การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

Standard +Criteria เป้าหมาย

(1) [บ่งชี้ผู้ป่วย และบริการที่เสี่ยงสูง] [จัดทำแนวทางการดูแล]

ทีมผู้ให้บริการวิเคราะห์ผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง และร่วมกันจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว.

(2) [ฝึกอบรม] [ปฏิบัติ]

บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาสู่การปฏิบัติด้วยความเข้าใจ.

(3) [ทำหัตถการเสี่ยง ในสถานที่เครื่องมือ ผู้ช่วย ที่พร้อม]

การทำหัตถการที่มีความเสี่ยง จะต้องทำในสถานที่ที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและผู้ช่วยที่จำเป็น.

(4) [เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง] [แก้ไข] [ปรับแผนการดูแล]

มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย

และดำเนินการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ทันท่วงที.

(5) [ตอบสนองต่อผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงหรือเข้าสู่ภาวะวิกฤติ (ประเมิน stabilize สื่อสาร ให้ความรู้ เคลื่อนย้าย)]

เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ, มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่ามาช่วยทีมผู้ให้บริการอย่างทันท่วงทีในการประเมินผู้ป่วย การช่วย stabilize ผู้ป่วย การสื่อสาร การให้ความรู้ และการย้ายผู้ป่วยถ้าจำเป็น

(6) [ติดตาม/วิเคราะห์ ภาวะแทรกซ้อน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์] [ปรับปรุง]

ทีมผู้ให้บริการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย.

HA Scoring

1.

-มีการระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและบริการที่มีความเสี่ยงสูงของ รพ.

-จัดทำแนวทางการดูแลที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยดังกล่าว

2.

-มีการดูแลตามแนวทางที่กำหนดไว้,

-ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อในเวลาที่เหมาะสม,

-มีความพร้อมในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม

3.

-การทำหัตถการที่มีความเสี่ยงกระทำใน

สิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อม (สถานที่ คน เครื่องมือ),

-มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย

4.

โดดเด่น

เช่น

-มีระบบงานที่ดี

-การประสานงานทีดีกับองค์กรอื่นทั้งในด้าน -การขอปรึกษาและการส่งต่อ

-มีระบบที่ดีในการตอบสนองเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง (ตามแนวทางใน SIMPLE)

5.

-มีการประเมินและปรับปรุงการดูแลที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเป็นระบบ

-ทำให้ผลลัพธ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

การดำเนินงาน-การปรับปรุง SPA+In Action

(1)

[บ่งชี้ผู้ป่วย และบริการที่เสี่ยงสูง]

[จัดทำแนวทางการดูแล]

แนวทางการดูแลผู้ป่วย

-ผู้ป่วยโรคติดต่อ

-มีภูมิต้านทางต่ำ

-ผุ้ป่วยถูกผูกยึด

-ผู้สูงอายุ

-ผู้ทุพพลภาพ

แนวทางปฎบัติดูแลงานบริการที่มีความเสี่ยงสูง

-การให้เลือด

-การฟอกไต

-การให้ยาเคมีบำบัด

แนวทางนั้น

-มีการใข้ข้อมูลทางวิชาการที่เหมาะสม

-ระบุการดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

-การบันทึกทีเพิ่อการสื่อสารในทีม

-การติดตามประเมินผู้ป่วย

-คุณสมบัติหรือทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

-ความพร้อมใช้ของเครื่องมือ

(2)

[ฝึกอบรม]

[ปฏิบัติ]

-มีการอบรมทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วยเสี่ยงสูง

-วิเคราะหฺ์ training need

-วิเคราะห์อุบัติการณ์ในการดูแล

-นำมาปรับปรุง อมรม พัฒนา

(3)

[ทำหัตถการเสี่ยง ในสถานที่เครื่องมือ ผู้ช่วย ที่พร้อม]

มีแนวทางการทำหัตถการที่มีความเสี่ยง

-ใช้ข้อมูลทางวิชาการ

-ระบุคุณสมบัติผู้ทำ

-ระบุการจัดเตรียมสถานที่

-เครื่องมือ และ ผู้ช่วยที่เหมาะสม

(4)

[เฝ้าระวังการปลี่ยนแปลง]

[แก้ไข]

[ปรับแผนการดูแล]

มีการเผ้าระวังสภาวะของโรค

มีการเผ้าระวังอาการของผู้ป่วย

-การเปลี่ยนแปลง

-ความจำเป็นในการเฝ้าระวัง

-ระบุสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง

-วิธีการเฝ้าระวัง

ทบทวนIRในการเฝ้าระวัง

มีการปรุงเปลี่ยนแผนการรักษาในเวลาที่เหมาะสม

การวิเคราะห์สถานการณ์หรือผู้ป่วยที่จะต้องทำCPRแล้วนำมาปรับปรุงออกแบบระบบเตือน

ปรับปรุง early warning sign เข้าไปอยู่ในใบบันทึกสัญญาณชีพ

เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะวิกฤต

มีการชี้นำการปฏิบัติที่ควรเกิดขึ้น

(5)

[ตอบสนองต่อผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงหรือเข้าสู่ภาวะวิกฤติ]

(ประเมิน stabilize สื่อสาร ให้ความรู้ เคลื่อนย้าย)

จัดให้มีทีม Rapid response team(RRT)

จัดการระบบการตอบสนองผู้ป่วยที่เหมาะสม

(6)

[ติดตาม/วิเคราะห์ ภาวะแทรกซ้อน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์]

[ปรับปรุง]

วิเคราะห์แนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ทบทวนความไวในการตรวจจับหรือบ่งชี้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุง

SA 2011

การดูแลและบริการที่มีความเสี่ยงสูง

บทเรียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง:

บทเรียนเกี่ยวกับการทำหัตถการที่มีความเสี่ยง:

บทเรียนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการผู้ป่วย เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษา:

บทเรียนเกี่ยวกับ rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง

บทเรียนเกี่ยวกับการติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อนำมาปรับปรุง