1S 3.1: Safe Environment

Definition

สิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัด ที่เป็นผลจากนโยบายและการปฏิบัติที่ท าให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย

ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที

Goal

ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย จากสิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัด ทั้งด้านกายภาพ

(Mechanical risk) เคมีและชีวภาพ (Chemical and biological risk)

Why

สิ่งแวดล้อมภายในห้องผ่าตัดอาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่

เช่น อุณหภูมิ ความชื้น มีผลต่อการติดเชื้อ จึงต้องให้ความส าคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมใน

ห้องผ่าตัดในเรื่องโครงสร้าง (Structure) และระบบระบายอากาศ Ventilation)

Process

1. วางระบบโครงสร้างในห้องผ่าตัดให้เกิดความปลอดภัย

1) การแบ่งเขต การก าหนดพื้นที่ในการท างาน เป็นไปตามมาตรฐานการท างานในห้องผ่าตัด

2) มีระบบระบายอากาศ มีการกรองอากาศ และการหมุนเวียนอากาศในห้องผ่าตัด 20 Air

change per Hour (ACH)

3) ใช้ระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน และมีระบบไฟฟ้าส ารองฉุกเฉิน และตรวจสอบให้พร้อมใช้อยู่เสมอ

4) มี pipeline system ซึ่งประกอบด้วย oxygen, nitrous oxide, vacuum ซึ่งสายส่งและ

hose เป็น medical grade

5) มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 22-24 °C เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิด Hypothermia และความชื้น

50 - 60%

6) มีเครื่องดับเพลิงในต าแหน่งที่เหมาะสม

7) เตียงและโคมไฟผ่าตัดแบบมาตรฐานใช้ในการผ่าตัดทุกห้องที่ใช้งานผ่าตัด

2. มีระบบการตรวจสอบและการบ ารุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัดอย่างสม ่าเสมอ

3. มีการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการท างาน

4. การท าความสะอาดพื้นผิวในห้องผ่าตัด ก่อนผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดแต่ละราย และหลังผ่าตัด

ตามแนวปฏิบัติของหน่วยงาน หรือตามแนวปฏิบัติของ The Association of periOperative

Registered Nurses (AORN)

5. การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเช่น เครื่องจี้ไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตามคู่มือของผู้ผลิต หรือแนวปฏิบัติ

ของหน่วยงาน

6. สร้างสิ่งแวดล้อมในการดูแล (Environment of care) โดยการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการดูแล

เช่น การป้องกันการติดเชื้อ คุณภาพอากาศ สัญญาณรบกวน เป็นต้น

7. มีการควบคุมการใช้เสียงในห้องผ่าตัด เช่น เสียงจากโทรศัพท์ การพูดคุยเรื่อ งที่ไม่เกี่ยวข้องขณะ

ปฏิบัติงาน

8. มีการประเมินและตรวจสอบผู้ป่วยถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจท าให้ได้รับอันตรายจากสิ่งแวดล้อม เช่น

การแพ้สารเคมี เป็นต้น

9. ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่มีการถ่ายทอดพลังงาน (Energy transfer device) เช่น เครื่อง X-ray,

Laser, Ultrasound ให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของหน่วยงานในทุกระยะของการท าผ่าตัด

10. มีการจ ากัดบุคลากรเข้าออกในห้องผ่าตัดขณะผ่าตัด

Training

1. มีการจัดอบรมการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้บุคลากรใหม่ และทุกครั้งเมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่

2. บุคลากรทุกคนควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety)

3. บุคลากรทุกคนควรได้รับการอบรมการซ้อมรับอัคคีภัย

Monitoring

1. เฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัด ถ้าเกิดขึ้น

หรือมีแนวโน้มโอกาสเกิดให้มีการรายงานอุบัติการณ์ การวิเคราะห์หาสาเหตุและก าหนด

แนวทางการแก้ปัญหา และบันทึกอย่างเป็นระบบ

2. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างสม ่าเสมอตามแนวปฏิบัติของ

หน่วยงาน

Pitfall

1. การปรับอุณหภูมิในห้องผ่าตัดตามความต้องการของทีมผู้ให้บริการ โดยไม่ค านึงถึง

ผลกระทบต่อผู้ป่วย

2. การใช้พัดลมในห้องผ่าตัด อาจท าให้เชื้อโรค และฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย

3. ถ้าบุคลากรไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ท าให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (IC2) ก. การ

ป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (2), ตอนที่ III หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ (PCD.3) ข. การ

ผ่าตัด (5)