3 สิทธิผู้ป่วยและครอบครัว (PFR)

ภาพรวม

ผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงครอบครัวของผู้ป่วย มีความเป็นเอกลัษณ์มีความต้องการ มีจุดแข็ง ค่านิยม และความเชื่อ ของตัวเอง หน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพ ควรสร้างความเชื่อมั่น และสื่อสารอย่างเปิดเผยกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิด ความเข้าใจ รวมถึงการพิทักษ์ปกป้องวัฒนธรรม สังคม และจิตวิญญาณในผู้ป่วยแต่ละราย

ผลลัพธ์ของการบำบัด รักษาอาจดีขึ้น เมื่อผู้ป่วย และครอบครัว/หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจแทน ได้รับการให้ข้อมูลจากบุคลากรอย่างเหมาะสม และเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการบำบัดรักษาใน แนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อของผู้ป่วย

เพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วย และการบำบัดรักษาที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง องค์กรอาจเริ่มจากการประกาศสิทธิที่ ผู้ป่วย รวมถึงการให้สิทธิ์การตัดสินใจรับการบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยควรได้รับการให้ข้อมูล สารสนเทศ อย่างถูกต้อง และครบถ้วนถึงสิทธิและความรับผิดชอบโดยสหวิชาชีพควรได้รับการอบรม เพื่อให้ เข้าใจ และเคารพ ในความเชื่อ และคุณค่าของตัวผู้ป่วยพร้อมทั้งมอบการบำบัดรักษาอย่างเอาใจใส่และเคารพทั้งนี้ เพื่ิอส่งเสริม และพิทักษ์เกียรติและศักดิ์ศรีในตัวผู้ป่วย ในหมวดมาตรฐานนี้ได้วางกระบวนการเพื่อ

• กำหนด พิทักษ์และส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วย

• ให้ข้อมูลถึงสิทธิของผู้ป่วย

• รวมถึงให้ข้อมูลแก่ครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อการตัดสินใจรับการบำบัดรักษา ตามความเหมาะสม

• การได้รับคำยินยอมจากผู้ป่วย และ

• การให้การอบรมแก่บุคลากรเรื่องสิทธิของผู้ป่วย

กระบวนการเหล่านี้จะถูกดำเนินการภายในองค์กรอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย หรือการ ประชุมร่วมกันในระดับประเทศ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองในประเทศนั้น ๆ กระบวนการเหล่านี้ต้องสอดคล้องกับกระบวนการให้การบำบัดรักษาขององค์กรที่แสดงถึงความเท่าเทียมและเป็น ธรรม ภายใต้รูปแบบการให้บริการทางด้านสุขภาพ และค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพของประเทศนั้น ๆ

หมายเหตุในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

PFR.1 โรงพยาบาล มีส่วนรับผิดชอบในการจัดสรรกระบวนการที่ส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในระหว่าง การบำบัดรักษาè PFR.1.1 โรงพยาบาลพยายามลดข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ภาษา วัฒนธรรม และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็น อุปสรรค ต่อการเข้าถึงและการส่งมอบบริการให้แก่ผู้ป่วย

PFR.1.2 โรงพยาบาลให้บริการด้านการรักษาที่ส่งเสริมเกียรติของผู้ป่วย เคารพในค่านิยม และความเชื่อ รวมถึงสนองตอบความต้องการในด้านจิตวิญญาณ และพิธีกรรมทางศาสนา

PFR.1.3 เคารพในสิทธิของผู้ป่วยในด้านความเป็นส่วนตัวและข้อมูลสุขภาพที่ผู้ป่วยต้องได้รับการปกปิด P

PFR.1.4 โรงพยาบาลกำหนดมาตรการในการป้องกันทรัพย์สินของผู้ป่วยสูญหายหรือถูกโจรกรรม

PFR.1.5 ผู้ป่วยได้รับการป้องกันจากการถูกทำร้ายร่างกาย และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจะต้องได้รับการบ่งชี้เพื่อ ป้องกันภาวะคุกคามอื่น ๆ เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตนเองได้

PFR.2 ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในทุกแง่มุมของการบำบัดรักษา มีส่วนร่วมในกิจกรรมและการตัดสินใจในกระบวนการ ดังกล่าวè

PFR.2.1 โรงพยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และญาติในเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบในการปฏิเสธหรือยุติ การบำบัดรักษา การระงับบริการฟื้นคืนชีพ หรือการยุติการรักษาเพื่อยืดชีวิต P

PFR.2.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วย เพื่อประเมิน และจัดการกับความเจ็บปวดรวมถึงตระหนักใน การบำบัดรักษาต่อผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอย่างเอื้ออาทร

PFR.3 โรงพยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และครอบครัว เรื่องแนวทางรับเรื่องร้องเรียน และแนวทางปฏิบัติหลังจากที่ โรงพยาบาลได้รับคำร้องเรียน ข้อขัดแย้ง หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันในแนวทางบำบัดรักษา และสิทธิ ผู้ป่วยที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นè

PFR.4 ผู้ป่วยทุกราย ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความรับผิดชอบของตนเอง ด้วยวิธีการ และภาษาที่ ผู้ป่วย สามารถเข้าใจได้

การขอคำยินยอมทั่วไป

PFR.5 การให้คำยินยอมทั่วไปเพื่อการบำบัดรักษา ทั้งกรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือเมื่อได้รับลงทะเบียนเป็นผู้ป่วย นอกครั้งแรก ควรมีความชัดเจนในขอบเขตของการบำบัดรักษารวมถึงข้อจำกัด P

การขอคำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว

PFR.5.1 ผู้ป่วยให้คำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว ผ่านกระบวนการซึ่งถูกกำหนดโดยโรงพยาบาล และ ถูกดำเนินการโดยบุคลากรที่ผ่านการอบรม ด้วยวิธีการและภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ P

PFR.5.2 มีการขอคำยินยอมก่อนกระบวนการผ่าตัด การระงับความรู้สึก การระงับประสาทเพื่อทำ หัตถการ การให้เลือด และส่วนประกอบของเลือดรวมถึงหัตถการเสี่ยงสูงต่าง ๆ P

PFR.5.3 ผู้ป่วย และครอบครัวได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ ถึงสภาวะหรืออาการของผู้ป่วย แนวทางการ บำบัดรักษา หรือหัตถการที่จะเกิดขึ้น บุคลากรที่เป็นผู้ให้การบำบัดรักษา เพื่อให้ความยินยอม หรือตัดสินใจดำเนิน กิจกรรมบำบัดรักษา

PFR.5.4 โรงพยาบาลได้กำหนดกระบวนการ ระบุผู้ที่สามารถให้คำยินยอมแทนผู้ป่วยสอดคล้องตาม ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม

การบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ

PFR.6 โรงพยาบาลให้ข้อมูลสารสนเทศแก่ผู้ป่วย และครอบครัวเรื่องการพิจารณาบริจาคอวัยวะ และเนื้อเยื่ออื่น ๆ

PFR.6.1 โรงพยาบาลมีการกำกับดูแลกระบวนการจัดหาอวัยวะ และเนื้อเยื่อบริจาค P

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

มาตรฐาน PFR.1 จัดสรรกระบวนการที่ส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว

โรงพยาบาล มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดสรรกระบวนการที่ส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในระหว่างการ บำบัดรักษา P

เจตจำนงของ PFR.1

ผู้บริหารของโรงพยาบาล มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในงานบริการของโรงพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วย ดังนั้น ผู้บริหารควรตระหนัก และเข้าใจถึงสิทธิของผู้ป่วย และครอบครัว และรับทราบหน้าที่ความรับผิดชอบในงานบริการ ของโรงพยาบาล ตามที่ระบุในกฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย เป็นผู้กำหนดทิศทางให้กับหน่วยงานต่าง ๆ แก่ ผู้นำหน่วยงานให้บริการ ผู้ที่สามารถช่วยยืนยันว่า บุคลากรในโรงพยาบาลทั้งหมดรับทราบหน้าที่ และความ รับผิดชอบในการพิทักษ์สิทธิ์ดังกล่าว และเพื่อให้การพิทักษ์ปกป้องสิทธิ์ของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร จะต้องดำเนินกิจกรรม และแสวงหาแนวทาง เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในความรับผิดชอบซึ่งเกี่ยวเนื่องกับบทบาท ของโรงพยาบาลที่มีต่อชุมชน (ดูGLD.3.1)

โรงพยาบาลเคารพในสิทธิของผู้ป่วยและในบางสถานการณ์อาจหมายความรวมไปถึงสิทธิของครอบครัวผู้ป่วย การ กำหนดว่า ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาประเภทใด ที่ต้องแจ้งให้แก่ครอบครัว หรือบุคคลอื่น ทราบ และภายใต้สถานการณ์แบบใด ตัวอย่างเช่น กรณีผู้ป่วยไม่ต้องการบอกผลการวินิจฉัยโรคของตน ให้แก่ สมาชิก ในครอบครัวทราบ หรือในบางกรณีครอบครัวผู้ป่วย อาจไม่ต้องการให้ผู้ป่วยรับทราบผลการวินิจฉัยโรค ของตนเอง เป็นต้น

สิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของสัญญาต่าง ๆ ที่ทำร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล บุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยเอง และครอบครัว ดังนั้น นโยบายหรือระเบียบปฏิบัติต้องถูกพัฒนาขึ้นและ ถูกนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า บุคลากรในโรงพยาบาล ได้ให้ความตระหนัก และสนองตอบต่อสิทธิของ ผู้ป่วย และครอบครัว ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล และตลอดระยะเวลาที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลควร เลือกใช้กระบวนการที่เกิดจากความร่วมมือกัน และครอบคลุมทุกหน่วยงาน มาพัฒนานโยบายหรือระเบียบปฏิบัติ โดยมีผู้ป่วย และครอบครัวรวมอยู่ในกระบวนการดังกล่าว

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR.1

❏ 1. ผู้บริหาร หรือผู้นำของโรงพยาบาลดำเนินกิจกรรมเพื่อพิทักษ์และเชิดชูสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว

❏ 2. ผู้บริหาร หรือผู้นำของโรงพยาบาลรับทราบถึงสิทธิของผู้ป่วย และครอบครัว ตามที่ระบุในกฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย และสัมพันธ์กับธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชน หรือการให้บริการผู้ป่วยเฉพาะราย

❏ 3. โรงพยาบาลเคารพในสิทธิของผู้ป่วย และรวมถึงครอบครัวผู้ป่วยในบางสถานการณ์ในการกำหนดว่า ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาประเภทใด ที่ต้องแจ้งให้แก่ครอบครัว หรือบุคคลอื่นทราบ และภายใต้ สถานการณ์แบบใด

❏ 4. บุคลการทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของผู้ป่วย และสามารถอธิบายความรับผิดชอบของตนเอง ในการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วย

มาตรฐาน PFR. 1.1

โรงพยาบาลพยายามลดข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ภาษา วัฒนธรรม และข้อจำกัดอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรค ต่อการ เข้าถึง และการส่งมอบบริการให้แก่ผู้ป่วย

เจตจำนงของ PFR. 1.1

โรงพยาบาลให้บริการแก่ชุมชน โดยมีกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลาย ผู้ป่วยที่ใช้บริการอาจเป็นผู้สูงอายุ ทุพล ภาพ สื่อสารหลายภาษา หรือใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือมีข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ส่งผล ให้กระบวนการประเมินผู้ป่วย และการรับการบำบัดรักษาทำได้ยากขึ้น โรงพยาบาลต้องสามารถระบุ ข้อจำกัด และ นำเอากระบวนการที่ใช้เพื่อขจัด หรือลดข้อจำกัดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย และยิ่งไปกว่านั้น โรงพยาบาลควรมีแนวทางที่ใช้ลดผลกระทบจากข้อจำกัดเหล่านี้เพื่อการส่งมอบบริการให้แก่ผู้ป่วยด้วย (ดู COP.1, PFE 2.1, และ GLD.12)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 1.1

❏ 1. ผู้นำหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ รวมถึงบุคลากรของโรงพยาบาลสามารถระบุข้อจำกัดของประชากร ผู้ป่วย ที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึง และเข้ารับบริการบำบัดรักษา

❏ 2. ผู้นำหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ พัฒนากระบวนการที่ช่วยแก้ไขข้อจำกัดและนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่ม ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการบำบัดรักษา

❏ 3. ผู้นำหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ พัฒนากระบวนการที่ช่วยจำกัดผลกระทบจากอุปสรรคของการส่งมอบ บริการ ให้แก่ผู้ป่วย

มาตรฐาน PFR.1.2

โรงพยาบาลให้บริการด้านการรักษาที่ส่งเสริมเกียรติของผู้ป่วยเคารพในค่านิยมและความเชื่อรวมถึงสนองตอบ ความต้องการในด้านจิตวิญญาณและพิธีกรรมทางศาสนา

เจตจำนงขอ PFR.1.2

หนึ่งในความต้องการสำคัญของมนุษย์คือความต้องการได้รับความเคารพและได้รับเกียรติบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก ถึงความสูญเสีย เนื่องจากต้องเพิ่มภาวะพึ่งพาผู้อื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความต้องการผู้ช่วยเหลือในการ รับประทานอาหาร การเคลื่อนไหวหรือแม้กระทั่งการทำความสะอาดร่างกาย ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับดูแลรักษาด้วย ความเคารพและเอาใจใส่ตลอดเวลาในทุก ๆ โอกาส โดยผู้ให้การดูแลต้องตระหนักในคุณค่าและเกียรติของผู้ป่วย ผู้ป่วยแต่ละรายได้ยึดถือในค่านิยม และความเชื่อส่วนบุคคล เข้ามาสู่กระบวนการบำบัดรักษาและในบางค่านิยม และความเชื่อนั้นได้ถูกยึดถือโดยผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและมักมีต้นกำเนิดมาจากจารีต วัฒนธรรม หรือศาสนาของ ผู้ป่วย ในขณะที่บางค่านิยมหรือความเชื่อส่วนบุคคลในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย ผู้ป่วยทุกรายควร ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกถึงค่านิยมและความเชื่อของตนเอง รวมถึงให้ความเคารพในความเชื่อของผู้อื่นด้วย การยึดมั่นในค่านิยมและความเชื่อสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือกระบวนการรวมถึงการตอบสนองต่อการรักษา ของผู้ป่วย ดังนั้นบุคลากรควรพยายามทำความเข้าใจในการบำบัดรักษาและบริการที่ส่งมอบให้ผู้ป่วยที่สอดคล้อง กับค่านิยมและความเชื่อของผู้ป่วย (ด COP.7)

เมื่อผู้ป่วยหรือครอบครัวมีความประสงค์จะสื่อสารกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาหรือความ ต้องการสนองตอบทางด้านจิตวิญญาณหรือพิธีกรรมทางศาสนา โรงพยาบาลมีกระบวนการตอบสนองความ ต้องการดังกล่าว และดำเนินการโดยบุคลากรผู้ที่มีความเชื่อ หรือนับถือในศาสนาเดียวกันกับผู้ป่วยหรือจากคนในพื้นที่ หรือคนที่ครอบครัวผู้ป่วยอ้างอิงถึง เป็นต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจมีความยุ่งยากและซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ในบางโรงพยาบาล หรือในบางประเทศไม่ได้มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ และ/หรือไม่มี ทรัพยากรที่สนองตอบต่อ ความต้องการทางด้านความเชื่อหรือศาสนา ของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 1.2

❏ 1. บุคลากรให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเคารพ และคำนึงถึงเกียรติและคุณค่าในตัวผู้ป่วย

❏ 2. ค่านิยมและความเชื่อของผู้ป่วยได้รับการบ่งชี้ (ดูPFE.3, ME.1)

❏ 3. บุคลากรให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเคารพในค่านิยมและความเชื่อของผู้ป่วย

❏ 4. โรงพยาบาลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยตามกิจวัตร รวมถึงความต้องการที่มีความซับซ้อนและ เชื่อมโยงกับศาสนาและความเชื่อทางด้านจิตวิญญาณ

มาตรฐาน PFR.1.3

เคารพในสิทธิของผู้ป่วยในด้านความเป็นส่วนตัว และข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยต้องได้รับการปกปิด P

เจตจำนงขอ PFR.1.3

ความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการซักถามประวัติการตรวจร่างกาย การบำบัดรักษา หรือ ทำหัตถการและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยอาจมีความต้องการความเป็นส่วนตัวจากบุคลากรคนอื่น ๆ จากผู้ป่วยคนอื่นหรือแม้กระทั่งจากญาติหรือคนในครอบครัวและอาจรวมไปถึงผู้ป่วยอาจมีความประสงค์ไม่ให้ ถ่ายภาพ การบันทึกประวัติการตรวจรักษาหรือแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมตอบคำถามหรือให้สัมภาษณ์ในระหว่าง การเยี่ยมสำรวจ

แม้ว่าโรงพยาบาลจจะมีแนวทางจัดการกับความต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยอยู่แล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจมี ความต้องการที่แตกต่างหรือเพิ่มเติมไปจากแนวทางปกติของโรงพยาบาลในบางสถานการณ์และความต้องการ เหล่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นบุคลากรที่ให้การดูแลผู้ป่วยควรมีการซักถามถึงความต้องการความ เป็นส่วนตัวจากผู้ป่วยทุกครั้งที่มีการให้การบริการหรือดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งการสื่อสารระหว่างบุคลากรและผู้ป่วย ตรงจุดนี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและทำให้เกิดการสื่อสารอย่างเปิดเผยและไม่จำเป็นต้องทำการบันทึก เมื่อใดก็ตามที่มีการบันทึกหรือรวบรวมข้อมูลการรักษาหรือข้อมูลสารสนเทศทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ป่วยมี ความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความต้องการเพื่อที่จะได้ให้การบำบัดรักษาและบริการแก่ผู้ป่วย ซึ่งข้อมูลตรงนี้อาจ อยู่ในรูปแบบเอกสาร ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรืออาจผสมผสานกันทั้งสองรูปแบบ โรงพยาบาลจะต้องปกปิดข้อมูล สารสนเทศดังกล่าวรวมถึงมีการปรับใช้นโยบายหรือระเบียบปฏิบัติเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล สารสนเทศ ผู้ป่วยหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งนี้นโยบายและระเบียบปฏิบัติต้องคำนึงถึงข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้เมื่อถูก ร้องขอ โดยเป็นไปตามข้อกำหนด ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย

บุคลากรต้องเคารพในความเป็นส่วนตัวและการปกปิดข้อมูลผู้ป่วยโดยการไม่เปิดเผยข้อมูลสารสนเทศผู้ป่วยบน ประตูห้องพักผู้ป่วยหรือบริเวณที่ทำการของพยาบาล และไม่ควรพูดคุยถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในพื้นที่ สาธารณะ บุคลากรต้องตระหนักถึงระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายที่ครอบคลุมถึงความเป็นส่วนตัวและการปกปิด ข้อมูลของผู้ป่วย พร้อมทั้งชี้แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงแนวทางที่โรงพยาบาลให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นส่วนตัว และการปกปิดข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการชี้แจ้งถึงสถานการณ์ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของตัว ผู้ป่วยและวิธีการที่โรงพยาบาล จะขออนุญาตเปิดเผยข้อมูลจากตัวผู้ป่วยเมื่อมีสถานการณ์ดังกล่าว

โรงพยาบาลมีนโยบายที่ระบุวิธีการที่ผู้ป่วยจะเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพของตนเองและกระบวนการที่ ผู้ป่วยจะได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลเมื่อได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 1.3

❏ 1. บุคลากรระบุความคาดหวังและความต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยระหว่างการบำบัดและรักษา

❏ 2. เคารพในความต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยในกระบวนการซักประวัติการตรวจวินิจฉัย การ บำบัด รักษาหรือทำหัตถการและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

❏ 3. ข้อมูลสารสนเทศของผู้ป่วยได้รับการปกปิดและเก็บรักษาสอดคล้องตามข้อกำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย (ด MOI.2 and MOI.6)

❏ 4. ผู้ป่วยต้องถูกขออนุญาตและให้คำยินยอมก่อนการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของผู้ป่วยในส่วนของข้อมูล ที่ไม่ครอบคลุมตามที่ระบุในข้อกำหนดหรือกฎหมาย

มาตรฐาน PFR.1.4

โรงพยาบาลกำหนดมาตรการในการป้องกันทรัพย์สินของผู้ป่วยสูญหายหรือถูกโจรกรรม

เจตจำนงของ PFR.1.4

โรงพยาบาลชี้แจงความรับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้ป่วยและครอบครัว ในกรณีที่ผู้ป่วยและครอบครัวมีการนำเอา ทรัพย์สินติดตัวเข้ามาในโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลมีการกำหนดกระบวนการที่แสดงความรับผิดชอบและสร้าง ความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยว่าทรัพย์สินของผู้ป่วยและครอบครัวจะไม่สูญหายหรือถูกจารกรรม โดยกระบวนการนี้ ครอบคลุมไปยังผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่มารับการบริการผ่าตัดในวันเดียวกัน ผู้ป่วยที่รับไว้เป็น ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดการเก็บทรัพย์สินในตู้เก็บนิรภัยหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของตนเองได้ (ดูFMS.1.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 1.4

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดระดับของความรับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้ป่วย

❏ 2. ผู้ป่วยได้รับการชี้แจงถึงความรับผิดชอบของโรงพยาบาลในการปกป้องทรัพย์สินของผู้ป่วย

❏ 3. ทรัพย์สินของผู้ป่วยได้รับความคุ้มครองเมื่อทางโรงพยาบาลเล็งเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของ โรงพยาบาลหรือผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถปกป้องทรัพย์สินของตนเองได้

มาตรฐาน PFR.1.5

ผู้ป่วยได้รับการป้องกันจากการถูกทำร้ายร่างกายและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการบ่งชี้เพื่อป้องกันภาวะคุกคามอื่น ๆ เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตนเองได้

เจตจำนงของ PFR. 1.5

โรงพยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันผู้ป่วยจากการถูกทำร้ายร่างกายจากบุคคลภายนอกจากผู้ป่วยคนอื่น ๆ และจากบุคลากรในโรงพยาบาล ซึ่งความรับผิดชอบนี้ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นทารกแรกเกิด ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วย สูงอายุและผู้ป่วยที่ไม่สามารถป้องกันตนเองหรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้โรงพยาบาลต้องพยายามป้องกัน การถูกทำร้ายโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เช่น การสอบสวนบุคคลที่เข้ามาในสถานที่โดยไม่มีการบ่งชี้ตัวบุคคล การตรวจสอบหรือสอดส่องดูแลพื้นที่ที่อยู่ลับตาหรือพื้นที่เปลี่ยวและการตอบสนองต่อผู้ที่คิดว่าตกอยู่ในอันตรายจาก การทำร้ายร่างกายอย่างรวดเร็ว

โรงพยาบาลมีการระบุผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง (เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยพิการ หรือผู้ป่วยสูงอายุ) และกำหนดกระบวนการ ป้องกันสิทธิของผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการปกป้องและหน้าที่ความรับผิดชอบของโรง พยาบาล อาจถูกกำหนดโดยตัวบทกฎหมายและบุคลากรในโรงพยาบาล ต้องเข้าใจในบทบาทความรับผิดชอบใน กระบวนการเหล่านี้ผู้ป่วยเด็ก ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครอง นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มผู้ป่วยระยะวิกฤตและผู้ป่วยที่มีสภาวะทางด้านจิตและอารมณ์ผิดปกติด้วย การ ปกป้องคุ้มครองผู้ป่วยนอกเหนือจากการทำร้ายร่างกายแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการถูกล่วงละเมิด การกระทำ รุนแรง การถูกละเลยหรือเพิกเฉยในการให้บริการหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ (ดูFMS.4.1 และ FMS.7)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 1.5

❏ 1. โรงพยาบาลได้จัดทำกระบวนการเพื่อป้องกันผู้ป่วยจากการถูกทำร้ายร่างกายและถูกนำไปใช้

❏ 2. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ได้ถูกกำหนดเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

❏ 3. โรงพยาบาลได้กำหนดกระบวนการที่ป้องกันกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้จากเหตุการณ์ ความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ และกระบวนการดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้

❏ 4. พื้นที่ห่างไกลหรือลับตาหรือสถานที่เปลี่ยวในโรงพยาบาลได้รับการสอดส่องดูแล

❏ 5. บุคลากรเข้าใจในความรับผิดชอบของตนเองในกระบวนการปกป้องคุ้มครองผู้ป่วย

มาตรฐาน PFR.2 ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในทุกแง่มุมของการบำบัดรักษามีส่วนร่วม

ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในทุกแง่มุมของการบำบัดรักษามีส่วนร่วมในกิจกรรมและการตัดสินใจในกระบวนการดังกล่าว P

เจตจำนงของ PFR.2

ผู้ป่วยและครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา โดยการร่วมตัดสินใจ ตั้งคำถามเกี่ยวกับการรักษา หรือ การร้องขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นรวมถึงการปฏิเสธกระบวนการวินิจฉัยหรือวิธีบำบัดรักษา (ดูCOP.7, ME.5) ในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัวนั้น ข้อมูลทางด้านสถานะสุขภาพพื้นฐานซึ่งพบใน ระหว่างการประเมินจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งรวมถึงการยืนยันผลของการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาและในระหว่าง กระบวนการบำบัดรักษา ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบอกกล่าวถึงผลการรักษาที่คาดหวังไว้ในแผนรวมถึงผลที่ไม่ได้ คาดหวัง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการบำบัด เช่น เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัด ใน ระหว่างการรักษาด้วยยา หรือระหว่างการบำบัดรักษา เป็นต้น ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเหล่านี้และทราบถึงบุคคลผู้มีความรับผิดชอบ ในการแจ้งข้อมูลดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยควรมีการกำหนด ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ให้ข้อมูลทางด้านสถานะสุขภาพ การบำบัดรักษา ผลการรักษาที่คาดหวัง และ เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นต้น (ดูCOP.8.5; PFE.1; และ PFE.2)

ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจประเภทของการตัดสินใจในการบำบัดรักษาและจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้นอย่างไร แม้ว่าในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ต้องการมีส่วนร่วม ทั้งการรับทราบการยืนยันผลการวินิจฉัยหรือในการตัดสินใจใน แผนบำบัดรักษาของตัวเองเป็นการส่วนตัว แต่ผู้ป่วยต้องได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา โดยอาจผ่านทางสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือจากผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจแทนตัวผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยร้องขอความคิดเห็นจากแพทย์ท่านอื่น โรงพยาบาลจะต้องไม่ปิดกั้น พยายามห้าม หรือขัดขวางผู้ป่วยใน การ มองหาความเห็นจากแพทย์ท่านอื่น ในทางกลับกันโรงพยาบาลควรอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ที่ปรึกษา

โดยการ เสนอข้อมูลสถานะของผู้ป่วย เช่น ผลการตรวจ การวินิจฉัย หรือการบำบัดรักษาที่ได้แนะนำให้ผู้ป่วย เป็น ต้น โรงพยาบาลจะต้องไม่ปกปิดข้อมูลสุขภาพตรงนี้เมื่อผู้ป่วยร้องขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นและนโยบาย ของโรงพยาบาลจะต้องกำหนดสิทธิ์ของผู้ป่วย ในการร้องขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นโดยปราศจากความกังวล ว่าตนเองจะถูกละเลยการดูแลรักษา จากทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล

โรงพยาบาลสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกแง่มุมของการรักษา บุคลากร ใน โรงพยาบาลจะต้องได้รับการอบรมให้รับทราบถึงนโยบาย ระเบียบปฏิบัติและบทบาทของตนเองในการสนับสนุน สิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมบำบัดรักษา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR.2

❏ 1. โรงพยาบาลสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา (ดูAOP.1.8, ME.3 และ MMU.6.1, ME.4)

❏ 2. การมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา ต้องประกอบด้วยการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของ ผู้ป่วย ผลการยืนยันการวินิจฉัยต่าง ๆ และแผนการบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วย (ดูACC.2.2, ME 2 และ MMU.6.1, ME.4)

❏ 3. ผู้ป่วยได้รับการชี้แจงถึงผลลัพธ์การรักษาที่คาดวังไว้รวมถึงผลลัพธ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ไว้ (ดูACC.2.3, ME.3)

❏ 4. โรงพยาบาลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยเพื่อขอความคิดเห็นจากแพทย์ท่านอื่นโดยปราศจากความ กังวลว่าตนจะถูกละเลยการบำบัดรักษา ทั้งในและนอกโรงพยาบาล

❏ 5. ผู้ป่วยและครอบครัว ได้รับคำชี้แจงถึงสิทธิในการเข้าร่วมการตัดสินใจในการบำบัดรักษาตามที่ตนเอง คาดหวัง

❏ 6. บุคลากรในโรงพยาบาลได้รับการอบรมถึงนโยบาย ระเบียบปฏิบัติและบทบาทของตนเองในการ สนับสนุน ให้ผู้ป่วย และครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา

มาตรฐาน PFR.2.1

โรงพยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติในเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบในการปฏิเสธหรือยุติการบำบัดรักษา การ ระงับบริการฟื้นคืนชีพหรือการยุติการรักษาเพื่อยืดชีวิต P

เจตจำนงของ PFR.2.1

ผู้ป่วยหรือผู้แทนที่มีสิทธิ์ตัดสินใจแทนตัวผู้ป่วยอาจตัดสินใจไม่ดำเนินกิจกรรมตามแผนการรักษาหรือยุติการบำบัด รักษาหลังจากได้เริ่มต้นการรักษาไปแล้ว ความลำบากในการตัดสินใจอย่างหนึ่งคือการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องกับการ ปฏิเสธหรือการถอดถอนการบำบัดรักษาที่เกี่ยวกับการระงับบริการกู้ชีพหรือการละเว้นหรือยุติการรักษาเพื่อยืด ชีวิต การตัดสินใจในกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นการสร้างความลำบากใจเฉพาะผู้ป่วยและครอบครัวเท่านั้น หากแต่ยัง สร้างความยากลำบากในการตัดสินใจให้แก่บุคลากรในโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ไม่มีกระบวนหนึ่งกระบวนการใด ที่ สามารถคาดหมายถึงผลลัพธ์ของสถานการณ์ที่ต้องการการตัดสินใจได้ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาล จะต้องกำหนดกรอบประพฤติปฏิบัติสำหรับใช้ในสถานการณ์การตัดสินใจที่ยากลำบาก โดยกรอบนี้ • เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถระบุจุดยืนของตนเองเมื่อเกิดเหตุการณ์ • เพื่อให้มั่นใจว่าจุดยืนของโรงพยาบาลสอดคล้องกับ ความเชื่อ ศาสนา และธรรมเนียมปฏิบัติของคนใน ชุมชน และ สอดคล้องกับข้อกำหนดของตัวบทกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่การกู้ชีพของผู้ป่วยที่กำหนดโดยตัวกฎหมายไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย; • กำหนดสถานการณ์ที่การตัดสินใจของผู้ป่วยมีผลต่อการปรับเปลี่ยนการบำบัดรักษา • เป็นแนวทางให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลยึดถือปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วย โดยไม่ ขัด ต่อจริยธรรม และกฎหมาย

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการตัดสินใจ ได้ถูกนำไปดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย โรงพยาบาลจึงต้องกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติซึ่งต้องอาศัยความเห็นจากผู้มีประสบการณ์หลาย ๆ ด้านมา ร่วมอยู่ตลอดกระบวนการ ทั้งนี้นโยบายและระเบียบปฏิบัติต้องระบุขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบรวมถึงแนว ทางการบันทึกกระบวนการดังกล่าวลงในเวชระเบียนผู้ป่วย

โรงพยาบาลได้ชี้แจงผู้ป่วยและครอบครัวถึงสิทธิในการตัดสินใจในเหตุการณ์เหล่านี้และผลที่จะตามมาหลังจากการ ตัดสินใจรวมถึงภาระความรับผิดชอบของโรงพยาบาล ที่เกิดขึ้นต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยและ ครอบครัวได้รับคำชี้แจงถึงทางเลือกอื่น ๆ ของการบำบัดรักษา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 2.1

❏ 1. โรงพยาบาลได้กำหนดจุดยืนในการระงับบริการฟื้นคืนชีพและการยุติการรักษาเพื่อยืดชีวิต

❏ 2. จุดยืนของโรงพยาบาลต้องสอดคล้องกับความเชื่อ ศาสนา และธรรมเนียมปฏิบัติของคนในชุมชนและ สอดคล้องกับข้อกำหนดของตัวบทกฎหมาย

❏ 3. โรงพยาบาลได้ให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวถึงสิทธิในการปฏิเสธหรือระงับการบำบัดรักษาและความ รับผิดชอบของโรงพยาบาลที่สืบเนื่องมาจากผลการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัว

❏ 4. โรงพยาบาลได้ให้ข้อมูลผู้ป่วยถึงผลที่จะตามมาหลังการตัดสินใจ

❏ 5. โรงพยาบาลได้ให้ข้อมูลผู้ป่วยถึงทางเลือกอื่น ๆ ของการบำบัดรักษา

❏ 6. โรงพยาบาลได้กำหนดแนวทางสำหรับบุคลากรในการดำเนินการอย่างมีจริยธรรมและเป็นไปตาม กฎหมายโดยสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ป่วยรวมถึงทางเลือกของการบำบัดรักษา

มาตรฐาน PFR.2.2

โรงพยาบาลส่งเสริมสิทธิของผู้ป่วยเพื่อประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดรวมถึงตระหนักในการบำบัดรักษา ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอย่างเอื้ออาทร

เจตจำนงของ PFR.2.2

อาการปวดเป็นส่วนหนึ่งในประสบการณ์เจ็บป่วยของผู้ป่วยและอาการปวดที่ไม่ได้รับการบำบัดส่งผลเสียต่อสุขภาพ กายและจิตใจ การสนองตอบต่ออาการปวดในผู้ป่วยนั้น มักขึ้นอยู่กับบริบท บรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม และ ความเชื่อทางศาสนา อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรได้รับการสนับสนุนให้แจ้งถึงอาการปวดของตนเอง

ผู้ป่วยวาระสุดท้ายมีลักษณะเฉพาะของความต้องการและมักได้อิทธิพลมาจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และ ศาสนา การคำนึงถึงขวัญกำลังใจและเกียรติของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ช่วยชี้นำให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยในระยะ สุดท้ายของชีวิตเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้บุคลากรต้องตระหนักถึงความต้องการเฉพาะ ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โดยความต้องการนี้หมายถึงการบำบัดรักษาอาการหลักและอาการที่ตามมา การจัดการกับความเจ็บปวด, การสนองตอบต่อความต้องการด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ศาสนา และวัฒนธรรม รวมไปถึงการมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจบำบัดรักษา

กระบวนการบำบัดรักษาของโรงพยาบาลจะเป็นที่ยอมรับและสะท้อนถึงสิทธิของผู้ป่วยในการประเมินและจัดการ กับการอาการปวดและรวมถึงการประเมินและการจัดการกับความต้องการเฉพาะของผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ด COP.6 และ COP.7 ME.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 2.2

❏ 1. โรงพยาบาลให้ความเคารพและสนับสนุนสิทธิของผู้ป่วยในการประเมินและการจัดการกับความปวด

❏ 2. โรงพยาบาลให้ความเคารพและสนับสนุนสิทธิของผู้ป่วยในการประเมินและการจัดการกับความต้องการ ของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

❏ 3. บุคลากรในโรงพยาบาลเข้าใจถึงลักษณะของผู้ป่วย วัฒนธรรม และสังคมที่มีอิทธิพลต่อผู้ป่วยที่กำลัง ประสบกับภาวะปวด

❏ 4. บุคลากรในโรงพยาบาลเข้าใจถึงลักษณะของผู้ป่วย วัฒนธรรม และสังคมที่มีอิทธิพลต่อผู้ป่วยที่กำลัง ประสบกับระยะสุดท้ายหรือกำลังจะเสียชีวิต

มาตรฐาน PFR.3 ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเรื่องแนวทางรับเรื่องร้องเรียนและแนวทางปฏิบัติหลังจากที่ โรงพยาบาลได้รับคำร้องเรียน ข้อขัดแย้ง

โรงพยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเรื่องแนวทางรับเรื่องร้องเรียนและแนวทางปฏิบัติหลังจากที่ โรงพยาบาลได้รับคำร้องเรียน ข้อขัดแย้ง หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันในแนวทางบำบัดรักษาและสิทธิผู้ป่วยที่จะ มีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว P

เจตจำนงขอ PFR.3

ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะร้องเรียนทางวาจาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและข้อร้องเรียนนั้นควรถูกทบทวนอย่าง เหมาะสมและได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงเช่นเดียวกับการตัดสินใจในการบำบัดรักษา ซึ่งบางครั้งอาจก่อให้เกิดคำถาม เกิดขึ้น เกิดข้อขัดแย้ง หรือภาวะที่ยากต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ระหว่างโรงพยาบาล ผู้ป่วย และครอบครัว หรือ ผู้เกี่ยวข้องซึ่งภาวะเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กระบวนการเข้าถึงการรักษา ระหว่างการรักษา หรือหลังจากผู้ป่วยถูก จำหน่ายจากโรงพยาบาล บางครั้งเหตุการณ์เหล่านี้อาจแก้ไขได้ค่อนข้างลำบากเมื่อเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น การขอให้ยุติบริการฟื้นคืนชีพ หรือระงับการบำบัดรักษาเพื่อยืดชีวิต เป็นต้น

โรงพยาบาลได้กำหนดกระบวนการที่จะพยายามหาทางออกให้กับปัญหาข้อขัดแย้งหรือข้อร้องเรียน (ดูAPR.11) โรงพยาบาลกำหนดในนโยบายและระเบียบปฏิบัติถึงผู้ที่จำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้รวมถึงผู้ป่วย และครอบครัวจะเข้ามามีส่วนในกระบวนการนี้อย่างไร (ดูSQE.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 3

❏ 1. ผู้ป่วยได้รับการชี้แจงเรื่องกระบวนการ การแจ้งข้อร้องเรียน ข้อขัดแย้ง หรือความคิดเห็นที่แตกต่าง

❏ 2. ข้อร้องเรียน ข้อขัดแย้ง และข้อคิดเห็นที่แตกต่าง ได้รับการตรวจสอบจากโรงพยาบาล

❏ 3. ข้อร้องเรียน ข้อขัดแย้ง และข้อคิดเห็นที่แตกต่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการ แก้ไขให้ลุล่วง

❏ 4. ผู้ป่วย ครอบครัว เข้ามามีส่วนในกระบวนการแก้ไขปัญหา

มาตรฐาน PFR.4 ผู้ป่วยทุกรายได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความรับผิดชอบของตนเอง

ผู้ป่วยทุกรายได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความรับผิดชอบของตนเองด้วยวิธีการและภาษาที่ผู้ป่วยสามารถ เข้าใจได้

เจตจำนงขอ PFR.4

การรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในหรือการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกสำหรับบำบัดรักษาในโรงพยาบาล อาจสร้างความ ตระหนกและสับสนให้แก่ผู้ป่วย สร้างความลำบากในการแสดงสิทธิ์การรักษาและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วย ในกระบวนการบำบัดรักษา ดังนั้นโรงพยาบาลต้องเตรียมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือคำแถลงถึงสิทธิและ หน้าที่ของผู้ป่วยและครอบครัวให้พร้อม เพื่อนำเสนอหรือชี้แจงให้ผู้ป่วยรับทราบ เมื่อถูกรับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือขึ้น ทะเบียนผู้ป่วยนอก และเอกสารนี้ต้องสามารถถูกเรียกดูได้ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาใช้บริการ หรือตลอดระยะเวลาที่พัก รักษาตัว ตัวอย่างเช่น คำประกาศสิทธิผู้ป่วยอาจติดแสดงไว้ในสถานพยาบาล เอกสารดังกล่าวควรเหมาะสมกับ อายุของผู้ป่วย ภาษาของผู้ป่วยและความเข้าใจของผู้ป่วย ในกรณีที่เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่มี ประสิทธิภาพหรือไม่เหมาะสม ผู้ป่วยและครอบครัวจะต้องได้รับการบอกกล่าว ชี้แจง ข้อมูลของสิทธิและความ รับผิดชอบของผู้ป่วย ด้วยภาษาหรือวิธีการที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 4

❏ 1. ข้อมูลสิทธิและความรับผิดชอบของผู้ป่วยถูกนำเสนอให้แก่ผู้ป่วยด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ (ดู MOI.4, ME.5)

❏ 2. ข้อมูลสิทธิและความรับผิดชอบของผู้ป่วยถูกนำเสนอในรูปแบบเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือ วิธีการใด ๆ ที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้

❏ 3. เอกสารที่ระบุถึงสิทธิและความรับผิดชอบของผู้ป่วยได้ถูกปิดประกาศหรือมิฉะนั้นจะต้องเข้าถึงได้โดย บุคลากรตลอดเวลา

การขอคำยินยอมทั่วไป

มาตรฐาน PFR.5

การให้คำยินยอมทั่วไปเพื่อการบำบัดรักษาทั้งกรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือเมื่อได้รับลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกครั้ง แรกมีความชัดเจนในขอบเขตของการบำบัดรักษารวมถึงข้อจำกัดè เจตจำนงของ PFR.5 มีโรงพยาบาลจำนวนไม่น้อยที่ได้ขอรับความยินยอมทั่วไปจากผู้ป่วย (มากกว่าการยินยอมจากการบอกกล่าว) เพื่อ การบำบัดรักษา เมื่อผู้ป่วยถูกรับไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือเมื่อผู้ป่วยได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกในครั้งแรก ในกรณีที่การขอคำยินยอมทั่วไปถูกใช้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลหรือชี้แจงถึงขอบเขตของคำยินยอมทั่วไป เช่น การตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาใดที่อยู่ภายใต้คำยินยอมทั่วไปนี้และโรงพยาบาลได้กำหนดวิธีการที่จะบันทึก คำยินยอมทั่วไปนี้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย และไม่ว่าโรงพยาบาลจะได้รับความยินยอมทั่วไปจากผู้ป่วยหรือไม่ ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการชี้แจง ถึงการตรวจวิเคราะห์และวิธีการบำบัดรักษาซึ่งจะต้องขอความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว แยกต่างหาก ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยต้องรับทราบว่าในกระบวนการบำบัดรักษา อาจมีนักศึกษา เช่น นักศึกษาพยาบาล นักศึกษากิจกรรมบำบัด หรือนักศึกษาแพทย์หรือนักศึกษาฝึกงาน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม บำบัดรักษาผู้ป่วยด้วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 5

❏ 1. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการชี้แจงถึงขอบเขตของคำยินยอมทั่วไปเมื่อถูกนำมาใช้โดยโรงพยาบาล

❏ 2. โรงพยาบาล กำหนดวิธีการบันทึกการขอคำยินยอมทั่วไปลงในเวชระเบียนของผู้ป่วยเมื่อถูกนำมาใช้

❏ 3. ไม่ว่าจะได้รับคำยินยอมทั่วไปหรือไม่ ผู้ป่วยและครอบครัวต้องได้รับการชี้แจงถึงการตรวจวิเคราะห์และ การบำบัดรักษา ซึ่งต้องใช้การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว (ดูPFR.5.1)

❏ 4. ไม่ว่าจะได้รับคำยินยอมทั่วไปหรือไม่ ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการชี้แจงว่าอาจมีนักศึกษาหรือนักศึกษา ฝึกงานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา

การขอคำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว

มาตรฐาน PFR.5.1

ผู้ป่วยให้คำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวผ่านกระบวนการซึ่งถูกกำหนดโดยโรงพยาบาลและถูกดำเนินการโดย บุคลากรที่ผ่านการอบรมด้วยวิธีการและภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ P

เจตจำนงของ PFR.5.1

หนึ่งในหนทางที่จะทำให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบำบัดรักษาคือการให้คำยินยอมผ่านการบอกกล่าว โดย การให้ความยินยอมนั้น ผู้ป่วยต้องได้รับการชี้แจงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับแผนการรักษาซึ่งต้องบอกกล่าวก่อน การตัดสินใจ การขอคำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ จุดของกระบวนการรักษา ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยให้คำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวเมื่อถูกรับเข้าเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลและก่อนเริ่มทำ หัตถการ หรือการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง โดยกระบวนการขอความยินยอมนั้นจะถูกระบุไว้ชัดเจนในนโยบายและ ระเบียบปฏิบัติซึ่งกำหนดโดยโรงพยาบาล (ดูGLD.17, ME.4) โดยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้ ถูกนำมาเชื่อมโยงประสานกันในนโยบาย และระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล

ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการชี้แจงถึงชนิดของการตรวจวิเคราะห์หัตถการและการรักษาใด ๆ ที่ต้องขอความ ยินยอมและวิธีการขอความยินยอมจากผู้ป่วย (ยกตัวอย่าง เช่น ให้คำยินยอมทางวาจา, การลงชื่อในเอกสารขอ ความยินยอม, หรือผ่านวิธีการอื่น ๆ) การให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวโดยบุคลากรในโรงพยาบาลอาจเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการขอคำยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัด หรือการระงับความรู้สึก) ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจถึงผู้ให้ความยินยอม นอกเหนือจากตัวผู้ป่วยบุคลากรผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ขอความ ยินยอมจากผู้ป่วย ต้องได้รับการอบรมเรื่องการให้ข้อมูลเพื่อขอความยินยอม และการบันทึกคำยินยอมของผู้ป่วย (ดูPFR.5 ME.3 และ GLD.18)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 5.1

❏ 1. โรงพยาบาลมีกระบวนการขอความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว ที่ชัดเจน และถูกนำไปใช้โดยบุคลากร ที่ได้รับการอบรมในกระบวนการดังกล่าว

❏ 2. ผู้ป่วยได้รับการชี้แจงถึงกระบวนการขอความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว และกรณีใดที่ต้องการความ ยินยอมจากผู้ป่วย

❏ 3. ผู้ป่วยเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการให้ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว ภายหลังจากได้รับข้อมูลด้วย วิธีการ และภาษาที่ผู้ป่วยเข้าใจ (ดูMOI.4, ME.5)

❏ 4. ผู้ป่วยให้ความยินยอมหลังจากได้รับการบอกกล่าว โดยเป็นไปตามกระบวนการ

❏ 5. มีการบันทึกการให้ความยินยอมภายหลังได้รับการบอกกล่าว ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน

❏ 6. อัตลักษณ์ของผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และครอบครัว ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

มาตรฐาน PFR.5.2

มีการขอคำยินยอมก่อนกระบวนการผ่าตัด การระงับความรู้สึก การระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ การให้เลือด และ ส่วนประกอบของเลือดรวมถึงการบำบัดรักษาด้วยวิธีการเสี่ยงสูงต่าง ๆ P

เจตจำนงของ PFR.5.2

เมื่อแผนการรักษาประกอบด้วยการผ่าตัด หรือหัตถการที่ลุกล้ำ การระงับความรู้สึก การระงับประสาทเพื่อทำ หัตถการ การให้เลือดและองค์ประกอบของเลือดหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีการเสี่ยงสูงต้องมีการขอความยินยอม ที่แยกเป็นการเฉพาะหัตถการ (ดูCOP.3, ASC.3, ASC.3.3, ASC.5.1 และ ASC.7.1) โดยกระบวนการขอความ ยินยอมนี้มีเนื้อหาที่ถูกระบุอยู่ในมาตรฐาน PFR. 5.3 และอัตลักษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสารสนเทศได้ถูกบันทึกไว้ในเวช ระเบียน ของผู้ป่วย (ดูCOP.8.5 และ COP.9.1)

ไม่ใช่ทุกการบำบัดรักษาหรือทุกหัตถการจะต้องการคำยินยอมที่แยกเป็นการเฉพาะ โดยในแต่ละโรงพยาบาลจะ เป็นผู้กำหนดหัตถการเสี่ยงสูงหรือชนิดของการบำบัดรักษาที่จำเป็นต้องขอความยินยอม (ดูCOP.3 และ GLD.7) โรงพยาบาลต้องจัดทำรายการหัตถการเสี่ยงสูงหรือชนิดของการบำบัดรักษาที่ต้องขอความยินยอมและอบรมให้ ความรู้แก่บุคลากร เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการขอความยินยอมนั้นจะถูกนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รายการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างแพทย์หรือบุคลากรที่เป็นผู้ทำหัตถการหรือให้การบำบัดรักษา และประกอบด้วยหัตถการที่กระทำแก่ผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 5.2

❏ 1. มีการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดหรือก่อนทำหัตถการลุกล้ำ

❏ 2. มีการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกหรือการระงับประสาทก่อนทำหัตถการ

❏ 3. มีการขอความยินยอมก่อนการให้เลือดและผลิตภัณฑ์องค์ประกอบของเลือด (ดูCOP.3.3)

❏ 4. โรงพยาบาลมีรายการของหัตการ หรือชนิดของการบำบัดรักษาอื่น ๆ ที่ต้องการคำยินยอมจากผู้ป่วยที่ แยกเป็นการเฉพาะ

❏ 5. มีการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนเริ่มหัตการหรือชนิดของการบำบัดรักษาอื่น ๆ และ/หรือที่มีความ เสี่ยงสูง

มาตรฐาน PFR.5.3

ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอถึงสภาวะของผู้ป่วย แนวทางการบำบัดรักษาหรือ หัตถการที่คาดหวัง บุคลากรที่เป็นผู้บำบัดรักษา เพื่อให้ความยินยอมและตัดสินใจดำเนินกิจกรรมบำบัดรักษา

เจตจำนงของ PFR. 5.3

เมื่อการขอความยินยอมหลังจากการบอกกล่าวแก่ผู้ป่วย มีความจำเป็นก่อนเริ่มทำการบำบัดรักษาหรือก่อนเริ่ม ทำ หัตถการ องค์ประกอบดังที่ระบุด้านล่างนี้จะต้องถูกระบุในกระบวนการขอความยินยอม และต้องถูกอธิบาย ก่อนขอ ความยินยอมจากผู้ป่วย a) สภาวะ หรืออาการของผู้ป่วย b) การบำบัดรักษา หรือหัตถการที่จะเกิดขึ้น c) ชื่อของบุคคลที่เป็นผู้ให้การบำบัดรักษา d) ประโยชน์และผลเสียที่อาจเกิดขึ้น e) ทางเลือกการรักษาอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ f) โอกาสประสบความสำเร็จ g) ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการฟื้นตัว h) ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษา (ดูPFR.5.2)

เมื่อการขอความยินยอมหลังได้รับการบอกกล่าวมีความจำเป็นก่อนทำหัตถการใด ๆ ก็ตามบุคลากรจะต้องอธิบาย รายละเอียดของการบำบัดรักษาหรือหัตถการที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนแก่ผู้ป่วยและครอบครัวทราบโดยรายละเอียด ต้องครอบคลุมองค์ประกอบ a) ถึง h) และสัมพันธ์กับสภาวะหรืออาการของผู้ป่วยและแผนการรักษา

บุคลากรต้องชี้แจ้งผู้ป่วยถึงชื่อของแพทย์หรือผู้ให้การบำบัดรักษาผู้ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในแผนการรักษาหรือผู้ ที่ได้รับสิทธิ์ในการบำบัดรักษาหรือทำหัตถการให้กับผู้ป่วย โดยปกติผู้ป่วยมักจะมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับ ผู้รับผิดชอบหลักในแผนการรักษา เช่น ประสบการณ์การรักษา ระยะเวลาที่ทำงานในโรงพยาบาล เป็นต้น โรงพยาบาลจำเป็นต้องมีกระบวนการที่ตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้ป่วยร้องขอเพิ่มเติม ซึ่งเกี่ยวกับแพทย์หรือผู้ให้การ บำบัดรักษา ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลของตน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 5.3

❏ 1. ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลองค์ประกอบ a) ถึง h) ที่ระบุในเจตจำนงของมาตรฐานโดยเป็นส่วนหนึ่งใน กระบวนการขอความยินยอมในหัตถการ หรือชนิดของการบำบัดรักษาที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย (ดูPFE.2)

❏ 2. ในกรณีที่การขอความยินยอมหลังจากได้รับการบอกกล่าวมีความจำเป็นผู้ป่วยจะต้องได้รับการชี้แจง รายละเอียดขององค์ประกอบ a) – h) ที่ระบุในเจตจำนงของมาตรฐานมีความสอดคล้องกับสภาวะหรือ อาการของผู้ป่วย และแผนการบำบัดรักษาหรือหัตถการ (ดูASC.3.3, ME.1; ASC.5.1, ME.1; และ ASC.7.1, ME.1 และ 2)

❏ 3. ผู้ป่วยรับทราบอัตลักษณ์ของแพทย์หรือผู้ให้การบำบัดรักษาที่มีส่วนรับผิดชอบในแผนการรักษา

❏ 4. โรงพยาบาลมีกระบวนตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้ป่วยร้องขอเพิ่มเติม ซึ่งเกี่ยวข้องกับแพทย์หรือผู้ให้การ บำบัดรักษาซึ่งมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลของตน

มาตรฐาน PFR.5.4

โรงพยาบาลได้กำหนดกระบวนการระบุผู้ที่สามารถให้คำยินยอมแทนผู้ป่วยสอดคล้องตามระเบียบข้อบังคับทาง กฎหมาย วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม

เจตจำนงของ PFR. 5.4

การขอความยินยอมหลังได้รับการบอกกล่าว ในบางเวลาอาจจำเป็นต้องมีผู้ร่วมตัดสินใจในการบำบัดรักษา นอกเหนือจากตัวผู้ป่วยซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในกรณีที่ผู้ป่วยมีสภาวะทางด้านจิตใจหรือทางด้านร่างกายที่ไม่ปกติและไม่ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ในทางวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมอาจต้องการให้มีผู้ที่ช่วยตัดสินใจเพื่อการ บำบัดรักษาหรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำการตัดสินใจในการรักษาได้ด้วยตนเอง จะต้องกำหนดผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยและเมื่อมีการให้คำยินยอมแทนตัวผู้ป่วย ผู้ให้คำยินยอมจะต้องถูก บันทึกลงในเวชระเบียนผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR. 5.4

❏ 1. โรงพยาบาลมีกระบวนการกำหนดว่ากรณีใดที่อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถให้คำยินยอมแทนตัวผู้ป่วยได้และ กระบวนการดังกล่าวถูกนำไปใช้

❏ 2. กระบวนการดังกล่าวสอดคล้องตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม

❏ 3. ผู้ให้ความยินยอมนอกเหนือจากตัวผู้ป่วยต้องถูกระบุไว้ในเวชระเบียน

การบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ

หมายเหตุ:

มาตรฐานต่อไปนี้จะถูกนำไปใช้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ เกิดขึ้นแต่ในระหว่างเวลานั้น ผู้ป่วยอาจมีการร้องขอข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ และ/หรืออาจมี การบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเกิดขึ้น เมื่อมีการบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ, มีการประยุกต์ใช้มาตรฐาน สำหรับแผนงานการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ (ที่พบใน COP.8 จนถึง COP.9.3).

มาตรฐาน PFR.6

โรงพยาบาลให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวเรื่องการพิจารณาบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่น ๆ

มาตรฐาน PFR.6.1 โรงพยาบาลมีการกำกับดูแลกระบวนการจัดหาและบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ P

เจตจำนงของ PFR.6 และ PFR.6.1

จากสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคเพื่อการปลูกถ่ายเป็นตัวกระตุ้นให้ในหลายประเทศปรับปรุง กระบวนการและระบบสรรหาอวัยวะเพื่อรองรับการปลูกถ่าย ในบางประเทศมีกฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคน เป็นผู้บริจาคอวัยวะ ยกเว้นว่าต้องการจะระบุเป็นอย่างอื่น (โดยต้องถือสิทธิ์ขอคำยินยอม) ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ การบริจาคอวัยวะจะต้องมีการระบุความยินยอมหรือแสดงความจำนงที่ชัดเจน โรงพยาบาลมีความรับผิดชอบต่อ การกำหนดกระบวนการขอความยินยอมและการบันทึกความยินยอมของผู้บริจาค เซลล์เนื้อเยื่อ หรืออวัยะ ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมในระดับนานาชาติและกระบวนการสรรหาอวัยวะของหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบภายในประเทศนั้น ๆ โรงพยาบาลมีความรับผิดชอบที่จะรับประกันว่ามีมาตรการควบคุมที่เพียงพอใน หน่วยงานเพื่อป้องกันปัญหาผู้ป่วยรู้สึกถูกบีบบังคับให้บริจาคอวัยวะ

โรงพยาบาลให้การสนับสนุนทางเลือกแก่ผู้ป่วย และครอบครัวเพื่อบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่น ๆ สำหรับงาน ค้นคว้าวิจัยหรือเพื่อการปลูกถ่าย ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวได้ถูกสื่อสารแก่ผู้ป่วยและครอบครัวผ่านกระบวนการ การบริจาคอวัยวะและวิธีการของหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบสรรหาอวัยวะในชุมชน ภูมิภาค หรือในระดับประเทศ (เช่น หน่วยงานหรือเครือข่ายรับบริจาคอวัยวะในระดับภูมิภาคหรือประเทศ)

การขาดแคลนอวัยวะสำหรับการปลูกถ่ายทำให้เกิดการความสงสัยในทางปฏิบัติเรื่องการสรรหาและการปลูกถ่าย อวัยวะ โดยทางปฏิบัตินี้รวมถึงกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาส (เช่น ผู้ไม่รู้หนังสือ ผู้มีฐานะยากจนข้นแค้น ผู้อพยพที่ขาด เอกสาร รับรอง, นักโทษ หรือผู้ลี้ภัยทางเศรษฐกิจ) ต้องกลายมาเป็นผู้บริจาคอวัยวะที่ยังมีชีวิตหรือร่วมขบวน การค้ามนุษย์ (การรับซื้อหรือการขายอวัยวะของมนุษย์ในตลาดมืด) การเก็บเกี่ยวอวัยวะของมนุษย์โดยปราศจาก การให้ความยินยอมก่อนจากนักโทษประหารหรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตและนักท่องเที่ยวเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะได้รับการ ปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่มีหลักประกันแน่นอนถึงความภัยของอวัยวะผู้บริจาค และตัวผู้รับบริจาคอวัยวะเอง การกำกับดูแลกระบวนการสรรหาอวัยวะและเนื้อเยื่อบริจาคนั้น ต้องสอดคล้องและเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ ของกฎหมาย มีความเคารพในความเชื่อ ศรัทธาของคนในชุมชนและค่านิยมทางวัฒนธรรม เน้นย้ำหลักการปฏิบัติ ตามจริยธรรมและระบุถึงความจำเป็นในการร้องขอความยินยอมจากผู้ป่วย บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับการ อบรมเรื่องกระบวนการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ โดยเน้นการสนับสนุนทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวและยัง ควรได้รับการอบรมให้คำนึงถึงไปพร้อม ๆ กับปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการบริจาคอวัยวะและความพร้อมของการปลูก ถ่าย โรงพยาบาลมีการประสานความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ หรือหน่วยงานในชุมชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สรรหาอวัยวะ การเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย และการปลูกถ่ายอวัยวะ (ดูCOP.9)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR.6

1. โรงพยาบาลมีส่วนสนับสนุนผู้ป่วย และครอบครัวถึงทางเลือกในการบริจาคอวัยวะ และเนื้อเยื่อ

2. โรงพยาบาลเสนอข้อมูล สารสนเทศแก่ผู้ป่วย และครอบครัวถึงกระบวนการบริจาคอวัยวะ

3. โรงพยาบาลเสนอข้อมูล สารสนเทศแก่ผู้ป่วย และครอบครัวถึงวิธีการบริหารจัดการ การสรรหาอวัยวะ

4. โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจในมาตรการควบคุมที่เพียงพอ ในสถานพยาบาล เพื่อปกป้องผู้ป่วยจากความ รู้สึกถูกบีบบังคับให้บริจาคอวัยวะ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFR.6.1

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดกระบวนการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อและให้การรับประกันว่ากระบวนการดังกล่าว สอดคล้องหรือเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย ความเชื่อทางศาสนา และค่านิยมทาง วัฒนธรรม

❏ 2. โรงพยาบาลระบุความประสงค์ในการขอคำยินยอมและพัฒนากระบวนการขอคำยินยอมที่สอดคล้องกับ ความประสงค์ดังกล่าว

❏ 3. บุคลากรได้รับการอบรมเรื่องข้อกังวลเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะและความพร้อมในการปลูกถ่าย

❏ 4. โรงพยาบาลได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในชุมชนให้ความเคารพ และนำการตัดสินใจบริจาคอวัยวะไปปฏิบัติ