5L 1.3 Ambulance Driving Safety

L1.3: Ambulance Driving Safety

(แนวปฏิ บต ั ิ ขบ ั รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาลปลอดภัย)

Definition

รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และรถพยาบาล หมายถึง รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

และรถพยาบาล ในโรงพยาบาล ที่ปฏิบัติการทั้งน าส่งผู้ป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและ

ระบบส่งต่อผู้ป่วย

Goal

เพื่อให้ทุกชีวิตปลอดภัยในรถพยาบาล (บุคคลากรทางแพทย์ ผู้ป่วย และญาติตลอดจนผู้

ร่วมทางในการใช้รถใช้ถนน)

Why

 เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และระบบ

ส่งต่อผู้ป่วย เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและมีความส าคัญยิ่งในการช่วยเหลือผู้

เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย ทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย

เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเหล่านั้นพ้นภาวะวิกฤติ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้เสียสละ และ

ทุ่มเทปฏิบัติงานด้วยความยากล าบากในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติบนพยาบาล และ

มีความเสี่ยงอันตรายสูงมากในการเกิดอุบัติเหตุจราจรระหว่างเดินทางบนท้องถนน

 ส านักการพยาบาล ได้ศึกษาจ านวนบุคลากรที่ได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

จราจร ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการผู้ป่วย

จ านวน 4315 ราย มีเสียชีวิต 21 ราย พิการถาวร 12 ราย ผู้ได้รับความเสียหาย

มากกว่า 50 % เป็นพยาบาลวิชาชีพ

(ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557) http://www.thairath.co.th/content/401245

รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาลมีแนวโน้มที่ประสบอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

และก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และเสียชีวิตของทีมแพทย์ พยาบาล ตลอดจนผู้ป่วยและ

ญาติ จากการรวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังอุบัติเหตุรถพยาบาล ของสถาบันการแพทย์

ฉุกเฉินแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2559 ตลอด 3 ปีที่ผ่าน

มา รถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และรถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุจ านวน 142 ครั้ง มี

ผู้บาดเจ็บ 222 ราย โดยมีพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย คู่กรณี

เสียชีวิตรวม 36 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในระบบ

การแพทย์ฉุกฉิน และพนักงานขับรถ จ านวน 8 ราย

Process

แนวปฏิ บต ั ิ เพื่อความปลอดภย ั ของรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล

แนวปฏิบัติพนักงานขับรถ

1. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด รวมถึงยาที่ท าให้ง่วงนอน ก่อน

และขณะขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล

2. ห้ามขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาลฝ่าสัญญาณไฟแดงทุกกรณี

3. เคารพกฎจราจร ไม่ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายก าหนด จ ากัดความเร็วรถ

ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาลไม่เกิน 80 กม./ ชม.

4. พนักงานขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล ผ่านการอบรมหลักสูตร

ฝึกอบรมพนักงานขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล

5. ให้รถพยาบาลติดตั้ง GPS

6. ให้รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล ติดตั้งกล้องวงจรปิดอย่างน้อย 2 จุด

7. ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่

8. ตรวจสอบความพร้อมของรถ ก่อนออกเดินทาง

9. พักทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือระยะทางทุกๆ 150 กิโลเมตร

10. การบ ารุงรักษารถให้พร้อมใช้งาน

แนวปฏิบัติผู้บริหาร

1. หัวหน้าหน่วยงานแต่ละระดับ ประกาศนโยบายวัฒนะธรรมความปลอดภัยใน

องค์กร และมีการสื่อสารให้บุคลากรในองค์กร ให้ทราบและเข้าใจ ให้ทั่วถึง ตลอดจน

ก ากับติดตาม ประเมินผล เช่นประกาศนโยบายเป่าวัดปริมาณแอลกอฮอลล์ ก่อนขึ้น

ขับรถ

2. ควรจัดให้มีห้องพักส าหรับพนักงานขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และ

รถพยาบาล เพื่อป้องกันการเหนื่อยล้า

3. ท าประกันภัยรถพยาบาล

4. กรณีเดินทางไกล เกินกว่า 400 กิโลเมตร ควรมีพนักงานขับรถ 2 คน

5. ควรมีการตรวจสุขภาพ สมรรถนะ ที่เกี่ยวข้องกับการขับรถ เพื่อประเมินความ

เหมาะสมส าหรับการเป็นพนักงานขับรถ

Training

1. อบรมหลักสูตรหลักสูตรขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล

(Emergency Vehicle Operetion Course) หลักสูตร 2 วัน ส าหรับผู้ที่จบ

หลักสูตร EMR (Emergency Medical Responder) หรือชื่อเดิม FR (First

Responder)

2. หลักสูตรฝึกอบรมพนักงานขับรถพยาบาล ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

Thai Emergency Ambulance Driving Course (TEAm), 1 st revised edition

หลักสูตร 4 วัน ส าหรับพนักงานขับรถที่ไม่เคยอบรม หลักสูตร EMR

(Emergency Medical Responder) หรือชื่อเดิม FR (First Responder )

3. ต้องอบรมฟื้นฟู (Refresh) ความรู้ให้ส าหรับผู้ที่จบ จากข้อ 1 หรือ 2 ทุกปี

4. อบรม /ชี้แจง การปฏิบัติงานบนรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล

เพื่อความปลอดภัย

Monitoring

1. มีแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้ที่ใช้รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และ

รถพยาบาล เช่นพยาบาล ญาติผู้ป่วย

2. น าผลการประเมินความพึงพอใจ เสนอในที่ประชุมผู้บริหารทุกเดือน

Pitfall

หากพนักงานขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และรถพยาบาล ยังไม่ตระหนัก หรือ

ให้ความส าคัญเรื่องอุบัติเหตุจราจร อาจท าให้ พนักงานขับรถ บุคลากรทาง

การแพทย์ ตลอดจนผู้ป่วย ญาติ และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนบนทางสาธารณะ จะไม่

ปลอดภัย

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (COC) (3)