ความเสี่ยงความหมายหลายมิติ

ความเสี่ยงคือเรื่องราวของเราทุกคน

1. ความเสี่ยงคือเรื่องของระบบที่ร่วมกันแก้ไข มิใช่เรื่องตัวบุคคลที่จะมาตำหนิ และกล่าวโทษกันและกัน

2. ความเสี่ยงคือการคิดบวก เพื่อร่วมด้วยช่วยกันหาหนทางที่จะก้าวผ่านความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้มแข็ง ง่ายต่อการปฏิบัติ และปลอดภัยมากขึ้น

3. ความเสี่ยงคือกระบวนการ : การค้นหา การประเมิน การจัดการ การประเมินผลระบบ เราจึงทำเพียงคนเดียว หน่วยงานเดียว ทีมเดียวไม่ได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

4. ความเสี่ยงคือการเชื่อมโยงข้อมูลซึ้งกันและกัน การเกิดความเสี่ยงในที่หนึ่งหรือหน่วยงานหนึ่ง มิได้หมายถึงว่าหน่วยงานอื่นจะไม่เกิดความเสี่ยงเรื่องนี้ซ้ำอีก " หนึ่งความเสี่ยงสู่การวางระบบ " คือคำสำคัญที่ควรคิดถึงเสมอ

5. ความเสี่ยงคือเรื่องราวของทุกคนในองค์กร ผู้นำสูงสุด หัวหน้างานทุกระดับ ทีมต่างๆ ผู้ปฏิบัติ และทีมความเสี่ยง ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนที่จะเข้ามาส่งเสริม สนับสนุนช่วยเหลือให้กระบวนการการบริหารความเสี่ยงได้บรรบุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือประสิทธิภาพิและความปลอดภัย

6. ความเสี่ยงคือนโยบายที่สำคัญที่ต้องกำหนดขึ้นในองค์กร และถ่ายทอดจากผู้นำสูงสุดจนถึงผู้ปฏิบัติ รวมทั้งแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อนำสู่การปฏิบัติทั้งองค์กรเพื่อสร้างความปลอดภัย ที่สำคัญนั้นต้องมีความชัดเจนและมีแผนการปฏิบัติที่รองรับนโยบายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรม

7. ความเสี่ยงคือการเรียนรู้ร่วมกัน เปิดใจ เคารพ ยอมรับซึ้งกันและกันของบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบว่าเรายังมีโอกาสพัฒนาในเรื่องใดผ่านจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการค้นหา และรายงานความเสี่ยง

8. ความเสี่ยงคือการสร้างความปลอดภัยทั้งต่อผู้ปฏิบัติ องค์กร ผู้รับบริการ/ญาติ และชุมชนที่อยู่ด้วยกัน ดังนั้นทำผู้เดียวไม่ได้ แต่ต้องประสานความร่วมมือต่อกัน ทั้งบุคลากร หน่วยงาน องค์กร ชุมชน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

9. ความเสี่ยงคือสิ่งที่ต้องจัดการเพื่อให้เกิดมาตรฐาน และความปลอดภัย นั่นคือเมื่อความเสี่ยงในองค์กรลดลง มาตรฐานและความปลอดภัยย่อมเพิ่มขึ้นในองค์กรที่เราอยู่

10. ความเสี่ยงไม่สามารถบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้ด้วยองค์กรใครองค์กรมัน แต่เกิดจากความร่วมมือทุกภาคส่วน และทุกองค์กรที่อยู่บนโลกใบนี้ที่ต้องแบ่งปันข้อมูลและความรู้

11. ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนว่า ความเสี่ยงคือโอกาส ดังนั้น " การบริหารจัดการความเสี่ยงที่แท้จริงคือการหาโอกาสที่เกิดและป้องกันไม่ให้เกิด มากกว่าให้เกิดก่อนแล้วค่อยมาปรับปรุง เพราะบางครั้งอาจสายเกินไปแล้ว

12. การรับรู้ การติดตาม การเฝ้าระวังความเสี่ยงเราต้องสามารถรับรู้ได้อย่างทันเวลา ว่าในขณะนี้ ตอนนี้หน่วยงานของเรา องค์กรของเรามีความเสี่ยงสำคัญใดบ้างที่เราเผชิญอยู่ เราจะได้รับมือในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทัน

13. การบริหารจัดการความเสี่ยงกรอบความคิดที่จะนำพัฒนาเพื่อแสดงให้เห็นประสิทธิภาพ และความปลอดภัยนั่นคือ เป้าหมายคืออะไร กระบวนการที่จะเกิดขึ้นคืออะไร นำสู่การปฏิบัติในงานประจำ ติดตาม เรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และปรับปรุง

14. เราจะไม่รีรอที่จะช่วยกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริงยามเกิดความเสี่ยงสำคัญและนำมาสู่การกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก

15 . เราจะต้องหมั่นประเมินกระบวนการการทำงานของเราเพื่อหาความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิด ความเสี่ยงที่มีความสำคัญว่าเกิดจากอะไร เพื่อนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันก่อนที่จะเกิดเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสบค์ หรืออุบัติการณ์

16. การประเมินผลระบบบริหารจัดการความเสี่ยงควรมีความหลากหลายในการประเมินไม่ได้มีเฉพาะแต่ตัวชี้วัดเท่านั้น แต่ยังมีแบบประเมินตนเอง แบบประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัย การตามรอย การทบทวน เป็นต้น สิ่งนี้คือสิ่งที่เราทุกคนต้องช่วยกันประเมินผล

ดังนั้นความเสี่ยงทำคนเดียว หรือเดินคนเดียวไม่ได้ครับ แต่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของเราทุกคนที่จะทำให้ต้นไม้ที่ชื่อว่า " การบริหารจัดการความเสี่ยง " ได้เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยของเรา เพราะการที่เราไม่เห็นภัยหรือความเสี่ยงใดๆก็มิใช่หมายความว่าเราเซฟน่ะจึงต้องช่วยกันบริหารจัดการความเสี่ยงครับ

Credit FB .สุรเดช ศรีอังกูร