4 การบริหารจัดการอาคารสถานที่และ ความปลอดภัย (FMS)

ภาพรวม

องค์กรด้านการดูแลสุขภาพพยายามทำเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ใช้งานได้ดีและอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ป่วยครอบครัว บุคลากร และผู้ที่เข้ามาในสถานที่นั้น การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ตัวอาคารสถานที่ เครื่องมือ แพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ รวมถึงคน จะต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการจัดการนั้นจะต้องมุ่งมั่นที่จะ

• ลดและควบคุมอันตรายและความเสี่ยง

• ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ และ

• รักษาสภาพที่มีความปลอดภัย

การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะต้องรวมถึงการวางแผนสหสาขาวิชาชีพ, การศึกษา, และการตรวจสอบดังนี้

• ผู้นำวางแผนพื้นที่ อุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อที่จะสนับสนุนการให้บริการทางคลินิกได้อย่าง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

• บุคลากรทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับอาคารสถานที่ วิธีลดความเสี่ยง และวิธีการเฝ้าระวังและรายงาน สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

• เกณฑ์การปฏิบัติงานถูกนำมาใช้ในการประเมินระบบที่สำคัญและเพื่อระบุความจำเป็นในการปรับปรุง

มีการพัฒนาแผนงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรโดยครอบคลุมทั้ง 6 เรื่องดังต่อไปนี้(เมื่อเหมาะสมต่อองค์กรและ กิจกรรมขององค์กรนั้น)

1. ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย

i. ความปลอดภัย - ระดับที่อาคารสถานที่ บริเวณที่กำลังก่อสร้าง บริเวณโดยรอบอาคาร และ เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ทำให้เกิดอันตรายและความเสี่ยงต่อผู้ป่วย บุคลากร และผู้ที่เข้ามาในบริเวณนั้นๆ

ii. การรักษาความปลอดภัย – การป้องกันการสูญหาย ถูกทำลาย หรือการเข้าถึงโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาติ

2. วัตถุอันตราย – มีการควบคุมการสัมผ้ส การจัดเก็บ และการใช้สารกัมมันตรังสีและวัตถุอันตรายอื่น ๆ และการกำจัดของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย

3. การจัดการภาวะฉุกเฉิน – มีการระบุถึงความเสี่ยง มีการวางแผนตอบสนองต่อโรคระบาด ภัยพิบัติและ ภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิผล รวมถึงการประเมินความสมบูรณ์ของโครงสร้างของสภาพแวดล้อมที่ใช้ใน การดูแลผู้ป่วย

4. ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย – มีการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการป้องกันทรัพย์สินและผู้ พำนักอาศัยจากอัคคีภัยและควันไฟ

5. เครื่องมือแพทย์– มีการคัดเลือก บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือแพทย์ในลักษณะที่มีความเสี่ยงน้อย ที่สุด

6. ระบบสาธารณูปโภค – มีการบำรุงรักษาระบบ ไฟฟ้า ประปา และระบบอื่น ๆเพื่อลดความเสี่ยงต่อการล่ม ของระบบให้เหลือน้อยที่สุด

เมื่อองค์การมีกิจการที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลอยู่ในอาคารดูแลผู้ป่วยที่จะได้รับการเยี่ยมสำรวจ (เช่น ร้านกาแฟหรือร้านของขวัญที่มีเจ้าของอิสระ) องค์กรจะต้องทำให้มั่นใจว่ากิจการอิสระเหล่านี้ปฏิบัติตามแผนงาน บริหารอาคารและความปลอดภัยต่อไปนี้

• แผนความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

• แผนวัตถุอันตราย

• แผนกจัดการภาวะฉุกเฉิน

• แผนกความปลอดภัยทางด้านอัคคีภัย

กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และการตรวจสอบโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ในพื้นที่ เป็นตัวกำหนดสำคัญว่าอาคารสถานที่ จะได้รับการออกแบบ ใช้และบำรุงรักษาอย่างไร ทุกองค์กรไม่ว่าจะมีขนาดและทรัพยากรเท่าไร จะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดเหล่านี้โดยถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือน

องค์กรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ รวมถึงกฎระเบียบควบคุมอาคาร องค์กรมีความรู้มากขึ้น เกี่ยงกับรายละเอียดของอาคารสถานที่ ๆ ใช้งานอยู่ โดยการทำการสำรวจพื้นที่ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ องค์กรมี การเก็บข้อมูลในเชิงรุก ปฏิบัติตามกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง และยกระดับสภาพแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย

หมายเหตุในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

การนำและการวางแผน

FMS.1 องค์กรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร สถานที่

FMS.2 องค์กรจัดทำและธำรงไว้ซึ่งแผนงานเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายถึงกระบวนการจัดการความเสี่ยงต่อผู้ป่วย ครอบครัว ผู้มาเยือน และบุคลากรè P

FMS.3 มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างน้อยหนึ่งคน ทำหน้าที่กำกับดูแลการวางแผนแผนงานเพื่อลดและ จัดการความเสี่ยงในสิ่งแวดล้อมของการดูแล และนำสู่การปฏิบัต

ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ

FMS.4 องค์กรวางแผนแผนงานเพื่อจัดให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีสวัสดิภาพ โดยการตรวจสอบ และการ วางแผนเพื่อลดความเสี่ยง และนำแผนสู่การปฏิบัติè P

FMS.4.1 องค์กรวางแผนแผนงานเพื่อจัดให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือนè P

FMS.4.2 องค์กรวางแผนและจัดงบประมาณสำหรับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนทดแทนระบบ อาคาร หรือ องค์ประกอบสำคัญ ตามผลการตรวจสอบอาคารสถานที่ และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับ

FMS.4.2.1 เมื่อทำการวางแผนสำหรับการรื้อถอน การก่อสร้าง หรือการปรับปรุงพื้นที่ องค์กรมี การประเมินความเสี่ยงก่อนการก่อสร้างè P

วัตถุอันตราย

FMS.5 องค์กรมีแผนสำหรับทำบัญชีรายการ การหยิบสัมผัส การจัดเก็บ และการใช้วัตถุอันตรายและของเสีย อันตรายè P

FMS.5.1 องค์กรมีแผนสำหรับการควบคุม และกำจัดวัตถุและของเสียอันตรายè P

การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ

FMS.6 องค์กรจัดทำ ธำรงไว้และทดสอบการตอบสนองซึ่งแผนงานและแผนการบริหารในภาวะฉุกเฉิน เพื่อ ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน โรคระบาด ภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติอื่น ๆ ที่มีโอกาสเกิดในชุมชนè P

ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย

FMS.7 องค์กรวางแผนแผนงานเพื่อการป้องกัน การตรวจจับแต่เริ่มแรก การปราบปราม การดับเพลิง และการมี ทางออกที่ปลอดภัย เพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินจากอัคคีภัยหรือภาวะฉุกเฉินอื่น ๆè P

FMS.7.1 องค์กรทดสอบแผนความปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงทดสอบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับและดับเพลิงแต่แรกเริ่ม และบันทึกผลè P

FMS.7.2 แผนเพื่อความปลอดภัยทางอัคคีภัยรวมถึงการจํากัดการสูบบุหรี่ของบุคลากรและผู้ป่วย ให้อยู่ ในพื้นที่ที่จัดไว้นอกบริเวณดูแลผู้ป่วย และนำสู่การปฏิบัติè P

เครื่องมือแพทย์

FMS.8 องค์กรวางแผนแผนงานสำหรับการตรวจสอบ การทดสอบ และการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์นำสู่การ ปฏิบัติและบันทึกผลè

FMS.8.1 องค์กรมีระบบเรียกกลับผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่มีการแจ้งเตือน เรียกคืน แจ้งเหตุอุบัติการณ์ ปัญหาและการล้มเหลวè

ระบบสาธารณูปโภค

FMS.9 องค์กรวางแผนแผนงานและนำสู่การปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดสามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

FMS.9.1 ระบบสาธารณูปโภคได้รับการตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุง

FMS.9.2 แผนงานระบบสาธารณูปโภคขององค์กรทำให้มั่นใจได้ว่ามีน้ำสะอาดและพลังงานไฟฟ้าใช้ ตลอดเวลา และทำให้สามารถใช้น้ำและไฟฟ้าจากแหล่งสำรองได้ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง ปนเปื้อน หรือล้มเหลวของแหล่งปรกติ

FMS.9.3 กำหนดให้มีบุคคลหรือผู้มีอำนาจตรวจสอบติดตามคุณภาพน้ำประปาอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจสอบแผนงานการจัดการอาคารสถานที่และความปลอดภัย

FMS.10 องค์กรเก็บข้อมูลการติดตามสำหรับแผนงานการจัดการอาคารสถานที่และความปลอดภัยแต่ละหัวข้อ เพื่อการวางแผนในการทดแทน หรือ อัพเกรดเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบ และลด ความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมนั้น

การให้ความรู้แก่บุคลากร

FMS.11 องค์กรจัดการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากรทั้งหมด เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการจัดให้มีอาคารสถานที่ สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล

FMS.11.1 บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนตามแผนขององค์กรสำหรับ ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย การรักษาความปลอดภัย วัตถุอันตราย และภาวะฉุกเฉิน

FMS.11.2 บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานและบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ และระบบสาธารณูปโภค

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

การนำและการวางแผน

มาตรฐาน FMS.1 โรงพยาบาลปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประมวลข้อบังคับด้านอาคารและความปลอดภัยจากอัคคีภัย และ ข้อกำหนดในการตรวจสอบอาคารสถานที่ที่เกี่ยวข้อง

เจตจำนงของ FMS.1 กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและการตรวจสอบโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในระดับชาติและท้องถิ่นมีบทบาทอย่างยิ่งต่อ วิธีการออกแบบ ใช้และการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ โดยไม่คำนึงถึงขนาดและทรัพยากรโรงพยาบาลทั้งหมด จะต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อ ผู้ป่วยครอบครัวบุคลากรและผู้มา เยือนของตน1 ข้อกำหนดดังกล่าวอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุของอาคารและตำแหน่งที่ตั้งรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ประมวล ข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารจำนวนมากและประมวลข้อบังคับความปลอดภัยจากอัคคีภัย เช่น สำหรับระบบสปริงเกอร์ใช้เฉพาะกับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ โรงพยาบาลเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับ

คณะผู้นำโรงพยาบาลรับผิดชอบที่จะ

• ทราบสิ่งที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประมวลข้อบังคับด้านอาคารและความปลอดภัยจากอัคคีภัย ใน ระดับ ชาติและท้องถิ่น ตลอดจนข้อกำหนดอื่น ๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้กับอาคารสถานที่ของโรงพยาบาล

• ดำเนินการตามข้อกำหนดหรือข้อกำหนดที่เป็นทางเลือกที่ได้รับการอนุมัติและ

• วางแผนและจัดสรรงบประมาณสำหรับการปรับปรุงที่จำเป็นหรือการเปลี่ยนที่ระบุไว้โดยข้อมูลการ ตรวจสอบหรือเพื่อตอบสนองต่อข้อกำหนดที่ใช้บังคับและจัดให้มีหลักฐานของความคืบหน้าการดำเนินการ ปรับปรุง (ดู FMS.4.2,ME.1,2 และ 3 ร่วมด้วย)

เมื่อโรงพยาบาลได้รับข้ออ้างอิงที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด คณะผู้นำโรงพยาบาลจะต้องรับผิดชอบในการวางแผน และ ตอบสนองต่อข้อกำหนดในกรอบเวลาที่กำหนด

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.1

❏ 1. คณะผู้นำโรงพยาบาลและผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการอาคารสถานที่เข้าใจและดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประมวลข้อบังคับด้านอาคารและความปลอดภัยจากอัคคีภัยในระดับชาติและท้องถิ่นและ ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ใช้บังคับกับอาคารสถานที่ของโรงพยาบาล (ดูGLD.2, ME 5 ร่วมด้วย)

❏ 2. ผู้นำโรงพยาบาลและผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการอาคารสถานที่ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประมวลข้อบังคับด้านอาคารและความปลอดภัยจากอัคคีภัยระดับชาติและท้องถิ่น และ ข้อกำหนด อื่น ๆ ที่ได้รับการอนุมัติหรือทางเลือก

❏ 3. คณะผู้นำโรงพยาบาลทำให้มั่นใจว่าโรงพยาบาลปฏิบัติตามเงื่อนไขของการรายงานด้านอาคารสถานที่ หรือข้ออ้างอิงจากการตรวจสอบโดยหน่วยงานระดับชาติและท้องถิ่น (ดูGLD.2, ME 6 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน FMS.2 องค์กรจัดทำและธำรงไว้ซึ่งแผนเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายถึงกระบวนการจัดการความเสี่ยงต่อผู้ป่วย ครอบครัว ผู้มาเยือน และบุคลากรè P

เจตจำนงของ FMS.2 การจัดการความเสี่ยงภายในสิ่งแวดล้อมซึ่งผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาและบุคลากรทำงาน ต้องอาศัยการ วางแผน. องค์กรจัดทำแผนแม่บทหรือแผนย่อยที่เหมาะสมกับองค์กร ประกอบด้วย

a) ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (safety and security) ความปลอดภัย – ระดับที่ไม่เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงต่อผู้ป่วย บุคลากร หรือผู้มาเยือน จากอาคาร บริเวณโดยรอบ และเครื่องมือ การรักษาความปลอดภัย – การป้องกันการสูญหาย ถูกทำลาย ความวุ่นวาย การเข้าถึงหรือการใช้โดยผู้ ไม่มีอำนาจหน้าที่

b) วัตถุอันตราย (hazardous materials) – มีการควบคุมการสัมผัส การจัดเก็บ และการใช้สารกัมมันตรังสี และ วัตถุอันตรายอื่น ๆ รวมทั้งการกำจัดของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย

) ภาวะฉุกเฉิน (emergencies) – มีการวางแผนตอบสนองต่อโรคระบาด ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน และมี การ ตอบสนองอย่างมีประสิทธิผล

d) ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย (fire safety) – มีการปกป้องทรัพย์สินและผู้พำนักอาศัยจากอัคคีภัยและควัน ไฟ

e) เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ (medical equipment) – มีการคัดเลือกอุปกรณ์บำรุงรักษา และใช้งาน เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ในลักษณะที่ลดความเสี่ยง

f) ระบบสาธารณูปโภค (utility systems) – มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการล่มของระบบสาธารณูปโภคให้เหลือน้อยที่สุด

แผนดังกล่าวจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมขององค์กร ใน ปัจจุบันหรือเมื่อไม่นานมานี้มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงแผน เมื่อองค์การมีกิจการที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของ โรงพยาบาลอยู่ในอาคารดูแลผู้ป่วยที่จะได้รับการเยี่ยมสำรวจ (เช่น ร้านกาแฟหรือร้านของขวัญที่มีเจ้าของอิสระ) องค์กรจะต้องทำให้มั่นใจว่ากิจการอิสระเหล่านี้ปฏิบัติตามแผนงานบริหารอาคารและความปลอดภัย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.2

❏ 1. มีแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุถึงขอบเขตของความเสี่ยงในเจตจำนงข้อ a) ถึง f)

❏ 2. แผนดังกล่าวมีความเป็นปัจจุบัน และมีการนำสู่การปฏิบัติ

❏ 3. องค์กรมีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงแผนให้ทันสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรืออย่างน้อยเป็น ประจำทุกปี

❏ 4. เมื่อมีหน่วยงานอิสระอยู่ในพื้นที่อาคารที่จะได้รับการเยี่ยมสำรวจ องค์กรจะต้องทำให้มั่นใจว่ากิจการ อิสระเหล่านี้ปฏิบัติตามแผนงานบริหารอาคารและความปลอดภัยในเจตจำนงข้อ a) ถึง d) (ดูFMS.11 ME.2 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน FMS.3 มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างน้อยหนึ่งคน ทำหน้าที่กำกับดูแลการวางแผนแผนงาน

มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างน้อยหนึ่งคน ทำหน้าที่กำกับดูแลการวางแผนแผนงานเพื่อจัดการความเสี่ยงใน สิ่งแวดล้อมของการดูแล และนำสู่การปฏิบัติ เจตจำนงของ FMS.3 องค์กรด้านการดูแลสุขภาพพยายามทำเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ใช้งานได้ดีและอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ป่วยครอบครัว บุคลากร และผู้ที่เข้ามาในสถานที่นั้น การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ตัวอาคารสถานที่ เครื่องมือ แพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ รวมถึงคน จะต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการจัดการนั้นจะต้องมุ่งมั่นที่จะ

• ลดและควบคุมอันตรายและความเสี่ยง

• ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ และ

• รักษาสภาพที่มีความปลอดภัย

การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะต้องรวมถึงการวางแผนสหสาขาวิชาชีพ, การศึกษา, และการตรวจสอบดังนี้ • ผู้นำวางแผนพื้นที่ อุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อที่จะสนับสนุนการให้บริการทางคลินิกได้อย่าง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (ดูGLD.9 ME.2 ร่วมด้วย) • บุคลากรทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับอาคารสถานที่ วิธีลดความเสี่ยง และวิธีการเฝ้าระวังและรายงาน สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง (ดูFMS.11 ME.1 ร่วมด้วย) • เกณฑ์การปฏิบัติงานถูกนำมาใช้ในการประเมินระบบที่สำคัญและเพื่อระบุความจำเป็นในการปรับปรุง (ดู GLD.5 ME.1 ร่วมด้วย)

องค์กรทางการแพทย์จะต้องมีการพัฒนาแผนงานบริหารความเสี่ยงของอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่จัดการ ความเสี่ยงผ่านการพัฒนาแผนการจัดการและบทบัญญัติการใช้งานพื้นที่ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์และ ทรัพยากรอื่น ๆ มีการมอบหมายให้มีผู้นำและกำกับดูแลแผนงานบริหารความเสี่ยงของอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมอย่างน้อยหนึ่งคน ในองค์กรขนาดเล็กอาจจะมอบหมายให้มีผู้ทำหน้าที่นี้หนึ่งคนทำงานบางช่วงเวลา ใน องค์กรขนาดใหญ่ อาจต้องมอบหมายให้วิศวกรหรือผู้ได้รับการฝึกอบรมพิเศษอื่น ๆ มากกว่าหนึ่งคน ไม่ว่าจะมีการ มอบหมายอย่างไร จะต้องมีการจัดการแผนงานทุกด้านอย่างมีประสิทธิผล สอดคล้อง และต่อเนื่อง การกำกับดูแล แผนงานประกอบด้วย

a) การวางแผนแผนงานทุกด้าน b) การดำเนินงานของแผนงาน

c) การให้ความรู้บุคลากร

d) การทดสอบและการติดตามแผนงาน

e) การทบทวนและปรับปรุงแผนงานเป็นระยะ f) รายงานประจำปีต่อผู้กำกับดูแลกิจการเกี่ยวกับประสิทธิผลของแผนงาน

ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร อาจจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการความเสี่ยงด้านอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่กำกับดูแลแผนงาน และความต่อเนื่องของแผนงาน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.3

❏ 1. มีการมอบหมายหน้าที่กำกับดูแลและบริหารแผนงาน ให้แก่บุคคลหนึ่งคนหรือมากกว่า ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมจากประสบการณ์หรือการฝึกอบรม

❏ 2. มีการบันทึกข้อมูลหลักฐานประสบการณ์หรือการฝึกอบรมของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมนั้น ๆ อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร

❏ 3. ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแล วางแผนแผนงานและนำสู่การปฏิบัติตามองค์ประกอบในข้อ a) ถึง f) ใน เจตจํานง ของมาตรฐาน

สวัสดิภาพและความปลอดภัย

มาตรฐาน FMS.4 องค์กรวางแผนแผนงานเพื่อจัดให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีสวัสดิภาพ โดยการตรวจสอบ และการวางแผนเพื่อ ลดความเสี่ยง และนำแผนสู่การปฏิบัติè P

มาตรฐาน FMS.4.1 องค์กรวางแผนแผนงานเพื่อจัดให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือนè P

มาตรฐาน FMS.4.2 องค์กรวางแผนและจัดงบประมาณสำหรับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนทดแทนระบบ อาคาร หรือองค์ประกอบสำคัญ ตามผลการตรวจสอบอาคารสถานที่ และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

เจตจำนงของ FMS.4 ถึง FMS.4.2

คำว่าสวัสดิภาพ และคำว่าความปลอดภัยในหลาย ๆประเทศมีความหมายเหมือนกันและใช้สลับกันได้แต่ที่นี่เราให้ คำจำกัดความที่ต่างกัน สวัสดิภาพหมายถึงการทำให้มั่นใจว่าอาคาร ทรัพย์สิน เครื่องมือแพทย์เทคโนโลยีทาง การแพทย์ระบบสารสนเทศ และระบบต่าง ๆ ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางกายภาพต่อผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และ ผู้มาเยือน ความปลอดภัย หมายถึงการป้องกันทรัพย์สินขององค์กร รวมถึงผู้ป่วย ครอบครัว ผู้มาเยือน และ บุคลากรจากภัยอันตรายต่าง ๆ การป้องกันและการวางแผนมีความจำเป็นต่อการจัดให้มีอาคารสถานที่สำหรับดูแล ผู้ป่วยที่ปลอดภัยและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย องค์กรต้องตระหนักในความเสี่ยงทั้งหมดที่มีอยู่ในอาคารสถานที่ เพื่อสามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้หมายรวมถึงความปลอดภัยจากอัคคีภัยและความเสี่ยงด้าน สวัสดิภาพของร่างกายและทรัพย์สินด้วย เป้าหมายคือการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ การคงไว้ซึ่งสภาวะที่ ปลอดภัยและมีสวัสดิภาพสำหรับผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากรและผู้มาเยือน ลดและควบคุมอันตรายและความเสี่ยง (ดูFMS.11.1 ME.2 ร่วมด้วย)

องค์กรทางการแพทย์มีการวางแผนและนำสู่การปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงเชิงรุกที่ครอบคลุมรอบด้าน เพื่อระบุ พื้นที่ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานทางด้านสวัสดิภาพ ตัวอย่างของความเสี่ยงทางด้าน สวัสดิภาพที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเป็นอันตราย เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่แตกหักและแหลมคมซึ่ง ประตูช่องทิ้งผ้า ที่ไม่สามารถปิดได้หน้าต่างที่ชำรุด น้ำรั้วอยู่บนฝ้า ไปจนถึงการไม่มีทางหนีไฟ การบันทึกการตรวจสอบเป็นระยะ จะช่วยให้องค์กรวางแผนและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งเหล่านี้รวมถึงการจัดงบประมาณสำหรับการปรับปรุงหรือ ทดแทนอาคารสถานที่ในระยะยาว

นอกเหนือจากแผนงานทางด้านสวัสดิภาพ องค์กรทางการแพทย์จะต้องมีแผนงานทางด้านการรักษาความปลอดภัย จะทำให้มั่นใจได้ว่าทุกคนในสถานที่นั้นได้รับการป้องกันจากภัยอันตรายและการสูญหายหรือความเสียหายต่อ

ทรัพย์สิน บุคลากร บุคลากรร้านค้า และบุคคลอื่นที่โรงพยาบาลระบุ เช่น อาสาสมัคร บุคลากรว่าจ้าตามสัญญา จะต้องได้รับการบ่งชี้และออกบัตรประจำตัวชั่วคราวหรือถาวร หรือใช้มาตรการบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยวิธีอื่น บุคคลอื่น เช่นครอบครัวหรือผู้มาเยือนในสถานที่ทางสถานพยาบาลอาจใช้วิธีบ่งชี้อื่นตามนโยบายของทางองค์กรหรือตาม กฎระเบียบในพื้นที่นั้น พื้นที่หวงห้าม เช่น ห้องเด็กอ่อน หรือห้องผ่าตัด จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยและ เฝ้าติดตาม เด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเสี่ยงที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้จะต้อง ได้รับการป้องกันจากอันตราย นอกเหนือจากนี้พื้นที่ลับตา และเปลี่ยว อาจจะต้องมีการติดตั้งกล้องบันทึกภาพ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.4

❏ 1. องค์กรมีแผนงานเพื่อจัดให้มีอาคารสถานที่ที่มีสวัสดิภาพ (ดูAOP.5.3, ME.1 และ SOP.6.3 ME.1 ร่วมด้วย)

❏ 2. องค์กรมีรายงานการตรวจสอบอาคารสถานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นปัจจุบัน และถูกต้อง ❏ 3. องค์กรมีแผนการประเมินความเสี่ยงเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงที่ปรากฏชัดจากการตรวจสอบ (ดู FMS.4.2.1, ME.2 ร่วมด้วย) องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.4.1 ❏ 1. องค์กรมีแผนงานเพื่อจัดให้มีอาคารสถานที่ที่มีความปลอดภัย รวมถึงการติดตามและการรักษาความ ปลอดภัยบริเวณที่สำรวจพบแล้วว่ามีความเสี่ยง (ดูAOP.5.3 และ AOP.6.3 ร่วมด้วย)

❏ 2. แผนงานสร้างความมั่นใจว่าบุคลากร ผู้มาเยือน และผู้ขายของ ได้รับการบ่งชี้

❏ 3. ทุกพื้นที่ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงได้ถูกระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการติดตามรวมถึงรักษา ความปลอดภัย (ดูMMU.3, ME.4 และ MMU.3.1 และ MMU3.2 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.4.2

❏ 1. องค์กรวางแผนและจัดงบประมาณเพื่อให้อาคารสถานที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และ ข้อกําหนด อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ดูGLD.2, ME.5 และ FMS.1 ร่วมด้วย)

❏ 2. องค์กรวางแผนและจัดงบประมาณสําหรับการปรับปรุง หรือจัดหาทดแทน ระบบ อาคาร หรือ องค์ประกอบที่จําเป็นสําหรับการดําเนินงานต่อเนื่องของอาคารสถานที่ที่มีสวัสดิภาพ ปลอดภัยและมี ประสิทธิผล (ดูGLD.1.1 ME.3, FMS.1 และ FMS.10 ME.2 ร่วมด้วย)

❏ 3. ผู้นำองค์กรมีการใช้งบประมาณที่จัดสรรไว้เพื่อทำให้อาคารสถานที่เกิดสวัสดิภาพ และความปลอดภัย ตามแผนงานที่วางไว้(ดูFMS.1 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน FMS.4.2.1 เมื่อมีการวางแผนสำหรับการรื้อถอน การก่อสร้าง หรือปรับปรุงอาคารสถานที่โรงพยาบาลดำเนินการประเมินความ เสี่ยงเบื้องต้นก่อนการก่อสร้างè P

เจตจำนงของ FMS.4.2.1

การวางแผนการก่อสร้างสถานที่ใหม่ในโรงพยาบาลมีผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจะประสบ ผล กระทบมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เสียงและการสั่นสะเทือนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจะมีผลต่อระดับความ สะดวก สบายของผู้ป่วยและเป็นไปได้ที่ฝุ่นละอองและกลิ่นไม่พึงประสงค์จากการก่อสร้างจะเปลี่ยนคุณภาพอากาศ (ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสถานะทางเดินหายใจของผู้ป่วยได้)

เพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างใหม่ โรงพยาบาลจำเป็นที่จะต้องนำทุกหน่วยงานที่ได้รับผล กระทบจากการก่อสร้างมาร่วมกันประเมิน รวมทั้งผู้แทนจากฝ่ายออกแบบโครงการ ฝ่ายบริหารจัดการโครงการ ฝ่ายรักษาความปลอดภัย/ความปลอดภัยอาคาร ฝ่ายป้องกันการติดเชื้อ บริการทำความสะอาด วิศวกรรมอาคาร บริการสารสนเทศ ตลอดจนหน่วยงานและบริการทางคลินิก

ความเสี่ยงต่อผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร ผู้มาเยือน ผู้ขาย ผู้รับจ้างช่วงและหน่วยงานที่ไม่ใช่โรงพยาบาลจะแตกต่าง กันขึ้นอยู่กับขอบเขตของกิจกรรมการก่อสร้างและผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงของการก่อสร้างอันเป็นพื้นที่ที่ให้การดูแลผู้ป่วยจะมีผลกระทบจากขอบเขตของความเสี่ยงด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ห่างจากอาคารในปัจจุบันที่ให้การดูแลผู้ป่วย ความเสี่ยง ต่อผู้ป่วยและผู้มาเยือนก็จะมีโอกาสน้อย

มีการประเมินความเสี่ยงโดยการดำเนินการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนการก่อสร้างหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ PCRA การประเมินความเสี่ยงที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงอย่างครอบคลุมเพื่อจัดทำแผนการที่จะลด ผลกระทบต่อการก่อสร้างจะต้องมีประเด็นคุณภาพและความปลอดภัยของการดูแลผู้ป่วย พื้นที่ที่กำหนดให้มีการ ประเมินความเสี่ยง เบื้องต้นก่อนการก่อสร้างครอบคลุม a) คุณภาพอากาศ b) การควบคุมการติดเชื้อ c) สาธารณูปโภค d) เสียง e) การสั่นสะเทือน f) วัตถุอันตราย g) บริการฉุกเฉิน เช่น การตอบสนองต่อการประกาศเตือนภัย และ h) อันตรายอื่น ๆ ที่มีผลต่อการดูแลรักษาและการบริการ

นอกจากนี้โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่ามีการเฝ้าติดตาม การบังคับใช้และบันทึกการปฏิบัติตามของผู้รับเหมา

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วยจากการก่อสร้างได้รับการ ประเมินผ่านการประเมินความเสี่ยงต่อการควบคุมการติดเชื้อ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ICRA (ดูPCI.7.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.4.2.1

❏ 1. เมื่อมีการวางแผนสำหรับการรื้อถอน การก่อสร้างหรือปรับปรุงสถานที่ โรงพยาบาลดำเนินการประเมิน ความเสี่ยงก่อนการก่อสร้าง(PCRA) เป็นอย่างน้อยตาม a) จนถึง h) ในเจตจำนง

❏ 2. โรงพยาบาลดำเนินการบนพื้นฐานของการประเมินเพื่อลดความเสี่ยงระหว่างการรื้อถอน การก่อสร้าง และปรับปรุง (ดูFMS.4, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่า มีการเฝ้าติดตาม การบังคับใช้และบันทึกการปฏิบัติตามของผู้รับเหมา (ดูFMS.3 ร่วมด้วย)

วัตถุอันตราย

มาตรฐาน FMS.5 องค์กรมีแผนสำหรับทำบัญชีรายการ การหยิบสัมผัส การจัดเก็บ และการใช้วัตถุอันตรายและของเสียอันตรายè P

มาตรฐาน FMS.5.1 องค์กรมีแผนสำหรับการควบคุม และกำจัดวัตถุและของเสียอันตรายè P

เจตจำนงของ FMS.5 และ FMS.5.1

องค์มีแผนงานจัดการวัตถุอันตรายและของเสีย ที่มีการระบุวัตถุและของเสียอันตราย และมีระบบควบคุมความทั่ว ทั้งองค์กร (ดูPCI.7.2 ร่วมด้วย) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หรือ WHO ทำการระบุ ประเภทของวัตถุและของเสียอันตรายไว้ได้แก่

• วัตถุติดเชื้อ

• พยาธิวิทยาและกายวิภาค

• ยา

• สารเคมี

• โลหะหนัก

• ภาชนะที่มีแรงดัน

• ของมีคม

• สารพิษ

• กัมมันตรังส

องค์กรมีการพิจารณาประเภทของวัตถุอันตรายตามที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกในการจัดทำบัญชีรายการวัตถุ และของเสียอันตราย แผนงานจัดการวัตถุอันตรายและของเสีย เริ่มจากการสำรวจทั่วทั้งองค์กรว่ามีวัตถุและของเสีย อันตรายอยู่ที่ใดบ้าง เอกสารจะต้องระบุสถานที่จัดเก็บ ประเภท และปริมาณที่จัดเก็บ และจะต้องมีการปรับให้เป็น ปัจจุบันในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทของวัตถุอันตราย สถานที่จัดเก็บ หรือปริมาณที่จัดเก็บ แผนงานจัดการวัตถุอันตรายและของเสียดังกล่าวประกอบด้วยกระบวนการสำหรับ • การจัดทำบัญชีรายการวัตถุและของเสียอันตราย โดยให้ระบุถึงวัตถุอันตรายนั้น จำนวน และสถานที่จัดเก็บ • การหยิบสัมผัส การจัดเก็บ และการใช้วัตถุอันตราย • การใช้อุปกรณ์ป้องกัน และวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้การหกรั่วไหล หรือสัมผัสกับวัตถุ อันตราย • การติดฉลากวัตถุอันตรายและของเสียอันตรายอย่างเหมาะสม • การรายงานและการสอบสวนเมื่อมีการหกรั่วไหล การสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ หรืออุบัติการณ์อื่น ๆ • การกำจัดของเสียอันตรายอย่างเหมาะสม และ • เอกสารและการบันทึก รวมถึงใบอนุญาติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือข้อกำหนดจาก ระเบียบข้อบังคับ อื่น ๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับการหยิบสัมผัส หรือการใช้งานวัตถุและของเสียอันตรายอย่างปลอดภัยจะต้องมีอยู่ และพร้อมใช้ ตลอดเวลา รวมถึงข้อมูลทางกายภาพของสารนั้น เช่น จุดเดือด จุดวาบไฟ ฯลฯ ข้อมูลความเป็นพิษ ผลกระทบต่อ สุขภาพ การเก็บและกำจัดอย่างเหมาะสม ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันที่ต้องใช้ระหว่างใช้วัตถุอันตรายนั้น และ ขั้นตอนปฏิบัติในกรณีที่เกิดการหกรั่วไหล รวมถึงการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ ตั้งใจ ผู้ผลิตหลายรายให้ข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบของเอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือ safety data sheet (SDS) (ดูAOP.5.3, AOP.5.6, AOP.6.6, MMU.3 และ MMU.3.1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.5

❏ 1. องค์กรระบุประเภท สถานที่จัดเก็บ และปริมาณที่จัดเก็บ ของวัตถุและของเสียอันตราย และจัดทำบัญชี รายการวัตถุดังกล่าวที่มีในองค์กรและเป็นปัจจุบัน (ดูAOP.5.6, ME ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการหยิบสัมผัส การเก็บรักษา และการใช้วัตถุอันตราย อย่าง ปลอดภัย (ดูAOP.5.6 ME.3, AOP.6.6 ME.2 และ MMU.3.1 ME.2 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสําหรับอุปกรณ์ป้องกันและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้ งาน (ดูAOP.5.3 ME.3 และ AOP.6.3 ME.4 ร่วมด้วย)

❏ 4. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการติดป้ายของวัตถุและของเสียอันตราย (ดูAOP.5.6 ME.5, AOP.6.6 ME.4, MMU.3 และ MMU.3.1 ME.2 ร่วมด้วย)

❏ 5. มีการจัดทําและนําไปปฏิบัติซึ่งแผนสําหรับข้อกําหนดเรื่องเอกสารและการบันทึก รวมถึงใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือข้อกําหนดจากระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ (ดูGLD.2 ME.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.5.1

❏ 1. มีการจัดทําและนําไปปฏิบัติซึ่งแผนสําหรับการรายงานและการสอบสวน เมื่อมีการหกรั่วไหล การสัมผัส เข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ และอุบัติการณ์อื่น ๆ (ดูFMS.11.1 ME.3 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการจัดทําและนําไปปฏิบัติซึ่งแผนสําหรับจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล หรือการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายโดย ไม่ตั้งใจ และรวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม (ดูPCI.9 ME.1, 2 และ FMS.11.1 ME.3 ร่วม ด้วย)

❏ 3. ข้อมูลเกี่ยวกับหยิบสัมผัส การเก็บกู้และการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ตั้งใจ ของวัตถุอันตราย จะต้องมี อยู่เป็นปัจจุบัน และพร้อมใช้ตลอดเวลา (ดูQPS.3 ร่วมด้วย)

❏ 4. องค์กรมีการกําจัดของเสียอันตรายอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย หรือทำสัญญากับหน่วยงานที่มั่นใจ ว่านำของเสียอันตรายไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และถูกกฎหมาย (ดูAOP.5.7 ME.5, PCI.7.2 ME.1 และ PCI.7.3 ME.3 ร่วมด้วย

การเตรียมพรอมรับพิบัติภัย

มาตรฐาน FMS.6 โรงพยาบาลจัดทำ ธำรงรักษาและทดสอบแผนงานการจัดการในภาวะฉุกเฉินเพื่อที่จะตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน และ ภัยพิบัติทางธรรมชาติหรืออื่น ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นภายในชุมชนè P

เจตจำนงของ FMS.6

เหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติในชุมชนอาจเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลโดยตรงเช่นความเสียหายต่อพื้นที่ที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็น ผลมาจากการเกิดแผ่นดินไหว สึนามิหรือการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้บุคลากรไม่สามารถมาทำงานได้การ จัดทำ แผนงานควรเริ่มต้นด้วยการระบุประเภทของภัยพิบัติที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคของโรงพยาบาลและ สิ่งที่เป็นผลกระทบจากภัยพิบัติเหล่านี้จะมีอยู่ในโรงพยาบาล9–11 ยกตัวอย่างเช่น พายุเฮอริเคนหรือสึนามิที่มีแนวโน้มที่จะเกิด ขึ้นในพื้นที่ที่มีมหาสมุทรอยู่ใกล้แต่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นดิน ในทาง กลับกันอาคารสถานที่ เกิดความเสียหายหรืออุบัติภัยหมู่ที่เป็นผลมาจากสงครามหรือการโจมตีของผู้ก่อการร้าย อาจจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลใด ๆ ก็ได้

องค์ประกอบสำคัญของการพิจารณาผลกระทบของภัยพิบัติคือการกำหนดผลกระทบของภัยพิบัติจะมีโครงสร้าง ของ สภาพแวดล้อมการดูแลผู้ป่วย การระบุว่าอาคารจะตอบสนองต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรือการระเบิดเป็นสิ่ง สำคัญใน การพัฒนาแผนอพยพและการระบุพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับการปรับปรุงอาคาร

การระบุผลกระทบของภัยพิบัติมีความสำคัญพอๆ กับการระบุประเภทของภัยพิบัติ10 ซึ่งจะช่วยในการวางแผน กลยุทธ์ที่มีความจำเป็นในกรณีที่มีภัยพิบัติเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สิ่งที่เป็นโอกาสที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหวจะมีผลต่อน้ำและพลังงานคืออะไร แผ่นดินไหวสามารถกันไม่ให้บุคลากรตอบสนองต่อภัยพิบัติได้ไม่ว่า จะ เป็นจาก ถนนถูกปิดกั้นหรือเพราะบุคลากรหรือสมาชิกในครอบครัวก็ตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ด้วย ใน สถานการณ์เช่นนี้ความรับผิดชอบส่วนบุคคลของบุคลากรที่อาจมีความขัดแย้งกับข้อกำหนดของโรงพยาบาลเพื่อ ตอบสนองต่อ การเกิดภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้โรงพยาบาลจะต้องระบุบทบาทของตนภายในชุมชน ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรที่โรง พยาบาลคาดว่าจะมีให้กับชุมชนในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นและ วิธีการสื่อสารที่จะนำไปใช้ใน ชุมชน เพื่อที่จะตอบ สนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลมีการพัฒนาแผนงานการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ดังกล่าว

แผนงานให้กระบวนการในการ

a) การกำหนดประเภท โอกาสเกิดและผลกระทบของอันตราย ภัยคุกคามและเหตุการณ์

b) การกำหนดความมั่นคงทางโครงสร้างของสภาพแวดล้อมการดูแลผู้ป่วยที่มีอยู่และวิธีที่จะดำเนินการใน กรณีภัยพิบัตินั้น

c) การกำหนดบทบาทของโรงพยาบาลในเหตุการณ์ดังกล่าว

d) การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารสำหรับเหตุการณ์

e) การจัดการทรัพยากรในช่วงเหตุการณ์ครอบคลุมแหล่งทางเลือก f) การจัดการกิจกรรมทางคลินิกในช่วงเหตุการณ์รวมทั้งแหล่งการดูแลทางเลือก

g) การระบุและการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของบุคลากรในช่วงเหตุการณ์ (ดูFMS.11.1, ME 4 ร่วมด้วย) และ h) การจัดการเหตุฉุกเฉินเมื่อความรับผิดชอบส่วนบุคคลของบุคลากรขัดแย้งกับความรับผิดชอบที่มีต่อ โรงพยาบาลในการให้การดูแลผู้ป่วย

แผนงานการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติมีการทดสอบโดย

• การทดสอบประจำปีของแผนงานเต็มรูปแบบทั้งภายในหรือเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบร่วมกับชุมชน ใน วงกว้าง หรือ

• การทดสอบองค์ประกอบที่สำคัญ c) จนถึง h) ของแผนงานในระหว่างปี

หากโรงพยาบาลประสบภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจริง การกระตุ้นแผนงานของตนและ การสรุปอภิปรายที่เหมาะสมหลังจาก นั้น สถานการณ์ดังกล่าวเทียบเท่ากับการทดสอบประจำปี

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.6

❏ 1. โรงพยาบาลมีการระบุภัยพิบัติภายในและภายนอกที่สำคัญเช่นภาวะฉุกเฉินในชุมชน และภัยพิบัติทาง ธรรมชาติหรืออื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของ โรงพยาบาล

❏ 2. โรงพยาบาลระบุผลกระทบที่อาจเป็นไปได้ที่ภัยพิบัติแต่ละประเภทจะมีต่อการดูแลและบริการในทุกแง่ มุม (ดูMOI.14, ME 2 และ 3 ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลกำหนดและดำเนินการแผนงานภัยพิบัติที่ระบุการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่มีแนวโน้มเกิดขึ้น ครอบคลุมรายการ a) ถึง h) ในเจตจำนง (ดูPCI.8.2, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 4. แผนงานทั้งหมดหรืออย่างน้อยองค์ประกอบที่สำคัญ c) ถึง h) ของแผนงานได้รับการทดสอบเป็น ประจำทุกปี(ดูPCI.8.2, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 5. ในช่วงท้ายของทุกการทดสอบมีการดำเนินการสรุปอภิปรายผลการทดสอบ ❏ 6. มีการจัดทำและดำเนินมาตรการในการติดตามที่ระบุได้จากการทดสอบและการอภิปรายสรุป (ดู PCI.8.2, ME 6 ร่วมด้วย)

ความปลอดภัยดานอัคคีภัย

มาตรฐาน FMS.7 โรงพยาบาลจัดทำและดำเนินการ แผนงานสำหรับการป้องกัน การตรวจจับแต่เริ่มแรก การระงับ การดับและ ทางออกที่ปลอดภัยจากอาคารสถานที่ในการตอบสนองต่อการเกิดอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินอื่นè P

มาตรฐาน FMS.7.1 โรงพยาบาลทำการทดสอบแผนงานความปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟเป็นประจำ ครอบคลุมการทดสอบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับและการระงับอัคคีภัยและทำการบันทึกผลè

เจตจำนงของ FMS.7 และ FMS.7.1 โรงพยาบาลจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยถือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้เสมอในโรงพยาบาล การประเมินผลของการปฏิบัติตามประมวลข้อบังคับด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพในการระบุและลดความเสี่ยง12 การประเมินความเสี่ยงครอบคลุมดังต่อไปนี้ a) ความสัมพันธ์ของแรงดันในห้องผ่าตัด b) การกั้นไฟ c) การกั้นควัน d) พื้นที่อันตราย (และช่องว่างด้านบนเพดานในพื้นที่เหล่านั้น) เช่น ห้องผ้าเปื้อน, ห้องพักขยะและ ห้องเก็บ ก๊าซออกซิเจน e) ทางหนีไฟ f) อุปกรณ์การทำครัวที่ผลิตไขมัน g) ปล่องทิ้งผ้าและขยะ h) ระบบไฟฉุกเฉินและอุปกรณ์ i) ส่วนประกอบของระบบก๊าซทางการแพทย์และสูญญากาศ

ทุกโรงพยาบาลต้องวางแผนวิธีการที่จะทำให้ผู้พำนักอาศัยปลอดภัยในกรณีที่เกิดอัคคีภัยหรือควันไฟ นอกจากนี้ใน กรณีฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น การรั่วไหลของก๊าซที่เป็นพิษสามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อผู้พำนักอาศัย โรงพยาบาล กำหนด แผนงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ

• การป้องกันการเกิดอัคคีภัยผ่านการลดความเสี่ยงเช่นการจัดเก็บและการจัดการความปลอดภัยของวัสดุ ไวไฟ รวมทั้งก๊าซทางการแพทย์ที่ไวไฟเช่นออกซิเจนและไนตริกออกไซด์13

• อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างใด ๆ ในหรือที่อยู่ติดกับอาคารผู้ป่วยพำนักอยู่

• ทางออกที่ปลอดภัยและไม่มีสิ่งกีดขวางในกรณีที่เกิดอัคคีภัย • การตรวจสอบระบบเตือนภัยแต่เริ่มแรก เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน สัญญาณเตือนเมื่อเกิดอัคคีภัย หน่วยตรวจอัคคีภัย และ • กลไกการระงับอัคคีภัย เช่น ท่อน้ำดับเพลิง สารเคมีระงับอัคคีภัย หรือระบบสปริงเกอร์

การดำเนินการเหล่านี้เมื่อรวมกันจะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัว บุคลากรและผู้มาเยือนมีเวลาเพียงพอที่จะอพยพ ออก จากอาคารสถานที่ได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่เกิดไฟไหม้หรือควัน การดำเนินการเหล่านี้ต้องมีประสิทธิภาพ ไม่ขึ้นกับ อายุขนาดหรือการก่อสร้างของอาคารสถานที่ ตัวอย่างเช่น อาคารขนาดเล็กก่ออิฐชั้นเดียวจะใช้วิธีการที่ แตกต่างจาก อาคารที่มีขนาดใหญ่หลายชั้นที่เป็นไม้14

แผนงานความปลอดภัยจากอัคคีภัยของโรงพยาบาลระบุ

• ความถี่ของการตรวจสอบ การทดสอบและการบำรุงรักษาระบบการป้องกันอัคคีภัยและความปลอดภัย ที่ สอดคล้องกับข้อกำหนด

• แผนงานสำหรับการอพยพออกจากอาคารสถานที่ได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่เกิดอัคคีภัยหรือควันไฟ

• กระบวนการสำหรับการทดสอบทุกส่วนของแผนงานในแต่ละระยะเวลา 12 เดือน

• การอบรมที่จำเป็นของบุคลากรเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปกป้องและอพยพผู้ป่วยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

• การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการร่วมทดสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี

การทดสอบแผนงานสามารถทำได้ในหลายวิธียกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลสามารถกำหนด “หัวหน้าอัคคีภัย” ประจำหน่วยงานและคอยสุ่มถามบุคลากรเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำถ้าเกิดอัคคีภัยขึ้นในหน่วยงานของตนเอง บุคลากร สามารถจะถูกถามคำถามที่เฉพาะเจาะจงเช่น “ที่ปิดวาล์วออกซิเจนอยู่ที่ไหน? หากคุณมีการปิดวาล์วออกซิเจนคุณ จะทำอย่างไรในการดูแลของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน? ถังดับเพลิงในหน่วยของคุณอยู่ที่ไหน? คุณจะทำ อย่างไรถ้าต้องรายงานไฟไหม้? คุณจะปกป้องผู้ป่วยในระหว่างการดับเพลิงได้อย่างไร? หากคุณจำเป็นต้องอพยพ ผู้ป่วยอะไรคือกระบวนการของคุณ?” บุคลากรควรจะสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างถูกต้องสำหรับคำถามเหล่านี้ ถ้าทำไม่ได้ควรได้รับการบันทึกและมีกลยุทธ์ในการให้การศึกษาซ้ำอีกครั้ง หัวหน้าอัคคีภัยควรเก็บบันทึกของคนที่ เข้าร่วมไว้นอกจากนี้โรงพยาบาลยังอาจพัฒนาทดสอบข้อเขียนขึ้นสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย จากอัคคีภัยเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบแผนงาน การตรวจสอบทั้งหมด การทดสอบและการบำรุงรักษาได้รับการ บันทึกไว้(ดูPFR.1.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.7

❏ 1. โรงพยาบาลจัดทำและดำเนินการแผนงานเพื่อให้มั่นใจว่าผู้พำนักอาศัยทั้งหมดในอาคารสถานที่ของ โรงพยาบาลจะปลอดภัยจากอัคคีภัย ควันไฟหรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ

❏ 2. แผนงานครอบคลุมการประเมินการปฏิบัติตามประมวลข้อบังคับด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยครอบคลุมอย่างน้อย a) จนถึง i) ในเจตจำนง

❏ 3. โรงพยาบาลดำเนินกลยุทธ์สำหรับข้อบกพร่องใด ๆ ที่ระบุไว้

❏ 4. แผนงานครอบคลุมการตรวจจับอัคคีภัยและควันไฟตั้งแต่เริ่มแรก

❏ 5. แผนงานครอบคลุมการระงับอัคคีภัยและกั้นควัน

❏ 6. แผนงานครอบคลุมทางออกที่ปลอดภัยจากอาคารสถานที่เมื่อเกิดอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินอื่น

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.7.1

❏ 1. บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทดสอบแผนงานความปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟอย่างน้อยหนึ่ง ครั้งต่อปี(ดูFMS.11 ถึง FMS.11.2 ร่วมด้วย)

❏ 2. บุคลากรสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่จะนำผู้ป่วยไปสู่ความปลอดภัย (ดูFMS.11.1, ME 1 ร่วม ด้วย)

❏ 3. อุปกรณ์และระบบดักจับและระงับอัคคีภัยได้รับการตรวจสอบทดสอบและการบำรุงรักษาตามคำแนะนำ ของผู้ผลิต

❏ 4. ตรวจสอบ การทดสอบและการบำรุงรักษาอุปกรณ์และระบบได้รับการบันทึก

มาตรฐาน FMS.7.2 แผนเพื่อความปลอดภัยทางอัคคีภัยรวมถึงการจํากัดการสูบบุหรี่ของบุคลากรและผู้ป่วย ให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้นอก บริเวณดูแลผู้ป่วย และนําสู่การปฏิบัติè P

เจตจํานงของ FMS.7.2 องค์กรจัดทํานโยบายและแผนเพื่อจํากัดการสูบบุหรี่ ซึ่ง

• ใช้กับผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือนทุกคน และ

• ไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในอาคารสถานที่ขององค์กร หรือจํากัดให้มีการสูบบุหรี่เฉพาะในเขตที่จัดไว้ให้ซึ่งอยู่ นอก พื้นที่การดูแลผู้ป่วยและมีการระบายอากาศสู่ภายนอก

นโยบายขององค์กรเรื่องการสูบบุหรี่ระบุข้อยกเว้นการบังคับใช้นโยบายเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น เหตุผลทาง การแพทย์ หรือจิตเวชที่จะอนุญาตให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ได้และผู้ที่มีสิทธิที่จะให้การอนุญาตใช้ข้อยกเว้นดังกล่าว สำหรับผู้ป่วยที่ ได้รับการยกเว้น สามารถสูบบุหรี่ในบริเวณที่จัดไว้ให้ในที่ซึ่งไม่ใช่ส่วนการรักษา และห่างไกลจากผู้ป่วยรายอื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.7.2

❏ 1. องค์กรจัดทำนโยบาย หรือระเบียบปฏิบัติเพื่อห้ามหรือจํากัดการสูบบุหรี่ในพื้นที่ของสถานพยาบาล

❏ 2. นโยบาย หรือระเบียบปฏิบัตินี้ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ครอบครัว ผู้มาเยือน และบุคลากร

❏ 3. มีกระบวนการเพื่ออนุญาตให้ผู้ป่วยที่ได้รับการยกเว้นตามนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติสามารถสูบบุหรี่

เครื่องมือแพทย์

มาตรฐาน FMS.8 องค์กรวางแผนแผนงานสําหรับการตรวจสอบ การทดสอบ และการบํารุงรักษาเครื่องมือแพทย์นําสู่การปฏิบัติและ บันทึกผลè P

เจตจํานงของ FMS.8 เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์พร้อมใช้และใช้การได้เหมาะสม องค์กรมีการปฏิบัติดังนี้ • จัดทําบัญชีรายการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ • ตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ • ทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ตามการใช้งานและตามข้อกําหนดของผู้ผลิต และ • ให้การบํารุงรักษาเชิงป้องกัน

มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้บริการเหล่านี้มีการตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือใหม่และต่อเนื่อง เป็น ระยะ ตามอายุการใช้งานของเครื่องมือ หรือตามข้อแนะนําของบริษัทผู้ผลิต ผลการตรวจสอบ การทดสอบ และการ บํารุงรักษาใด ๆ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การบันทึกนี้ช่วยให้มั่นใจในความต่อเนื่องของกระบวนการ บํารุงรักษา และช่วยในการวางแผนลงทุนสําหรับการจัดหาทดแทน การปรับปรุง และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ (ดู AOP.5.5, AOP.6.5 และ COP.3.2 ร่วมด้วย) องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.8

❏ 1. มีการจัดการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ทั่วทั้งองค์กรตามแผน (ดูAOP.6.5 ME.1 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีบัญชีรายการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ทั้งหมด (ดูAOP.6.5 ME.3 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีการตรวจสอบ และทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์เมื่อได้รับมาใหม่ ตามอายุและการใช้งาน และ ตามที่ผู้ผลิตแนะนำอย่างสมํ่าเสมอ (ดูAOP.6.5 ME.4 และ 5 ร่วมด้วย)

❏ 4. มีแผนงานบํารุงรักษาเชิงป้องกัน

❏ 5. ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และได้รับการอบรมเหมาะสมเป็นผู้ให้บริการเหล่านี้ (ดูFMS.11.2 ME.1 และ 3 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน FMS.8.1 องค์กรมีระบบเรียกกลับผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่มีการแจ้งเตือน เรียกคืน แจ้งเหตุอุบัติการณ์ปัญหาและการ ล้มเหลวè P

เจตจำนงของ FMS.8.1

องค์กรมีกระบวนการสําหรับการเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อการแจ้งเตือนอันตรายของเครื่องมือ การเรียกคืน การ แจ้งเหตุอุบัติการณ์ปัญหา และการล้มเหลวที่ส่งมาจากบริษัทผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ใน บางประเทศมีข้อกำหนดให้แจ้งเหตุในกรณีที่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของ ผู้ป่วย การบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง หรือการเจ็บป่วย องค์กรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและ ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์มีนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่อยู่ในระหว่างการเรียกคืน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.8.1

❏ 1. องค์กรมีกระบวนการสําหรับการเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อการแจ้งเตือน เรียกคืน แจ้งเหตุอุบัติการณ์ ปัญหาและการล้มเหลว ของเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ในร่างกาย (implant) (ดูAOP.5.6 ME.6, AOP.6.5 ME.6 และ ASC.7.4 ME.3 ร่วมด้วย)

❏ 2. เมื่อกฎหมายและข้อบังคับกำหนด องค์กรแจ้งเหตุในกรณีที่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ได้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการตายของผู้ป่วย การบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง หรือการเจ็บป่วย

❏ 3. มีนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่ถูกระบุว่ามีปัญหาหรือการล้มเหลว หรืออยู่ในระหว่างการเรียกคืน

ระบบสาธารณูปโภค

มาตรฐาน FMS.9 องค์กรวางแผนแผนงานและนำสู่การปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรฐาน FMS.9.1 ระบบสาธารณูปโภคได้รับการตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุง

เจตจํานงของ FMS.9 และ FMS.9.1

ระบบสาธารณูปโภค หมายถึง ระบบและเครื่องมือที่สนับสนุนบริการที่จำเป็น เพื่อที่จะให้บริการทางการแพทย์ อย่างปลอดภัย ระบบดังกล่าวรวมถึงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ระบบน้ำใช้ระบบระบายและการไหลเวียนอากาศ ระบบ ก๊าซทางการแพทย์ระบบท่อน้ำ ระบบความร้อน ระบบขยะ และระบบสื่อสารและสารสนเทศ การทำงานของระบบ สาธารณูปโภคที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย และจำเป็น สำหรับความปลอดภัยของผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือน และความต้องการของผู้ป่วย สถานพยาบาล จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยทั้งปกติและเร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์ด้วยเหตุนี้แหล่งนํ้าสะอาดและ พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งจําเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้ป่วย แผนงานบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคที่ดีจะต้องทำให้มั่นใจว่ามีสาธารณูปโภคที่ไว้วางใจได้และลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น การปนเปื้อนของขยะในบริเวณที่ใช้เตรียมอาหาร การระบายและ หมุนเวียนอากาศที่ไม่เพียงพอในห้องปฏิบัติการทางคลินิก ถังออกซิเจนที่ไม่ได้ถูกยึดไว้เมื่อถูกจัดเก็บ ท่อจ่าย ออกซิเจนที่มีรูรั่ว และ สายไฟฟ้าที่ไม่ถูกเก็บปลายให้เรียบร้อย ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งสิ้น ในการที่จะ หลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านี้องค์กรมีกระบวนการในการตรวจสอบระบบต่าง ๆอย่างสม่ำเสมอ และทำการบำรุงรักษา เชิงป้องกันเป็นประจำ ระหว่างการทดสอบจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับองค์ประกอบที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สวิตช์และรีเลย์ของระบบ

องค์กรควรที่จะมีรายการของระบบสาธารณูปโภคและองค์ประกอบต่าง ๆที่สมบูรณ์ และระบุว่าส่วนใดมีผลกระทบ ต่อระบบช่วยชีวิต การควบคุมการติดเชื้อ การสนับสนุนสภาพแวดล้อม และการสื่อสาร แผนงานบริหารจัดการ ระบบสาธารณูปโภครวมถึงกลยุทธ์ในการบำรุงรักษาที่ทำให้มั่นใจว่าองค์ประกอบที่สำคัญเหล่านี้เช่น ไฟฟ้า น้ำของเสีย การระบายอากาศ และ ก๊าซทางการแพทย์ได้ถูกตรวจสอบ และบำรุงรักษา และปรับปรุงเมื่อถึงเวลาอัน เหมาะสม

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.9

❏ 1. องค์กรมีบัญชีรายการระบบสาธารณูปโภค และมีการวาดแผนผังการกระจายตัวของแต่ละระบบ

❏ 2. องค์กรมีการระบุเป็นลายลักษณ์อักษร กิจกรรมการตรวจสอบ และบำรุงรักษาสำหรับทุกองค์ประกอบ ของระบบสาธารณูปโภคในบัญชีรายการ

❏ 3. องค์กรมีการระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ความถี่ในการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาสำหรับทุก องค์ประกอบของระบบสาธารณูปโภคในบัญชีรายการ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้ผลิต ระดับของความ เสี่ยง และประสบการณ์ขององค์กรเอง

❏ 4. องค์กรมีการติดฉลากระบบควบคุมสาธารณูปโภค เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการปิดระบบเป็น บางส่วน หรือทั้งหมดได้ในกรณีฉุกเฉิน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.9.1

❏ 1. ระบบสาธารณูปโภค และองค์ประกอบได้รับการตรวจสอบขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด

❏ 2. ระบบสาธารณูปโภค และองค์ประกอบได้รับการทดสอบตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด

❏ 3. ระบบสาธารณูปโภค และองค์ประกอบได้รับการบำรุงรักษาตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด

❏ 4. ระบบสาธารณูปโภค และองค์ประกอบได้รับการปรับปรุงเมื่อจำเป็น

มาตรฐาน FMS.9.2 แผนงานระบบสาธารณูปโภคขององค์กรทำให้มั่นใจได้ว่ามีนํ้าสะอาดและพลังงานไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา และทำให้ สามารถใช้น้ำและไฟฟ้าจากแหล่งสำรองได้ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง ปนเปื้อน หรือล้มเหลวของแหล่งปรกติ

มาตรฐาน FMS.9.2.1 องค์กรทำการทดสอบระบบน้ำและไฟฟ้าสำรองและบันทึกผลเป็นลายลักษณ์อักษร

เจตจํานงของ FMS.9.2 และ FMS.9.2.1

สถานพยาบาลจัดให้มีการดูแลผู้ป่วย ทั้งปกติและเร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์สถานพยาบาลต่าง ๆ มีความต้องการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์และระบบสาธารณูปโภคที่แตกต่างกันขึ้นกับ พันธกิจ ภาวะความ ต้องการของผู้ป่วย และทรัพยากร อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำและไฟฟ้าที่ไม่ขาดสายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความ ต้องการในการดูแลผู้ป่วย องค์กรต้องปกป้องผู้ป่วยและบุคลากรในภาวะฉุกเฉิน เช่น ระบบขัดข้อง การขัดจังหวะ หรือ การปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นระบบประเภทใด ใช้ทรัพยากรในระดับใด เช่น ระบบสาธารณูปโภคล่ม ขาดช่วง หรือปนเปื้อน

ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินจำเป็นต่อสถานพยาบาลทุกแห่งที่ตั้งใจจะให้บริการอย่างต่อเนื่องภายใต้ภาวะฉุกเฉิน ระบบ ดังกล่าวต้องให้พลังไฟฟ้าอย่างเพียงพอเพื่อให้บริการที่สำคัญระหว่างที่ระบบไฟฟ้าล้มเหลว และยังลดความเสี่ยงที่ เกี่ยวกับการล้มเหลวประเภทนั้น ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินและสำรองถูกทดสอบภายใต้ภาวะจำลองที่วางแผนไว้และเป็น การจำลองโหลดไฟฟ้าจริง ตัวอย่างเช่น สำหรับการทดสอบรายไตรมาส ข้อกำหนดคือ ทดสอบเป็นเวลา 30 นาที และต้องมีการเดินเครื่องที่โหลด 30% nameplate เวลา 30 นาทีนี้ไม่นับรวมเวลาที่ให้ในการอุ่นเครื่องก่อนและ หลังการทดสอบ องค์กรสามารถใช้วิธีอื่นในการทดสอบที่เป็นมาตรฐาน

มีการปรับปรุงเมื่อจำเป็น เช่น เพิ่มขีดจำกัดในระบบไฟฟ้าที่มีการเพิ่มเติมเครื่องมือแพทย์เครื่องใหม่ คุณภาพน้ำสามารถเปลี่ยนกะทันหันได้จากหลายสาเหตุ บ้างก็เกิดจากเหตุนอกองค์กร เช่น ท่อน้ำที่ส่งมาแตก เมื่อ เกิดเหตุหยุดชะงักในแหล่งน้ำหลักขององค์กร น้ำใช้ฉุกเฉินจะต้องมีพร้อมใช้ทันทีเพื่อเตรียมการสําหรับภาวะ ฉุกเฉินดังกล่าว องค์กรต้อง

• ระบุเครื่องมือ ระบบ และสถานที่ ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อผู้ป่วยและบุคลากร เช่น ระบุว่าที่ใด ต้องการแสงสว่าง ตู้เย็น การช่วยชีวิต และนํ้าสะอาดสําหรับใช้ทําความสะอาดและทําให้ปราศจากเชื้อ

• ประเมินและลดความเสี่ยงจากการล่มของระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่เหล่านี้ • วางแผนเตรียมแหล่งกําเนิดพลังงานไฟฟ้าและนํ้าสะอาดฉุกเฉินสําหรับพื้นที่และความต้องการเหล่านี้

• ทดสอบความพร้อมใช้และความน่าเชื่อถือของแหล่งกําเนิดพลังงานไฟฟ้าและนํ้าสะอาดฉุกเฉิน

• บันทึกผลการทดสอบ และ

• ทําให้มั่นใจว่ามีการทดสอบแหล่งทางเลือกของนํ้าและพลังงานไฟฟ้าอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยตาม ข้อกําหนดของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น หรือสภาวะของแหล่งพลังงานและนํ้า สภาวะของ แหล่งพลังงานและนํ้าซึ่งอาจทําให้ต้องมีการทดสอบบ่อยขึ้นได้แก่

o มีการซ่อมระบบประปาซํ้า

o มีการปนเปื้อนของแหล่งนํ้าบ่อยครั้ง

o Electrical grid ที่ไม่น่าเชื่อถือ และ

o ไฟฟ้าดับ ไฟตก ที่คาดการณ์ไม่ได้บ่อยครั้ง

เมื่อระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต้องการใช้แหล่งเชื้อเพลิง จำนวนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในสถานที่จะต้องขึ้นอยู่กับการ หยุดชะงักหรือดับครั้งก่อนๆของแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก และการล่าช้าในการส่งเชื้อเพลิงที่คาดเดาเนื่องจากการ หยุดชะงักนั้น สภาพอากาศ รวมถึงสภาพทางภูมิศาสตร์และสถานที่ตั้ง องค์กรสามารถกำหนดปริมาณน้ำมัน เชื้อเพลิงที่เก็บไว้เองได้เว้นแต่ผู้มีอำนาจในเขตนั้นเป็นผู้กำหนดให้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.9.2

❏ 1. มีนํ้าสะอาดพร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์

❏ 2. มีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์

❏ 3. องค์กรได้ค้นหาพื้นที่และบริการที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เมื่อระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือระบบประปามีการ ปนเปื้อน หรือหยุดชะงัก

❏ 4. องค์กรหาทางลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ดังกล่าว

❏ 5. องค์กรวางแผนจัดหาแหล่งทางเลือกของไฟฟ้าและนํ้าในภาวะฉุกเฉิน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.9.2.1

❏ 1. องค์กรทดสอบแหล่งนํ้าทางเลือกอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ของ ท้องถิ่นกําหนด หรือตามสภาวะของแหล่งนํ้า

❏ 2. องค์กรบันทึกผลลัพธ์การทดสอบดังกล่าว

❏ 3. องค์กรทดสอบแหล่งไฟฟ้าทางเลือกอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับของ ท้องถิ่นกําหนด หรือตามสภาวะของแหล่งไฟฟ้า

❏ 4. องค์กรบันทึกผลลัพธ์การทดสอบดังกล่าว

❏ 5. ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต้องการใช้แหล่งเชื้อเพลิง องค์กรมีและกำหนดให้มีเชื้อเพลิงขั้นต่ำเท่าที่ควร จะต้องมีเก็บอยู่ในพื้นที่ขององค์กร มาตรฐานการรับรอง JCI สำหรับโรงพยาบาล ฉบับที่ ๖ มีผลบังคับใ

มาตรฐาน FMS.9.3 บุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือผู้มีอำนาจเฝ้าติดตามคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ

เจตจำนงของ FMS.9.3 ตามที่ระบุใน FMS.9.2 และ FMS.9.2.1 คุณภาพน้ำมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รวมทั้งการ เปลี่ยนแปลงนอกเหนือการควบคุมของโรงพยาบาล16,17 คุณภาพน้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการดูแลทาง คลินิก เช่น ฟอกไต ดังนั้นโรงพยาบาลกำหนดกระบวนการในการเฝ้าติดตามคุณภาพน้ำและการดำเนินการเมื่อ พบว่า คุณภาพน้ำไม่ปลอดภัย

คุณภาพของน้ำบริโภค (น้ำดื่ม) ได้รับการทดสอบอย่างน้อยไตรมาสละครั้งและน้ำอุปโภคได้รับการทดสอบอย่าง น้อย ทุกหก (6) เดือน19 การทดสอบอาจจะทำบ่อยขึ้นทั้งน้ำบริโภคและ/หรืออุปโภคถ้ากำหนดโดยกฎหมายและ ระเบียบ ข้อบังคับท้องถิ่น หรือถ้าบ่งชี้โดยสภาพของแหล่งน้ำและ/หรือมีประสบการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ คุณภาพ น้ำ น้ำที่ใช้ในการฟอกไตได้รับการทดสอบเดือนละครั้งสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเอนโด ทอกซิน รวม ทั้งมีการทดสอบปีละครั้งสำหรับการปนเปื้อนสารเคมี19–22

การทดสอบสามารถดำเนินการโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาล เช่น บุคลากรจากห้องปฏิบัติการทาง คลินิกหรือสาธารณสุขหรือ หน่วยงานที่มีอำนาจควบคุมน้ำนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการมอบหมายให้สามารถ ดำเนิน การทดสอบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะดำเนินการโดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติของโรงพยาบาลหรือโดยหน่วยงานที่มี อำนาจ นอกโรงพยาบาล เป็นความรับผิดชอบของโรงพยาบาลที่จะสร้างความมั่นใจว่าการทดสอบครบถ้วนและมี การบันทึกไว้

นอกเหนือไปจากการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนและการเจริญเติบโตของ เชื้อ แบคทีเรีย เช่น เชื้อ E. coli, Legionella และอื่น ๆ อีกมากมาย โรงพยาบาลดำเนินมาตรการและตรวจสอบเป็น ประจำ และเฝ้าติดตามประสิทธิผลของมาตรการ19

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.9.3

❏ 1. คุณภาพของน้ำบริโภคได้รับการทดสอบอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยขึ้นตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับท้องถิ่น สภาพของแหล่งน้ำและประสบการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำผลการ ทดสอบได้รับการบันทึก

❏ 2. คุณภาพของอุปโภคได้รับการทดสอบอย่างน้อยทุกหก (6) เดือนหรือบ่อยขึ้นตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับท้องถิ่น สภาพของแหล่งน้ำและประสบการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำผลการ ทดสอบได้รับการบันทึก

❏ 3. น้ำที่ใช้ในการฟอกไตมีการทดสอบรายเดือนสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเอนโดทอกซิน และ ทดสอบเป็นประจำทุกปีสำหรับการปนเปื้อนสารเคมีผลการทดสอบได้รับการบันทึก

❏ 4. มีการดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนและการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใน น้ำ มีการเฝ้าติดตามประสิทธิผลของมาตรการ

❏ 5. มีการดำเนินการและบันทึกผลเมื่อพบว่าคุณภาพน้ำไม่ปลอดภัย

การเฝ้าติดตามแผนงานการจัดการอาคารสถานที่และความปลอดภัย

มาตรฐาน FMS.10 องค์กรเก็บข้อมูลการติดตามสําหรับแผนงานการจัดการอาคารสถานที่และความปลอดภัยแต่ละหัวข้อ เพื่อการ วางแผนในการทดแทน หรือ อัพเกรดเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบ และลดความเสี่ยงใน สภาพแวดล้อมนั้น

เจตจํานงของ FMS.10

การติดตามแผนงานการจัดการอาคารสถานที่และความปลอดภัยแต่ละแผนงาน ผ่านการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ ให้ข้อมูลที่ช่วยองค์กรในการป้องกันปัญหา ลดความเสี่ยง ตัดสินใจในการพัฒนาระบบ และวางแผนการอัพเกรท หรือทดแทนเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบสาธารณูปโภค ข้อกำหนดในการเฝ้าติดตามแผนงาน อาคารสถานที่และความปลอดภัยได้รับการประสานงานกับความต้องการ ข้อมูลการเฝ้าติดตามได้รับการบันทึก และการส่งรายงานทุกไตรมาสให้ผู้นำองค์กร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.10 ❏ 1. มีการเก็บและบันทึกข้อมูลการเฝ้าติดตามสําหรับแผนงานบริหารจัดการสาธารณูปโภคทางการแพทย์ (ดูGLD.11 ME.1 ร่วมด้วย) ❏ 2. มีการใช้ข้อมูลการเฝ้าติดตามดังกล่าวเพื่อการวางแผนสำหรับการทดแทนและเพิ่มขีดความสามารถของ เครื่องมือแพทย์เทคโนโลยีและ ระบบ และลดความเสี่ยงในสภาพแวดล้อม (ดูFMS.4.2 ME.2 ร่วม ด้วย) ❏ 3. รายงานสำหรับการเฝ้าติดตาม และมีการแนะนำเพื่อให้ผู้บริหารองค์กรทราบทุกไตรมาส (ด GLD.1.2 ME.2 ร่วมด้วย)

การให้ความรู้แก่บุคลากร

มาตรฐาน FMS.11 องค์กรจัดการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากรทั้งหมด เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการจัดให้มีอาคารสถานที่สําหรับการ ดูแล ผู้ป่วยที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล

มาตรฐาน FMS.11 .1 บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนตามแผนขององค์กรสําหรับความปลอดภัยด้าน อัคคีภัย การรักษาความปลอดภัย วัตถุอันตราย และภาวะฉุกเฉิน

มาตรฐาน FMS.11.2 บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานและบํารุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์และระบบ สาธารณูปโภค

เจตจํานงของ FMS.11 ถึง FMS.11.2

บุคลากรขององค์กรเป็นกลุ่มหลักที่ติดต่อกับผู้ป่วย ครอบครัว และผู้มาเยือน ด้วยเหตุนี้บุคลากรจําเป็นต้องได้รับ การศึกษาและฝึกอบรม เพื่อปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในการบ่งชี้และลดความเสี่ยง ป้องกันผู้อื่นและตนเอง รวมทั้ง ทําให้อาคารสถานที่มีความปลอดภัยและสวัสดิภาพ (ดูFMS.7.1 ME.1 ร่วมด้วย)

แต่ละองค์กรต้องกําหนดประเภทและระดับของการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร ออกแบบและจัดทําเอกสารสําหรับ แผนงานการศึกษาอบรมนี้แผนงานนี้อาจรวมถึงการสอนเป็นกลุ่ม เอกสารความรู้การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ หรือ กลไกอื่น ๆ ที่ตอบสนองความต้องการขององค์กร แผนงานนี้รวมถึงการสอนกระบวนการรายงานความเสี่ยงที่มี โอกาสเกิด การรายงานอุบัติการณ์และการบาดเจ็บ และการหยิบสัมผัสวัตถุอันตรายหรือวัตถุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิด ความ เสี่ยงต่อตนเองและผู้อื่น

บุคลากรที่มีหน้าที่ใช้หรือบํารุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับการฝึกอบรมพิเศษ การฝึกอบรมอาจจะ ทําโดยองค์กร ผู้ผลิตเครื่องมือ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ องค์กรวางแผนแผนงานที่ถูกออกแบบเพื่อทดสอบความรู้ของบุคลากรอย่างสมํ่าเสมอ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในภาวะ ฉุกเฉิน รวมถึงการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย การตอบสนองต่ออันตราย เช่น การหกรั่วไหลของวัตถุ อันตราย และการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยและบุคลากร การทดสอบความรู้ สามารถทําได้หลากหลายวิธีเช่น การสาธิตรายบุคคลหรือกลุ่ม การสมมติเหตุการณ์เช่น มีโรคระบาดในชุมชน การสอบข้อเขียนหรือการทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับความรู้ที่จะทดสอบ องค์กรบันทึก ข้อมูลผู้ที่ได้รับการทดสอบและผลการทดสอบ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.11

❏ 1. มีการให้การอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งสําหรับแต่ละองค์ประกอบของแผนงานบริหารจัดการอาคาร สถานที่และความปลอดภัยขององค์กร มีการวางแผนและให้ความรู้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรในทุก กะสามารถปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบของตนอย่างมีประสิทธิผล (ดูAOP.5.3 ME.4, AOP.6.3 ME.5 และ FMS.3 ร่วมด้วย)

❏ 2. การให้ความรู้ครอบคลุมถึงผู้มาเยือน ผู้ขายของ ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สัญญาจ้าง และบุคคลอื่น ๆ ตามที่ องค์กร ระบุและการทํางานเป็นกะของบุคลากร (ดูFMS.2 ME.4 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีการทดสอบความรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษาอาคารสถานที่ให้ปลอดภัย

❏ 4. มีการบันทึกข้อมูลการฝึกอบรมและทดสอบบุคลากร บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม และผลการทดสอบ (ดู SQE.5 ME.4 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.11.1

❏ 1. บุคลากรสามารถอธิบาย และ/หรือ แสดงบทบาทหน้าที่ของตนเมื่อเกิดไฟไหม้(ดูFMS.7.1 ME.2 ร่วมด้วย)

❏ 2. บุคลากรสามารถอธิบาย และ/หรือ แสดงการปฏิบัติเพื่อกําจัด ลด หรือรายงาน ความปลอดภัย สวัสดิ ภาพ และ ความเสี่ยงอื่น ๆ (ดูFMS.4 และ FMS.4.1 ร่วมด้วย)

❏ 3. บุคลากรสามารถอธิบาย และ/หรือ แสดงการระมัดระวัง วิธีการปฏิบัติและการมีส่วนในการจัดเก็บ การหยิบ สัมผัส และการกําจัดก๊าซทางการแพทย์ของเสียและวัตถุอันตราย และในภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง (ดูFMS.5.1 ME.1 และ 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. บุคลากรสามารถอธิบาย และ/หรือ แสดงวิธีการปฏิบัติงาน และบทบาทหน้าที่เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและ พิบัติภัย ภายในองค์กรและในชุมชน (ดูFMS.6 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ FMS.11.2

❏ 1. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานกับเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์และระบบสาธารณูปโภคที่ เหมาะสม กับงานของตน (ดูFMS.8 ME.5 ร่วมด้วย)

❏ 2. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อใช้งานระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสมกับงานของตน

❏ 3. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อบํารุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสมกับงานของตน

❏ 4. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อบํารุงรักษาระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสมกับงานของตน