2I 2.3: Peripheral and Central Line-Associated Bloodstream Infection (CLABSI) Prevention

Definition

การติดเชื้อในเลือดที่ได้รับการยืนยันด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีการ

ใช้สายสวนหลอดเลือดด าส่วนกลาง หรือสายสวนหลอดเลือดที่สะดือ (ส าหรับเด็กทารกแรกเกิด)

มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน โดยในวันที่เริ่มมีอาการหรือการตรวจพบที่น าไปสู่การวินิจฉัย

ภาวะนี้ ยังคงใช้สายสวนหลอดเลือดด าส่วนกลางอยู่หรือยุติการใช้ไปแล้วไม่เกิน 1 วัน

Goal

ป้องกันการติดเชื้อจากการใช้สายสวนหลอดเลือดด า

Why

การใช้สายสวนหลอดเลือดด าเพื่อให้สารน ้า เลือด หรือสารอาหาร ทั้งในลักษณะของการ

ให้ผ่านทางหลอดเลือดด าส่วนปลาย และหลอดเลือดด าส่วนกลาง เป็นสิ่งที่มีการปฏิบัติกันเป็น

ประจ าในโรงพยาบาล การติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส าคัญเนื่องจากส่วนใหญ่เชื้อมักเข้าสู่

กระแสเลือดโดยตรง จึงมีผลกระทบต่อผลลัพธ์การรักษาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การใส่สาย

สวนเป็นหัตถการสะอาด และอุปกรณ์ที่ใช้ตลอดจนกระบวนการในการดูแลก็เป็นกระบวนการที่

สะอาด ซึ่งต่างจากระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันการติดเชื้อที่

เกี่ยวข้องกับการใช้สายสวนหลอดเลือดด าส่วนกลางจึงเป็นสิ่งที่ป้องกันได้

Process

โรงพยาบาลจัดท าแนวทางการป้องกันการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้สายสวนหลอดเลือดด า

ทั้งชนิด central และ peripheral vein ครอบคลุมกระบวนการและประเด็นส าคัญ คือ

1. การเตรียมการก่อนใส่สายสวนหลอดเลือด ได้แก่ การเลือกต าแหน่งหลอดเลือดด าที่มีความ

เสี่ยงต ่า (หลีกเลี่ยง femoral vein ส าหรับ central line และหลอดเลือดด าที่ขาส าหรับ

peripheral line) การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้เพื่อเอื้อต่อการปฏิบัติตามหลักการปลอดเชื้อ

และการท าความสะอาดมือก่อนการใส่สายสวนหลอดเลือด

2. การใส่สายสวนหลอดเลือด ท าความสะอาดผิวหนังด้วย alcoholic chlorhexidine solution

ส าหรับหลอดเลือดด าส่วนกลาง ให้ใช้หลักของ maximal sterile barrier และในการใส่สายสวน

หลอดเลือดด าส่วนปลาย อาจใช้ถุงมือสะอาดหรือถุงมือปลอดเชื้อก็ได้แต่ห้ามสัมผัสบริเวณที่

จะแทงเข็มอีกหลังจากเช็ดท าความสะอาดด้วยน ้ายาท าลายเชื้อแล้ว

3. การดูแลหลังการใส่สายสวนหลอดเลือด หากสายสวนหลอดเลือดด านั้นได้รับการใส่ใน

สถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ควรคาสายไว้เกิน 48 ชั่วโมง หากเป็น central line ที่ได้รับการใส่ด้วย

ความเคร่งครัดตามหลักการปลอดเชื้อและ maximal sterile barrier อาจใช้ต่อไปได้ และต้อง

ทบทวนความจ าเป็นที่ต้องมีสายสวนหลอดเลือดด าทุกชนิด ทุกวัน และถอดออกทันทีที่ไม่มี

ความจ าเป็นต้องใช้ การดูแลในขณะที่คาสายสวนอยู่ จะต้องยึดหลักปลอดเชื้อ เช่น การท า

ความสะอาดมือก่อนปฏิบัติการใดๆ กับสายสวน การเช็ดท าความสะอาดข้อต่ออย่างถูกต้อง

การท าความสะอาดผิวหนังด้วย alcoholic chlorhexidine ในระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

Training

ให้ความรู้และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อป้องกัน bloodstream

infection ครอบคลุมการเลือกต าแหน่ง เทคนิคการสอดใส่ ซึ่งควรมีผู้ที่ปฏิบัติได้ด้วยความ

ช านาญหลายๆ คนในหน่วยงาน การประเมินต าแหน่งที่สอดใส่ ข้อบ่งชี้ที่ต้องเปลี่ยน

dressing การบันทึก การ flush ที่เหมาะสม การเปลี่ยน set ข้อบ่งชี้ในการถอดหรือเปลี่ยน

catheter

Monitoring

 ประเมินประสิทธิผลของแนวทางปฏิบัติที่ใช้โดยวัดอัตราการเกิด central line catheterassociated bloodstream infections การปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ ติดตามตัววัดเพื่อดูการ

เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้ออย่าง

สม ่าเสมอ

 อุบัติการณ์การเกิด CLABSI

 อุบัติการณ์การเกิด suppurative thrombophlebitis (optional)

Pitfall

 การใส่สายสวนหลอดเลือดด าส่วนกลาง อาจจะยังมีการปฏิบัติโดยไม่ใช้หลักการ maximal

sterile barrier

 ผู้ป่วยอาจมีข้อจ ากัดในด้านต าแหน่งหลอดเลือดที่เหมาะสมเพราะมีการใช้สายสวนหลอด

เลือดเป็นเวลานานจนหาหลอดเลือดที่มีสภาพดีได้ยาก ส่วนหนึ่งคือการไม่ใช้ central line

เมื่อควรต้องใช้ ในการให้สารน ้าทางหลอดเลือดด าส่วนปลายจึงมีการใช้หลอดเลือดที่ขา

ค่อนข้างบ่อย เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

 มีการคาสายสวนหลอดเลือดไว้นานเกินสมควร ไม่มีการถอดออกแม้ไม่ได้ใช้แล้ว

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (4)