิก" ตามเจตนงของ SQE.11 ให้นำไปเป็นสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ประเมินของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ในบางกรณีตัววัดจะได้รับการเชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติทางคลินิกนำมาใช้ในแผนก หรือบริการ (ดูGLD.11.2 ร่วมด้วย) เมื่อเกี่ยวข้อง ตัววัดอาจจะได้มาจากห้องสมุด the Joint Commission International ที่จะอนุญาตให้มีการใช้ตัววัดมาตรฐานภายในแผนกหรือบริการเดียวกัน ในทำนองเดียวกันข้อมูล นำไปใช้สนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและบุคลากรการดูแลสุขภาพอื่น ๆ ในแผนก

แม้ว่าบุคคลเหล่านี้มีเป็นคำอธิบายลักษณะงาน ไม่ใช่สิทธิการรักษาทางคลินิก ผู้นำแผนก / บริการเป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับการประเมินการทำงานของบุคลากร. มาตรฐาน SQE.3 อธิบายขั้นตอนการประเมินผลสำหรับบุคคลเหล่านี้ และกิจกรรมการวัดที่อธิบายไว้ในมาตรฐานนี้จะสนับสนุนกระบวนการประเมินผลวัตถุประสงค์ในหลายกรณีที่ แนวปฏิบัติทางคลินิกที่นำมาใช้ในแผนกหรือบริการอาจจะมีความสัมพันธ์กับวิถีปฏิบัติและระเบียบปฏิบัติทางคลินิก ที่จะให้การสนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูลวัดสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล และผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพอื่น ๆ (ดูQPS.2 และ SQE.10 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.11.1

❏ 1. นำตัววัดไปใช้ประโยชน์ในการทบทวนการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของแพทย์ในแผนกหรือบริการ . (ดูSQE.11, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 2. นำตัววัดไปใช้ประโยชน์ในการประเมินผลขีดสมรรถนะของพยาบาลในแผนกหรือบริการ .(ดูSQE.14.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 3. นำตัววัดไปใช้ประโยชน์ในการประเมินผลขีดสมรรถนะของวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ ในแผนกหรือบริการ (ดู SQE.16.1, ME 2 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.11.2 ผู้บริหารแผนก/บริการเลือกและนำแนวปฏิบัติทางคลินิก (clinical practice guideline) วิถีทางคลินิก (clinical pathways) และ/หรือระเบียบวิธี (protocol) มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลทางคลินิก.è P

เจตจำนงของ GLD.11.2 เป้าหมายของสถานพยาบาลประกอบด้วย • การทำให้กระบวนการดูแลทางคลินิกเป็นมาตรฐาน; • การลดความเสี่ยงในกระบวนการดูแล โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการตัดสินใจที่มี ความสำคัญสูง; • การให้การดูแลทางคลินิกในเวลาที่เหมาะสม มีประสิทธิผล ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ; และ • การให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงโดยใช้การปฏิบัติที่อิงหลักฐานทางวิชาการอย่างคงเส้นคงวา.

โรงพยาบาลใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้นและเป้าหมายอื่น ๆ. ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านบริการสุขภาพจัดทำกระบวนการดูแลทางคลินิกและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลทางคลินิกบนพื้นฐานของ หลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดที่มีอยู่. แนวปฏิบัติทางคลินิกเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการทำความเข้าใจและ ประยุกต์ศาสตร์ที่ดีที่สุดกับการวินิจฉัยโรคหรือสภาวะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. (ดูQPS.3 และ PCI.6.1ร่วมด้วย) โรงพยาบาลที่จะนำแนวปฏิบัติทางคลินิกที่เฉพาะเจาะจงนี้ไปใช้จะต้องได้รับการทบทวนและรับรองแหล่งที่มาโดยผู้ มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น สมาคมหรือสภาวิชาชีพ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ให้การยอมรับแนวปฏิบัติ ทางคลินิก หากโรงพยาบาลพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกขึ้นมาเอง แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกดังกล่าว จะต้องถูกส่งไปผู้ที่มีอำนาจให้การรับรอง

นอกจากนั้นผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพยังพยายามทำให้กระบวนการดูแลเป็นมาตรฐาน. วิถีการดูแลทาง คลินิก และระเบียบวิธีทางคลินิก เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในความพยายามที่จะสร้างความมั่นใจในการบูรณาการ และประสานการดูแลและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ.

แนวปฏิบัติทางคลินิก วิถีการดูแลทางคลินิก และระเบียบวิธีทางคลินิก ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ป่วยและพันธกิจของ องค์กร

a) ได้รับการเลือกจากแนวทางทั้งปวงที่ประยุกต์ได้กับบริการและผู้ป่วยขององค์กร (แนวทางระดับชาติที่มีการ บังคับใช้ถูกรวมเข้าไว้ในกระบวนการนี้ถ้ามี);

b) ได้รับการประเมินว่าสอดคล้องกับกลุ่มประชากรผู้ป่วยที่ระบุไว้;

c) ได้รับการดัดแปลงตามความจำเป็นให้เข้ากับเทคโนโลยียา และทรัพยากรอื่น ๆ ขององค์กร หรือบรรทัด ฐานทางวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับของประเทศ;

d) ได้รับการประเมินว่ามีหลักฐานทางวิชาการรองรับ;

e) ได้รับการอนุมัติหรือดัดแปลงโดยองค์กรอย่างเป็นทางการ;

f) ได้รับการนำไปปฏิบัติและวัดผลดูความสม่ำเสมอและประสิทธิผลของการใช้;

g) ได้รับการสนับสนุนโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อประยุกต์ใช้แนวทางหรือวิถีทางคลินิก; และ h) มีการปรับให้ทันสมัยเป็นระยะตามการเปลี่ยนแปลงในหลักฐานทางวิชาการ การประเมินกระบวนการและ ผลลัพธ์.

แนวปฏิบัติทางคลินิก วิถีการดูแลทางคลินิก และระเบียบวิธีทางคลินิกมีความเกี่ยวเนื่องกับหลายแผนกหรืองาน บริการทางคลินิก ผู้นำได้รับการคาดหวังที่จะบรรลุสิ่งต่อไปนี้ในแต่ละปี

• ผู้นำแผนก/บริหารทางคลินิกเลือกเรื่องที่มีความสำคัญสูงระดับโรงพยาบาล อย่างน้อยห้าเรื่อง เช่น การ วินิจฉัยโรค หัตถการ กลุ่มประชากร โรค ฯลฯ ซึ่งแนวทางปฏิบัติวิถีทางคลินิก และระเบียบวิธีจะมี ผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยและลดความแปรปรวนในผลลัพธ์ที่ไม่พึง ประสงค์. (ดูAPR.7 และ GLD.11.1 ร่วมด้วย)

• ดำเนินการตามกระบวนการในข้อ a) ถึง h) สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่ระบุไว้. ขั้นตอนการคัดเลือกเรื่องนี้ไม่ได้ห้ามแผนกหรือบริการใดอันหนึ่งที่จะเลือกแนวทางปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก และ/หรือระเบียบวิธีทางคลินิกเพิ่มเติม และโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องใด ๆ หรือมีความเฉพาะเจาะจงกับการให้บริการ ในแผนกหรือบริการนั้น (ดูIPSG.5; COP.3.3, ME 3; COP.8.6; COP.9.3, ME 1; PCI.6; GLD.8, ME 4; และ SQE.11 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.11.2

❏ 1. ในแต่ละปีผู้นำทางคลินิกกำหนดเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่จะมุ่งใช้แนวทางปฏิบัติวิถีทางคลินิก และ/ หรือระเบียบวิธีทางคลินิก อย่างน้อยห้าเรื่อง.

❏ 2. ผู้นำแผนก/บริการปฏิบัติตามกระบวนการที่ระบุไว้ใน a) ถึง h) ของเจตจำนง ในการนำแนวปฏิบัติ ทางคลินิก วิถีทางคลินิก และหรือระเบียบวิธีทางคลินิกมาใช้.

❏ 3. ผู้นำแผนก/บริการนำแนวปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก หรือระเบียบวิธีทางคลินิก สำหรับเรื่องที่มี ความสำคัญสูงแต่ละเรื่องมาสู่การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแผนก/บริการ

❏ 4. ผู้นำแผนก/บริการแสดงให้เห็นว่าการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก และ/หรือระเบียบวิธี ทางคลินิกสามารถลดความแปรปรวนในกระบวนการและผลลัพธ์ได้อย่างไร.

จริยธรรมองค์กรและทางคลินิก

มาตรฐาน GLD.12 คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำกรอบการบริหารจริยธรรม ซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรมการปฏิบัติและการตัดสินใจอย่างมี จริยธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลตามบรรทัดฐานด้านธุรกิจ การเงิน จริยธรรม และกฎหมาย รวมทั้งสร้างความมั่นใจว่ามีการปกป้องผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วยè P

มาตรฐาน GLD.12.1 กรอบการบริหารจริยธรรมขององค์กรประกอบด้วย การตลาด การรับผู้ป่วย การโอนย้ายผู้ป่วย และการจำหน่าย รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลความเป็นเจ้าของกิจการ ข้อมูลความขัดแย้งเชิงธุรกิจและวิชาชีพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อ ประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยè

มาตรฐาน GLD.12.2 กรอบการบริหารจริยธรรมขององค์กรสนับสนุนการตัดสินใจในการดูแลทางคลินิกและบริการทั่วไปอย่างมีจริยธรรม è

เจตจำนงของ GLD.12 จนถึง GLD.12.2

โรงพยาบาลต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการให้การดูแลสุขภาพที่ความปลอดภัยและมีคุณภาพสูง มี ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ข้อจำกัดทางการเงิน และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น ข้อขัดแย้งทาง จริยธรรมและการถกเถียงกันที่มีมากขึ้น คณะผู้นำโรงพยาบาลมีความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบทาง กฎหมายในการสร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ดำเนินการภายในกรอบจริยธรรม

กรอบจริยธรรมจะต้องนำไปใช้เหมือนกันในการดำเนินธุรกิจของโรงพยาบาล และกิจกรรมคลินิก คณะผู้นำ โรงพยาบาลจะต้องแสดงการปฏิบัติของมีจริยธรรมและจัดทำแนวทางสำหรับดำเนินงานและการปฏิบัติขององค์กร การดำเนินของคณะผู้นำโรงพยาบาลและการปฏิบัติจริยธรรมของโรงพยาบาลจะต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธ กิจและคุณค่าของโรงพยาบาล; นโยบายของบุคลากร รายงานประจำปี; และเอกสารอื่น ๆ

กรอบให้การสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพของโรงพยาบาล บุคลากรอื่น ๆ ผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อต้องเผชิญ ข้อขัดแย้งทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วย เช่น ความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพ และความขัดแย้งเกี่ยวกับการ ตัดสินใจในการดูแลระหว่างผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ การสนับสนุนพร้อมดำเนินการได้ทันทีและ รวมถึงทรัพยากรจริยธรรม และการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพและบุคลากรอื่น ๆ ผู้นำจัดทำ เอกสารแนวทางกรอบการทำงานสำหรับการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในแนวทางเดียวกัน. บรรทัดฐานเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชนและจริยธรรมวิชาชีพของประเทศและสากลจะนำมาพิจารณาในการสร้างกรอบการทำงานนี้. องค์กร ดำเนินการภายใต้กรอบการทำงานนี้เพื่อ

• เปิดเผยข้อมูลความเป็นเจ้าของและผลประโยชน์ทับซ้อนหากจะมี;

• นำเสนอบริการต่อผู้ป่วยอย่างจริงใจ;

• จัดให้มีนโยบายการรับผู้ป่วย การโอนย้าย และการจำหน่ายที่ชัดเจน;

• เรียกเก็บค่าบริการอย่างถูกต้องและสร้างความมั่นใจว่าแรงจูงใจทางการเงินและการจ่ายเงินไม่ทำให้ ประนีประนอมต่อการดูแลผู้ป่วย;

• กระตุ้นให้เกิดความโปร่งใสในการรายงานการวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรและทางคลินิก;

• สร้างกลไกให้ผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพและบุคลากรอื่น ๆ สามารถรายงานข้อผิดพลาดทางคลินิกและ ความกังวลด้านจริยธรรมที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ถูกลงโทษ รวมทั้งการายงานพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับทางคลินิกและ / หรือปัญหาการดำเนินงาน;

• สนับสนุนสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ทักท้วงข้อกังวลด้านจริยธรรม โดยไม่ต้องกลัวการล้างแค้น;

• ให้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพและทันเวลาเมื่อเกิดข้อขัดแข้งด้านจริยธรรม;

• มั่นใจว่าจะไม่มีการแบ่งแยกการปฏิบัติในการจ้างงานและการให้การดูแลผู้ป่วยภายใต้บริบทของบรรทัด ฐานทางวัฒนธรรมและระเบียบข้อบังคับของประเทศ; และ

• ลดความแตกต่างในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิก (ดูCOP.1, PFR.1.1 และ GLD.8 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.12

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำกรอบสำหรับการบริหารจริยธรรมของโรงพยาบาลซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรม ของการปฏิบัติและการตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมเพื่อสร้างความมั่นใจในการปกป้องผู้ป่วยและสิทธิของ ผู้ป่วย. (ดูGLD.8 ร่วมด้วย)

❏ 2. กรอบจริยธรรมสร้างความมั่นใจว่าการดูแลผู้ป่วยที่จัดให้อยู่ภายใต้บรรทัดฐานทางธุรกิจ, การเงิน, จริยธรรมและกฎหมาย.

❏ 3. โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการแบ่งแยกการปฏิบัติในการจ้างงานและการให้การดูแลผู้ป่วย ภายใต้บริบทของบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและระเบียบข้อบังคับของประเทศ.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลตรวจสอบบรรทัดฐานจริยธรรมระดับชาติและสากลเพื่อรวมเข้ากับกรอบของ โรงพยาบาลในการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมเมื่อมีการจัดทำ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.12.1

❏ 1. โรงพยาบาลเปิดเผยความเป็นเจ้าของกิจการและผลประโยชน์ทับซ้อนทุกกรณี. (ดูAOP.5,ME.5 และ AOP.6, ME.5 ร่วมด้วย)

❏ 2. โรงพยาบาลแสดงบริการต่อผู้ป่วยด้วยความจริงใจ.

❏ 3. โรงพยาบาลเรียกเก็บค่าบริการอย่างถูกต้องและสร้างความมั่นใจว่าแรงจูงใจทางการเงินและการจ่าย เงินไม่ทำให้ประนีประนอมต่อการดูแลผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.12.2

❏ 1. กรอบบริหารจริยธรรมของโรงพยาบาลจัดให้มีกลไกในกรณีที่ผู้ให้การดูแลสุขภาพและบุคลากรอื่น ๆ อาจจะมีการหยิบยกข้อห่วงกังวลทางจริยธรรมขึ้นมาโดยปราศจากความกลัวการจองเวร.

❏ 2. การสนับสนุนในการระบุและตอบสนองต่อข้อห่วงกังวลทางจริยธรรมมีพร้อมและครอบคลุม ทรัพยากรทางด้านจริยธรรมรวมถึงการฝึกอบรมผู้ให้การดูแลสุขภาพและบุคลากรอื่น ๆ.

❏ 3. โรงพยาบาลจัดให้มีการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผลและ ทันเวลา.

มาตรฐาน GLD.13 คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างและสนับสนุนแผนงานวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งโรงพยาบาล.è P

มาตรฐาน GLD.13.1 คณะผู้นำโรงพยาบาลปฏิบัติติดตาม และดำเนินการปรับปรุงแผนงานสำหรับวัฒนธรรมของความปลอดภัยทั่วทั้ง โรงพยาบาล

เจตจำนงของ GLD.13 และ GLD.13.1

วัฒนธรรมของความปลอดภัยมีความหมายถึง "สภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันที่บุคลากรทางการแพทย์ซึ่ง ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ผู้นำผลักดันให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมจิตวิทยาความปลอดภัย ทีมเรียนรู้จากเหตุการเกือบพลาด และความคลาดเคลื่อน ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมีความตระหนักถึง ธรรมชาติของข้อจำกัดในศักยภาพมนุษย์ในระบบที่ซับซ้อน (การรับความรู้สึกเครียด) และสร้างกระบวนเรียนรู้ที่ เป็นรูปธรรม และผลักดันให้เกิดการพัฒนาผ่านกระบวนการสรุปทบทวน”

การเติบโตด้านคุณภาพและปลอดภัยในสภาพแวดล้อมนั้นสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม และให้ความเคารพ ผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งฐานะในโรงพยาบาล คณะผู้นำโรงพยาบาลต้องแสดงความมุ่งมั่นต่อวัฒนธรรมความ ปลอดภัย ของพวกและกำหนดความคาดหวังสำหรับผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาล พฤติกรรมที่ไม่คงเส้นคงวาต่อ วัฒนธรรมความปลอดภัย หรือข่มขู่คุกคามผู้อื่น และมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจหรือส่งผลต่อการหมุนเวียน บุคลากรจนเป็นอันตรายต่อการดูแลผู้ป่วย หลักสำคัญของแผนงานสำหรับวัฒนธรรมของความปลอดภัย ได้แก่

• การรับรู้ธรรมชาติของความเสี่ยงสูงของกิจกรรมในโรงพยาบาล และมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในการ ดำเนินงานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง;

• มีสภาพแวดล้อมที่บุคลากรความสามารถที่จะรายงานข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์เกือบพลาด โดยไม่เกรง กลัวการตำหนิหรือลงโทษ

• ให้กำลังใจการทำงานร่วมกันผ่านการยกย่อง และมุ่งมั่นที่จะแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาความ ปลอดภัยของผู้ป่วย และ

• ความมุ่งมั่นขององค์กรในด้านทรัพยากร เช่น เวลาของบุคลากร, การศึกษา, วิธีการที่ปลอดภัยสำหรับการ รายงานปัญหา และสิ่งอื่นที่คล้ายกัน เป็นความกังวลด้านความปลอดภัย

บริการดูแลสุขภาพยังคงมีวัฒนธรรมการตำหนิต่อตัวบุคคล ซึ่งบั่นทอนความก้าวหน้าของวัฒนธรรมความปลอดภัย มีบางกรณีที่บุคคลที่ไม่ควรถูกตำหนิจากข้อผิดพลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการสื่อสารที่ไม่ดีระหว่างผู้ป่วยและ บุคลากร เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการตัดสินใจ หรือเมื่อการออกแบบปัจจัยของมนุษย์เกิดข้อบกพร่องใน กระบวนการรักษา อย่างไรก็ตามข้อผิดพลาดบางอย่างที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยง และไม่มีความรับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมเสี่ยงในการความล้มเหลวที่จะปฏิบัติแนวทางการทำความสะอาดมือ ไม่ทำการขอเวลานอก ก่อนการผ่าตัด หรือไม่ได้ทำเครื่องหมายบนตำแหน่งที่จะผ่าตัด วัฒนธรรมของความปลอดภัยรวมถึงการระบุและ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ในเวลาเดียวกันโรงพยาบาลจะต้องรักษาความ รับผิดชอบที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมเสี่ยง ภาระความรับผิดชอบมีแตกต่างระหว่างผิดพลาดของมนุษย์ (เช่น ความไม่ เป็นระเบียบ) พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง (เช่น มักง่าย) และพฤติกรรมเสี่ยง (เช่น ละเลยขั้นตอนความปลอดภัยที่ จำเป็น)

คณะผู้นำโรงพยาบาลประเมินวัฒนธรรมเป็นประจำด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเยี่ยมสำรวจอย่างเป็นทางการ การรวมกลุ่ม การสัมภาษณ์บุคลากร และการวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้นำโรงพยาบาลส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็น ทีม และจัดทำโครงสร้าง กระบวนการ และแผนงานที่ช่วยให้วัฒนธรรมในเชิงบวกนี้เจริญขึ้น คณะผู้นำโรงพยาบาล กำหนดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในการทำงานของบุคลากรในทุกระดับของโรงพยาบาล รวมถึงการจัดการ บุคลากรทางคลินิกและไม่ใช่บุคลากรทางคลินิก ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานเป็นอิสระ และสมาชิก นิติบุคคลผู้กำกับกิจการ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.13

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างและสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรซึ่งส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบและความ โปร่งใส.

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำและบันทึกจรรยาบรรณรวมถึงค้นหาและแก้ไขพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้.

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดให้มีการศึกษาและสารสนเทศ (เช่น วารสารและข้อแนะนำ) เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมความปลอดภัยของโรงพยาบาลแก่แต่ละบุคคลทั้งหมดที่ทำงานในโรงพยาบาล.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลกำหนดวิธีการค้นหาและจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความปลอดภัย ภายในโรงพยาบาล.

❏ 5. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดหาทรัพยากรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมความปลอดภัยภายใน องค์กร.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.13.1

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดให้มีระบบที่เรียบง่าย, เข้าถึงได้และเป็นความลับสำหรับการรายงาน ประเด็นที่ เกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ารายงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของ โรงพยาบาลได้รับการสอบสวนในลักษณะที่ทันเวลา.

❏ 3. โรงพยาบาลระบุประเด็นเชิงระบบที่นำผู้ให้การดูแลสุขภาพเข้ามาผูกพันในพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลใช้ตัววัดเพื่อประเมินผลและเฝ้าติดตามวัฒนธรรมความปลอดภัยภายในองค์กร และนำไปปฏิบัติซึ่งการพัฒนาที่ระบุได้จากการวัดและการประเมินผล.

❏ 5. คณะผู้นำโรงพยาบาลนำสู่ปฏิบัติซึ่งกระบวนการที่เพื่อป้องกันการจองเวรต่อผู้รายงานประเด็นที่เกี่ยว ข้องกับวัฒนธรรมความปลอดภัย.

การฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการวิจัยในมนุษย์

หมายเหตุ มาตรฐานนี้ใช้กับโรงพยาบาลที่ให้การศึกษาบุคลกรวิชาชีพด้านสุขภาพ แต่ไม่ได้เข้าเกณฑ์คุณสมบัติของ การรับรองโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาทางการแพทย์

มาตรฐาน GLD.14 การศึกษาด้านวิชาชีพสุขภาพซึ่งจัดให้มีในโรงพยาบาล ได้รับแนวทางและข้อพิจารณาของเจ้าของแผนงานวิชาการ และคณะผู้นำโรงพยาบาล.

เจตจำนงของ GLD.14

บ่อยครั้งที่โรงพยาบาลจะมีบทบาทในพันธกิจด้านให้การศึกษา และเป็นสถานที่ฝึกอบรมด้านคลินิกสำหรับ นักศึกษาแพทย์พยาบาล วิชาชีพด้านบริการสุขภาพ และหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาอื่น ๆ. เช่น ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนและนักศึกษาทางการแพทย์มาฝึกอบรมทางคลินิกในโรงพยาบาลชุมชน หรือจัดแผนงานฝึกอบรมทางการ พยาบาลขั้นพื้นฐานในโรงพยาบาล โรงพยาบาลเหล่านี้มีบทบาทในการให้การศึกษา แต่ไม่ได้เข้าเกณฑ์คุณสมบัติ ของมาตรฐานโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาทางการแพทย์.

เมื่อโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในแผนงานฝึกอบรมดังกล่าว โรงพยาบาลดำเนินการต่อไปนี้

จัดให้มีกลไกสำหรับกำกับดูแลแผนงานการฝึกอบรม;

• ได้รับและยอมรับข้อพิจารณา (parameter) ของเจ้าของแผนงานวิชาการ;

• มีบันทึกที่สมบูรณ์ของผู้รับการฝึกอบรมในโรงพยาบาลทุกคน;

• มีเอกสารหลักฐานสถานภาพการลงทะเบียน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตร (ที่ได้รับ และการจัดระดับทางวิชาการของผู้รับการฝึกอบรม;

• เข้าใจและจัดให้มีการกำกับดูแลในระดับที่ต้องการสำหรับผู้รับการฝึกอบรมแต่ละประเภทและแต่ละระดับ; และ

• นำผู้รับการฝึกอบรมเข้าร่วมในการปฐมนิเทศ แผนงานคุณภาพ ความปลอดภัยผู้ป่วย การป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้อ และแผนงานอื่น ๆ ขององค์กร. (ดูGLD.1.1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.14

❏ 1. โรงพยาบาลจัดให้มีกลไกกำกับดูแลแผนงานฝึกอบรม.

❏ 2. โรงพยาบาลได้รับและยอมรับข้อพิจารณาของเจ้าของแผนงานวิชาการ.

❏ 3. โรงพยาบาลมีเอกสารที่สมบูรณ์ของผู้รับการฝึกอบรมในองค์กรทุกคน.

❏ 4. โรงพยาบาลมีเอกสารหลักฐานสถานภาพการลงทะเบียน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือ ประกาศนียบัตรที่ได้รับ และการจัดระดับทางวิชาการของผู้รับการฝึกอบรม.

❏ 5. โรงพยาบาลเข้าใจและจัดให้มีการกำกับดูแลในระดับที่ต้องการสำหรับผู้รับการฝึกอบรมแต่ละประเภท และแต่ละระดับ.

❏ 6. โรงพยาบาลนำผู้รับการฝึกอบรมเข้าร่วมกับการปฐมนิเทศ แผนงานคุณภาพ ความปลอดภัยผู้ป่วย การ ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และแผนงานอื่น ๆ ขององค์กร.

การวิจัยในมนุษย์

หมายเหตุ มาตรฐานนี้ใช้กับโรงพยาบาลที่ดำเนินการวิจัยวิชามนุษย์แต่ไม่ได้เข้าเกณฑ์คุณสมบัติของการรับรอง โรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาทางการแพทย์

มาตรฐาน GLD.15 การศึกษาวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและแนวทางของคณะผู้นำโรงพยาบาล.è P

เจตจำนงของ GLD.15 การทำวิจัยในมนุษย์ในขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเป็นความพยายามที่ซับซ้อนและที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาล คณะ ผู้นำโรงพยาบาลตระหนักถึงระดับความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่จำเป็น เพื่อความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ตามบริบทในการปกป้องผู้ป่วยที่มีข้อผูกมัดในการวินิจฉัยและรักษา ความรับผิดชอบของคณะผู้นำของ โรงพยาบาลในการทำวิจัยในมนุษย์ไม่ได้แยกออกจากความรับผิดชอบในการผู้ป่วยดูแล ความรับผิดชอบต้องบูรณา การในทุกระดับ ดังนั้น การพิจารณาด้านจริยธรรม การสื่อสารที่ดีผู้นำมีความรับผิดชอบ การปฏิบัติตาม กฎระเบียบ และทรัพยากรทางการเงินและไม่ใช่การเงินเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบนี้จัดทรัพยากรเป็นแหล่ง ของการประกันค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยอย่างเพียงพอให้แก่ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิกที่ประสบกับ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์. คณะผู้นำโรงพยาบาลตระหนักถึงภาระหน้าที่ในการปกป้องผู้ป่วยความไม่รับผิดชอบของผู้ อุปถัมภ์การวิจัย. (ดูGLD.1.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.15

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลระบุความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการในการธำรงการพัฒนาและการปฏิบัติตาม นโยบายและระเบียบปฏิบัติของการทำวิจัยในมนุษย์ทั้งหมด.

❏ 2. คณะผู้นำโรงพยาบาลมอบหมายความรับผิดชอบสำหรับการปกป้องผู้ป่วยจากความไม่รับผิดชอบของ ผู้ อุปถัมภ์การวิจัย.

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลยอมรับและจัดทำกลไกเพื่อให้มีการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและข้อกำหนดใน วิชาชีพที่เกี่ยวกับการทำวิจัย.

❏ 4. คณะผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ามีแหล่งของการประกันค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยอย่างเพียง พอให้แก่ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิกที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์.

❏ 5. คณะผู้นำโรงพยาบาลจัดทำเกณฑ์การรับหรือการส่งต่อผู้ป่วยเข้าร่วมหน่วยหรือแผนงานในการทำวิจัยเ มื่อมีความเหมาะสม

มาตรฐาน GLD.16 โรงพยาบาลแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบเกี่ยวกับวิธีการเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิกซึ่งกระทำในมนุษย์.è P

เจตจำนงของ GLD.16

โรงพยาบาลที่มีการทำวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก ซึ่งกระทำในมนุษย์ให้ สารสนเทศแก่ผู้ป่วยและครอบครัวถึงวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้นหากมีความจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วย. เมื่อ ผู้ป่วยได้รับการขอให้เข้าร่วม ผู้ป่วยต้องการสารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ประกอบด้วย

• ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ;

• ความไม่สุขสบายและความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น;

• ทางเลือกอื่นที่อาจช่วยผู้ป่วยได้; และ

• ระเบียบปฏิบัติที่จะต้องทำตาม.

ผู้ป่วยได้รับแจ้งว่าตนสามารถปฏิเสธการเข้าร่วมหรือถอนตัวได้โดยไม่มีผลเสียต่อการเข้ารับบริการจาก โรงพยาบาล.โรงพยาบาลมีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการให้สารสนเทศนี้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.16

❏ 1. มีการบ่งชี้ผู้ป่วยและครอบครัวที่เหมาะสมและแจ้งให้ทราบถึงวิธีการเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การ สืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก ที่จำเป็นต่อการรักษา.

❏ 2. ผู้ป่วยที่ได้รับการขอให้เข้าร่วม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น.

❏ 3. ผู้ป่วยที่ได้รับการขอให้เข้าร่วม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความไม่สุขสบายหรือความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น.

❏ 4. ผู้ป่วยที่ได้รับการขอให้เข้าร่วม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจช่วยผู้ป่วยได้.

❏ 5. ผู้ป่วยที่ได้รับการขอให้เข้าร่วม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตาม.

❏ 6. ผู้ป่วยได้รับความมั่นใจว่าการปฏิเสธหรือถอนตัวจากการมีส่วนร่วมนั้นจะไม่ส่งผลเสียต่อการเข้ารับ บริการจากองค์กร.

มาตรฐาน GLD.17 โรงพยาบาลแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบถึงวิธีการที่ผู้ป่วยซึ่งสมัครใจเข้าร่วมในงานวิจัยทางคลินิก การสืบค้น ทางคลินิกหรือการทดลองทางคลินิกจะได้รับการคุ้มครอง.

เจตจำนงของ GLD.17

องค์กรที่มีการทำวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก ซึ่งกระทำกับมนุษย์รับรู้ว่าความ รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดคือสุขภาพและสุขภาวะของผู้ป่วย. สารสนเทศเหล่านี้ได้รับการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วยและ ครอบครัวเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการ. โรงพยาบาลแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบล่วงหน้า เกี่ยวกับกระบวนการที่ได้กำหนดไว้เพื่อ

• วิธีวิจัย, และความรับผิดชอบของผู้ป่วยในการวิจัย

• ประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้เข้าร่วมโครงการ;

• สิทธิของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องในการถอนตัวจากการเข้าร่วมโครงการ;

• สิทธิของผู้ป่วยในการได้รับการรักษาความลับและความปลอดภัยของสารสนเทศ; และ • ขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการ. (ดู GLD.18 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.17

❏ 1. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีวิจัยประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้เข้าร่วม โครงการ.

❏ 2. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยในการถอนตัวจากการเข้าร่วม โครงการ.

❏ 3. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยที่เป็นความลับและความปลอดภัยของ สารสนเทศงานวิจัย. (ดูMOI.2 ร่วมด้วย)

❏ 4. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการของโรงพยาบาลในขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วม โครงการ. (ดูPFR.5.1 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน GLD.18 การขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวจะต้องกระทำก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทาง คลินิก และการทดลองทางคลินิกè P

เจตจำนงของ GLD.18

มีการให้การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว เมื่อผู้ป่วยและครอบครัวตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก การสืบค้น ทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก. สารสนเทศที่ให้ในช่วงเวลาที่จะตัดสินใจเข้าร่วมนั้นเป็นฐานสำหรับการ ยินยอมโดยได้รับข้อมูล (ดูPFR.5.1 and GLD.17 ร่วมด้วย). มีการบันทึกชื่อผู้ให้ข้อมูลและผู้ขอความยินยอมไว้ ในเวชระเบียนผู้ป่วย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.18

❏ 1. มีการขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจเข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก การสืบค้น ทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิก.

❏ 2. มีการบันทึกชื่อผู้ให้ข้อมูลและผู้ขอความยินยอมไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย.

❏ 3. มีบันทึกความยินยอม และลงวันที่เข้าร่วมโครงการในเวชระเบียนผู้ป่วย โดยการลงนามหรือลงบันทึก ถ้อยคำที่ให้การยินยอม

มาตรฐาน GLD.19 โรงพยาบาลมีคณะกรรมการหรือวิธีการอื่นที่จะกำกับดูแลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งหมดในองค์กรè P

เจตจำนงของ GLD.19

เมื่อโรงพยาบาลมีการวิจัยทางคลินิก การสืบค้นทางคลินิก หรือการทดลองทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีการ จัดตั้งคณะกรรมการหรือกลไกอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ที่จะกำกับดูแลกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมดใน โรงพยาบาล. โรงพยาบาลจัดทำเจตจำนงของกิจกรรมกำกับดูแล. กิจกรรมกำกับดูแลประกอบด้วยกระบวนการ ทบทวนเกณฑ์วิธีวิจัย กระบวนการชั่งน้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ และ กระบวนการรักษาความลับและความปลอดภัยของสารสนเทศงานวิจัย.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ GLD.19

❏ 1. โรงพยาบาลมีคณะกรรมการหรือกลไกอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ทำหน้าที่กำกับดูแล งานวิจัยทั้งหมดในโรงพยาบาล.

❏ 2. โรงพยาบาลจัดทำเจตจำนงที่ชัดเจนสำหรับกิจกรรมกำกับดูแลงานวิจัย.

❏ 3. กิจกรรมกำกับดูแลงานวิจัย ครอบคลุมกระบวนการทบทวนเกณฑ์วิธีวิจัย.

❏ 4. กิจกรรมกำกับดูแลงานวิจัย ครอบคลุมกระบวนการเปรียบเทียบประโยชน์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อ ผู้เข้าร่วมโครงการ.

❏ 5. กิจกรรมกำกับดูแลงานวิจัย ครอบคลุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับและความปลอดภัย ของสารสนเทศงานวิจัย.