5L 2.1 Informed Consent

L 2.1: Informed Consent

Definition

การให้ข้อมูลด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการ (Informed consent) หมายถึง การที่ผู้ให้บริการ

แจ้งข้อมูลการให้บริการรักษาพยาบาลและด้านสาธารณสุขรวมทั้งค่าใช่จ่ายในการที่

จะต้องด าเนินการให้แก่ผู้รับบริการได้รับทราบก่อนการด าเนินการให้บริการ

Goal

ผู้ให้บริการให้ข้อมูลการบริการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องและเพียงพอส าหรับการ

ตัดสินใจของผู้รับบริการในการตัดสินใจรับหรือไม่รับบริการ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องทำ

ให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกันและกัน รวมทั้งลดความเสี่ยงของการถูกฟ้องร้อง

Why

การให้ข้อมูลด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการถือเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่ต้องแจ้งผู้ป่วย

ทราบถึงพยาธิสภาพของร่างกาย จิตใจ โรคภัยที่ประสบอยู่และแนวทางการรักษาที่

ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นหน้าที่ทางทั้ง ในทางจริยธรรมและตาม

กฎหมาย มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งก าหนดให้ผู้

ให้บริการต้องให้ข้อมูลการให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการ

ตัดสินใจรับหรือไม่รับบริการหากผู้รับบริการปฏิเสธจะให้บริการนั้นไม่ได้ ดังนั้นการให้

ข้อมูลการรักษาพยาบาลหรือการบริการด้านการสาธารณสุขอื่น จึงต้องเป็นการให้

ข้อมุล ที่ชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน ที่จะทำ ให้ผู้รับบริกามีความเข้าใจ และสามารถ

ตัดสินใจได้ โดยก่อนการให้ข้อมูลจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยอย่างรอบคอบแล้ว เมื่อ

ผู้รับบริการได้รับข้อมูลการรักษาพยาบาล ความเสี่ยง ผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนที่

อาจเกิดขึ้น ก็จะตัดสินใจรับหรือไม่รับบริการ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการยอมรับ

ข้อเท็จจริงในการรักษาและความยินยอมของผู้รับบริการจะคุ้มครองผู้ให้บริการที่ได้

ประกอบวิชาชีพอย่างมีมาตรฐานให้ไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย การให้ข้อมูลเป็ น

คุ้มครองและรักษาสิทธิ ของผู้ป่วย ทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองฝ่ายจะยังคงอยู่

ความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องก็จะลดลง

Process

ในการให้ข้อมูล ด้านบริการสาธารณสุข ของผู้ให้บริการ

มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลที่จะต้องให้แก่ผู้รับบริการ ประกอบด้วย

- การตรวจวินิจฉัย โรค อาการ และผลที่ตามมา

- แนวทางการรักษาโรค

- ความเสี่ยงทางการรักษา

- ทางเลือกของการรักษา ข้อดี ข้อเสีย

- ความเสี่ยงของทางเลือก

2. ผู้ให้ข้อมูล

3. แนวทางการให้ข้อมูล

- การสื่อสาร

- รูปแบบการให้ข้อมูล

- ขั้นตอน วิธีการให้ข้อมูล

4. ผู้รับข้อมูล คือ ผู้ป่วยหรือญาติผู้มีอำนาจกระทำการแทน

5. การประเมินค่าใช่จ่ายของการรักษาพยาบาล

6. ความยินยอม หรือข้อตกลงในการรับหรือไม่รับบริการ

แนวทางปฏิบัติ (กระบวนการดำเนินงาน)

1. มีกระบวนการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยเจ้าหน้าที่ต้องมีขั้นตอนการ

ตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง วางแนวทางการรักษา และก าหนดข้อมูลที่จะต้องให้แก่

ผู้รับบริการ

2. กำหนดตัวผู้ที่จะต้องให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่จะให้ข้อมูลอย่างดี

เพราะอาจต้องอธิบาย และเป็นผู้ที่มีความสามารถทักษะในการสื่อสาร

3. กำหนดแบบฟอร์มการให้ข้อมูล หรือ การจดบันทึกการให้ข้อมูล และกรณีเข้า

ข้อยกเว้นไม่ต้องให้ข้อมูลตามกฎหมายเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง

4. กำหนดตัวผู้รับบริการ หรือผู้ที่จะต้องรับข้อมูลให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความ

เหมาะสม

5. เมื่อได้ให้ข้อมูลการบริการอย่างเพียงพอแล้ว ต้องมีบันทึกการรับทราบข้อมูลและ

การตัดสินใจของผู้รับบริการว่าจะรับบริการนั้นหรือไม่ มีการบันทึกความยินยอมรับ

หรือปฏิเสธการรับบริการ

Training

1. ควรมีการอบรมทักษะ การให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จะให้ในแต่ละสาขาการบริการ

และเทคนิคการสื่อสารแก่เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ให้ข้อมูล

2. ควรให้เจ้าหน้าที่หรืออสม. ทำการสื่อสารเผยแพร่ความรู้ในเรื่องการให้ข้อมูลและการ

ให้ความยินยอมแก่ผู้รับบริการหรือประชาชนทั่วไปให้มีความเข้าใจหลักการและสิทธิ

ของผู้ป่วยด้านนี้

Monitoring

1. กำหนดตัวชี้วัดของการให้ข้อมูลและความยินยอมของสถานพยาบาลทุกแห่ง

2. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งผลจากการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ

เจ้าหน้าที่ และความพึงพอใจของผู้รับบริการจะแสดงถึงความสัมพันธ์ ที่มีต่อกัน และ

ลดการฟ้องร้อง

Pitfall

1. การตรวจวินิจฉัยผิดพลาด ส่งผลให้การให้ข้อมูลผิดพลาด

2. เหตุไม่คาดหมายที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากที่ให้ข้อมูลไว้

3. การสื่อสารผิดพลาด

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ I การเข้าถึงและการเข้ารับบริการ (Access & Entry)

(6) และ (7)