CTHL5SRS

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 120 เตียงเริ่มเปิดให้บริการการผ่าตัดแปลงเพศ เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 โดยทำสัญญาผ่าตัดกับแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งจากภายนอก มีผู้มารับบริการผ่าตัด ในปี 2558 จำนวน 43 ราย และ ปี 2559 ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค จำนวน 58 ราย

จากการทบทวน ผลการผ่าตัดพบประเด็นปัญหาสำคัญ คือ การสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดมากกว่า 1,000 ml ในปี 2558-2559 จำนวน 3 ราย ปัสสาวะไม่ออกหลังถอดสายสวนปัสสาวะ ในปี 2558 จำนวน 1 ราย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้ในด้านการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากทางคลินิกและการประเมินทางด้านจิตใจถือเป็นสิ่งสำคัญในการให้บริการ จึงได้จัดมาตรการรองรับที่ชัดเจนเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยครอบคลุม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการรักษาความลับของผู้ป่วยให้เป็นอย่างดี

2.ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ

1.การผ่าตัดแปลงเพศไม่ใช่เป็นการผ่าตัดเฉพาะรูปลักษณะภายนอก แต่จิตใจถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมีความพร้อมก่อนการผ่าตัด ทั้งการยอมรับตัวตนของผู้ป่วยเองและผลลัพธ์ที่ออกมาของการผ่าตัด

2.ผู้ป่วยมีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นที่คลินิกก่อนมาผ่าตัด การส่งต่อข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากเกิดความผิดพลาดอาจถูกฟ้องร้อง หรือให้การดูแลรักษาที่ไม่สมบูรณ์ได้

3.การดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

4.การรักษาความลับของผู้ป่วย

3.เป้าหมายการพัฒนา

1.ผู้ป่วยได้รับการประเมินสภาพทางจิตใจ โดยจิตแพทย์ที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ท่านทุกราย

2.ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอย่างปลอดภัย และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด

3.ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในผลลัพธ์ที่ได้หลังการผ่าตัด และ การบริการที่เป็น Privacy

4.กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การประเมิน

1. จัดระบบการรับส่งต่อผู้ป่วยจากคลินิก เข้ารับการรักษาเป็นแบบ Part way และการบริการที่เป็น Privacy

2. จัดระบบแนวทางการประเมิน การตรวจร่างกายและสภาพจิตโดยจิตแพทย์ 2 ท่านร่วมกับทางแพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง, ตรวจสอบวุฒิบัตรจิตแพทย์ เอกสารและผู้ป่วยซ้ำอีกครั้งเมื่อมาถึงโรงพยาบาล รวมถึงผลตรวจทางห้องปฏิบัติที่ต้องได้รับการตรวจที่โรงพยาบาลบางปะกอก 8

การดูแลรักษา

1.อบรมเจ้าหน้าที่ ในการดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด รวมถึงจัดทำคู่มือประจำแผนกเกี่ยวกับการทำหัตถการ การดูแล และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

2.การดูแลการเสียเลือดทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงจากประวัติโรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำ ระยะเวลาในการผ่าตัด ประเมินการเสียเลือด ทั้งทางคลินิกและ มีการบันทึก Blood loss ระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัดที่ถูกต้องแม่นยำ ร่วมถึงติดตาม Hematocrit ในกลุ่มเสี่ยงทุกราย

การดูแลต่อเนื่อง

1.แนะนำการดูแลหลังการผ่าตัด ป้องกันการตีบแคบของช่องคลอด สอนการใช้อุปกรณ์แท่งเทียน การดูแลสวนล้าง และการทำแผล โดยมีการเปิด VDO สาทิต และ ให้ผู้ป่วยปฏิบัติก่อนกลับบ้าน

2.ร่วมกับคณะกรรมการ IC ใช้ระบบ Post Discharge surveillance ในการติดตามผู้ป่วย

5.ผลการพัฒนา

ในปี 2559 ได้มีการปรับปรุงพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดและการช่วยการผ่าตัด ส่งผลให้ อัตราผู้ป่วยมี Blood Loss ระหว่างการผ่าตัด มากกว่า 1000 ml ลดลง

6.แผนพัฒนาต่อเนื่อง

1. พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดและการช่วยการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลด Blood loss Intra op

2. การปรับปรุงระบบการวัดความพึงพอใจ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ